ข้อ ใด ไม่ใช่ การ เขียนวัตถุประสงค์ การวิจัย

คำสั่ง : ใช้ตัวเลือกเหล่านี้สำหรับตอบคำถามใน ข้อ 21. – 25.
1) Carl Hovland
2) David K. Berlo
3) Harold lasswell
4) Kurt Lewin
5) Paul Larzarfeld

คำถาม :  แนวคิดด้านการสื่อสารต่อไปนี้ เป็นผลงานของนักวิชาการท่านใด
21. ทฤษฎีการสื่อสารที่เน้นผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และการโต้ตอบในการสื่อสาร (S-M-C-R)
ตอบ

22. กรอบการวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสาร 5 ประการ พื้นฐานการวิจัยด้านการวิเคราะห์สาร
ตอบ

23. แนวคิด “Agenda Setting” (การกำหนดวาระข่าวสาร)
ตอบ

24. ทฤษฎีเข็มฉีดยา “Needle Theory”
ตอบ

25. แนวคิด “GATE KEEPER” (คนเฝ้าประตู)
ตอบ

26. ข้อใด สอดคล้อง กับแนวทางหลักที่ใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกประเด็นเพื่อการวิจัย
1) เป้าหมาย และคุณประโยชน์จากงานวิจัย ในด้านการเพิ่มความรู้ และ/หรือการแก้ไขปัญหา
2) ขอบเขตของงานวิจัย กรอบแนวคิด และทฤษฎีรองรับ
3) ความพร้อมของนักวิจัย;  ตรงกับประสบการณ์  ความถนัด  และความสนใจ
4) ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือความเหมาะสมในแง่ความสามารถ การเก็บข้อมูล ความร่วมมือ ทรัพยากร ระยะเวลา อันตราย ฯลฯ
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ

27. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับความสำคัญของประเด็นในการวิจัย
1) การสะท้อนความสนใจของนักวิจัย
2) การกำหนดขอบเขตของงานวิจัย
3) เป็นจุดขายของงานวิจัย
4) ช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์แก่ผู้วิจัย
5) การเชื่อมโยงนักวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย และข้อมูลเข้าด้วยกัน
ตอบ

28. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับความหมาย “การทบทวนวรรณกรรม”
1) เป็นการศึกษาตรวจสอบทฤษฎี และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย
2) นักวิจัยจะดำเนินการสรุปข้อค้นพบต่าง ๆ ของนักวิชาการ หรือนักวิจัยท่านอื่น ๆ ที่เคยศึกษาวิจัยในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือประเด็นอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง
3) เน้นการนำผลจากการทบทวนวรรณกรรมที่ได้ มานำเสนอในบทที่ 2 ของรายงานวิจัยเป็นหลัก
4) ผลจากการทบทวนวรรณกรรมจะได้ข้อมูล สารประโยชน์สำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการออกแบบระเบียบวิธีวิจัยให้มีประสิทธิภาพ และ/หรือเป็นแนวทางดำเนินการวิจัยได้ตลอดโครงการ
5) ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการ การนำเสนอโครงร่างจนไปจนถึงขั้นตอนการสรุป วิเคราะห์และอภิปรายผลรวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณชน อีกด้วย
ตอบ

29. ข้อใด ไม่ใช่ แนวคิดหลัก/ มูลเหตุสำคัญของ “การทบทวนวรรณกรรม” ที่ควรคำนึงถึง
1) ด้านข้อมูล, ภาพรวมของการศึกษาวิจัย, พัฒนาการการทำวิจัยในประเด็นดังกล่าว, หลักปรัชญา ทฤษฎี และงานวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย แนวทางการวัดประเมิน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) ด้านทักษะความรู้ในด้านการวิจัยของนักวิจัยเอง
3) ด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ
4) ด้านความชัดเจนและเชื่อมโยงกับโจทย์การวิจัย
5) ทุกข้อ คือ แนวคิดหลักทั้งสิ้น
ตอบ

30. จากแนวคิด “การทบทวนวรรณกรรม” ข้อใด กล่าวผิด
1) นักวิจัยจะเริ่มลงมือทำการการทบทวนวรรณกรรมได้ ภายหลังจากที่ได้กำหนดประเด็นการวิจัยพร้อมตั้งปัญหานำการวิจัย วัตถุประสงค์ และสมมติฐานการวิจัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2) ขั้นตอนแรกคือ การทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา เลือกแหล่งข้อมูล ศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ตัดสินใจเลือกทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวม และนำเสนอข้อมูลที่ได้มา
3) ข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมจะถูกวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียง แล้วจึงนำเสนอในรายงานผลการวิจัย ในบทที่ 2 เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการนำวิจัย
4) ผลจากการการทบทวนวรรณกรรม สามารถมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดกระบวนการทำวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นถึงขั้นตอนของการนำผลงานวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
5) แม้กระทั่งในการศึกษาวิชาวิจัย MCS4170 ยังจำเป็นต้องอาศัยการทบทวนกรรม มาเป็นแนวทางทางการเรียนรู้ ประกอบการศึกษา ช่วยให้เกิดความเข้าใจการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น
ตอบ

คำสั่ง : ใช้ตัวเลือกเหล่านี้ สำหรับตอบคำถามใน ข้อ 31. – 35.

1) ProQuest : ProQuest Dissertations & Theses Global
2) UCTAL : Union Catalog of Thai Academic Libraries
3) ThaiLIS : Thai Library intergrated system / TDC – Thai Digital Collection ThaiLIS
4) NewsCenter & iQNews Clip
5) ThaiJo:  THAI JOURNAL ON Line (ThaiJo)

คำถาม :  รายละเอียดต่อไปนี้ เป็นลักษณะเฉพาะของ “ฐานข้อมูล” ในข้อใด

31. ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของไทย รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน  เพื่อใช้ในการสืบค้นหนังสือและการยืมระหว่างห้องสมุดโดยไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด
ตอบ

32. เป็นโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย สมาชิกทั่วไปจะถูกจำกัดจำนวนรายชื่อต่อวันที่อนุญาตให้ download ได้ แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์ที่เข้าร่วมโครงการนั้น ไม่มีการจำกัด
ตอบ

34. รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอก ฉบับเต็ม (Full – Text) รวมถึงสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และบางสถาบันการศึกษา จากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา มากกว่า 1,000 แห่ง
ตอบ

35. แหล่งรวมข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย จากวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ม.ธรรมศาสตร์   และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
ตอบ

36. จากการวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักต่อจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชนไทยของนักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง” ....ข้อใด คือ ตัวแปรตาม
1) ปัจจัย
2) อิทธิพล
3) ความตระหนัก
4) จรรยาบรรณวิชาชีพ
5) สื่อสารมวลชน
ตอบ

37. จากข้อ 36.  หากสมมติฐานในการวิจัย กำหนดไว้ว่า “ลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาที่แตกต่างกัน ลักษณะมุ่งอนาคต เหตุผลเชิงจริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน และความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์แตกต่างกัน”... ข้อใด ไม่ใช่ ตัวแปรตาม
1) ลักษณะส่วนบุคคล
2) ลักษณะมุ่งอนาคต
3) เหตุผลเชิงจริยธรรม
4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
5) ความสัมพันธ์กับอาจารย์
ตอบ

38. ในเล่มรายงานการวิจัยเชิงปริมาณ หากต้องการทราบว่างานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง นักศึกษาสามารถสังเกต หรือหาคำตอบเบื้องต้นได้จากหลาย ๆ จุด ยกเว้น ข้อใด
1) คำสำคัญในชื่อเรื่องของงานวิจัย
2) วัตถุประสงค์
3) กรอบแนวคิดของการวิจัย
4) ขอบเขตของการวิจัย
5) ชื่อตอนในแบบสอบถาม
ตอบ

39. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิดเกี่ยวกับ “ทฤษฎี”
1) กลุ่มข้อความหลักการ ข้อเท็จจริง สมมติฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นระบบ
2) อธิบายปรากฏการณ์โดยเจาะจงไปว่า ตัวแปรใด สัมพันธ์กับตัวแปรใด และสัมพันธ์กันอย่างไร
3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่าง ๆ ในเชิงเหตุผล และข้อตกลงเบื้องต้นในการศึกษาปรากฏการณ์นั้น ๆ ทำนายหรือคาดเดาเกี่ยวกับผลลัพธ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ
4) ถ่ายทอดความรู้ และให้คุณค่าแก่วงการศึกษา ก่อให้เกิดการวิจัย และนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีใหม่ และเป็นองค์ประกอบหลักในการทำวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
5) มีความน่าเชื่อถือ เป็นจริง และถูกต้อง ร้อยเปอร์เซ็นต์ สามารถใช้อธิบายและตอบปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพในปัจจุบัน
ตอบ

40. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิดเกี่ยวกับ “สมมติฐาน”
1) ข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับปัญหา และวัตถุประสงค์การวิจัย
2) สามารถกำหนดเป็นประโยชน์บอกเล่าหรือประโยคคำถามก็ได้ ขึ้นอยู่กับนักวิจัย
3) สมมติฐานเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าทางด้านทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4) สมมติฐานที่ดีต้องสามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูลและหลักฐานที่เก็บรวบรวมได้
5) สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบหลาย ๆ ครั้งจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ทั่วไปได้อย่างถูกต้องมีเหตุผลและเป็นที่ยอมรับ และสมมติฐานนั้นจะกลายเป็นทฤษฎี
ตอบ

41. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิดเกี่ยวกับ “กรอบแนวคิดในการวิจัย”
1) เป็นแนวความคิดของผู้วิจัยเกี่ยวกับตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่กำหนดไว้เป็น “ข้อสมมติฐานในการวิจัย”
2) ลักษณะสำคัญคือ “มีพื้นฐานทางทฤษฎี” เป็นตัวกำหนด
3) แตกต่างจากขอบเขตของการวิจัย ที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ สาระสำคัญและประชากรที่ศึกษาฯ
4) งานวิจัยหนึ่ง ๆ อาจมีกรอบแนวคิดได้หลายแบบขึ้นอยู่กับจำนวนข้อของสมมติฐานที่กำหนด
5) เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอผลงานวิจัย ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจผลงานวิจัยได้ง่ายขึ้น
ตอบ

42. การนำเสนอ “กรอบแนวคิดในการวิจัย” สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ ยกเว้น ข้อใด
1) คำพรรณนา / คำบรรยาย
2) สูตรทางคณิตศาสตร์
3) แผนภาพ
4) แบบจำลอง (สัญลักษณ์ / สมการ)
5) สามารถนำเสนอได้ทุกรูปแบบที่กล่าวมา
ตอบ

43. ข้อใด กล่าวผิด เกี่ยวกับแนวคิดของ “การนิยามศัพท์” ในงานวิจัย
1) การนิยามศัพท์เป็นความพยายามในการอธิบายคุณลักษณะบางประการที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่สามารถสังเกต วัด หรือประเมินตามแนวคิดที่ใช้ได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
2) สามารถแบ่งออกเป็น การนิยามเชิงทฤษฎี และการนิยามเชิงปฏิบัติการ
3) นิยามตามแนวคิดและในเชิงทฤษฎี ส่วนใหญ่ยังคงเป็นนามธรรม ส่วนการนิยามเชิงปฏิบัติการ คือ การแปลง ความหมายโดยระบุลักษณะหรือพฤติกรรมตัวบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นถึงตัวแปรระบุถึงกิจกรรมหรือการกระทำ ที่ใช้ในการวัดตัวแปรนั้น ๆ จะวัดในขอบเขตอย่างไร
4) การนิยาม ช่วยทำให้ตัวแปรที่ศึกษาสังเกตได้ วัดได้ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องมือในการ เก็บข้อมูล อาทิ ข้อคำถามในแบบสอบถาม เป็นต้น
5) การนิยามศัพท์ในการวิจัย มักนำเสนอในเล่มรายงานวิจัยบทที่ 1 และจะต้องนำเสนอคำนิยามในเชิงทฤษฎีเป็นหลัก เพื่อความน่าเชื่อถือและการยอมรับในเชิงวิชาการ
ตอบ

44. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับลักษณะของตั้งชื่อเรื่องการวิจัย (Research Title) ที่เหมาะสม
1) ต้องมีคำสำคัญที่เป็นคำนาม และคำหลักที่แสดงตัวแปร ตามแบบการวิจัย และประชากร
2) เป็นข้อความบอกเล่า หรืออื่น ๆ ได้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่ต้องสะท้อนความโดดเด่นในเชิงวิชาการ
3) ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย กำกวม กะทัดรัด ชัดเจน ไม่ควร ตั้งให้ยาวหรือสั้นเกินไป
4) ไม่ต้องเป็นประโยคสมบูรณ์ อาจเป็นข้อความหรือวลีที่สามารถบอกขอบเขตของทางการวิจัย
5) บ่งชี้ถึงขอบข่ายเนื้อหา (area) แสดงทิศทางปัญหาที่ต้องการทำวิจัยอย่างชัดเจน
ตอบ

45. ข้อใด ไม่ใช่ แนวทางหลักใน “การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย” ที่เหมาะสม
1) ข้อความแสดงความต้องการหรือเป้าหมายในการแสวงหาความรู้หรือตอบปัญหาของผู้วิจัย
2) เป็นข้อความประโยคบอกเล่า สอดคล้องกับปัญหานำการวิจัย
3) เชื่อมโยงกับที่มาของปัญหานำการวิจัย เน้นประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำผลการวิจัยไปใช้
4) คำสำคัญที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ เพื่อบรรยาย ศึกษา สำรวจ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน พัฒนา เป็นต้น
5) สามารถนำไปตั้งเป็นสมมติฐาน และทำการทดสอบได้ ควรแยกตัวแปรย่อยเป็นข้อ ๆ
ตอบ

46. จากแนวคิดความแตกต่างของลักษณะเฉพาะของการเขียนวัตถุประสงค์ในงานวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อใด กล่าวถูกต้อง
1) จะมีความชัดเจนในทิศทางการศึกษา เน้นการศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวแปร มากกว่า
2) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเชิงปริมาณที่ดีจะกำหนดทิศทางการศึกษาความสัมพันธ์ของคู่ตัวแปร
3) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเชิงปริมาณสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย สามารถทดสอบได้
4) วัตถุประสงค์งานวิจัยเชิงคุณภาพจะมีลักษณะกว้าง ๆ ยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทที่เกิดขึ้นระหว่างทำการวิจัย
5) กล่าวถูกต้องทุกข้อ
ตอบ

47. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิดและแนวทางการเขียนสมมติฐานที่ถูกต้องในการทำวิจัย
1) เป็นคำตอบของคำถามการวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นภายใต้ทฤษฎีและข้อค้นพบ
2) มักเป็นประโยคคำถาม สั้นกะทัดรัด มีเหตุผลผลสนับสนุนที่เป็นที่ยอมรับจากแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ
3) เป็นข้อความที่ผู้วิจัยคาดไว้เกี่ยวกับคุณลักษณะและความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยกำหนดทิศทางของสิ่งที่ค้นพบเพื่อตอบวัตถุประสงค์
4) สมมติฐานว่าการวิจัยที่ดีต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และคำถามการวิจัยที่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์และวิธีการทางสถิติ
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ

48. ข้อใด ไม่ใช่ ตัวอย่างการเขียนสมมติฐานงานวิจัยเชิงปริมาณที่ถูกต้อง
1) นักศึกษาชายและหญิงมีความแตกต่างกันในด้านพฤติกรรมการคัดเลือกผลงานทางวิชาการ
2) ความรู้เท่าทันสื่อ ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนที่แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีอิทธิผลต่อทัศนคติในการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานบนอินเทอร์เน็ต
4) การเสพติดอินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม กับความรู้เท่าทันดิจิทัล
5) คนไข้ที่อาศัยในเขตเมืองมีทักษะดิจิทัล สูงกว่าคนไข้ที่อาศัยนอกเขตเมือง
ตอบ

49. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิดและแนวทางในการเขียนขอบเขตของการวิจัยเหมาะสม
1) เป็นการกำหนดกรอบหรือขีดวงจำกัดของการวิจัยให้ชัดเจน
2) ระบุว่าจะทำการศึกษากว้าง แคบ หรือเฉพาะเจาะจงเพียงใด ครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง
3) รวมถึงข้อจำกัดทางด้านเวลา งบประมาณ และขอบเขตของประโยชน์ที่จะนำไปใช้
4) นำเสนอประเด็นพื้นฐานที่มักกล่าวถึง คือ ประชากร (คือใคร ที่ไหน) ตัวแปร (อะไรบ้าง) ช่วงเวลาในการศึกษา(เมื่อไหร่)  พื้นที่ที่ทำการศึกษา(ที่ไหน) 
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ

50. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวทางการเขียน “ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ” ที่ถูกต้องเหมาะสม
1) เป็นข้อความที่แสดงว่า ผลการวิจัยนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อใครและเป็นประโยชน์อย่างไร
2) ทั้งในเชิงวิชาการ อาทิ การสร้างเสริม องค์ความรู้ใหม่ ช่วยพัฒนางานวิจัยครั้งต่อไป
3) นำเสนอในหัวข้อสุดท้ายในบทที่ 5 หลังการอภิปรายผลการวิจัย
4) ควรเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ

หมายเหตุจากติวเตอร์
1. ให้นักศึกษาฝึกหาคำตอบก่อน โดยเข้าไปฟังคำบรรยยายกระบวนวิชานี้ สำหรับคำตอบ ผมจะนำมาลงให้ภายหลังครับ
2. หากน้อง ๆ ที่ต้องการคำตอบ เอกสาร หรือการติววิชานี้ สามารถติดต่อติวเตอร์แบงค์ได้

ข้อมูลโดยติวเตอร์แบงค์
สถาบันติว PERFECT  ซ.รามคำแหง 43/1 และ สถาบันติว THE BEST CENTER
ติวเตอร์ประจำวิชา MCS 4170
ติวเตอร์ประจำวิชา ENG1001, ENG1002, ENG2001, ENG2002, CEN, ENS,APR
ติวเตอร์ประจำวิชา STA1003, STA2016, SBM4509, INT1004, INT1005
ติดต่อติวเตอร์ได้ที่ เบอร์ 081-7269394 Line ID : sjbank
นักศึกษาที่จะติดต่อติว กรณีคอร์สติวส่วนตัว ให้ติดต่อล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ นะครับ

ข้อ ใด ไม่ใช่ การ เขียนวัตถุประสงค์ การวิจัย