ปัญหาความขาดแคลน

จากประชากรโลกมากกว่า 7 พันล้านคน มีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ใช้ชีวิตอยู่โดยมีมาตรฐานสุขอนามัยและคุณภาพการบริโภคอาหารที่ดี ประชากรส่วนที่เหลือของโลกนั้นยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขอนามัย สภาวะขาดแคลนอาหาร และขาดแคลนกำลังซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเพียงพอกับความต้องการ

ความต้องการผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการอาหารที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ทำให้ราคาของสินค้าเกษตรกรรมและโภคภัณฑ์มีการปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเดิมมีกำลังซื้อน้อยอยู่แล้วให้มีความสามารถในการซื้อลดลงไปอีกจนไม่สามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรกรรมที่มีคุณภาพดีเหล่านั้นได้ ประกอบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่เห็นได้อย่างชัดเจนและส่งผลกระทบมากขึ้นในทุกๆ ปี เช่น แผ่นดินไหว ความแห้งแล้ง อุทกภัย หรือการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายและทวีความรุนแรงขึ้นในแต่ละปี สร้างปัญหาเรื่องการขนส่ง ความอดอยาก และอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ สินค้าที่ได้จากการผลิตโดยเกษตรกร กว่าที่จะผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกสู่ตลาดและมาถึงผู้บริโภคในที่สุดนั้น มีการสูญเสียสินค้าถึงร้อยละ 40 หรือมากกว่าหนึ่งในสามของสินค้าที่มีการผลิตได้ ทำให้โอกาสสำหรับประชากรที่รายได้ต่ำหรือยากจนที่จะสามารถเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีลดต่ำลงเรื่อยๆ

ปัญหาเรื่องของความต้องการสินค้าเกษตรกรรมและโภคภัณฑ์จึงกลายเป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่รัฐบาลของอินเดียพยายามที่จะแก้ไข โดยในปี2011 อินเดีย จีน และบราซิล ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการประชุม G20 และ World Economic Forum เนื่องจากเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสินค้าสูง จากการประชุมของประเทศกลุ่ม G20 ในปี 2011 เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในปี 2012 จากสภาวะอากาศและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น (โดยเฉพาะปัญหาฝนแล้ง) ราคาสินค้าที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของโรคระบาด และคุณภาพสินค้าที่ต่ำลง ทำให้มีการวางโครงการเพื่อความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในระบบการผลิตสินค้าสำหรับอาหารและสินค้าเกษตรกรรมในเรื่องคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัย รวมทั้งยังรวมถึงการผลิตโดยคำนึงถึงการประหยัดทรัพยากรและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่ในขณะเดียวกันก็จะต้องช่วยในการประหยัดต้นทุนและสามารถปรับให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มเข้าถึงได้เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ที่รัฐบาลจะต้องเจอหลังจากนี้ซึ่งได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำและพื้นที่เพาะปลูก ปัญหาการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเสื่อมสภาพของดินซึ่งทำให้พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกลดลงไปถึงปีละ 12 ล้านเฮกเตอร์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไถกลบหน้าดินหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดี และระบบการผลิตที่เกิด Organic waste และ Chemical Waste ในปริมาณมาก

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสถานการณ์ของสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอาหารของอินเดีย คือ พฤติกรรมการบริโภคของชาวอินเดียที่เปลี่ยนแปลงไป ช่องว่างระหว่างชนชั้น ระดับรายได้ และความรู้ของประชากร การเสื่อมสภาพของพื้นที่เพาะปลูกและทรัพยากรธรรมชาติ และผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัย

ในอนาคต รัฐบาลอินเดียมีความพยายามที่จะแก้ไขโดยการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนในการเกษตรและการผลิตอาหารแบบยั่งยืน การลงทุนในด้านข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อลดความเสียหายของสินค้าเกษตรกรรม และรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากที่สุดซึ่งก็คือผู้มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับเอกชนในการสร้างระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า

ในขณะที่ประเทศต่างๆ มีการบริโภคเพิ่มขึ้น จนปริมาณสินค้าในตลาดไม่เพียงพอต่อความต้องการ และการเพิ่มกำลังการผลิตต่อไปอยู่ในปริมาณที่ยากที่จะรักษาสมดุลของทรัพยากรที่ลดลงอย่างรวดเร็ว อินเดียยังคงเป็นประเทศที่มีกำลังในการผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่สูงมาก และด้วยปริมาณการผลิตที่แท้จริงในแต่ละปีของอินเดียจะช่วยให้สามารถรักษาสมดุลของการบริโภคสินค้าเกษตรกรรมในตลาดโลกไว้ได้ อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงต้องใช้เวลาและการพัฒนาอีกมากมายในทุกๆ ด้านเพื่อที่จะรักษาไม่ให้ผลผลิตทางการเกษตรต้องสูญเสียไปในกระบวนการที่ไม่ได้มาตรฐานถึงร้อยละ 40 เช่นในปัจจุบัน

ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวลัย (Biosphere) ี่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทุกปัญหาที่เกิขึ้นเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบ

 สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
      1. การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ (Population Growth)
     2. ความก้าวหน้าทางวิทยาการ (Technological Advancement)
     3. การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกสามารถจำแนกออกเป็น 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ

1. ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย อุทกภัย ความแห้งแล้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดความสูญเสียในทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและ
ทำให้สังคมเกิดภาวะการขาดแคลนหรือเข้าสู่ข้าวยากหมากแพงขึ้นได้

2. ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ (Resource Depletion)
สาเหตุการร่อยหรอหรือหมดไปหรือการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
1) ความไม่สมดุลของประชากร (Population Imbalances)
การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติเป็นผลมาจากการที่มีจำนวนประชากรมากเกินไป เช่น สัตว์ที่อยู่ในระบบนิเวศตามธรรมชาติต้องการสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย และที่หลบภัย สำหรับแต่ละชนิดแตกต่างกันไป หากมีจำนวนประชากรเกินกว่าที่สิ่งแวดล้อมจะรองรับได้ จำนวนของสัตว์จะลดลง
ตามธรรมชาติโดยอาจเกิดการอดตาย โรคระบาด ถูกล่าหรือย้ายถิ่นที่อยู่ มนุษย์ก็เช่น
เดียวกัน หากมีจำนวนประชากรมากเกินไปจะทำให้เกิดความอดอยาก การแก่งแย่ง
ทรัพยากร โรคระบาดรวมทั้งเกิดสงคราม
2) สมรรถนะการรองรับได้ในเมือง (Urban Carrying Capacity)
การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของที่พักอาศัย
ในแนวดิ่งมากขึ้น หากขากการวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจะก่อให้เกิดปัญหาความแออัด ขาดแคลนน้ำดื่ม เกิดปัญหาขยะมูลฝอยและมลพิษต่าง ๆ จนสมรรถนะการรองรับได้ในเมือง เมื่อเกิดการขาดแคลนจึงต้องมีการดึงทรัพยากรจากชนบทเข้ามาตอบสนองความต้องการของคนในเมือง เป็นผลให้ทรัพยากรร่อยหรอเร็วขึ้น
3) ความไม่เสมอภาคของทรัพยากร (Resource Disparity)
ประชากรในประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการใช้ทรัพยากรหรือบริโภคทรัพยากรสูงกว่าประชากรในประเทศกำลังพัฒนาหลายเท่า ประเทศพัฒนาแล้วยังรับซื้อ
วัตถุดิบและทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาแล้วนำมาแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปกลับมาขายประเทศกำลังพัฒนาในราคาสูงมาก นอกจากนี้การกระจายตัว
ของทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงพลังงาน ทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายทรัพยากรส่งผลกระทบต่อภาวะสิ่งแวดล้อมเพิ่มมาก ขึ้น

4) ผลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม (Consiquences of Misapplied Technology)

ความก้าวหน้ทางเทคโนโลยีที่มนุษย์นำมาช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้นมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น เพราะกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมต้องการวัตถุดิบเป็นจำนวนมากและสามารถสร้างผลผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การใช้ที่ไม่เหมาะสมมีส่วนทำให้เกิดมลพิษและการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้เครื่องมือการประมงในการจับสัตว์น้ำที่ทันสมัยจะทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลง การใช้ยากำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้องและเกินขนาดทำให้ระบบนิเวศถูกทำลาย
5) การรบกวนทรัพยากรที่มีอยู่ (Interruption of Supply)
การที่มนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า การจับสัตว์น้ำ การล่าสัตว์ การทำเหมือง ฯลฯ ล้วนเป็นการเข้าไปรบกวนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ระบบนิเวศจะพยายามปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ หากมีการรบกวนอย่างรุนแรงและยาวนานการปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้งต้องใช้ระยะเวลานานหรืออาจจะสลายไปเลย
6) ราคาทรัพยากร (Resource Prices)
ราคาทรัพยากร คือ คุณภาพ นั้นหมายถึงทรัพยากรที่มีคุณภาพไม่ดีหรือเสื่อมโทรมเกิดจากมนุษย์ใช้ทรัพยากรโดยขากความระมัดระวัง ทำให้เกิดการขาดแคลน มีการปนเปื้อนของมลพิษต่าง ๆ จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

3. ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม (Pollution)
เป็นปัญหาที่เกิดจากการที่มนุษย์บริโภคทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณที่สูงขึ้นทุกขณะโดยผ่านกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นระบบ ขณะเดียวกันทั้งมนุษย์และโรงงานอุตสาหกรรมต่างก้มีของเสียขับถ่ายออกสู่สิ่งแวดล้อมไม่ว่าในรูปของสารพิษหรือพลังงานในปริมาณที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษนี้จะรุนแรงขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหา น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ดินเสีย เป็นต้น

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคม (Social Problem) หรือมลพิษ ทางสังคม (Social Pollution) ซึ่งเป็นปัญหาที่สืบเนื่อง
มาจากการใช้ทรัพยากร การที่ประชาชนเพิ่มขึ้นความต้องการใช้ที่ดินและทรัพยากรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เกิดปัญหาแย่งกันกินแย่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด เช่น สนามกอล์ฟแย่งน้ำไปจากแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การบุกรุกป่าโดยผิดกฎหมายเพื่อขยายที่ดินทำกินของประชาชน เมื่อถูกดำเนินการทางกฎหมายก็เกิดการประท้วงต่อต้าน การที่สังคมเมืองดูดเอาทรัพยากรจากชนบทเข้ามาใช้อย่างเกินขนาดทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน และความขาดแคลนทรัพยากรในชนบทและปัญหาที่เกิดจาก การทำลายโครงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในสังคมอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลในสังคมนั้น เช่น ปัญหาสารเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาจราจร ปัญหาชุมชนแออัด เป็นต้น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีความีจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เมื่อชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้นก็กลายเป็นเมือง เป็นมหานครที่มีประชากรอยู่หนาแน่นมีโครงสร้างที่ซับซ้อน กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีการแข่งขันกันและขาดการควบคุม จึงก่อให้เกิดปัญหาสังคม หรือมลพิษทางสังคมขึ้น

สาเหตุของมลพิษทางสังคม
1) ปริมาณประชากรที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาได้ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลระหว่าง
ทรัพยากรธรรมชาติกับมนุษย์ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดปัญหาความกดดันทางประชากร (Population pressures) ได้แก่ ปัญหาการเมือง ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาทาง
สังคม คนว่างงาน รายได้ต่ำ ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีการศึกษา และปัญหาอื่น ๆ อีก
มากมาย
2) การขาดแคลนทรัพยากร
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น ที่ดิน แร่ธาตุ เริ่มไม่เพียงพอที่จะสนอง
ความต้องการของประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลาในขณะเดียวกัน ทรัพยากร
ที่มีอยู่อย่างจำกัดดังกล่าวยังเสื่อมสภาพลงเป็นลำดับ เช่น ดินเสื่อมคุณภาพ ป่าถูกทำลาย น้ำเสีย เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพในการใช้ลดลง ทรัพยากรที่เคย
ถือว่ามีอยู่อย่างไม่จำกัด เช่น ทรัพยากรน้ำเริ่มขาดแคลนและเป็นปัญหา ความขาด
แคลนทรัพยากรดังกล่าวทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่งกันในการดำรงชีวิต จนเมื่อปัญหามีความรุนแรงขึ้นมาก ๆ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาด้านอาชญากรรมต่อไปได้
3) ความด้อยโอกาสทางการศึกษา
ประชากรที่ขาดการศึกษา เป็นเหตุให้เสียโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองขาด
การพัฒนาสติปัญญาอันจะเป็นแนวทางในการแสวงหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งเป็นเหตุให้ขาดโอกาสที่จะได้รับการอบรมคุณธรรมและจริยธรรมที่ทำให้ เกิด
ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ผลของการได้รับการศึกษาจะสร้างคุณธรรม
ในตัวบุคคล คุณธรรมทางการเมือง ทางวิชาชีพและทางสังคม ซึ่งจะสามารถช่วย
ลดความคึกคะนองและความบ้าอำนาจและการเอาเปรียบกันทางสังคมลงได้

ปัญหาความขาดแคลนคืออะไร

การขาดแคลน หรือ ภาวะขาดแคลน เป็นภาวะหรือสถานการณ์ที่มีอุปทานไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ ในเรื่องของเศรษฐศาสตร์ หรือ ภาวะที่มีบางอย่างไม่เพียงพอต่อความต้องการ เช่น การขาดแคลนสารอาหาร

ผลของการขาดเเคลนทรัพยากรมีอะไรบ้าง

2) การขาดแคลนทรัพยากร ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น ที่ดิน แร่ธาตุ เริ่มไม่เพียงพอที่จะสนอง ความต้องการของประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลาในขณะเดียวกัน ทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจำกัดดังกล่าวยังเสื่อมสภาพลงเป็นลำดับ เช่น ดินเสื่อมคุณภาพ ป่าถูกทำลาย น้ำเสีย เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพในการใช้ลดลง ทรัพยากรที่เคย

ทำไมทรัพยากร จึงมีความขาดแคลน

ทรัพยากรมีจำกัดเนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น วัตถุดิบแร่ธาุตุ โลหะและฟอสซิล มีอยู่บนโลกใบนี้ในจำนวนที่จำกัดเท่านั้นและไม่สามารถเพิ่มปริมาณใหม่เองได้ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าอุปโภคบริโภคจะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ขาดแคลน

ความต้องการในวิชาเศรษฐศาสตร์หมายถึงอะไร

ความต้องการทางเศรษฐศาสตร์ คือ ความอยากหรือความปรารถนาที่จะไดส้ิ่งต่าง ๆ มาบริโภคหรือทำความพอใจให้กับตนความตอ้งการสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนับเป็นกลไกสำคัญเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจตามมาอีกมากมาย