สำเนาบัตรประชาชนเอาไปทำอะไรได้บ้าง

ในปัจจุบันหลายคนต้องใช้เอกสารเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนจำนวนมากเพราะเป็นเอกสารที่สำคัญเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของคุณไม่ว่าจะเป็นการสมัครงาน การทำใบขับขี่ หรือไปท่องเที่ยวต่างประเทศก็ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนเพื่อบ่งบอกว่าคุณเป็นคนประเทศอะไร บางครั้งคุณอาจจะลืมคิดไปว่าคนอื่นสามารถนำบัตรประชาชนของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ซึ่งการถ่ายบัตรประชาชนนั้นก็มีทั้งคนที่รู้เเล้วคนที่ไม่รู้ว่า การถ่ายสำเนาบัตรประชาชนด้านหลังทำให้เกิดภัยต่อตัวเราได้ เมื่อรู้เเบบนี้เเล้วเราควรถ่านสำเนาบัตรประชาชนเเค่ด้านเดียวนั้นก็คือด้านหน้า บทความต่อไปนี้จะให้ข้อมูลว่าทำไมเราถึงไม่ควรถ่ายบัตรประชาชนด้านหลัง

สำเนาบัตรประชาชนเอาไปทำอะไรได้บ้าง

บัตรประชาชน

ทำไมถึงห้ามถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหลัง

หลังบัตรจะมีชุดตัวเลขอยู่ เรียกว่า Laser ID ซึ่งปัจจุบันภาครัฐ เช่นสรรพากร, ตำรวจ, กระทรวงต่างๆ, กรมต่างๆ ฯ รวมถึงภาคการเงินบังคับใช้ Laser ID นี้ในการทำธุรกรรม ตรวจสอบ ยืนยันตัวตน ควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

  • หลักที่ 1 หมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมี 9 ประเภท
  • หลักที่ 2-3 หมายถึง รหัสจังหวัด
  • หลักที่ 4-5 หมายถึง รหัส อำเภอ/เทศบาล ที่เกิด
  • หลักที่ 6-10 หมายถึง กลุ่มบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือ หมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร
  • หลักที่ 11-12 หมายถึง ใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม
  • หลักที่ 13 หมายถึง ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก

เลขในบัตรประชาชนด้านหลัง
เลข Laser ID ด้านหลังบัตร ใช้ยืนยันในการทำธุรกรรมตรวจสอบยืนยันตัวตนควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลักทั้งบริการภาครัฐและการเงิน

ความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชน
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการบริหารจัดการ การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้เป็นไปตามกฎหมายมีการพัฒนาระบบการให้บริการที่ทันสมัยเเก่ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริหารจัดการสำนักทะเบียนต่างๆ ทั่วประเทศ ดำเนินการจัดการทำบัตรประจำตัวประชาชนควบคู่กันไป สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบุรีรัมย์เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เปิดบริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้กับบุคคลผู้มีสัญชาติไทยบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้กับประชาชนผู้มีสัญชาติไทยเพื่อพิสูจน์ทราบเเละยืนยันตัวบุคคลในการขอให้สิทธิ หรือประกอบธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเเละเอกชนเเละเป็นเอกสารลำดับเเรกที่ก่อให้เกิดสิทธิอื่นๆตามมา เเละ ณ ปัจจุบันที่ได้พัฒนาระบบการบริการประชาชน โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพียงใบเดียวเป็นหลักฐานในการขอรับบริการต่างๆ จากภาครัฐ ได้จำนวน 38 บริการ เช่น การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (กรณีบรรลุนิติภาวะเเล้ว) การติดต่อขอไฟฟ้า ประปา การจดทะเบียนสมรส (กรณีบรรลุนิติภาวะเเล้ว) การเเสดงสิทธิขอรับการรักษาพยาบาล (ประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เป็นต้น

ข้อควรระวังในบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวทำให้กลุ่มมิจฉาชีพต้องการบัตรประจำตัวประชาชนของคนอื่น เพื่อไปดำเนินการด้านธุรกรรมต่างๆ โดยมิชอบ เช่น  นำไปเปิดบัญชีธนาคาร ทำให้เกิดความเดือดร้อน เเละเสียหายต่อผู้เป็นเจ้าของบัตรอาจตกเป็นผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าวอยู่ ณ ขณะนี้ ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของบัตรต้องเก็บรักษาบัตรไว้เป็นอย่างดี พึงระมัดระวังอย่าให้สูญหายหากรู้ว่าบัตรสูญหายเมื่อใด ให้รีบเเจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต 

ในอดีตวันหมดอายุบัตรประจำตัวประชาชนจะอยู่ด้านหลังบัตร จึงต้องถ่ายทั้งหน้าและหลังปัจจุบันสามารถใช้ข้อมูลจากในชิปการ์ดด้านหน้าบัตรแต่อาจจะยังไม่แพร่หลายจึงมีบางหน่วยงานยังต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนอยู่ หลังจากนี้ให้เรามัดระวังไม่ใช่เเค่การถ่ายสำเนาบัตรประชาชนเเต่รวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆผ่านโทรศัพท์ด้วย สังเกต Application ไหนให้กรอก Laser ID ก็ต้องระมัดระวังถ้าเป็นสถานที่ที่เชื่อถือได้ เช่นหน่วยงานราชการ, สถาบันการเงิน, Wallet ของบริษัทใหญ่น่าเชื่อถือสมัยนี้จริงๆไม่ควรใช้สำเนาแล้ว ควรดึงข้อมูลจากชิพการ์ดหน้าบัตร แต่ยังไม่แพร่หลาย ก็ยังใช้สำเนากันอยู่ แต่ด้านหลังไม่ควรต้องถ่ายแล้วกรมการปกครองประกาศตั้งแต่ 22 มีนาคม 2556 ว่าหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ยังจำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ควรถ่ายสำเนาบัตรด้านหน้าเพียงด้านเดียว

ข้อมูลอ้างอิง

รู้ไหม..ทำไมถึงห้ามถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหลังโดยเด็ดขาด ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://krungthai.com/th/krungthai-update/news-detail/478

เพราะอะไร? เราถึงไม่ควรเปิดเผย "เลขบัตรประชาชน" ให้คนอื่นรู้ ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.tnnthailand.com/news/social/103395/

ย้ำเตือน! สำเนาบัตรประชาชนไม่ต้องถ่ายด้านหลัง ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com/laser-id/

สำเนาบัตรประชาชนเอาไปทำอะไรได้บ้าง

     

      อุทาหรณ์เตือนใจ ใครหลาย ๆ คนระวังสำเนาบัตรประชาชนที่ใช้สมัครงานหรือติดต่อธุรกรรมต่าง ๆ หลุด อาจตกเป็นหนี้บัตรเครดิตนับแสนแบบไม่รู้ตัว ชาวเน็ตแนะวิธีป้องกันมิจฉาชีพนำเอกสารไปใช้ประโยชน์ต่อ

           วันที่ 28 กันยายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในตอนนี้ชาวโซเชียลกำลังให้ความสนใจกระทู้ "เตือนภัย เป็นหนี้บัตรเครดิตกว่า 150,000+ โดยไม่รู้ตัว" ของ คุณ Ordinary diary สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม  ที่ได้โพสต์เล่าเรื่องราวจากประสบการณ์จริง หลังตกเป็นลูกหนี้บัตรเครดิตของธนาคาร 2 แห่ง ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่เคยสมัคร

           โดยระบุว่า  เมื่อประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2558 เจ้าของกระทู้ได้รับจดหมายทวงหนี้บัตรเครดิตจากธนาคาร A ที่ถูกส่งไปยังบ้านตามที่ระบุไว้ในบัตรประชาชน ทั้งนี้ ใบแจ้งหนี้ระบุว่า ตนเป็นหนี้จำนวน 76,000 กว่าบาท ซึ่งตอนที่น้องสาวถ่ายรูปแล้วส่งมาให้ดูก็คิดว่า คงถูกมิจฉาชีพส่งข้อมูลปลอมมาหลอก แต่เมื่อลองโทรไปสอบถามกับธนาคาร A จึงทราบว่า เป็นหนี้บัตรเครดิตจริง ๆ ทั้งที่ไม่เคยสมัคร

           ต่อมา ตนได้เดินทางไปยังสำนักงานใหญ่ของธนาคาร A เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงทำให้ทราบว่า บัตรเครดิตถูกเปิดใช้ที่ธนาคาร A สาขารังสิต ช่วงเดือนมีนาคม 2558 มีวงเงิน 73,000 บาท แต่ใช้เกินวงเดือน ยอดรวมทั้งหมดจึงเป็น 76,000 กว่าบาท และเมื่อเดินทางไปยังธนาคาร A สาขารังสิต เพื่อแจ้งความ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร ชื่อว่า น.ส.Y ก็มาชี้แจงให้ทราบว่า ได้มีฝ่ายบุคคลของ บจก.XXX เอาหลักฐานของพนักงาน (สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา) มายื่นกับธนาคารเพื่อสมัครบัตรเครดิตให้พนักงาน พร้อมทั้งนำสลิปเงินเดือน สเตทเม้นท์และใบเสียภาษีมาประกอบการสมัคร ประกอบกับธนาคารได้โทรไปสอบถามตามเบอร์ของ บจก.XXX ก็ยืนยันว่า พนักงานที่สมัครใช้บัตรเครดิตมีตัวตนจริง จึงอนุมัติบัตรเครดิต 

           ตนจึงพยายามขอข้อมูลคนที่มาเปิดบัตรเครดิต ปรากฏว่า น.ส.Y ปฏิเสธ เนื่องจากเป็นข้อมูลของลูกค้า แต่ น.ส.Y จะส่งเรื่องไปให้สำนักงานใหญ่ดำเนินการต่อให้ หลังจากนั้นตนก็ได้เช็กกับเครดิตบูโร พบว่า มีคนร้ายแอบใช้บัตรเครดิตของธนาคาร B อีก 2 ใบ วงเงินใบละ 40,000 บาท หลังทราบเรื่องก็รีบเดินทางไปธนาคาร เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ก่อนจะไปแจ้งความและนำเอกสารไปติดต่อธนาคารซึ่งเป็นสถานที่เปิดใช้บัตรเครดิตดังกล่าวทันที เรียกว่า กว่าจะเดินเรื่องจนหลุดพ้นหนี้บัตรเครดิตที่ตนเองไม่ได้ก่อ ก็ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนทีเดียว

           นอกจากนี้ เจ้าของกระทู้ยังได้โพสต์เล่าการสอบถามเรื่องการทำบัตรเครดิตกับพนักงานของธนาคาร เพิ่มเติมด้วยว่า

           1. เราจะป้องกันอย่างไร ไม่ให้คนร้ายไปเปิดบัตรมั่วซั่วอีก?

           พนักงานของธนาคาร ตอบว่า ป้องกันไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือ รอว่าจะมีเซอร์ไพรส์จากธนาคารไหน แล้วค่อยตามไปแจ้งเรื่อง

           2. เราสามารถฝากเอกสารให้เพื่อนหรือใครมาสมัครบัตรเครดิตแทนเราได้ไหม?

           พนักงานของธนาคาร ตอบว่า  ได้

           3. เจ้าของหลักฐานไม่ต้องเซ็นชื่อต่อหน้าพนักงานเหรอ?

           พนักงานของธนาคาร ตอบว่า แล้วแต่กรณีว่า ลูกค้ากับพนักงานมีข้อตกลงกันว่าอย่างไร

           4. ถ้าเราทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ล่ะ จะช่วยได้ไหม?

           พนักงานของธนาคาร ตอบว่า ไม่ได้ เพราะข้อมูลยังเป็นข้อมูลของเรา

           อย่างไรก็ดี คุณ Ordinary diary ยังตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่หลุดไปถึงมือคนร้ายนั้น อาจหลุดไปกับการสมัครงานเมื่อช่วงต้นปี 2557 เนื่องจากแฟนของคุณ Ordinary diary ที่ยื่นใบสมัครที่เดียวกัน ก็ถูกนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปเปิดบัตรเครดิตในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน

           ภายหลังที่เรื่องราวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็มีบรรดาชาวเน็ตเข้ามาสอบถามว่า ธนาคารต้นเรื่องทั้ง 2 แห่งคือที่ไหนกัน เหตุใดเจ้าหน้าที่จึงไม่ตรวจเช็กข้อมูลของลูกค้าอย่างละเอียด ก่อนอนุมัติบัตรเครดิต หรือมัวแต่คิดเพิ่มยอดจนไม่สนใจอะไร ขณะที่บางส่วนก็เข้ามาต่อว่า บริษัทรับสมัครงานที่ทางเจ้าของกระทู้คาดว่าอาจเป็นต้นตอที่ทำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหลุดไปอยู่ในมือมิจฉาชีพว่า บริษัทดังกล่าวไม่มีจรรยาบรรณในการจัดเก็บเอกสารส่วนตัวหรือทำลายเอกสารสำคัญของผู้สมัครงานเลย และบางส่วนก็เข้ามาแนะนำเทคนิคการเซ็นรับรองสําเนาถูกต้องให้ปลอดภัย อาทิ ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อ และเขียนข้อความรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว เจ้าของเอกสารควรเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่า เอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับทำอะไร เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก คุณ Ordinary diary สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม