ในสมัยรัชกาลใด

ครั้งที่ 14 เสียเขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9 ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะเสด็จเขาพระวิหาร จึงขึ้นไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วถ่ายรูปไว้เป็น หลักฐาน และนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการนำการจัดเก็บอากรค่าน้ำ และอากรรักษาเกาะมาใช้ในการจัดเก็บอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากผลของการยกเลิกการจัดเก็บในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญ คือ มีประชาชนพากันมาจับปลามากขึ้น ทำให้เป็นการทำลายพันธุ์ปลา และรัฐบาลต้องสูญเสียรายได้อันพึงได้จึงได้มีการนำกลับมาจัดเก็บอีกครั้ง สำหรับรายละเอียดการจัดเก็บอากรทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้

- อากรค่าน้ำ

เป็นการเรียกเก็บอากรจากการจับปลาในแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ทะเล อากรค่าน้ำ มีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม สำหรับกรณีอากรค่าน้ำเค็ม เป็นอากรผูกขาด รัฐบาลจะออกกฎหมายกำหนดอัตราอากรไว้เป็นมาตรฐานตามชนิดของเครื่องมือที่ทำมาหากิน

- อากรรักษาเกาะ เป็นการเก็บจากผู้หาไข่จาระเม็ด (ไข่ฟองเต่าตนุ) บนเกาะในฝั่งทะเลตะวันออก โดยอากรชนิดนี้เป็นอากรผูกขาด ผู้ใดสามารถให้เงินประมูลสูงสุดแก่รัฐ ก็จะได้รับเป็นนายอากรดูแลผลประโยชน์ของเกาะที่รับผูกขาด การจัดเก็บอากรชนิดนี้มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ ผลจากการยกเลิกในรัชกาลที่ 3 ทำให้เต่าตนุแถบชายฝั่งทะเลถูกจับไปมากจนเกือบสูญพันธุ์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้นำกลับมาจัดเก็บใหม่ อย่างไรก็ดี ในแง่ของการบริหารการจัดเก็บ ในขณะนั้นมีการจัดเก็บที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย มิได้อยู่ในหน้าที่การจัดเก็บของหน่วยงานที่มีการจัดเก็บภาษีอากรโดยตรง เช่น กรมพระคลังมหาสมบัติ จัดเก็บภาษีน้ำมันมะพร้าว ภาษีเสา อากรบ่อนเบี้ย อากรสวนนอกและอากรสวนใน ฯลฯ กรมพระกลาโหม จัดเก็บอากรสุรากรุงเทพฯ ภาษีเหล็กหล่อ อากรรังนก ฯลฯ กรมมหาดไทย จัดเก็บภาษีเรือโรงร้าน ภาษีละคร ภาษีไม้ไผ่ ฯลฯ กรมท่ากลาง จัดเก็บอากรสมพัดสร พริกไทย อากรรักษาเกาะ ภาษีเบ็ดเตล็ด ฯลฯ กรมท่าซ้ายจัดเก็บภาษีเกลือ กรมนาจัดเก็บอากรค่านา เป็นต้น

การพัฒนาสยามในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสร้างความ “ศิวิไลซ์” ให้กับประเทศชาติ หนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญในสมัยนั้นคือ “ถนน” ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการขยายตัวของเมือง รวมทั้งเป็น “หน้าตา” ไม่ให้อายพวกฝรั่งด้วย

ถนนเจริญกรุงเป็นถนนสายแรกที่สร้างขึ้นตามแบบ “ตะวันตก” สายแรกของสยาม เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้างถนนสายใหม่ตั้งแต่สะพานเหล็ก บริเวณริมวังเจ้าเขมรยาวเรื่อยไปแล้วแยกออกอีก 2 สาย

สายแรกตัดไปข้ามคลองผดุงกรุงเกษมเชื่อมต่อกับ “ถนนตรง” ส่วนอีกสายให้ตัดลงมาทางใต้ยาวตลอดไปถึงบริเวณดาวคะนอง ซึ่งไม่นานหลังจากตัดถนนก็ทำให้บริเวณสองฝากถนนคับคั่งเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญของสยาม รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความสำคัญของถนนจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนใหม่อีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร

ในสมัยรัชกาลใด
ห้าง เอส.เอ.บี ถนนเจริญกรุง (ภาพจาพหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ในการครั้งนี้ยังตัดถนนอีกสายหนึ่ง โดยขุดคลองแล้วนำดินที่ขุดมาถมเป็นถนน โดยเริ่มตั้งแต่บริเวณสถานกงสุลฝรั่งเศส ยาวตลอดมาถึงบริเวณศาลาที่เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีสร้างไว้ (ปัจจุบันคือศาลาแดง) ภายหลังเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนสีลม”

ถนนเจริญกรุงและถนนสีลมนี้นอกจากจะเป็นพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ในการพัฒนาสยามแล้ว การสร้างถนนทั้งสองสายก็มีสาเหตุมาจาก “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาติอีกประการหนึ่งด้วย

เนื่องจากพวกกงสุลต่างประเทศมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายถึงรัชกาลที่ 4 ว่า เมื่อพวกเขาอาศัยอยู่ที่ยุโรปก็มักขี่รถขี่ม้าไปเที่ยวต่างอากาศทำให้เกิดความสบาย ไม่มีเจ็บไม่มีไข้ แต่เมื่อมาอาศัยอยู่สยามนั้นแล้วไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าออกไปเที่ยวต่างอากาศจึงทำให้เจ็บไข้อยู่เนือง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีถนนอีกสายหนึ่งที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้วคือ “ถนนตรง” ซึ่งการก่อสร้างถนนสายนี้ก็มีประเด็น “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาติ 

ในปี พ.ศ. 2400 พวกกงสุลนายห้างต่างประเทศได้รวมชื่อกันถวายหนังสือถึงรัชกาลที่ 4 ว่าจะขอลงไปตั้งห้างร้านซื้อขายสินค้าเสียใหม่ ตั้งแต่คลองพระโขนงยาวไปตลอดถึงบางนา โดยให้เหตุผลว่า ครั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากแล้วน้ำเชี่ยวมาก กว่าเรือจะแล่นขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นั้นเสียเวลาไปหลายวัน

รัชกาลที่ 4 ทรงปรึกษากับบรรดาเสนาบดีแล้วก็เห็นชอบให้ขุดคลองถมถนนตามที่พวกชาวต่างชาติร้องขอ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศมหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดคลองตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบบริเวณหัวลำโพงตัดตรงไปถึงคลองพระโขนง และขุดคลองพระโขนงให้ทะลุออกแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจึงให้เอาดินที่ขุดนั้นมาถมเป็นถนน

พระราชทานนามว่า “คลองถนนตรง” ครั้นเมื่อขุดคลองแล้วเสร็จพวกชาวต่างชาติเหล่านั้นก็ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่พระโขนงหรือบางนาตามที่อ้างเหตุให้ขุดคลองตามหนังสือที่ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยให้เหตุผลในครั้งนี้ว่า ไกลและจะขออยู่ที่เดิม

ในสมัยรัชกาลใด
คลองผดุงกรุงเกษม ช่วงต่อกับคลองถนนตรง และถนนเลียบข้างคลองคือ “ถนนพระรามที่สี่” ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2489

ในตอนที่เหล่าเสนาบดีปรึกษากันเรื่องการขุดคลองถนนตรงนั้น ต่างก็คิดว่าหากทำตามที่ชาวต่างชาติร้องขอก็จะทำให้เกิด “ความสงบ” กับฝ่ายสยาม ดังความกราบบังคมทูลว่า “ถ้าชาวยุโรปยกกันลงไปตั้งอยู่ที่บางนาได้ ก็จะห่างไกลออกไป ก็มีคุณอย่างหนึ่งด้วยความหยุกหยิกนั้นน้อยลง”

จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาตินั้นสร้างความ “รำคาญใจ” ให้ชาวสยามอยู่ไม่น้อย เฉพาะเรื่องถนนยังจุกจิกน่ารำคาญขนาดนี้ เรื่องอื่น ๆ อีกยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าสยามในสมัยนั้นต้องมาปวดหัวกับพวกชาวต่างชาติมากเพียงใด

อย่างไรก็ตาม สยามต้องขอบคุณ “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาติในเรื่องถนนนี้ เพราะถือเป็นแรงผลักดันและแรงกระตุ้นให้สยามต้องพัฒนาชาติด้านการคมนาคมอย่างแข็งขัน และยังส่งผลต่อแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริว่ากรุงเทพฯ นั้นมีแต่เพียงตรอกเล็กซอยน้อยอันคับแคบ ส่วนถนนใหญ่ก็เปรอะเปื้อนไม่เป็นที่เจริญตา ครั้นพวกชาวต่างชาติเข้ามากรุงเทพฯ มากขึ้นทุกปี เมื่อย้อนนึกถึงบ้านเมืองตะวันตกของพวกเขานั้นสะอาดเรียบร้อย ก็กลัวว่าจะเป็นที่ขายหน้าแก่นานาประเทศ

ดังพระราชดำริในพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่า “เขาว่าเข้ามาเป็นการเตือนสติ เพื่อจะให้บ้านเมืองงดงามขึ้น”

ในสมัยรัชกาลใด

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2507). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ: การพิมพ์เกื้อกูล. ฉบับออนไลน์ที่ archive.org