ยุคใดที่โทรศัพท์ได้ยินแค่เสียงเพียงอย่างเดียว

       4G ��� Forth Generation ���㹺�ҹ����ѧ����������繡ѹ ����;ٴ�֧෤��������������ؤ 4G ����ͧ�������ǹ���˹�͡��� 3G �ҡ ��ͷӤ�������㹡�����������֧�дѺ 20-40 Mbps  �������º�Ѻ�������Ƿ����ҡ 3G ��鹤�������ͧ�ѹ���  ������蹹�����͢������Ѿ������෤����� 4G ����ö����ԡ���Ѻ����¡���÷�ȹ��ҹ��Ͷ��������  ���ͨ���Ŵ������ҧ�Ҿ¹����Ҫ������Ѿ����Ͷ�͡����������蹡ѹ  ��������蹶֧�պ���ⴴ�����ؤ 4G  �ѹ����������Թ �ӵͺ���� � ���� "�ԨԵ�Ť͹෹��" �繵�Ǽ�ѡ�ѹ����Դ�������¹�ŧ��鹹���ͧ  ����ͼ������ԡ�����������ٻẺ�����Դ����͹Ҥ�  �¨��繵�ͧ��������͢��·���դ��������٧  ����ö�Ѻ�觢�������㹻���ҳ�ҡ �  �ѧ���  ��ü�ѡ�ѹ����ͧ����������ؤ 4G �����෤����շ���˹�͡���  3G ��͹�����  ��Ҩ��繡�õѴ�Թ㨷��١��ͧ����ش

เคยพยายามโทรหาคนอายุน้อยกว่าแต่โทรไปยังไงเขาก็ไม่รับมั้ยครับ แต่พอส่งข้อความไป เขากลับตอบมาอย่างรวดเร็ว

ถ้าเคยก็ยินดีด้วยครับ คุณแก่แล้ว และเราขอแนะนำให้คุณรู้จักคนรุ่นที่เรียกว่า Generation Mute กัน

อะไรคือ Generation Mute?

คำตอบสั้นๆ ก็คือ มันเป็นคำเรียกคนอายุตั้งแต่ 20 กลางๆ ลงไป ที่มีพฤติกรรมปิดเสียงโทรศัพท์เอาไว้ตลอด และจะไม่รับโทรศัพท์เลยถ้าไม่จำเป็น

ซึ่งนี่อาจเป็นการแบ่งรุ่นแปลกๆ แต่ในทางการตลาดนี่เรื่องใหญ่ เพราะมันชี้ว่าคนรุ่นนี้จะ “ทำตลาด” ด้วยการโทรไปหาไม่ได้เด็ดขาด เพราะขนาดคนรู้จักกันเขายังไม่รับโทรศัพท์เลย จะประสาอะไรกับคนโทรไปขายของ

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น อันนี้อาจต้องเล่านิดหน่อย

คนรุ่นไม่วางโทรศัพท์ แต่ก็ไม่รับโทรศัพท์

สำหรับคนที่โตมาในยุคที่คนโทรคุยกันเป็นชั่วโมงเป็นเรื่องปกติ อาจเข้าใจ “คนรุ่นใหม่ไม่รับโทรศัพท์” ยากหน่อย แต่ในความเป็นจริง ลองมองจากความรู้สึกนึกถึงของเราที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปอาจเข้าใจมากขึ้น

เพราะทุกวันนี้ แม้แต่คนรุ่นเก่าๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเยอะๆ หน่อย ถ้าเลือกได้ ก็จะไม่สื่อสารทางโทรศัพท์กันด้วยซ้ำ และคนที่ชินกับการที่ “มีอะไรโทรบอก” นี่อาจเป็นแค่คนรุ่น Gen X ขึ้นไปด้วยซ้ำ เพราะขนาด Gen Y หรือคนอายุสัก 30 กว่าๆ ส่วนใหญ่ถ้าเลือกได้ยังไม่โทรเลย

ไม่โทรแล้วทำยังไง? คำตอบคือ ก็ส่งข้อความหากันสิ เร็วกว่าเยอะ!

แต่ความต่างของคนรุ่น “ก่อนสมาร์ตโฟน” กับรุ่นใหม่ๆ ก็คือคนรุ่นก่อนสมาร์ตโฟนนั้น เวลาอยู่ในห้องเดียวกันยังรู้สึกเป็นมารยาทที่ต้องเดินไปคุยต่อหน้า แต่คนรุ่นใหม่ๆ แทบจะครึ่งหนึ่งนั้นคิดว่าการส่งช้อความไปหาคนที่อยู่ในห้องเดียวกันแทนที่จะเดินไปคุยนี่ปกติมากๆ ไม่ใช่การเสียมารยาทอะไร

เพราะสำหรับคนที่โตมากับสมาร์ตโฟน สมาร์ตโฟนคืออวัยวะที่ 33 เป็นของที่พกติดตัวตลอด เรียกได้ว่าส่งข้อความไปก็จะเห็นและพิมพ์ตอบได้ทันที (ถ้าเค้าจะตอบ)

แต่ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เค้าอาจไม่พิมพ์ตอบทันทีเช่นกันถ้าทำอะไรอยู่

เพราะในยุคนี้ คนอาจ “ทำอะไรอยู่หน้าจอ” ก็ได้ ตั้งแต่ทำงาน เล่นเกม ยันพิมพ์ข้อความตอบคนอื่น และการเดินไปพูดคุยทำให้รู้สึกว่าต้องสื่อสารกับคนที่คุยคนเดียว มันชวนกระอักกระอ่วน และการโทรไปหาก็ทำให้เกิดความกระอักกระอ่วนแบบเดียวกัน

การสื่อสารในยุค Multi-Tasking ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด

ปัญหาของการโทรศัพท์ก็คือ มันบีบให้คนเราต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมดสื่อสารกับคนใดคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลานาน และนี่ไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่คุ้นเลย เพราะชีวิตปกติ ภายใน 5 นาที การคุยกับคน 6-7 คนผ่านแชตบ็อกซ์ที่ต่างกันเป็นเรื่องปกติ หรือการพิมพ์งานไป คุยงานไป ก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน

ซึ่งการรับโทรศัพท์เป็นสิ่งที่ “รบกวน” กิจกรรมเหล่านี้ คือมันเป็นสิ่งแปลกแยกที่ต้องใช้ความใส่ใจเกินไปในยุคที่คนคาดหวังจะทำสารพัดสิ่งไปพร้อมๆ กันบนหน้าจอย่อยๆ และจริงๆ มันมีงานวิจัยมายืนยันเลยว่า คนที่ทำหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันถ้ามีอะไรมาให้เสียสมาธิ กว่าจะตั้งสมาธิแล้วทำต่อได้มันเสียเวลามาก

และประเด็นอีกอย่างที่การโทรศัพท์มีปัญหาก็คือ “วัฒนธรรม” ที่ประกอบการคุยโทรศัพท์ ที่ต้องมีพิธีรีตอง ต้องทักทายกันก่อน ถามสารทุกข์สุกดิบ ก่อนจะเข้าเรื่อง และก็ถามสารทุกข์สุกดิบต่อ ก่อนจะต้องอำลากัน แล้ววางสาย

พูดง่ายๆ การโทรหากันมัน “พิธี” เยอะ และถ้าไม่ทำแบบที่ว่า มันก็แปลกๆ ห้วนๆ ด้วย

แต่ถ้าส่งข้อความหากัน ธรรมเนียมคือพิมพ์ประเด็นทิ้งไว้เลย เขาว่างเมื่อไรก็มาตอบ ไม่ต้องมาทักทายและถามสารทุกข์สุกดิบกันทุกครั้งที่ทำการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารแบบหลังแม้ว่าจะดู “เย็นชา” กว่า แต่มันมีประสิทธิภาพกว่ามาก ซึ่งก็เหมาะกับยุคที่เรียกร้องให้เราต้องสื่อสารมากกว่ายุคไหนๆ

ดังนั้น “การสื่อสารที่เป็นมนุษย์” ของคนรุ่นก่อนอย่างการโทรไปคุยให้ได้ยินเสียง มันเลยกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ชักช้าน่ารำคาญของยุคที่คนสื่อสารกันตลอดเวลา

แต่ถามว่า “คนรุ่นใหม่” เขา “รับได้” ไหม ถ้าจะมีคนโทรมา โดยทั่วไป ก็น่าจะรับได้ถ้ามันเป็น “เรื่องเร่งด่วนหรือคอขาดบาดตาย” จริงๆ แบบมีใครป่วยหนัก มีใครตาย มีใครจะโดนไล่ออก ฯลฯ แบบนี้พวกเขาคงรับได้ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลให้ชีวิตคนหักเหได้เลย

ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็แน่นอน พวกเขาก็ไม่อยากคุยด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์เท่าไร และนี่ก็คงจะเป็นสิ่งที่เหล่า “คนแก่” ต้องเข้าใจมากขึ้น

จริงๆ แล้วการเรียก 1G, 2G, 3G หรือ 4G ก็ตามคือการเรียกเทคโนโลยีของ “ระบบ” โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวมทั้งโครงข่ายและเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยแต่ละยุคก็จะใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน  หลายๆ ท่านมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นการเรืยกยุคต่างๆ ของตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น  ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่าแล้วอะไรคือคำจำกัดความของแต่ละยุค แบ่งตามปี? แบ่งตามขนาด? แบ่งจากจอ? หรือแบ่งจากหน้าตา?  หรืออะไร?

ยุคใดที่โทรศัพท์ได้ยินแค่เสียงเพียงอย่างเดียว
คุณว่าสมาร์ทโฟน เป็นมือถือยุคที่ 3 หรือไม่?  ลองดูสมาร์ทโฟนยี่ O2 รุ่น Guide ในภาพครับ ถ้าดูจากภาพมันน่าจะเป็นมือถือ 3G ใช่ไหมครับ?

คำตอบคือ..มันไม่ใช่โทรศัพท์ยุค 3G ครับเพราะมันไม่รองรับการทำงานแบบ 3G มันรองรับเพียง EDGE กับ GPRS เท่านั้น

ดังนั้นการเรียกจะถูกแยกตามยุคของเทคโนโลยีของระบบ (โครงข่ายและเครื่องลูกข่าย) เช่นโทรศัพท์ 3G ก็คือโทรศัพท์ที่รองรับการทำงานกับระบบ 3G นั่นเอง เพราะถ้าไม่แบ่งแบบนี้เราคงได้เห็นโทรศัพท์ 5G..6G…ไปถึง 100G  กันแล้ว  แต่ตอนนี้โทรศัพท์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ก็อยู่แค่ 4G เท่านั้น

ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายและผู้ผลิตตัวเครื่องโทรศัพท์จะผลิตออกมาตามมาตราฐานของเทคโนโลยีที่ถูกรองรับและประกาศใช้  เช่นเมื่อมาตราฐานของ 5G ถูกรองรับและนำมาใช้ ผู้ผลิตจึงเริ่มผลิตอุปกรณ์โครงข่ายและเครื่องโทรศัพท์ 5G ออกมาขายควบคู่กัน

การจะเป็นมือถือ 3G หรือ 4G ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาร์ทโฟน แต่สมาร์ทโฟนถูกสร้างมาให้ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการส่งข้อมูลความเร็วสูงของ 3G และ 4G ได้มากที่สุด ซึ่งปัจจัยหลักของการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็คือ

ความต้องการ “เข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว” นั่นเอง

 

สมาร์ทโฟนในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น 4G กันแล้ว  มันจึงช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันของเราในทุกๆ ด้าน เพราะมันไม่ได้เป็นแค่โทรศัพท์อีกต่อไป มันเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน ใช้เพื่อความบันเทิงต่างๆ เป็นเครื่องมือต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งเป็นเครื่องดนตรี เป็นต้น มันสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกอาชีพ ทุกวัย และทุกระดับ เพราะราคาสมาร์ทโฟนก็ไม่ได้แพงอีกต่อไปแล้ว  เริ่มต้นเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น

G คืออะไร?

เรามาทำความรู้จักในส่วนของ 1G 2G 3G และ 4G กันก่อนดีกว่า ซึ่งหลายคนในยุคนี้อาจจะไม่เคยได้ยินคำว่า 1G  ซึ่ง 1G เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) นี่เอง และไม่น่าเชื่อเลยว่า ผ่านไปไม่ถึง 40 ปีมันถูกพัฒนามาเป็น 4G ในทุกวันนี้

ส่วน 5G นั้นขณะนี้หลายๆ ประเทศกำลังมีการวิจัยกันอยู่  แต่ยังไม่มีองค์กรใดออกมารองรับมาตราฐาน 5G เชื่อว่าคงใช้เวลาอีกซักพักจึงจะได้ใช้งานกันอย่างจริงจัง

คำว่า G ย่อมาจากคำว่า “Generation” ที่แปลว่า ยุค, สมัย, รุ่น ซึ่งเมื่อเอาไปใช้รวมกับตัวเลข ในภาษาอังกฤษจะออกเสียงว่า First Generation, Second Generation, Third Generation เป็นต้น และถูกย่อเป็นคำว่า 1G, 2G, 3G ซึ่งเป็นชื่อเรียกในแต่ละยุคของเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Telecommunications Technology) เราไปดูแผนผังในแต่ละยุคคร่าวๆ กันก่อนจะไปเจาะลึกกันต่อที่รายละเอียดด้านล่างค่ะ

ยุคใดที่โทรศัพท์ได้ยินแค่เสียงเพียงอย่างเดียว

1G (1st Generation)

เมื่อเข้าถึงยุคสมัยที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุคแรกสุดนั้นเรายังไม่ได้มีการกำหนดว่านั่นเป็นยุค 1G แต่อย่างใด แต่เราได้กำหนดคำนี้ขึ้นเมื่อเริ่มมีการพัฒนาในวงการเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านมาได้ถึงยุค 3G แล้วนั่นเอง โดยในรุ่นแรกๆ นี้ หลายคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างกับโทรศัพท์มือถือร่างยักษ์ที่มีปุ่มกดนูนๆกับเสาอากาศใหญ่โตที่ทำได้เพียงโทรเข้า-ออก รับสาย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog ได้รับการพัฒนาเป็นครั้งแรกในเครือข่ายโทรศัพท์ NTT ของประเทศญี่ปุ่นและมีการใช้ครั้งแรกที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1979 ก่อนจะเริ่มแพร่หลายใช้ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น และเข้ามาสู่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย (ยุโรปตอนเหนือ) ในปี 1981

ยุคใดที่โทรศัพท์ได้ยินแค่เสียงเพียงอย่างเดียว

 

ตัวอย่างโทรศัพท์ที่ใช้ในระบบ 1G

 

สำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog นี้ จะใช้ระบบพื้นฐานการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หลักในการทำงานคือ การแบ่งช่องความถี่ออกเป็นความถี่ย่อยหลายๆ ช่อง บนความถี่ที่ 824-894 MHz แล้วใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่เท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นจะสามารถใช้การบริการโทรศัพท์ได้เฉพาะในช่องความถี่ที่ว่างอยู่ และหลังจากที่มีผู้ใช้งานมากขึ้น ระบบก็ไม่สามารถรองรับสัญญาณได้ จึงทำให้การส่งสัญญาณแบบ FDMA ไม่เป็นที่นิยมและเกิดการพัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป

ในยุค 1G นี้ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ Analog นี้ ทำให้โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการใช้งานในเรื่องของเสียง (Voice) เท่านั้น คือรองรับเพียงการโทรเข้า และรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 1G

โทรออก / รับสาย
ไม่รองรับผู้ใช้งานในจำนวนมาก
เกิดการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่ายและไม่ปลอดภัย

2G (2nd Generation)

พอมาถึงในยุค 2G เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้

 

ยุคใดที่โทรศัพท์ได้ยินแค่เสียงเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างโทรศัพท์ในยุค 2G

 

ในยุค 2G เริ่มมีความต้องการในการใช้ Data เกิดขึ้น การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า “Dial up” จึงถูกนำมาใช้ โดยโทรศัพท์บางรุ่นหรืออุปกรณ์เสริมจะทำหน้าที่เป็นโมเด็มแล้วโทรเข้าไปยังหมายเลขของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) เพื่อใช้บริการรับส่ง ข้อมูล เล่นอินเตอร์เน็ต  โดยเก็บค่าบริการตามจำนวนนาทีที่เชื่อมต่อ  และเนื่องการ Dial up ใช้ช่องสัญญาณของเสียงมารับส่งข้อมูลจึงมีข้อจำกัดมากมาย เช่นความเร็วสูงสุดจึงทำได้เพียง 28.8 kbps เท่านั้น

ยุคใดที่โทรศัพท์ได้ยินแค่เสียงเพียงอย่างเดียว

Nokia Data Card ทำหน้าที่เป็นโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

 

ต่อมาในยุค 2.5 G มีสิ่งที่เรียกว่า “Always On”  ตอนนี้ตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ไม่ต้องโทรเข้าไปยัง ISP หรือผู้ให้บริการใดๆ อีกแล้ว เพราะมันจะเชื่อมต่อกับระบบอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการใช้งานจะสะดวกกว่า และยังทำให้มีความสามารถใหม่ๆ เช่น e-Mail และการเตือน (Alert) โดยผ่านการ “Push” จากผู้ให้บริการต่างๆ เป็นต้น ส่วนการคิดค่าบริการข้อมูลนั้นจะไม่คิดตามนาทีที่เชื่อมต่ออีกต่อไป แต่จะคิดตามจำนวนข้อมูลที่รับส่งแทน

Alwasy on ถือเป็นหนึ่งในความสามารถของเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ผู้ให้บริการเครื่อข่ายมือถือในบ้านเราจะจำกัดการความเร็วไว้ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการรับส่งข้อมูลในส่วนของ  MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

2.75G เป็นยุคที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ 3G แล้ว ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS เพื่อให้ส่งรับข้อมูลได้เร็วขึ้นนั่นเอง
การพัฒนาทางเทคโนโลยีในยุคนั้น ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางการตลาดของวงการโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการดาวน์โหลดเสียงรอสาย รับส่งภาพผ่าน MMS ดาวน์โหลดภาพต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้พัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2G

โทรออก รับสาย
ส่ง SMS

Dial-up

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5G

โทรออก รับสาย
ส่ง SMS
ส่ง MMS
เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic
เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.75G

โทรออก รับสาย
ส่ง SMS
ส่ง MMS
รองรับเสียงเรียกเข้าแบบไฟล์ MP3
เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 70 – 300 kbps

3G (3rd Generation)

เข้ามาถึงยุค 3G กันแล้ว ซึ่งยุคนี้ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่พอสมควร เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงวิถีประจำวันของผู้ใช้งานไปด้วยก็ว่าได้ สิ่งที่ 3G ต่างกับ 2G ก็คือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงสุดถึง 3 mbps เปรียบเทียบกับ 2G ที่ทำได้เพียง 2-300 kbps เท่านั้น