DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร
ซีดีและดีวีดี (Compact Disc & Digital Video Disc)


         ซีดี (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน
        แผ่นซีดี หรือซีดี-รอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) ประดิษฐ์ในนามบริษัท จุดเริ่มต้นคือปี 1978 บริษัทฟิลิปส์และโซนี่จับมือกันผลิตคอมแพ็กดิสก์สำหรับบันทึกเสียง หรือ ซีดขึ้น ซึ่งขณะนั้นฟิลิปส์พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกจำหน่ายแล้ว และโซนี่ก็ได้วิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมานานนับสิบปีแล้ว
         ดีวีดี (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc : DVD) คือ ซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง และข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ และถึงแม้ดีวีดีจะมีหน้าตาเหมือนกันกับซีดี แต่ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าถึง 7 ถึง 14 เท่าเลยทีเดียว จุดมุ่งหมายของดีวีดีก็เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลทุก ๆ อย่าง เช่น ความบันเทิงภายในบ้าน ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือในธุรกิจไว้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมถึงเข้ามาแทนที่แผ่นซีดี วีดีโอเทป เลเซอร์ดิสก์ ซีดีรอม หรือแม้กระทั่งวีดีโอเกมส์ ขณะนี้ดีวีดีกำลังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก ดีวีดีให้ภาพและเสียงที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับโทรทัศน หรือเทปวีดีโอทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้งานสะดวก และทนทานกว่าด้วย

         รูปแบบของแผ่นดีวีดี
         • แผ่น DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงาน เราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้
         • แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น
         • DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง จะเล่นได้กับไดรว์ DVD-R/RWบนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
         • แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW เป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้ สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่นดีวีดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไดร์วของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์
         • แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล จะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือ สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้องดิจิทัล

         คุณสมบัติพิเศษของดีวีดี
         1. คุณภาพของภาพและเสียง ระบบภาพของดีวีดีถูกบันทึกโดยใช้การบีบอัดภาพแบบ MPEG-2 ซึ่งจะให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดีกว่า
         2. การแสดงภาพแบบ Wide-Screen เนื่องจากโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่มีอัตราส่วนของจอภาพเป็น 4:3 แต่ภาพยนตร์ที่สร้างในปัจจุบันมีอัตราส่วนของภาพเป็น 16 : 9 หรือ 20 : 9 ดังนั้นเวลาที่นำภาพยนตร์มาบันทึกลงวิดีโอก็จะต้องตัดขอบบนและขอบล่างบางส่วนทิ้ง ด้วยเทคโนโลยีของดีวีดี ทำให้ชมภาพยนตร์ที่มีอัตราส่วน 16 : 9 ได้ซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้ร่วมกับโทรทัศน์แบบ Wide-Screen ด้วย
         3. เลือกการทำงานแบบ Interactive เราสามารถเลือกมุมกล้องในการดูได้มากกว่า 1 มุมกล้อง ดีวีดีจะมีรายการให้เลือกรูปแบบการทำงาน ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดสิ่งที่ตัวเองต้องการรับชมเหมือนกับเป็นผู้กำกับหนัง ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแผ่นโปรแกรมแต่ละแผ่นด้วย
         4. สามารถให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดรหัสผ่านในการชมภาพยนตร์ที่มีเรทอันไม่เหมาะสมกับอายุของเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมภาพยนตร์ในแผ่นเดียวกันแต่เป็นเวอร์ชั่นในระดับที่ต่างกันได้
         5. วิดีโอหลายภาษา ผู้ชมภาพยนตร์สามารถเลือกภาษาที่ตนต้องการได้ เพราะแผ่นดีวีดีหนึ่งแผ่นจะเก็บซาวด์แทรคได้ถึง 8 ภาษาและคำบรรยายใต้ภาพอีก 32 ภาษา 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1
http://stores.col.co.th/webapp/commerce/command/ExecMacro/Central_Department_Store/
macros/pstatic_th_knowledge_visual2.d2w/report?language=thai&depart=powerbuy
http://www.student.chula.ac.th/~46801182/dvd/dvd.htm
http://www.banmoh.com/assets/tips/dvd-format.htm
http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031104&tag950=03you30200947&show=1
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ISBN 974-346-173-6


แม้ยุคนี้จะเป็นยุคที่การบันทึกข้อมูล รับส่งข้อมูลผ่าน อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือใช้ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้งานกันในปัจจุบัน นั่นก็คือ "จานแสง (Optical Disc)" แบบต่าง ๆ เช่น แผ่นซีดี (CD), แผ่นดีวีดี (DVD), แผ่นบลูเรย์ (Blu-Ray Disc) แล้วจานแสงแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ? แม้จะเป็นแผ่นจานสำหรับบันทึกข้อมูล แล้วต้องเลือกแผ่นแบบไหนใช้กับข้อมูลแบบไหน ? ไปหาคำตอบกัน

แผ่น CD คืออะไร ?(What is Compact Disc ?)

อันแรกเลยคือ "แผ่น CD" หรือ "Compact Disc" จัดว่าเป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภท จานแสง (Optical Disc) ประเภทหนึ่ง และรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Disc Optical Digital ชนิดหนึ่ง โดยแผ่น CD แผ่นแรกเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) จากนั้น ถูกพัฒนาโดย Philips และ Sony เพื่อจัดเก็บเล่นไฟล์เสียงดิจิทัล เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) เป็นครั้งแรก และวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน

ตัวแผ่น CD ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอเนตหนา 1.2 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 14–33 กรัม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.7 นิ้ว แบ่งออกเป็นรูตรงกลางสำหรับแกนหมุน 15 มิลลิเมตร วงแหวน 2 ชั้นที่ประกอบด้วยวงแหวนหนีบและวงแหวนเรียงซ้อน พื้นที่แถบกระจก, พื้นที่สำหรับโปรแกรม ข้อมูล และขอบแผ่น CD ซึ่งพื้นที่สำหรับโปรแกรมด้านในมีรัศมีตั้งแต่ 25 ถึง 58 มิลลิเมตร และเก็บข้อมูลได้ที่ความจุ 650 MB.

นอกจากนี้ แผ่น CD ยังได้ถูกเคลือบด้วยชั้นอลูมิเนียมบาง ๆ เพื่อทำให้พื้นผิวเกิดการสะท้อนแสง ส่วนแผ่น CD ด้านบนจะถูกเคลือบด้วยฟิล์มแล็กเกอร์ ซึ่งแผ่นหน้า CD ที่เป็นสีสัน นั่นคือฉลากที่พิมพ์สกรีนหรือพิมพ์ออฟเซ็ตบนชั้นฟิล์มแล็กเกอร์นั่นเอง

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Optical_disc

ถ้าพูดถึงแผ่น CD ส่วนใหญ่น่าจะคิดถึงแผ่นภาพยนตร์ เพลง เกม หรือแม้แต่การส่งต่อรูปภาพในยุคที่ยังไม่มีแอปพลิเคชันแชท ก้ใช้แผ่น CD นี่แหละ เพราะขนาดไฟล์ส่วนใหญ่ยังไม่ใหญ่ระดับกิกะไบต์ (GB) หรือเทราไบต์ (TB) จึงทำให้แผ่น CD ความจุ 700 MB. เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย พกพา ส่งต่อง่าย มีเครื่องเล่นรองรับมากมาย แม้แผ่นจะเป็นรอย (บ้าง) ก็ยังใช้งานได้อยู่

อย่างไรก็ตาม แผ่น CD ยังแบ่งออกเป็น CD แบบอื่น ๆ อีกมากมาย ดังต่อไปนี้

ประเภทของแผ่น CD

  • CD-R (Compact Disc Readable)
    คือแผ่น CD ที่ใช้เขียนข้อมูลได้จนเต็มความจุ และไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลใด ๆ ในแผ่นได้อีก
  • CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory)
    คือแผ่น CD ที่ใช้อ่านข้อมูลได้เพียงอบ่างเดียว ไม่สามารถนำไปเขียนข้อมูลเพิ่มได้ โดย CD เพลง หนัง เกม ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ถูกจัดอยู่ในประเภทนี้
  • CD-RW (Compact Disc Rewritable)
    คือแผ่น CD ที่สามารถเขียนและลบข้อมูลได้หลายครั้งจนกว่าจะเต็มความจุ
  • VCD (Video Comapct Disc)
    ใช้สำหรับเรียกแผ่น CD ที่ถูกบันทึกข้อมูลประเภท ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ อย่าง วิดีโอ หรือภาพยนตร์ใด ๆ ก็ตาม
  • SVCD (Super Video Compact Disc)
    คือวิดีโอที่มีคุณภาพของภาพและเสียงที่ดีกว่า VCD แต่อยู่ในรูปแบบ CD เช่นกัน
  • CD-i (Compact Disc Interactive)
    คือแผ่น CD ในยุคแรกที่ถูกพัฒนาโดย Philips และ Sony
  • Mini CD-R
    คือแผ่น CD ที่มีขนาดเล็กกว่า CD ทั่วไป มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร และความจุอยู่ที่ประมาณ 200 MB. เท่านั้น ซึ่ง CD ชนิดนี้ เคยถูกใช้ในค่ายเพลงค่ายหนึ่งในไทย
  • CD-R Printable
    คือแผ่น CD-R ที่สามารถพิมพ์ภาพลงบนแผ่นได้เลย ใช้ร่วมกับเครื่องพรินท์ที่รองรับการพิมพ์ภาพบนแผ่น CD

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

ตัวอย่างแผ่น Mini CD ที่ใช้กับอัลบั้มเพลงในไทย
ภาพจาก : https://www.kaidee.com/product-133590866

แผ่น DVD คืออะไร ?(What is Digital Versatile Disc ?)

สำหรับ "แผ่น DVD" นั้น แรกเริ่มเดิมที ย่อมาจากคำว่า "Digital Video Disc" ที่แปลว่า "แผ่นบันทึกวิดีโอดิจิทัล" แต่ภายหลัง มันไม่ได้มีความสามารถในการเก็บบันทึกแค่วิดีโออย่างเดียวเท่านั้น มันสามารถเก็บได้ทั้ง ซอฟต์แวร์ รูปภาพ และข้อมูลอื่น ๆ เขาจริงเปลี่ยนชื่อเต็มมาเป็นคำว่า "Digital Versatile Disc" แปลว่า "แผ่นบันทึกข้อมูลดิจิทัลสารพัดประโยชน์" (คำว่า Versatile แปลว่า "สารพัดประโยชน์" หรือ "อเนกประสงค์") นั่นเอง

โดยแผ่น DVD เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) เป็นแผ่นจานแสงจัดเก็บข้อมูลออปติคัลในรูปแบบดิจิทัล มีความจุสูงกว่าแผ่น CD ภายใต้ขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนใครที่ต้องการความคงทนของข้อมูล แผ่น DVD และข้อมูลภายในสามารถอยู่ได้นานถึง 30 ปีเลยทีเดียว

ประเภทของแผ่น DVD ตามลักษณะการเขียนข้อมูล

  • DVD-R (Digital Versatile Disc Recordable)
    คือแผ่น DVD ที่สามารถเขียนข้อมูลได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่น หลังจากนั้นจะไม่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มได้อีก 
  • DVD+R (Digital Versatile Disc Recordable)
    คือแผ่น DVD ที่สามารถเขียนและลบข้อมูลได้จนกว่าจะเต็มความจุแผ่น หลังจากนั้นจะไม่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มได้อีก
  • DVD-RW (Digital Versatile Disc Rewritable)
    คือแผ่น DVD ที่สามารถเขียนข้อมูลซ้ำในลักษณะเต็มแผ่นในคราวเดียว หากต้องการใช้ซ้ำ จะต้องลบข้อมูลเก่าออกและเขียนข้อมูลใหม่ลงไป
  • DVD+RW (Digital Versatile Disc Rewritable)
    คือแผ่น DVD ที่สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายรูปแบบ จะเขียนข้อมูลในคราวเดียวก็ได้ หรือเขียนข้อมูลแบบต่อเนื่องก็ได้ จนกว่าจะเต็มพื้นที่ของแผ่นนั้น
  • DVD-RAM (Digital Versatile Disc Random Access Memory)
    คือแผ่น DVD ชนิดพิเศษที่เขียนข้อมูลแบบฮาร์ดดิสก์ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อ่านและเขียนข้อมูลชนิดพิเศษ
  • DVD-ROM (Digital Versatile Disc Read Only Memory)
    คือแผ่น DVD ที่ถูกเขียนข้อมูลและผ่านกระบวนการผลิตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว เช่น DVD ภาพยนตร์ เกมต่าง ๆ ไม่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมได้อีก

ประเภทของแผ่น DVD ตามความจุ

  • DVD-5 มีลักษณะเป็นแผ่นหน้าเดียว จุข้อมูลได้ 1 ชั้น มีความจุที่ 4.7 GB. สามารถแบ่งได้เป็นหลายแบบย่อย ๆ เช่น
    • แผ่น DVD-R (DVD Recordable) สำหรับเขียนข้อมูลจนเต็มความจุ จากนั้น แผ่น DVD จะใช้ได้เฉพาะการอ่านข้อมูลเท่านั้น
    • แผ่น DVD+R, แผ่น DVD-RW และ แผ่น DVD+RW (DVD Rewriteable) เป็นแผ่น DVD ที่สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้จนกว่าจะเต็มพื้นที่ของแผ่นนั้น
    • แผ่น DVD-RAM (DVD Random Access Memory คือ แผ่น DVD ชนิดพิเศษที่เขียนข้อมูลแบบฮาร์ดดิสก์ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อ่านและเขียนข้อมูลชนิดพิเศษ
    • แผ่น DVD-ROM คือ แผ่น DVD ที่ถูกเขียนข้อมูลและผ่านกระบวนการผลิตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว เช่น DVD ภาพยนตร์ เกมต่าง ๆ ไม่สามารถเขียนข้อมูลเพิ่มเติมได้อีก
  • DVD-9 มีลักษณะเป็นแผ่นหน้าเดียว จุข้อมูลได้ 2 ชั้น มีความจุที่ 8.5 GB. รองรับทั้ง DVD-R และ DVD+R เช่นกัน
  • DVD-10 มีลักษณะเป็นแผ่น 2 หน้า แต่จุข้อมูลได้เพียง 1 ชั้น มีความจุที่ 9.4 GB. เสมือนแผ่น DVD5 2 แผ่นซ้อนกัน
  • DVD-18 มีลักษณะเป็นแผ่น 2 หน้า และจุข้อมูลได้ 2 ชั้น มีความจุที่ 17 GB.

แม้แผ่น DVD จะมีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ มีเพียงแผ่น DVD-5 และแผ่น DVD-9 เท่านั้น เพราะด้วยความจุก็สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไปด้วย

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

ภาพจาก : https://www.amazon.com/Verbatim-DVD-R-4-7GB-Recordable-Media/dp/B00081A2KY

แผ่น Blu-Ray คืออะไร ?(What is Blu-Ray Disc ?)

บทความเกี่ยวกับ Storage อื่นๆ

ส่วนแผ่นบลูเรย์ (Blu-Ray Disc) เป็นจานแสงบันทึกข้อมูลที่มีความจุที่สูงกว่าแผ่น DVD ทั่วไปอยู่พอสมควร โดยแผ่น Blu-Ray มีทั้งความจุ 25 GB. (แผ่น 1 ชั้นเก็บข้อมูล) และความจุ 50 GB. (แผ่น 2 ชั้นเก็บข้อมูล) และยังรองรับไฟล์ความละเอียดสูงกว่า DVD อีกด้วย ปัจจุบัน แผ่นบลูเรย์ยังใช้กับเครื่องฉายภาพยนตร์ความละเอียดสูง เกมคอนโซลบางประเภท เช่น Sony PlayStation 5 เป็นต้น

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

ภาพจาก : https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C

แผ่น Blu-Ray ถูกพัฒนาโดยกลุ่ม Blu-ray Disc Association (BDA) ส่วนชื่อ Blu-Ray นั้น มีที่มาจากเลเซอร์แสงสีน้ำเงิน ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นนั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของแผ่น Blu-Ray สามารถรองรับคอนเทนต์ที่มี ความละเอียดหน้าจอสูงถึง 1080p (Full HD) เลยทีเดียว

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

ภาพจาก : https://www.sony.co.th/th/electronics/blu-ray-disc-players/bdp-s1500

ประเภทของแผ่น Blu-Ray

  • BD-R SL (Blu-Ray Disc Recordable Single Layer)
    มีความจุ 25 GB. ใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว จากนั้นจะใช้งานได้เฉพาะการอ่านข้อมูลเท่านั้น
  • BD-R DL (Blu-Ray Disc Recordable Dual Layer)
    มีความจุ 50 GB. เป็นแผ่นที่มีความจุ 2 เท่าของแผ่น BD-R แต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน บันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเช่นกัน
  • BD-R 2DL (Blu-Ray Disc Recordable Double Layer)
    มีความจุ 100 GB. เป็นแผ่นที่มีความจุ 2 เท่าของแผ่น BD-R DL แต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน บันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเช่นกัน
  • BDXL (Blu-Ray Disc EXtra Large)
    มีความจุสูงถึง 100 GB. และ 128 GB. มีคุณสมบัติเหมือนกับแผ่น BD-R และแผ่น BD-R DL
  • BD-RE (Blu-Ray Disc Rewritable)
    สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้ มีให้เลือกทั้งความจุ 25 GB. (BD-RE SL) และ 50 GB. (BD-RE DL)

แผ่น HVD คืออะไร ?(What is Hologram Versatile Disc ?)

ส่วนใครที่เห็นชื่อ "แผ่น HVD" หรือที่ย่อมาจาก "Hologram Versatile Disc" แล้วไม่คุ้นตา ก็ไม่ต้องสงสัย เพราะนี่เป็นเทคโนโลยีจานแสงความจุสูงระดับเทราไบต์ (TB.) ภายใต้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 เซนติเมตร โดยแผ่น HVD ใช้เทคนิคการอ่าน-เขียนข้อมูลที่เรียกว่า Collinear Holography ใช้ลำแสงสีน้ำเงิน-เขียว-แดงอ่านข้อมูลโฮโลแกรม แบ่งออกเป็นลำแสงสีน้ำเงิน-เขียวอ่านข้อมูลเข้ารหัสบนชั้นผิวโฮโลกราฟ ส่วนลำแสงสีแดงใช้อ่านข้อมูล Servo ตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่ของหัวอ่านแผ่น HVD บนชั้นอะลูมิเนียมแบบแผ่น CD ทั่วไป

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Holographic_Versatile_Disc

แผ่น HVD ในยุคแรก ๆ มีความจุ 150-300 GB. วางจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ.2549) แต่ด้วยราคาแผ่น HVD สูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,800 บาท) ซึ่งเทคโนโลยีแผ่น HVD อยู่ภายใต้องค์กร HVD Alliance ที่เป็นการร่วมมือระหว่างบริษัทฮิตาชิ ฟูจิ มิตซูบิชิ และบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ

องค์กรนี้วางแผนไว้ว่า เปิดตัว HVD 500 GB. ภายในต้นปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) เปิดตัวเครื่องบันทึกภาพสำหรับแผ่น HVD ภายในปี ค.ศ.2009 (พ.ศ.2552) และแผ่น HVD 2 TB. ภายในปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) ซึ่งปัจจุบัน แผ่น HVD มีความจุสูงถึง 3.9 TB. ถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็ว 1 กิกะบิต/วินาที เรียบร้อยแล้ว

DVD มีลักษณะที่แตกต่างกับ VCD อย่างไร

โครงสร้างของแผ่น HVD
ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5

แผ่น AD หรือแผ่นดิสก์จดหมายเหตุ คืออะไร ?(What is Archival Disc ?)

ส่วนใครที่ไม่คุ้นชื่อ "แผ่น AD" หรือที่ย่อมาจาก "Archival Disc" ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนี่เป็นแผ่นดิสก์ที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างโซนี่ (Sony) และพานาโซนิค (Panasonic) ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.2014 (พ.ศ. 2557) และเปิดตัวครั้งแรกในไตรมาสสองของปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ.2558) ซึ่งแผ่น AD ถูกพัฒนาเพื่อให้ทนทานต่อความชื้น และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นจึงมีอายุการใช้งาน ที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างยาวนาน มากกว่า 50 ปี จึงเป็นเหตุให้เขาเรียกว่า "แผ่นดิสก์จดหมายเหตุ" นั่นเอง

แผ่น AD แบ่งออกเป็น 3 รุ่นหลัก ๆ ตามความจุหลัก ๆ ดังนี้

  • แผ่น AD รุ่นที่ 1 ความจุ 300 GB.
  • แผ่น AD รุ่นที่ 2 ความจุ 500 GB.
  • แผ่น AD รุ่นที่ 3 ความจุ 1 TB.

ปัจจุบัน แผ่น AD ยังถูกพัฒนาโดย Sony และ Panasonic เช่นเคย ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ทาง Sony จัดส่ง Sony Gen3 PetaSite Optical Disc Archive ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความจุมากถึง 2.9 ล้าน GB. (เท่ากับ 29 TB.) เลยทีเดียว

ทำไมแผ่น CD ถึงหายไปจากตลาด ?(Why Compact Disc is disappeared from the market ?)

ในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) ที่แผ่น CD กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ เพราะ CD ในขณะนั้นสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่าฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ PC เสียอีก ขณะที่ราคาของแผ่น CD อยู่ในระดับที่สามารถซื้อได้ง่าย ถูกจัดเป็นสินค้าอุปโภคทั่วไป ประกอบกับยอดขาย CD เพลง แผ่น CD-ROM และแผ่น CD-R ทั่วโลกมียอดขายถึง 3 หมื่นล้านแผ่น แถมพุ่งสูงขึ้นถึง 2 แสนล้านแผ่นทั่วโลก ภายในปี ค.ศ 2007 (พ.ศ. 2550)

เว็บไซต์ BBC ทางฝั่งอังกฤษให้ข้อมูลไว้ว่า ยอดขายแผ่น CD ลดลงถึง 25% ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) และในปีถัดมา ยอดขายแผ่น CD ตกลงถึง 10 ล้านชิ้น แต่ ณ ปัจจุบัน ก็ยังมีการใช้งานแผ่น CD แผ่น DVD และแผ่น Blu-Ray ก็ยังอยู่ในการใช้งานบางแบบ เช่น การดูหนัง เล่นเกม การส่งไฟล์ข้อมูล ซึ่งก็คงอีกนานกว่าที่แผ่นเหล่านี้จะหายไปจากโลกนี้อย่างถาวร

DVD และ VCD มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

DVD เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ VCD หลายเท่าตัว โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่ 720 x 480 พิกเซลในระบบ PAL และ 720 x 576 พิกเซลในระบบ NTSC โดยมาตรฐานของแผ่น DVD ก็มีหลายประเภท เช่น DVD + R/RW , DVD – R/RW , DVD + RDL และ DVD + RAM ซึ่งความจุของแผ่น DVD ก็ ...

บลูเรย์ กับ ดีวีดี ต่างกันยังไง

Blu-ray ดีกว่า DVD อย่างไร.
ความจุมากกว่า – Single Layer: Blu Ray 25 GB VS 4.7 GB DVD. ... .
ภาพระดับ High Definition คมชัดกว่า ... .
เสียงระดับ High Definition ไม่มีการบีบอัด ... .
เคื่องเล่น Blu-ray สามารถเล่นแผ่น DVD ได้ แต่เครื่องเล่น DVD ไม่สามารถเล่นแผ่น Blu Ray..

VCD DVD คืออะไร

วีซีดี หรือ วิดีโอซีดี (VCD หรือ Video CD) เป็นรูปแบบมาตรฐานในการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวลงในแผ่นซีดี รูปลักษณ์ของแผ่นวีซีดีเหมือนกับแผ่นซีดี สามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เครื่องเล่นดีวีดี (DVD) เป็นต้น รูปแบบวีซีดีมาตรฐานถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1991 โดย บริษัท โซนี่ บริษัท ฟิลิปส์ บริษัท มัท ...

DVD ได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของอะไร

MPEG -2 ถือก าเนิดขึ้นในปี 2538 ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาเพื่อการสร้างภาพยนตร์ โดยเฉพาะ โดยสามารถสร้างเป็น SVCD หรือ DVD ก็ได้ ซึ่งอัตราการบีบอัดข้อมูลจะน้อย กว่า MPEG-1 ไฟล์ที่ได้จึงมีขนาดใหญ่กว่าและได้คุณภาพสูงกว่าด้วย อีกทั้งค่าบิตเรตก็ไม่ ตายตัว ท าให้สามารถก าหนดอัตราการบีบอัดข้อมูลได้เอง