ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ

ภูมิคุ้มกัน หรือ Immunity คือ กลไกการตรวจสอบและตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อโรคต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ โดยเราจะเรียกสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายว่า แอนติเจน (Antigen) โดยร่างกายเมื่อได้รับแอนติเจนจะผลิตสารก่อภูมิต้านทานขึ้นมาเรียกว่า แอนติบอดี (Antibody) เพื่อกำจัดแอนติเจนนั่นเองค่ะ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

Show

ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด (Innate Immunity)

เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างเองได้ และได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น เยื่อบุ เยื่อเมือกต่างๆ

ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลัง (Acquired Immunity)

เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแปลกปลอมหรือวัคซีนต่างๆ มี 2 รูปแบบ คือ

ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง (Adaptive Immunity)

เกิดจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม และมีการผลิตกลไกต่อต้านตามธรรมชาติ เกิดเป็นภูมิคุ้มกันช่วงเวลาหนึ่งหรือกลายเป็นภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งแปลกปลอมและความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน เช่น ภูมิต้านทานอีสุกอีใส หัด คางทูม

ภูมิคุ้มกันจากภายนอก (Passive Immunity)

เกิดจากการได้รับสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่ได้สร้างขึ้นเอง เช่น นมแม่ การฉีดเซรุ่มและวัคซีนต่างๆ

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

  • ตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายแบบเฉพาะเจาะจง
  • เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า B Cell และ T Cell จะทำหน้าที่จับกินแอนติเจนนั้นอย่างเจาะจง
  • หลังจับกินแอนติเจน B Cell จะพัฒนาไปเป็น Plasma Cell เพื่อผลิตสารก่อภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีมาทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ

  • การตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง
  • เปลี่ยนแปลงได้ตามเพศ อายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และความแข็งแรงของร่างกาย
  • กำจัดสิ่งแปลกปลอมอย่างจำกัด ผ่าน 3 วิธีคือ
  1. ป้องกันภายนอก ด้วยกลไกธรรมชาติของร่างกาย เช่น ผิวหนัง เยื่อบุ เยื่อเมือก ขนอ่อน
  2. ป้องกันโดยการหลั่งสารเคมี เช่น การหลั่งนำ้ตา หลั่งนำ้ลาย
  3. ป้องกันโดยอาศัยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ เข้าไปล้อมสิ่งแปลกปลอมและจับกิน จากนั้นจะย่อยสลายเอง เกิดการอักเสบและเป็นหนองนั่นเองค่ะ

เซลล์เม็ดเลือดขาว เกี่ยวข้องยังไงกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ

ให้นึกภาพตามง่ายๆ นะคะ เซลล์เม็ดเลือดขาวจะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดของเรา มีหน้าที่สำคัญต่างๆ มากมาย ดังนี้ค่ะ

  • ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
  • ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
  • กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพแล้ว เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายหรือมีอายุมาก
  • เฝ้าระวังดูเซลล์ที่มีโอกาสเปลี่ยนสภาพไปจากปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง

ภูมิคุ้มกันตก เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ

อาหาร

โดยเฉพาะอาหารรสหวานจัด รู้มั้ยคะว่าน้ำตาลปริมาณ 100 กรัม เทียบเท่ากับทานน้ำอัดลมถึง 3 ขวดด้วยกัน ซึ่งการทานหวานเกินไปจะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้การทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายช้าลง

อารมณ์

ท่านไหนที่เครียดง่าย อ่อนไหวต่อสิ่งเร้าภายนอก ชอบคิดเล็กคิดน้อย อันนี้ต้องระวังให้ดีค่ะ เพราะหากเกิดความเครียดสะสม จะทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะต่ำลงไปด้วยเช่นกันค่ะ

อากาศ

มลภาวะ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้เช่นกันค่ะ ทั้งฝุ่นควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ รวมถึงเชื้อโรคขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ายิ่งต้องระวังเลยค่ะ ทางที่ดีก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ควรเตรียมหน้ากากอนามัย สเปรย์ฆ่าเชื้อ และไอเทมดูแลป้องกันสุขอนามัยอื่นๆ พกติดกระเป๋าด้วยทุกครั้ง

อดนอน พักผ่อนน้อย

การนอนสำคัญมากต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย หากคุณภาพการนอนไม่ดี การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

อาการติดเชื้อ และการทานยาบางชนิด

การติดเชื้อไวรัสบางชนิด อาจลดทอนและทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ค่ะ เช่นไวรัส HIV รวมถึงการทานยาบางประเภทอาจไปกดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์

วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ทานผักผลไม้ทุกวัน
  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • นอนหลับพักผ่อนให้มีคุณภาพ
  • ดูแลสุขอนามัยให้ดี
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • เสริมภูมิคุ้มกันจากภายใน เลือกทานอาหารเสริม ช่วยบำรุงร่างกาย

ภูมิคุ้มกันดี = สุขภาพดี = ชีวิตดี

การมีคุณภาพชีวิตดีที่ ล้วนมาจากพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือการมีสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ซึ่งทั้งหมดนี้หากพิจารณาดูให้ดีแล้วล้วนมากจากจุดเริ่มต้นนั่นคือ “การมีภูมิคุ้มกันที่ดี” ซึ่งการจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือวินัยและการเอาใจใส่ค่ะ

ระบบภูมิคุ้มกัน (IMMUNITY)

             1) ภูมิคุ้มกัน (Immunity) คือ ความสามารถของร่างกายในการต่อต้านและกําจัดจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย

หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย

             2) ภูมิคุ้มกันร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด (Innate Immunity) ซึ่งประกอบด้วยกลไกภูมิคุ้มกันร่างกาย 2 ด่านตามลําดับ ดังนี้

  1.1 ระบบปกคลุมร่างกาย (ผิวหนัง) จัดเป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกสุดของร่างกาย

        1.2 ภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ (Nonspecific Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันด่านที่สองของร่างกาย

 2. ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังกําเนิด (Acquired Immunity) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันด่านที่สาม (ด่านสุดท้าย)ของร่างกายและจัดเป็นภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (Specific Immunity)

             3) เพิ่มเติมขยายความกันหน่อย

  1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กําเนิด (Innate Immunity)

  1.1 ระบบปกคลุมร่างกาย (ผิวหนัง)

 - ต่อมผลิตน้ำมันและต่อมเหงื่อจะหลั่งสารช่วยทําให้ผิวหนังมีค่า pH 3-5 ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หลายชนิดได้

 - เหงื่อน้ำตาและน้ำลายมีไลโซไซม์ (Lysozyme) ซึ่งสามารถทําลายแบคทีเรียบางชนิดได้

 - ผิวหนังเป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรียและเชื้อราที่ไม่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่าย

 - ผนังด้านในของอวัยวะทางเดินอาหาร อวัยวะหายใจ และอวัยวะขับถ่าย (ปัสสาวะ)

ประกอบด้วยเซลล์ที่สามารถสร้างเมือก (Mucus) เพื่อดักจับจุลินทรีย์ได้รวมถึงกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารก็สามารถทําลายแบคทีเรียบางชนิดได้

  1.2 ภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ (Nonspecific Immunity)

 - เม็ดเลือดขาว 3 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จําเพาะ มีดังนี้

         1. นิวโทรฟิล (Neutrophil)

  3. Natural Killer Cell (NK Cell)

 - การอักเสบเกิดโดยการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งจะทําให้เลือดไหลไปยังบริเวณ

ที่อักเสบมากขึ้น รวมทั้งหลอดเลือดฝอยบริเวณดังกล่าวจะยอมให้สารต่างๆ ผ่านเข้าออกได้มากขึ้น

 - การเป็นไข้ (Fever) จะไปกระตุ้นการทํางานของเม็ดเลือดขาวกลุ่มฟาโกไซต์ (Phagocyte)เพื่อไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์นั้นๆ

 - อินเทอร์เฟอรอน (Interferon) จะป้องกันการติดเชื้อจากไวรัส โดยการทําลาย RNAของไวรัสชนิดนั้นๆ

  2. ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังกําเนิด (Acquired Immunity)

 ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (Specific Immunity)

 - เป็นการทํางานของเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) โดยการสร้างแอนติบอดี

(Antibody) ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีนขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม (Antigen) ที่เข้าสู่ร่างกาย

 - เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) มีตัวรับอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งสามารถจดจํา

ชนิดของแอนติเจนได้และทําให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ

- อวัยวะที่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะประกอบด้วยอวัยวะน้ำเหลืองปฐมภูมิและอวัยวะน้ำเหลืองทุติยภูมิ อวัยวะน้ำเหลืองปฐมภูมิทําหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้แก่ ไขกระดูก (Bone Marrow)

ต่อมไทมัส (Thymus) อวัยวะน้ำเหลืองทุติยภูมิทําหน้าที่กรองแอนติเจน (จุลินทรีย์ต่างๆ เช่น แบคทีเรีย)ได้แก่ ม้าม (Spleen) ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Node) เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมือก(Mucosal-Associated Lymphoid Tissue : MALT) ได้แก่ ต่อมทอนซิล ไส้ติ่ง และกลุ่มเซลล์ฟอลลิเคิลในชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านใต้ของชั้นเนื้อเยื่อสร้างเมือก

ภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามแหล่งที่มาของแอนติบอดี ได้แก่

  1. ภูมิคุ้มกันก่อเอง (Active Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดี

(Antibody) ขึ้นมาเอง โดยเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวซึ่งถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่อไปนี้

 - การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

 - การฉีดทอกซอยด์ (Toxoid) ป้องกันโรคบางชนิด

 - การคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคนั้นๆ

  วัคซีนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวัตถุดิบ ดังนี้

 2) เชื้อโรคที่ถูกทําให้อ่อนฤทธิ์ลง

 3) สารพิษจากเชื้อโรค (Toxoid) ซึ่งถูกทําให้หมดสภาพความเป็นพิษแล้ว

 2. ภูมิคุ้มกันรับมา (Passive Immunity) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายรับแอนติบอดี

(Antibody) จากภายนอกเข้ามาเพื่อต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ทันที และเป็นภูมิคุ้มกันในระยะสั้น ตัวอย่าง

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ มีอะไรบ้าง

ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ การตอบสนองโดยการใช้สารน้ำ Humoral Immune Response. การตอบสนองชนิดพึ่งเซลล์ Cell Mediated Immune Response.

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ร่างกายของมนุษย์มีกลไกการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อเป็นการต่อต้านเชื้อโรคหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายแบ่งเป็นได้ 2 ระบบ คือ ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate หรือ Natural immunity) และ ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสิ่งแปลกปลอม (Adaptive หรือ Acquired Immunity)

ภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กําเนิด มีอะไรบ้าง

ประเภทของระบบภูมิป้องกัน ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) คือภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเพื่อป้องกันและสกัดเชื้อโรค ทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากการติดเชื้อที่มาจากสัตว์อื่น ๆ เช่น ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคชั้นแรก

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะมีลักษณะอย่างไร

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายแบบเฉพาะเจาะจง เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า B Cell และ T Cell จะทำหน้าที่จับกินแอนติเจนนั้นอย่างเจาะจง หลังจับกินแอนติเจน B Cell จะพัฒนาไปเป็น Plasma Cell เพื่อผลิตสารก่อภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีมาทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น