พลังงานที่อยู่ในวัตถุที่หยุดนิ่งเรียกว่าอะไร

พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถของวัตถุที่ทำงานได้ แสดงว่าวัตถุนั้นมีพลังงานพลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน เมื่อเราเห็นคนคนหนึ่งสามารถทำงานได้จำนวนมาก เราจะกล่าวว่าคนนั้นมีพลังงานมาก หรือน้ำมันแก๊สโซลีนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งให้พลังงานออกมาเมื่อเผาไหม้ พลังงานสามารถทำงานได้ จึงทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่วัตถุใดๆ ก็ตามมีพลังงานอยู่ในตัว 2 รูปด้วยกันคือพลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกว่า พลังงานจลน์ (kinetic energy) และพลังงานที่มีสะสมอยู่ในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกว่า พลังงานศักย์ (potenxtial energy)ตัวอย่างของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์นั้นเราพอจะเห็นได้ง่ายๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราอยู่ทุกวัน เช่นรถยนต์กำลังวิ่งด้วยความเร็วปกติบนถนนในที่ราบ ถ้าต้องการให้หยุดเราต้องใชัห้ามล้อ ซึ่งหมายถึงออกแรงต้านการเคลื่อนที่ รถยนต์ยังไม่สามารถหยุดได้ทันทีแต่จะเลื่อนต่อไปเป็นระยะทางหนึ่ง เราต้องทำงานด้วยแรงต้านทานเพื่อให้รถหยุด เพราะรถมีพลังงานเนื่องจากกำลังเคลื่อนที่อยู่ นั่นคือรถมีพลังงานจลน์สำหรับตัวอย่างของพลังงานศักย์แบบหนึ่งที่น่าจะเห็นได้ ก็คือก้อนหินผูกห้อยที่ปลายเชือก ในภาวะที่ 1 ก้อนหินแขวนห้อยอยู่นิ่งๆ แต่ในภาวะที่ 2 ก้อนหินถูกยกขึ้นไปสูงกว่าระดับเดิม
พลังงานที่อยู่ในวัตถุที่หยุดนิ่งเรียกว่าอะไร
ทำให้ตัวของมันเองมีพลังงานพร้อมที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้ทันที และถ้ายกให้ก้อนหินสูงขึ้นอีก มันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้นอีกด้วย เพราะมีพลังงานศักย์มากขึ้นเนื่องจากตำแหน่งของวัตถุสูงขึ้นพลังงานมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานแสง พลังงานเสียง ฯลฯพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์คือ
พลังงานที่อยู่ในวัตถุที่หยุดนิ่งเรียกว่าอะไร

ที่มา : ตำราเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป.
พลังงานที่อยู่ในวัตถุที่หยุดนิ่งเรียกว่าอะไร
              พลังงานจลน์ เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่เนื่องจากมีแรงมากระทำต่อวัตถุและมีค่าเปลี่ยนแปลงตามอัตราเร็วของวัตถุ  เคลื่อนที่ ได้แก่ - พลังงานลม ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอนุภาคอากาศเป็นสภาพของลมพัด - พลังงานคลื่น คลื่นในทะเล และมหาสมุทร ปกติเกิดจากลม ในบางครั้งเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก - พลังงานน้ำ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอนุภาคน้ำ - พลังงานเสียง ทำให้อนุภาคของอากาศเคลื่อนที่เป็นส่วนอัด ส่วนขยาย ความถี่ของส่วนอัดและส่วนขยายที่เกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความดังและลักษณะเสียงจาก

งานและพลังงาน

   งาน    หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของแนวแรง ถ้าเราออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่ แสดงว่าไม่เกิดงาน
  ปริมาณของงานขึ้นอยู่กับ
1. ขนาดของแรงที่ใช้
2. ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของแนวแรง
3. ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุตามแนวแรง
ตัวอย่างเช่น การออกแรงยกกล่องให้สูงขึ้น ทิศทางการเคลื่อนที่ของกล่องมีทิศทางเดียวกับแนวแรง การกระทำเช่นนี้เป็นการทำให้เกิดงานทางวิทยาศาสตร์

งาน ( Work)

     งานเป็นปริมาณที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุเนื่องจากแรงกระทำ   ขนาดของงานของแรงใดมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างขนาดของแรงนั้นกับระยะของการเคลื่อนที่ในช่วงพิจารณาซึ่งอยู่ในแนวแรง หรือ  W = FS

            โดย  W   มีหน่วยเป็นนิวตัน /เมตร  หรือจูล

                     F   มีหน่วยเป็น นิวตัน

                     S    มีหน่วยเป็น  เมตร

กำลัง ( Power)

     กำลัง คือ อัตราการทำงานหรืองานที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลา    

           กำหนดให้         W   คือ งานที่ทำได้ มีหน่วยเป็นจูล (J)              

                                  t    คือ เวลาที่ใช้ในการทำงาน มีหน่วยเป็นวินาที (s)

                                      P   คือ กำลัง

           จากนิยามของกำลังเขียนเป็นสมการได้ว่า        P  =  w/t       

           หน่วยของกำลัง คือ J/s หรือ เรียกว่า Watt (วัตต์) “ W ”

พลังงาน (Energy)

      พลังงานเป็นสมบัติอย่างหนึ่งของระบบที่บ่งถึงขีดความสามารถในการทำงานหรือความสามารถในการทำให้เปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่ง  พลังงานของวัตถุจึงวัดได้จากงานของวัตถุที่ทำได้ พลังงานมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานกล พลังงานเคมี พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานแผ่รังสี พลังงานความร้อน เป็นต้น  ในบทนี้จะเป็นการศึกษาพลังงานในรูปแบบที่ง่าย ๆ ก่อนคือพลังงานกล จำแนกเป็น 2 ประเภทคือ พลังงานจลน์ และพลังงานศักย์

     พลังงานมีหน่วยวัดเป็น จูล(Joules) “ J ”

พลังงานจลน์ (Kinetic  Energy)

     พลังงานจลน์ คือพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุอันเนื่องจากอัตราเร็วของวัตถุขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ  ใช้สัญลักษณ์ (Ek)   หาพลังงานจลน์ได้จาก ปริมาณงานที่ทำได้ทั้งหมด ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปทำงานอย่างหนึ่ง จนกระทั่งวัตถุหยุดนิ่ง   จากนิยามเขียนเป็นสมการได้ว่า        Ek  = 1/2  mv2

     หากมีแรง กระทําต่อวัตถุ จนขนาดของความเร็วของวัตถุเปลี่ยนไป ทําให้พลังงานจลน์ของวัตถุเปลี่ยนไปจากเดิม พบว่างานที่แรงนั้นกระทําต่อวัตถุมีค่าเท่ากับพลังงานจลน์ของวัตถุที่เปลี่ยนไป

หรือ   W  =  Ek2  –  Ek1  เรียกคํากล่าวนี้ว่า หลักของงาน-พลังงานจลน์

 

พลังงานศักย์  (Potential   Energy)

    พลังงานศักย์ (Ep) คือ พลังงานที่ถูกเก็บสะสมไว้และพร้อมที่จะนำมาใช้  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ

        1. พลังงานศักย์โน้มถ่วง(Gravitational  Potential   Energy) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุ เกิดจากแรงโน้มถ่วงและตำแหน่งของวัตถุตามระดับความสูง  เมื่อปล่อยวัตถุซึ่งอยู่สูงจากพื้น เคลื่อนที่ตกลงมา พบว่าเกิดงานเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกต่อวัตถุ มีค่าเท่ากับ mgh แสดงว่าวัตถุที่อยู่สูงจากพื้น มีพลังงาน เพราะว่าสามารถทำงานได้เรียกว่า พลังงานศักย์โน้มถ่วง ซึ่งมีค่าเท่ากับ mgh นั่นเอง   

เขียนสมการได้ว่า     Ep   =   mgh

       2. พลังงานศักย์ยืดหยุ่น(Elastic  Potential) คือ พลังงานศักย์ของสปริงขณะที่ยืดออก หรือหดเข้าจากตำแหน่งสมดุล ถูกเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “ Ep (elastic) ”

หาได้จากสมการ      Ep  = 1/2 kx2

      กฎการอนุรักษ์พลังงาน

           พลังงานรูปหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่น ๆ  ได้  พลังงานที่มาจากการเปลี่ยนรูปนี้จะมีค่าเท่ากับพลังงานเดิม ซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน ( law  of  conservation  of  energy )

           ขณะที่โยนลูกบอลขึ้นจากพื้น  พลังงานเคมีในร่างกายบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ของลูกบอลจึงทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ได้เมื่อลูกบอลเคลื่อนที่สูงขึ้น  ความเร็วจะลดลง  นั่นคือพลังงานจลน์ของลูกบอลจะลดลงโดยเปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์โน้มถ่วง  ณ  ตำแหน่งสูงสุด  ของการเคลื่อนที่  พลังงานจลน์ของลูกบอลเป็นศูนย์และพลังงานศักย์โน้มถ่วงมีค่าสูงสุด  ขณะที่ลูกบอลเคลื่อนที่ลง  พลังงานศักย์โน้มถ่วงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์  และเมื่อลูกบอลกระทบพื้นพลังงานจลน์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนและเสีย  เรียกแรงที่กระทำแล้วพลังงานกลไม่เปลี่ยนนี้ว่า  แรงอนุรักษ์

      กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

          ถ้าไม่มีแรงภายนอกมากระทำกับวัตถุ  (งานรวม=0) แล้วผลรวมของพลังงานที่สะสมภายในวัตถุจะคงที่ เนื่องจาก ผลรวมของพลังงานศักย์ และพลังงานจลน์ของวัตถุ เรียกว่าพลังงานกลของวัตถุซึ่งเป็นพลังงานที่สะสมภายในวัตถุ จะได้สมการงานและพลังงานดังนี้

วัตถุหยุดนิ่งมีพลังงานไหม

วัตถุใด ๆ ที่มีมวลเมื่อหยุดนิ่ง (จึงเรียกว่ามวลนิ่ง) มีพลังงานนิ่งที่สามารถคำนวณได้โดยใช้สมการ ของ Albert Einstein E = mc2 การเป็นรูปแบบของพลังงานแบบหนึ่ง, พลังงานนิ่งสามารถถูกเปลี่ยนไปยังหรือจากรูปแบบอื่น ๆ ของพลังงาน ในขณะที่ปริมาณทั้งหมดของพลังงานไม่เปลี่ยนแปลง จากมุมมองนี้ จำนวนของสสารในจักรวาลก่อให้เกิดการรวมของ ...

พลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่เรียกว่าอะไร

พลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกว่า พลังงานจลน์ (kinetic energy) และ พลังงานที่มีสะสมอยู่ในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกว่า พลังงานศักย์ (potenxtial energy) ตัวอย่างของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์นั้นเราพอจะเห็นได้ง่ายๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราอยู่ทุกวัน เช่น

พลังงานที่เก็บหรือแฝงในวัตถุคือพลังงานอะไร

2) พลังงานศักย์ (Potential Energy; P.E.) เป็นพลังงานที่แฝงอยู่ในตัวของวัตถุที่อยู่กับที่ ซึ่งอยู่ ในภาวะที่สามารถทำงานได้ เช่น วัตถุอยู่ในที่สูงจะมีพลังงานศักย์สะสมไว้มาก ถ้าปล่อยให้ตกลงมาก็จะทำงาน ได้มาก วัตถุมวลเท่ากันถ้าอยู่สูงกว่าก็จะทำงานหรือมีพลังงานสะสมไว้มาก หรือการยึดของสปริง ถ้าเรายึด สปริงมากก็จะทำงานได้มาก ...

พลังงานพลังงานกลคืออะไร

พลังงานกล ในทางฟิสิกส์ จะหมายถึง พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ โดยประกอบไปด้วยพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1 กล่าวว่า เครื่องผ่อนแรงไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ต้องการแรงที่จะขับดันให้มันทำงาน แรงนี้ได้จากพลังงานกล แรงที่มนุษย์มีอยู่แล้วได้จากกล้ามเนื้อแขน ขา ซึ่งนับ ...