ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

สมุนไพร ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนมักนำมาใช้เพื่อรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ซึ่งในบ้านเราก็มีสมุนไพรที่ได้รับความนิยมหลากหลายชนิด อาทิ ว่านหางจระเข้, ฟ้าทะลายโจร, กระเทียม, พริกไทย และอื่น ๆ อีกมากมาย

แต่วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสรรพคุณของ ‘ขมิ้นชัน’ สมุนไพรสีเหลืองสด ที่ไม่ได้มีดีแค่การนำไปประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ ให้ดูน่ารับประทานขึ้นเท่านั้น แต่ขมิ้นชันยังเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์การรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยของคนได้ดีไม่แพ้สมุนไพรประเภทอื่น ๆ เลยล่ะค่ะ

[advanced_iframe iframe_hide_elements=”header,footer,#filterWrapper,.bread”  src=”https://www.shopat24.com/health/food-supplement/drug-medical-supplies/herbal/?show=all&filter.from_PRICE=250&filter.to_PRICE=250&sortBy=si&filter.initial_from_PRICE=100&filter.initial_to_PRICE=2190&view=6/&utm_source=blog&utm_medium=iframe” change_iframe_links=”a” change_iframe_links_target=”_blank”]

ขมิ้นชัน (Turmeric) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของขมิ้นจะมีตั้งแต่สีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสด มีรสชาติจัดจ้าน สีสวยงาม จึงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้เข้ากับอาหารในเมนูต่าง ๆ อีกทั้งขมิ้นชันยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุ อาทิ วิตามินเอ, วิตามินบีรวม, วิตามินซี, แคลเซียม, เกลือแร่ เป็นต้น ที่สำคัญยังเป็นสมุนไพรที่หาซื้อง่ายและราคาไม่แพงอีกด้วย

ประโยชน์ของขมิ้นชัน มีอะไรบ้าง?


ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ
ขมิ้นชันสมุนไพรบำรุงโรค

ช่วยบำรุงตับ

  • ในขมิ้นชันจะมีประโยชน์ด้านการต้านสารอนุมูลอิสระ ทั้งยังช่วยต้านเชื้อรา ไวรัส และลดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณที่ช่วยซับพิษสะสมในตับ ช่วยฟื้นฟูตับ ล้างพิษออกจากตับ และช่วยให้ตับแข็งแรงขึ้น

บรรเทาอาการปวดตามข้อ

  • ในขมิ้นชันมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดข้อ จากโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังช่วยให้การทำงานของข้อต่าง ๆ ดีขึ้น นอกจากนี้การรับประทานขมิ้นชันแบบแคปซูลยังไม่ส่งผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารอีกด้วย

บรรเทาอาการกรดไหลย้อน และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

  • โดยสารเคอร์คิวมินที่อยู่ในขมิ้นชัน จะมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการโรคทางเดินอาหาร กรดไหลย้อน ลดแผลในกระเพาะ และรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การรับประทานขมิ้นชันแบบแคปซูลไปพร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร การนอน และการออกกำลังกาย ยังช่วยควบคุมอาการกำเริบของกรดไหลย้อนได้ดีมาก ๆ เลยค่ะ

นอกจากนี้ขมิ้นชันยังสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสีย รักษาแผลแมลงกัดต่อย รักษาโรคกลากเกลื้อน และอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ที่สำคัญการรับประทานขมิ้นชันให้เป็นเวลาก็จะยิ่งช่วยให้การบำรุงต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้นมากกว่าเดิม

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

ขมิ้นชันจะได้ผลดีเมื่อกินตรงเวลา


โดยงานวิจัยของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ระบุเอาไว้ว่า การรับประทานขมิ้นชันให้ได้ประโยชน์มากที่สุด จะต้องกินตามเวลาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกับอวัยวะที่ต้องการ

  • เวลา 03.00 – 05.00 น. : ช่วยบำรุงปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรงขึ้น และช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • เวลา 05.00 – 07.00 น. : เมื่อกินเป็นประจำจะช่วยให้ปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ฟื้นฟู ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร และช่วยให้ขับถ่ายได้ดี
  • เวลา 07.00 – 09.00 น. : ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร บำรุงสมอง ป้องกันอาการความจำเสื่อม และบรรเทาอาการปวดข้อเข่า
  • เวลา 09.00 – 11.00 น. : ลดอาการของโรคเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน และช่วยแก้ปัญหาน้ำเหลืองเสีย
  • เวลา 11.00 – 13.00 น. : เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการบำรุงหัวใจ
  • เวลา 15.00 – 17.00 น. : แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี ที่สำคัญยังช่วยในเรื่องการดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรงขึ้น
  • เวลา 17.00 น. – ก่อนนอน : ช่วยในการบำรุงสมองและความจำ ที่สำคัญหากกินในช่วงเวลาก่อนนอนยังทำให้ตื่นเช้ามาด้วยความสดชื่น ไม่งัวเงีย และการขับถ่ายในตอนเช้าก็จะดีขึ้นด้วย

แม้ว่าขมิ้นชันจะเป็นเพียงสมุนไพรที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย แต่สรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้บอกเลยว่าไม่ธรรมดา ที่สำคัญในปัจจุบันขมิ้นชันยังถูกประยุกต์ให้มาในรูปแบบของผงและแคปซูลเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

หากใครสนใจสมุนไพรบำรุงร่างกายประเภทต่าง ๆ สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่หน้าเว็บไซต์ ShopAt24.com ที่มาพร้อมกับคูปองส่วนลด และโปรโมชั่นจัดส่งฟรี ที่ 7-11 ใกล้บ้าน

ราว 20 กว่าปีก่อน อยู่ๆ ผมก็มีอาการโรคแผลในกระเพาะอาหาร ที่พูดกันว่า อิ่มก็ปวด หิวก็ปวดนั่นแหละครับ สมัยนั้นยังเป็นยุคทองของยาเคลือบกระเพาะอาหาร จำได้ว่าผมก็เหมือนคนเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารทั่วไป คือเทียวไปซื้อยาน้ำที่ว่านี้มากินหมดไปเป็นลังๆ ก็ไม่ทุเลาลงแต่อย่างใด

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

จนกระทั่งผมไปอ่านพบว่า ขมิ้นชัน (Turmeric) สามารถรักษาอาการนี้ได้ โดยเฉพาะหากกินควบคู่กับน้ำคั้นกะหล่ำปลีสดจะยิ่งช่วยได้มาก จึงได้หาซื้อขมิ้นชันแคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัม จากร้านขายยามาลองกินหลังอาหาร ครั้งละ 3-4 เม็ด

ภายใน 2 สัปดาห์ อาการปวดท้องก็เริ่มหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ จากที่ปวดทรมานเป็นประจำ ก็ค่อยๆ กลายเป็นนานๆ ครั้งจะมีอาการเสียทีหนึ่ง และเมื่อเป็นขึ้นมา อาศัยกินขมิ้นชันแคปซูลเข้าไปก็จะทุเลาอาการได้ในเวลาไม่นาน

ผมเลยรู้จากการทดลองกับตัวเอง ว่าแผลในกระเพาะอาหารนั้น ถ้าใครยังเป็นไม่มาก สามารถรักษาโดยกินขมิ้นชันเป็นประจำ ตั้งแต่นั้น เมื่อรู้ว่าเพื่อนคนไหนมีอาการ ผมก็มักแนะให้ลองกินดู แล้วก็ล้วนแต่ทุเลาอาการด้วยความแปลกใจเกือบทุกรายไป

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

ข้อมูลสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันมีระบุไว้ค่อนข้างตรงกัน เช่น ในหนังสือเครื่องเทศ ของคุณนิจศิริ เรืองรังษี บอกว่ามันมีสาร curcumin ที่มีคุณสมบัติเป็นยากันบูดเน่า บำรุงธาตุ ฟอกโลหิต แก้โรคผิวหนัง รักษาแผลถลอก แก้อักเสบ นอกจากนี้ เภสัชกรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ยังค้นคว้าไปถึง “เวลา” ในการกินขมิ้นชัน ซึ่งจะส่งผลสูงสุดต่อการบำรุงอวัยวะภายในร่างกายส่วนต่างๆ เช่น ถ้ากินเวลา 05.00-07.00 น. แก้ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ หากขยับมากินเวลา 07.00-09.00 น. ช่วยเรื่องกระเพาะอาหาร แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง เป็นอาทิ

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

ลองค้นดูข้อมูลของโรงพยาบาลเขาดูเถิดครับ จะยิ่งเห็นว่า ขมิ้นชัน ทั้งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่ก่อเกิดโรคมะเร็งส่วนต่างๆ เช่น ลำไส้ ตับ ปากมดลูก ต่อมลูกหมาก ทั้งสร้างภูมิต้านทาน และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายด้วย

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

ปัจจุบัน ขมิ้นชันแบบผงบรรจุแคปซูลมีจำหน่ายทั่วไปแม้ในร้านสะดวกซื้อ ทำให้การดูแลสุขภาพท้องไส้ด้วยตนเองสามารถกระทำได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก

…………………

เรื่องเล่าเชิงนัยประวัติของขมิ้นชัน แสดงว่ามันถูกมนุษย์ใช้มาตลอดช่วงเวลายาวนาน

ในนิทานไกรทองปรากฏความเชื่อเรื่องขมิ้นสามารถป้องกันจระเข้ได้ ดังกลอนสำนวนนายบุษย์ที่ว่า

“ความข้อนี้มีมาบอกตาครู             จึงได้รู้ทั่วกันทุกวันมา

ถ้าจรเข้ดุร้ายปรายขมิ้น                 ก็กลัวสิ้นตัวงอไม่รอหน้าฯ”

คนแต่ก่อนยังใช้ขมิ้นผงทาตัวป้องกันยุงกัด นอกจากจะทาขมิ้นฝนดินสอพองตามใบหน้า ลำคอ ท่อนแขน เพื่อบำรุงผิวพรรณให้สะอาดอยู่เสมอ

เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ยังระบุไว้ในบันทึก the Kingdom of Siam ของเขาว่า สิ่งที่คนสยาม “ใช้แทนหญ้าฝรั่น (safran) นั้น เป็นเหง้าไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีรสและสีอย่างเดียวกันเมื่อได้ตากให้แห้งและป่นเป็นผงแล้ว เหง้าชนิดนี้รู้จักกันในนามว่าโครกุส แอ็งดีกุส (Crocus Indicus) เขาว่าเป็นการรักษาสุขภาพให้แก่เด็กๆ ด้วยการทาตัวและหน้าให้เหลือง ฉะนั้น ในท้องถนน เราจึงเห็นแต่เด็กๆ ที่มีผิวสีเหลืองไปด้วยกันทั้งนั้น”

ในหนังสือวิชาอาชีพชาวสยาม จากหนังสือวชิญาณวิเศษ ร.ศ. 109-110 (กรมศิลปากร, 2551) ยังมีเรื่อง “ทำไร่ขมิ้น” ที่บ้านบางพระ แขวงบางละมุง ชลบุรี ท่านผู้เรียบเรียงสรุปวิธีทำไร่ขมิ้นที่ “ภูเขาไพล” ว่า

“..ที่ซึ่งควรทำได้นั้นคือเป็นที่ดินร่วนๆ มีแต่หญ้าและต้นไม้เล็กๆ..ครั้นถึงเดือน 4 ข้างขึ้น เขาก็ลงมือแผ้วถาง..ทิ้งไว้จนถึงเดือน 5..ก็จุดเผาหญ้าและต้นไม้ที่แผ้วถางลงไว้นั้น

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

“ถ้าฝนตกเดือน 6 มาก เขาก็ปลูกเดือน 6 ข้างขึ้น ถ้าฝนแล้งไม่ใคร่จะตก เขาก็ปลูกต่อเดือน 7..ขมิ้นที่เขาเก็บไว้ทำพันธุ์นั้น เขาเลือกเอาแต่ที่เหง้าใหญ่ๆ เวลาจะปลูกนั้นเขาต้องผ่าเสียก่อน ถ้าเหง้าใหญ่ก็ผ่า 8 ซีกบ้าง 6 ซีกบ้าง..ครั้นปลูกแล้วเขาก็ทิ้งไว้อย่างนั้น ไม่ต้องรดน้ำ สุดแล้วแต่ฝน ครั้นถึงเดือน 12 ข้างแรม ถึงกำหนดขมิ้นนั้นแก่ เขาจึงได้ขุดขมิ้นนั้นขึ้น

“ครั้นขุดแล้วเขาก็ต้มเสียที่ไร่นั่นก่อน แล้วจึงบรรทุกเกวียนมาตากที่บ้าน 9 วัน 10 วัน จึงจะแห้ง..ราคาซื้อขายกันอยู่กับที่นั้น ขมิ้นสดถังละเฟื้อง..ถ้าขมิ้นตากแห้งแล้วถังละ 2 สลึงเฟื้อง การที่ทำไร่ขมิ้นคนหนึ่งนั้น ได้ผลประโยชน์ปีละ 100 บาทอย่างมาก”

ท่านผู้เขียนยังบันทึกไว้ตอนท้ายว่า ยังมีขมิ้นที่ “ต้นและใบ เหง้า ใหญ่กว่าขมิ้นธรรมดา 2 เท่า ชาวไร่เขาเรียกว่า ‘เจ้าขมิ้น’ เขานับถือกันว่าถ้าเจ้าขมิ้นนั้นเกิดขึ้นในไร่ของผู้ใด ผู้นั้นทำไร่ได้ผลประโยชน์ในปีนั้นมาก ที่บางคนทำถึง 4 ปี 5 ปีจะมีสักปีหนึ่ง บางคนก็ไม่มีเลย”

หันมาดูราคาขมิ้นปัจจุบัน พบว่าตกกิโลกรัมละ 10-15 บาท ถ้าปีไหนราคาสูง อาจได้ถึง 25-30 บาททีเดียว

………………..

ผมคิดว่า ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่น่าจะเชื่อว่า กับข้าวที่เข้าขมิ้นชันเป็นอิทธิพลอาหารปักษ์ใต้ ซึ่งก็ถูกแค่ครึ่งเดียวนะครับ เพราะว่าในวัฒนธรรมอื่น เช่น อาหารเขมรในภาคอีสานของไทย หรืออาหารกลุ่มชนบนพื้นที่สูงชายแดนภาคเหนือและตะวันตก ก็เข้าขมิ้นมากเช่นกัน และน่าจะส่งอิทธิพลให้อาหารล้านนาบางอย่าง เป็นต้นว่า แกงตูน โดยเฉพาะคนกะเหรี่ยงนั้นกินขมิ้นเยอะมาก

นอกจากการกินขมิ้นชันแบบแคปซูลเพื่อผลด้านการซ่อมแซมร่างกายแล้ว ขมิ้นชันที่กินในฐานะอาหารเป็นที่ยอมรับในหมู่นักโบราณเภสัช ว่าเหมาะสมต่อการดูดซึมของร่างกาย อีกทั้งยังเป็นการควบคุมปริมาณการกินในแต่ละครั้ง ไม่ให้มากเกินไป การที่นำมาปรุงเป็นอาหาร ยังมีข้อดีตรงที่ย่อมมีสมุนไพรตัวอื่นคอยเสริมสรรพคุณให้เกิดผลในการออกฤทธิ์ดีขึ้นอีกด้วย

ลองนึกดูเถิดครับ ว่าเราจะรื่นรมย์กับรสชาติ สี และกลิ่นหอมๆ ของขมิ้นชันในอาหารอะไรได้บ้าง ตั้งแต่แกงเหลือง ไก่ต้มขมิ้น ปลาทอดขมิ้น แกงไตปลา แกงขมิ้นแบบปักษ์ใต้ แกงตูนแบบล้านนา ไข่เจียวใบมะรุมใส่หอมแดงซอยและขมิ้นตำละเอียด ฯลฯ สารพัดสารพัน ขมิ้นชันนั้นนอกจากมีสรรพคุณทางยานานาประการแล้ว ยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ และทำหน้าที่ถนอมอาหารไปด้วยในตัว

ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะได้จริงหรือ

ผมเพิ่งไปพบสูตรกับข้าวกะเหรี่ยงสวนผึ้งเมืองราชบุรีสูตรหนึ่ง คือ “แกงคั่วแห้งขมิ้น” น่ากินกับข้าวสวยร้อนๆ มากครับ เลยขอเอาสูตรมาบอกกล่าวให้ลองทำกันดู

ตำพริกกะเหรี่ยงแห้ง กระเทียม ข่า ตะไคร้ เกลือ พริกพราน (Z.rhetsa (Roxb.) DC.) และขมิ้นชันสดเยอะหน่อยเป็นพริกแกง ผักสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมฉุนในแกงคั่วแห้งสูตรนี้คือใบกะเพรา ใบมะกรูดซอย และใบขมิ้นชันอ่อนซอยละเอียด

เริ่มทำโดยคั่วเนื้อไก่บ้านสับหยาบๆ ในกระทะ จนไก่สุกและเริ่มแห้ง จึงใส่น้ำมันนิดหน่อย ตามด้วยพริกแกงที่ตำไว้ เกลือ น้ำปลา ผัดพอหอมฉุนดีแล้ว ใส่ใบกะเพรา ใบมะกรูด ใบขมิ้น สักครู่เดียวก็ตักใส่จานมากินได้แล้วครับ สูตรนี้เผ็ดร้อนถึงใจดีนัก และเนื่องจากเราทำโดยการคั่วเนื้อไก่ก่อน จึงรักษาสภาพได้นาน ไม่บูดเสียง่ายๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเครื่องพริกขมิ้นซึ่งเป็นตัวช่วยถนอมอาหารได้อย่างดีด้วยนั่นเอง

บ้านใครทำอาหารกินเอง ลองเพิ่มขมิ้นชันเข้าไปในกับข้าวประจำวันให้มากขึ้น หรือถึงจะต้องซื้อกิน ก็พยายามหาสำรับที่เข้าขมิ้นชันกินให้บ่อยกว่าเดิม โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร แล้วจะค่อยๆ รู้สึกว่าท้องไส้ดีขึ้น สุขภาพของกระเพาะลำไส้แข็งแรงขึ้น

พร้อมๆ กับได้รับรู้รสชาติใหม่ๆ ของวัตถุดิบอาหารอย่างขมิ้นชัน ซึ่งขึ้นชั้น “เป็นยา” สมุนไพรสารพัดประโยชน์ที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบันนี้ครับ