โครงสร้างและลักษณะการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจัดไว้ 3 ระดับคือ

โครงสร้างและลักษณะการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจัดไว้ 3 ระดับคือ

Show
โปรดระวังมิจฉาชีพ !!

ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพทำการลอกเลียนช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ของ บมจ. บัตรกรุงไทย (เคทีซี) และบริษัทในเครือ อาทิเช่น เคทีซี พิโก, เคทีซี นาโน เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการหลอกลวงให้โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารต่าง ๆ

เคทีซีไม่มีนโยบายให้ลูกค้าหรือผู้สมัครผลิตภัณฑ์กับเคทีซีทำการโอนเงินหรือค่าธรรมเนียมไปยังบัญชีธนาคารใดๆ ทั้งสิ้น

กรุณาระมัดระวังและตรวจสอบทุกครั้งในการทำธุรกรรมว่าท่านดำเนินการผ่านช่องทางที่เป็นทางการของบริษัท (Official account) เท่านั้น

Beware of Scammers

Recently there are a number of scammers who counterfeit the communication channels of Krungthai (KTC) PLC. and our affiliates such as KTC Pico, KTC Nano, asking for personal information and trick customers to transfer money to other accounts.

KTC has no policy to ask our customers or product applicants to transfer money or pay fee to any bank account.

Please be caution before giving your personal information or making any transaction.

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เริ่มต้นอย่างไร ?​

สำหรับผู้ที่มีความฝันในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเพิ่งจบการศึกษามาหมาด ๆ  หรือทำงานรับเงินเดือนมาสักระยะหนึ่งแล้ว และอยากก้าวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจเอง หรือมีธุรกิจส่วนตัวที่ชอบหรือถนัดเป็นงานเสริม การจะทำความฝันให้เป็นจริงได้ เราจะต้องมองให้รอบทุกด้าน เพราะนอกจากภาพความสำเร็จสวยหรู ไม่ว่าจะเป็นการได้รับผลตอบแทนสูงในรูปของกำไร โอกาสที่จะร่ำรวย การได้เป็นนายของตนเอง หรือการได้รับการยอมรับนับถือในสังคม ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกมาก เช่น เงินลงทุนที่จะใช้ การต้องทำงานหนักขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น ต้องแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่าง รวมถึงการมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน หรือเลิกกิจการ และสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้น ก่อนตัดสินใจก้าวออกมาเป็นผู้ประกอบการ ก็จะต้องต้องศึกษาข้อมูล เรียนรู้ให้มากที่สุด และวิเคราะห์อย่างรอบคอบ  เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

สำรวจตนเอง: พร้อมที่จะทำธุรกิจหรือไม่ ?​

ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจมักจะมีลักษณะหลาย ๆ อย่างคล้ายคลึงกัน  อันได้แก่

1.  มีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถในการบริหารธุรกิจ  ลองสำรวจตนเองว่าเรามีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถเพียงพอในการบริหารธุรกิจนั้น ๆ หรือไม่

โครงสร้างและลักษณะการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจัดไว้ 3 ระดับคือ

2.  มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ คนเรามีบุคลิกลักษณะทั้งภายในและภายนอกที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลให้มีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการซึ่งเป็นแรงผลักดันภายในและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ  ลองสำรวจว่าเรามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่  หรือจะสร้างมันให้เป็นสัญชาตญาณของเราได้อย่างไร

มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะประสบความสำเร็จ

มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ เพื่อทำในสิ่งที่แตกต่างหรือดีกว่าเดิม

มีความสามารถในการมองเห็น วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ

มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ

มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งการเจรจาต่อรอง การนำเสนอ และการโน้มน้าวจูงใจ

มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ และพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่  

มีแผนสองไว้รองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเสมอ

มีความมุมานะพยายาม ทุ่มเทแรงกายแรงใจ  ไม่ย่อท้อต่อความเหน็ดเหนื่อยและความผิดหวัง  

มีความคิดเชิงบวก เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เมื่อเราสำรวจตัวเองแล้วว่าเรามีคุณสมบัติข้างต้นพร้อมจะเป็นผู้ประกอบการลองมาดูกันว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง

เริ่มต้นลงมือ : แผนธุรกิจเป็นอย่างไร ?​

จากแนวคิด…สู่แผนธุรกิจ​

การทำธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ควรเริ่มต้นจากการทำแผนธุรกิจ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ โดยจัดระบบความคิดของตนเอง แล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษ อาจใช้ตัวอักษร ตัวเลข หรือรูปภาพ เพื่อให้สื่อสารเข้าใจได้ ซึ่งแผนธุรกิจนี้นอกจากจะช่วยให้ความคิดของเราตกผลึกหรือทำให้ตัวเราเองมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายแล้ว ยังสามารถใช้ในการสื่อสารเพื่อหาผู้ร่วมลงทุน หาพันธมิตรทางธุรกิจ หรือขอกู้เงินจากธนาคารได้อีกด้ว​ย

แผนธุรกิจควรประกอบด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กรธุรกิจ  เป้าหมายของธุรกิจ แผนการตลาด แผนการผลิต (หรือแผนการให้บริการ)  แผนการเงิน แผนการบริหารจัดการภายใน และแผนฉุกเฉิน​​

การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ

ในกรณีที่เราต้องการขอสินเชื่อธุ​รกิจจากสถาบัน​การเงินแผนธุรกิจเป็นเอกสารสำคัญที่สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ การขาดแผนธุรกิจที่ดีเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจไม่ได้รับสินเชื่อ ซึ่งทั้งองค์กรภาครัฐ เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำ​แผนธุรกิจทาง website สิ่งพิมพ์ ตลอดจนจัดหลักสูตรอบรม และสัมมนาเชิงปฏิบัติการอยู่เป็นระยะ ผู้สนใจจะทำธุรกิจจึงควรหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยเราอาจศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้จากคู่มือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ จัดทำโดย สสว.

​​

​เลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบใด ?

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะสร้างกิจการของตนเอง  เรื่องต่อมาที่ต้องตัดสินใจ คือจะจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมกับกิจการของตนเอง  ซึ่งมีทั้งเจ้าของคนเดียวห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด  โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ มีต้นทุนต่ำ และมีกำไรสูง

เราสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ และการจดทะเบียนธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้โดยตรงจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์​  ซึ่งการเปรียบเทียบรูปแบบธุรกิจประเภทต่าง ๆ สามารถสรุปได้คร่าว ๆ ตามตารางด้านล่าง

โครงสร้างและลักษณะการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจัดไว้ 3 ระดับคือ
 

ที่มา:  สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI)​​

ควรบริหารจัดการด้านการเงินอย่างไร ?​


โครงสร้างและลักษณะการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจัดไว้ 3 ระดับคือ
 

ข้อแนะนำเบื้องต้น


ปัญหาที่พบโดยทั่วไปของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการรายใหม่ คือ การขาดระบบบัญชีและงบการเงินที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการด้านการเงิน และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรืออาจทำให้ขาดคุณสมบัติที่จะขอความช่วยเหลือหรือการส่งเสริมตามมาตรการของภาครัฐ ซึ่ง ศคง. มีข้อแนะนำดังนี้ ​

ควรแสดงตัวตนให้สถาบันการเงินรู้จัก เช่น การเปิดบัญชีและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัญชีธนาคาร  เพื่อให้เกิดรายการหมุนเวียน ซึ่งแสดงถึงปริมาณการค้าหรือรายได้ของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ

ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารหลักฐานทางการค้า เอกสารเกี่ยวกับภาษี และการบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมด้านการเงิน และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจภายในกิจการแล้ว  ยังสามารถใช้ยื่นต่อสถาบันการเงินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่ออีกด้วย

อาจใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี ให้เข้ามาช่วยวางระบบบัญชี และจัดทำงบการเงินที่ถูกต้อง เชื่อถือได้

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

​องค์ประกอบของงบการเงิน​

งบดุล คือ สิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวดบัญชี  งบดุลจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์  และฝั่งขวาแสดงรายการของผู้ที่มีส่วนในสินทรัพย์ ซึ่งมีอยู่ 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ (หนี้สิน) และเจ้าของธุรกิจ (ทุน)  โดยที่จำนวนเงินทั้ง 2  ฝั่งจะต้องเท่ากันพอดี ตามสมการ  สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน

งบกำไรขาดทุน คือ สิ่งที่สะท้อนความสามารถในการทำกำไร หรือสะท้อนผลประกอบการในรอบระยะเวลา (งวดบัญชี) หนึ่ง โดยแสดงให้เห็นตัวเลขรายได้ ต้นทุนสินค้าขาย กำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  และกำไรสุทธิของกิจการ

งบกระแสเงินสด คือ สิ่งที่แสดงความเคลื่อนไหวหรือการไหลเวียนของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด โดยแบ่งออกตามกิจกรรม ได้แก่ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน  และกระเงินสดจากการจัดหาเงินทุน


​การวิเคราะห์งบการเงิน​

​เป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนธุรกิจและแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจการ ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอัตราส่วนซึ่งคำนวณจากข้อมูลต่าง ๆ ในงบการเงิน โดยขอยกตัวอย่างอัตราส่วนทางการเงินที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ดังนี้

การวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุน

oอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน  =  หนี้ / ทุน แสดงถึงโครงสร้างเงินทุนของกิจการ  ในแง่ของเจ้าหนี้ อัตราส่วนที่ต่ำ แสดงถึงทรัพย์สินสร้างขึ้นมาจากทุนเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่จากหนี้ กิจการมีภาระหนี้ต่ำ จึงมีความเสี่ยงในการให้กู้ยืมต่ำ

การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน  

     oCurrent Ratio  =   สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน เป็นเครื่องชี้สภาพคล่องของธุรกิจ หากอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูงและมีความเป็นไปได้ต่ำที่จะผิดนัดชำระหนี้ 

     oQuick Ratio   =  (เงินสด+ลูกหนี้การค้า)/หนี้สินหมุนเวียน เป็นเครื่องชี้ความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินหมุนเวียนจากสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูงและสามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็ว

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  

     oการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ  =  ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือ   (หรืออาจใช้  ยอดขาย/สินค้าคงเหลือ ก็ได้) เป็นเครื่องชี้ประสิทธิภาพในการบริหารงานขายว่าสามารถจำหน่ายสินค้าได้เร็วเพียงใด

     ​oการหมุนเวียนของลูกหนี้  =  ยอดขาย/ลูกหนี้ เป็นเครื่องชี้ความสามารถในการบริหารลูกหนี้การค้า หากอัตราส่วนหนี้สูง แสดงว่าลูกหนี้ชำระเงินสดเร็ว

ข้อควรรู้ในการใช้บริการทางการเงิน​

​​ทุก ๆ ครั้งที่ใช้บริการทางการเงินเรามีสิทธิขั้นพื้นฐาน​ ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งต้องปฏิบัติต่อคุณอย่างเหมาะสมการใช้บริการทางการเงินโดยที่ยังไม่ได้ทำความเข้าใจให้ถ้วนถี่ หรือไม่รอบคอบเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายได้ ในฐานะผู้ใช้บริการทางการเงิน เรามีหน้าที่พึงปฏิบัติ เช่นกันสามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หลายช่องทาง เช่น โทร 1213  อีเมล หรือมาติดต่อด้วยตนเองที่สำนักงานต่าง ๆ ในกรณีต่าง ๆ อาทิ

โครงสร้างและลักษณะการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจัดไว้ 3 ระดับคือ