ขั้น ตอน การ ทํา บัญชี 5 ขั้น ตอน

จากที่ทางภาครัฐให้ความสำคัญต่อการจัดทำบัญชี และสนับสนุนให้นิติบุคคลจัดทำบัญชีและเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยตั้งแต่ ปี 2562 ที่ผ่านมา การขอสินเชื่อจากทางสถาบันการเงิน ต้องใช้ งบการเงินที่นำส่งกรมสรรพากร เป็นข้อมูลหลักสำคัญในการประกอบการพิจารณา

ด้วยเหตุนี้ การจัดทำบัญชีจึงมีความสำคัญมากต่อธุรกิจ ซึ่งนักบัญชีควรสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริหาร อันจะส่งผลให้งบการเงินมีความถูกต้อง และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของบริษัท

7 ขั้นตอนสู่กระบวนการในการจัดทำบัญชีที่มีคุณภาพ

1. ต้องสร้างความเข้าใจในลัษณะของธุรกิจ

การจัดทำบัญชีได้ถูกต้องหรือไม่นั้น นักบัญชีต้องเข้าใจในลักษณะธุรกิจก่อนเป็นอันดับแรก โดยติดตามว่าธุรกิจขององค์กรที่เราเป็นผู้ทำบัญชี มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างไรบ้าง

2. ต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน

การจะรวบรวบข้อมูล และเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ ในบริษัทได้อย่างครบถ้วน จำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

3. ต้องประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น / หรืออาจจะเกิดขึ้น

สิ่งนักบัญชีต้องทำต่อเนื่อง คือ การประเมินปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อทบทวนและพิจารณาถึงผลกระทบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

4. ออกแบบกระบวนการ / วิธิการปฏิบัติ เอกสารหลักฐาน

ออกแบบกระบวนการ / วิธีการปฏิบัติงาน ที่ควรปรับปรุงใหม่ รวมถึง สรุปข้อมูลและเอกสารหลักฐานสำคัญที่ควรได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้นักบัญชีควรนำเสนอเพื่อให้ผู้บริหารได้รับทราบ พิจารณา และขออนุมัติเป็นลำดับต่อไป และสิ่งสำคัญภายหลังการได้รับการอนุมัติ นักบัญชีควรต้องสื่อสารให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ และขอความร่วมมือ อันจะนำประโยชน์มาสู่องค์กร

5. กำหนดแนวทางตรวจสอบข้อมูล และเอกสารหลักฐาน

กำหนดแนวทางการตรวจสอบให้ชัดเจน  และควรกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา  เพื่อใช้ตรวจสอบดังนี้   คือ

  1. เพียงพอ เหมาะสม
  2. มีความน่าเชื่อถือ
  3. มีความถูกต้อง
  4. มีความครบถ้วน
  5. ผู้อนุมัติตามระเบียบ

6. ประยุกต์เนื้อหาสาระ / หลักการบัญชี / หลักการภาษี

ประยุกต์เนื้อหาสาระที่รวบรวมมาได้ กับหลักการบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อนำไปสู่การบันทึกบัญชีต่อไป  นักบัญชีควรต้องตอบได้ว่า เนื้อหาสาระไปเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับไหน รวมถึงพิจารณาว่า ภาษีที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ปฏิบัติอย่างไร และเราปฏิบัติอย่างถูกต้องหรือไม่

6. กำกับติดตามอย่างใกล้ชิด หมั่นทบทวน กำกับดูแลอย่างสม่ำเสมอ

ควรมีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด และหมั่นทบทวน อย่างน้อยที่สุดภายหลังการปิดงบการเงินประจำปี ควรมีบทสรุปภาพรวม สิ่งที่ควรปรับปรุงคุณภาพในการจัดทำบัญชีเพิ่มเติม ประกอบกับการนำเสนอรายงานทางการเงิน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน)

3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ

4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม

5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่

5.1 งบแสดงฐานะการเงิน

5.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย

5.3 งบกระแสเงินสด

5.4 งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น

5.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

6. การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ขั้นตอนในการจัดทําบัญชี มีกี่ขั้นตอน

กระบานการทางบัญชีจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ (Analyzing) การบันทึก (Recording) การแยกหมวดหมู่ (classifying) การสรุปผล (Summarizing) การรายงาน (Reporting) และการแปลความหมาย (Interpreting)

การจัดทำบัญชีมี5ขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการบันทึกบัญชี.
วิเคราะห์รายการค้า.
บันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป.
ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท.
จัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง.
บันทึกรายการปรับปรุง (ณ วันสิ้นงวด).
จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุง.
จัดทำงบการเงิน.

ข้อใดคือขั้นตอนในการจัดทำบัญชี

วงจรบัญชี (Accounting Cycle).
จดบันทึกรายการค้า.
บันทึกในสมุดบัญชีขั้นตอนหรือว่าสมุดรายวันขั้นต้น.
สมุดบัญชีแยกประเภท.
การทำงบทดลอง.
ปรับปรุงบัญชีในกระดาษทำการ.
การจัดทำงบการเงิน.
ปรับปรุงรายการบัญชี.
การปิดบัญชีขั้นต้น.

ขั้นตอนของการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีอะไรบ้าง

บัญชีรายรับ รายจ่าย วิธีการทำเบื้องต้น.
1. รายงานเงินสดรับ-จ่าย ... .
2. ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย ... .
3. ต้องลงรายการรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ ... .
4. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย ... .
5. สรุปยอดรายรับ รายจ่ายทุกๆ เดือน.