โรงพยาบาลลาดกระบัง เส้นทาง

ปี พ.ศ. 2502 นางทองคำ กิมสุนจันทร์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างอำเภอลาดกระบัง สถานีตำรวจ และสถานีอนามัยชั้น 2 (ซึ่งเป็นที่ตั้ง โรงพยาบาลในปัจจุบัน) ตั้งอยู่ที่ 190 /15 หมู่ 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงทพมหานคร สถานีอนามัยชั้น 2 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น สถานีอนามัยชั้น 1 ลาดกระบัง ซึ่งมีเตียงรับคนไข้ 10 เตียง โดยมีนายแพทย์ดุษฎี ไตรธรรม เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การแพทย์และสถานีอนามัยลาดกระบัง

ปี พ.ศ. 2521 โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335/2515 ให้ศูนย์การแพทย์และสถานีอนามัยลาดกระบัง ซึ่งสังกัดกระทรวงสรารณสุข ไปขึ้นกับสำนักอนามัยกรุงทพมหานคร และเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์บริการสารารณสุข 45 ลาดกระบัง โดยมี นายแพทย์ประสงค์ เนียมประดิษฐ เป็นหัวหน้าศูนย์

ปี พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร ได้มีนโยบายที่จะขยายการให้บริการด้านการอนามัยและการรักษาพยาบาล แก่ประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึง เนื่องจากเขตลาดกระบังมีประชากรหนาแน่นขึ้น การคมนาคมไม่สะดวก เพราะเป็นเขตชานเมืองห่างไกลจากโรงพยาบาลในเขตชั้นใน คณะผู้บริหารกรุงทพมหานครได้ลงมติเห็นชอบให้ปรับปรุงศูนย์บริการสรรณสุข 45 ลดกระบัง เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียงโดยใช้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลชุมชนลาดกระบัง

ปี พ.ศ. 2530 การก่อสร้างปรับปรุงโรงพยาบาลชุมชนลาดกระบังแล้วเสร็จและดำเนินการรับผู้ป่วย ในวันที่ 1 มีนาคม 2531

ปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เนื่องจาก โรงพยาบาลลาดกระบัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนักอนามัย กรุงทพมหานคร มีชื่อซ้ำซ้อนกับโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ทั้งที่ตั้งของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจทำให้เกิดความสับสนความคลาดเคลื่อนในการติดต่อประสานงาน และอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร (โดยมีมติที่ประชุม ก.ก. ครั้งที่ / 2532) ให้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลลาดกระบัง เป็น โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532

ปี พ.ศ. 2538 ผู้บริหารกรุงทพมหานคร มีความเห็นว่าโรงพยาบาลลาดกระบัง-กรุงเทพมหานคร เป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งเดียวในเขตชานเมือง ที่มีไว้ให้บริการประชาชน ประกอบกับมีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลขนาด30 เตียง สมควรจะได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพและศักยภาพ จึงมีมติให้โอนย้ายโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงทพมหานคร มาสังกัดสำนักการแพทย์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 ตามมติคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร(ก.ค.)

ปี พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ได้ขยายขีดความสามารถเป็นโรงพยาบาลประเภททั่วไประดับทุติยภูมิ ขนาด 60 เตียง ประกอบด้วย หอผู้ป่วยหญิง 30 เตียง, หอผู้ป่วยชาย 20 เตียง, ห้องพิเศษ 6 ห้อง และหออภิบาลผู้ป่วยหนัก 4 เตียง โดยมีอาคารให้บริการตั้งอยู่บนเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน

โรงพยาบาลลาดกระบัง เส้นทาง

ตึกคลินิกพิเศษ ชั้น 1 

ซอยลาดกระบัง 15 ถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

ติดต่อนัดตรวจ ข้อมูลทั่วไปวันให้บริการ : จันทร์ พุธ พฤหัสบดี (ยกเว้นวันหยุดราชการ)เวลา 16.00 - 20.00 น.โทร : พี่เจี๊ยบ โทรศัพท์ 08-6995-6364แฟกซ์ : -หรือหลังเลิกงาน
โทร : 08-6995-6364เว็บไซต์ : -อีเมล์ : -

คลินิกรักษ์เพื่อน
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
• เป็นคลินิกพิเศษนอกเวลาสำหรับชายรักชาย (MSM) และสาวประเภทสอง (TG)
   -ให้บริการตรวจเอชไอวี แบบรู้ผลภายในวันที่มาตรวจ
   -ให้บริการตรวจคัดกรองซิฟิลิส
   -ให้บริการดีเป็นมิตรไม่ตีตรา
   -ให้บริการแบบ one stop service โดยผู้ให้การปรึกษาคนเดียวกันทั้งก่อนตรวจและหลังตรวจ
   -ให้คำแนะนำเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยและแจกถุงยางอนามัยพร้อมสารหล่อลื่นฟรี
   -ให้บริการตรวจเอชไอวีและซิฟิลิสทุกสิทธิ์การรักษา ไม่เสียค่าบริการ
*** ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บเป็นความลับ*