ความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง10ข้อ

สังคมเมืองและสังคมชนบทของไทย


สังคมของเมืองไทย สังคมเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีการปกครองแบบเทศบาล บางแห่งมีการปกครองโดยเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สังคมเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ


ลักษณะและโครงสร้างของสังคมเมืองไทย
1.
พึ่งพาอาศัยกัน สังคมเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยกันเหมือนเครื่องจักร หากสิ่งใดหยุดชะงักสังคมเมืองจะประสบความยุ่งยากทันที


2.
มีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ สมาชิกของสังคมเมืองมีแบบแผน วิถีดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ ศาสนา และประสบการณ์ เพราะสมาชิกมาจากแหล่งต่าง ๆ กัน


3.
มีลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจสูง คือ สังคมเมืองมีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนที่ประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น พ่อค้า ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีระดับความแตกต่างของสมาชิกทางเศรษฐกิจสูง

.4. การติดต่อสัมพันธ์กันมีลักษณะแบบทุติยภูมิ ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในสังคมเมืองมีมาก จึงมีการติดต่อกันตามสถานภาพ มากกว่าการติดต่อกันเป็นส่วนตัว หรือแบบปฐมภูมิ


5.
การรวมกลุ่มเป็นองค์กรเป็นไปในรูปแบบทางการ คือเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือของ กลุ่มตนเองมากที่สุด


6.
มีการแข่งขันกันสูง คือสังคมเมือง ผู้คนจะมีการแข่งขันกันสูง เป็นการแข่งขันเพื่อชัยชนะคู่แข่ง หรือเพื่อความอยู่รอดในสังคม คนในสังคมเมืองจึงเป็นโรคประสาทมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท

สังคมชนบทของไทย
 
มีการรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนเล็ก ๆ เป็นการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน ตำบล กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทยอาศัยอยู่ในชนบท
ลักษณะและโครงสร้างของสังคมชนบทของไทย
1.
มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพราะสังคมชนบทไทยมีความคล้ายคลึงกันของแบบแผนสังคมและ แบบแผน ของ วัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน สภาพความเป็นอยู่มีความคล้ายคลึงกันเป็นอันมาก การรวมตัวของสังคมชนบทจึงเป็นการรวมตัวอย่างเหนียวแน่น


2.
มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไม่แตกต่างกันมาก ชาวชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม แบบแผนของสังคมเป็นแบบแผนสังคมเกษตร พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมจึงไม่แตกต่างกันมาก


3.
พึ่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นใหญ่ ชีวิตของชาวชนบทผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทั้งอาชีพและความเป็นอยู่ ความทุกข์ มีผลจากภัยธรรมชาติ คือความแห้งแล้งน้ำท่วม และความหนาวเย็น หากปีใดไม่มีภัยธรรมชาติประกอบอาชีพได้ผลดี จะมีความสุข


4.
การรวมกลุ่มของคนชนบทอยู่ในวงจำกัด และมีลักษณะไม่เป็นทางการ สังคมชนบทจะรู้จักหน้าค่าตากันดี มีการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัวในลักษณะกลุ่มปฐมภูมิมากกว่าสัมพันธ์ กันใน ลักษณะกลุ่มทุติยภูมิ


5.
มีการแข่งขันกันน้อย ผู้คนในสังคมชนบท มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ประกอบอาชีพคล้ายคลึงกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์เผชิญภัยธรรมชาติมาด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีความเคารพนับถือกันมาโดยตลอด ระบบการแข่งขันจึงมีน้อย


ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท สังคมเมืองกับสังคมชนบท มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต้องพึ่งพาอาศัยกัน สังคมชนบทผลิตและส่งอาหาร ตลอดทั้งผลิตผลทางการเกษตรให้แก่สังคมเมือง รวมทั้งขายแรงงานให้แก่สังคมเมือง ในขณะเดียวกัน สังคมเมืองก็เป็นตลาดขายผลิตผลทางการเกษตรเป็นแหล่งผลิตทางอุตสาหกรรม ส่งผลิตผลทางอุตสาหกรรมขายให้แก่สังคมชนบท เป็นแหล่งความรู้ทางเทคโนโลยีให้แก่สังคมชนบท เป็นต้น


ปัญหาสังคมไทย
1.
ปัญหาความยากจน
 
ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า

ผลเสียของความยากจน


1.
ผลเสียต่อบุคคลและครอบครัว ทำให้บุคคลสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ครอบครัวขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่สามารถจะส่งบุตรหลานเล่าเรียนได้เท่าที่ควร


2.
เป็นภาระแก่สังคม สังคมต้องอุ้มชู ดูแลคนยากจน ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถจะทุ่มเทการพัฒนาได้


3.
ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไม่มั่นคง ประเทศที่มีคนยากจนมากก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ ทำให้เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศไม่มั่นคง


2.
ปัญหายาเสพติด
 
ยาเสพติด หมายถึง ยาเสพติดให้โทษ องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามยาเสพติดให้โทษว่าเมื่อเสพแล้วผู้เสพจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจในการที่จะได้ เสพต่อไป โดยไม่สามารถหยุดเสพได้ จำนวนการเสพก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจในภายหลัง ยาเสพติดในปัจจุบันมีมากมายที่ปรากฏแพร่หลาย เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามิน บาร์บิทูเรต สารระเหย ยาม้า



 
ผลเสียของผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
 

1. ผลเสียทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ฟุ้งซ่าน


2.
ผลเสียทางสังคม ผู้ติดยาเสพติดไม่คำนึงถึงกฎระเบียบของสังคม ชอบละเมิดกฎระเบียบ ผู้ติดยาเสพติดเป็นที่รังเกียจของสังคม เป็นผู้ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล


3.
ผลเสียทางเศรษฐกิจ ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ติดยาเสพติดแล้วไม่ชอบทำงาน อ่อนแอ ทำให้สูญเสียแรงงาน การผลิตของประเทศลดลง รายได้ของประเทศลดลง นอกจากนั้นรัฐยังต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาพยาบาลผู้ติด ยาเสพติด


3.
ปัญหาคอรัปชั่น คอรัปชั่น คือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหรือผู้อื่น รวมถึงการเลือกที่รักมักที่ชัง การเห็นแก่ญาติพี่น้อง กินสินบน ฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ ที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรมและ ความ ถูกต้องตามกฎหมายของสังคม


ผลเสียของการคอรัปชั่น
 

1. ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต


2.
ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา


3.
ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย


 4.
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
 
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น อากาศ น้ำ เสียง เป็นต้น เป็นพิษจะโดยมนุษย์ทำให้เป็นพิษ หรือเป็นพิษด้วยตัวของมันเองก็ตาม ถือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ประเทศไทย สิ่งแวดล้อมเป็นพิษได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ อากาศเสียเต็มไปด้วยควันไอเสียจากรถยนต์ ฝุ่นละอองจากโรงงาน คนสูดอากาศเป็นพิษทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ น้ำในลำคลองเน่าเหม็น ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ เพราะโรงงานต่าง ๆ ปล่อยน้ำเสียลงไปในแม่น้ำ ลำคลอง ประชาชนทิ้งเศษขยะเน่าเหม็นลงแม่น้ำ ฯลฯ


5.
ปัญหาโรคเอดส์ โรคเอดส์ (AIDS : Aequired Deficency Syndrome) แพร่มาสู่ประเทศไทยจากประเทศตะวันตก ประเทศไทยได้รับอันตรายจากโรคเอดส์รุนแรงขึ้น โรคเอดส์เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ เช่น การสำส่อนทางเพศ การใช้ เข็มฉีดยาร่วมกัน การถ่ายเทเลือดที่ขาดความระมัดระวัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ ผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตทุกราย ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจ




วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
1.
ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและสูงขึ้น การศึกษาเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้สูงขึ้น รัฐจึงควรทุ่มเทงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชน


2.
รัฐต้องจัดสวัสดิการที่ดีให้แก่ประชาชน ต้องจัดให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีงานทำทุกคนเพื่อ เป็นหลักประกันของชีวิต ควรจัดให้มีการประกันสังคมโดยทั่วถึง


3.
พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับประเทศ โดยพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่วนรวม กระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น พยายามลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยให้อยู่ในระดับเดียวกัน


4.
มีการพัฒนาสังคมให้เหมาะสม โดยเฉพาะระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญต้องพัฒนาก่อนสถาบันอื่น ๆ ควรสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน ใฝ่ศึกษา ไม่เห็นแก่เงิน ชอบศึกษาค้นคว้า ฯลฯ รัฐต้อง พัฒนาบุคคลให้มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตในครรลองแห่งจริยธรรม คุณธรรม หรือตามหลักพระศาสนาที่ตนเองยอมรับนับถือ


สังคมเมืองกับสังคมชนบทมีความแตกต่างกันอย่างไร

สังคมเมือง มีความสะดวกสบายในด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร มากกว่าชนบท มีการพึ่งพาอาศัยกันน้อยกว่าในชนบท เพราะสามารถพึ่งตนเองได้ ชาวเมืองมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา สังคม น้อยกว่าชนบท มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ ตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าชนบท มีสถาบันทางเศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่มากกว่าชนบท

เมืองกับชนบท แตกต่างกันอย่างไร

ชุมชนเมือง มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีสิ่งอ านวยความสะดวกมากเป็นศูนย์กลาง ในทุก ๆ ด้าน ชุมชนชนบท มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง คนในชุมชนมีความผูกพันกับธรรมชาติมาก นิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม

สังคมชนบทมีอะไรบ้าง

สังคมชนบทมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ( ครอบครัวขยาย ) สมาชิกในครอบครัวมักช่วยกันทำงานเพื่อผลิตอาหาร ชาวชนบททำงานเป็นฤดูกาลมีความผูกพันกับศาสนา ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีศาสนาอย่างเคร่งครัด วัดเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวชนบท รวมทั้งใช้ประกอบกิจกรรม พิธีกรรมต่างๆ และใช้ด้านการศึกษา สภาพสังคมชนบทในปัจจุบันทำให้เกิด ...

ค่านิยมของสังคมชนบทมีอะไรบ้าง

ค่านิยมสังคมชนบท.
ประหยัด อดออม เศรษฐกิจพอเพียง.
นิยมภูมิปัญญาไทย สิ้นค้าไทย.
ยกย่องคนดี ความมีน้ำใจ.
นิยมเรื่องคุณงามความดี มีจริยธรรม.
เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่ส่วนรวม.
เชื่อโชคลาง ไสยศาสตร์.
ชอบเล่นการพนัน.
ชอบทำบุญ ร่วมพิธีกรรมทางศาสนามาก.