ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

บทที่ 2

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

          โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนอการพัฒนาระบบการประเมินการเรียนการสอน ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเป็นระบบที่จัดอยู่ในกลุ่มของ Web Application สำหรับการพัฒนาในครั้งนี้ มีทฤษฎีต่างๆที่ได้นำมาศึกษาค้นคว้าดังต่อไปนี้

2.1  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและระบบงานที่เกี่ยวข้อง

2.1.1 ทฤษฏีพื้นฐานของระบบงาน

2.1.1.1 การประเมินผล [12]

ความหมายของการประเมิน

         ไทเลอร์ (Tyler. 1950 : 60) กล่าวว่า การประเมินผล คือ การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับจุดประสงค์

         ทาบา (Taba. 1962 : 312) กล่าวว่า การประเมิน เป็นกระบวนการตัดสินใจและตัดสินคุณค่า ในการบรรลุของจุดมุ่งหมายทางการศึกษา

         ครอนบัค (Cronbach. 1976 : 432) กล่าวว่า การประเมิน คือการรวบรวมและการให้ความรู้ในการตัดสินใจ

         สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1971 : 40) ได้ให้ความหมายของการประเมินผลว่า เป็นกระบวนการกำหนด รวบรวม และประมวลข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ

         ดังนั้น พอสรุปได้ว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด

การประเมินผลภายในและการประเมินผลภายนอก

         การประเมินผลภายใน (Internal Evaluation) คือ กระบวนการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่กระทำโยบุคลากรในหน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยในการปรับปรุงพัฒนาดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ถือเป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของตนเอง (Self- Evaluation) และควรทำเป็นกิจกรรมหนึ่ง ในขั้นตอนการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

         ดังนั้น ลักษณะสำคัญของการประเมินผลภายในของสถานศึกษา คือ สถานศึกษาประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง และพร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบจากการประเมินภายนอกอีกด้วย

         การประเมินผลภายนอก (External Evaluation) คือ กระบวนการตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งกระทำโดยกลุ่มบุคคลที่เป็นนักประเมินอาชีพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ คุณค่าของหน่วยงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงาน และนำไปสู่การรับรองคุณภาพการดำเนินงานของหน่วยงานตามมาตรฐานที่กำหนด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542: 5)

บทบาทของการประเมิน

บทบาทของการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. 2542: 2-3)

1.          การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ที่สะท้อนจุดเด่นและจุดบกพร่องในการดำเนินงาน ผลการประเมินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น แม้ในขณะที่การดำเนินงานยังไม่สิ้นสุด

2.          การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) เป็นการประเมินผลหลังจากที่ดำเนินงานสิ้นสุดลงแล้ว เป็นการให้ข้อมูลที่ช่วยให้การตัดสินคุณภาพของผลการดำเนินงานและช่วยในการตัดสินใจอนาคตของการดำเนินงานหรือโครงการว่าควรยุติ ขยายงาน หรือปรับการดำเนินงานอย่างไรต่อไป

จากที่กล่าวจะเห็นได้ว่า การประเมินความก้าวหน้า และการประเมินผลสรุปต่างมีผลประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานทั้งคู่ เป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน แต่ต่างกันตรงที่ช่วงเวลาของการดำเนินงาน การประเมินความก้าวหน้าจะกระทำในระหว่างที่กำลังมีการดำเนินงานหรือโครงการ และให้ข้อมูลที่ช่วยในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน ส่วนการประเมินผลสรุปจะกระทำหลังจากการปฏิบัติงานสิ้นสุดลงแล้ว และข้อมูลที่ได้จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินอนาคตของโครงการ

          2.1.1.2 การตรวจสอบการประเมินผล [11]

          การประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง ผู้บริหารและครูเข้าใจระบบการประกันคุณภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งพัฒนา ไม่ใช่การตัดสิน ถูก-ผิด แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่ประจำ เครื่องมือที่ใช้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายบริหาร ผลงาน ตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้นเรียน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้วเพียงแต่จัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น

          จากการสรุปสังเคราะห์กิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายในตามพื้นฐานแนวคิดของการประเมินที่ใช้ในโรงเรียนเป็นฐาน (School Base Evaluation) พบว่ากิจกรรมที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย การวางกรอบการประเมิน การจัดหา/การจัดทำเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมาย และการตรวจสอบ ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน ดังภาพประกอบที่ 1

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 1 กิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน 

โดยมีรายละเอียดในการดำเนินงาน ดังนี้

การวางกรอบการประเมิน

          กำหนดแนวทางการประเมินว่า จะประเมินอะไร ใครจะเป็นผู้ประเมิน และมีรูปแบบในการประเมินอย่างไร

การจัดหา /จัดทำเครื่องมือ

          คณะกรรมการควรประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่า จะใช้เครื่องมือชนิดใด หลังจากนั้นก็จัดหา /จัดทำเครื่องมือโดยมีขั้นตอนดังที่นำเสนอในภาพประกอบที่ 2

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 2 การจัดหาและจัดทำเครื่องมือ

                   การประเมินผลภายในอาจใช้เครื่องมือได้หลากหลาย การกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวบ่งชี้ที่จะวัด เช่น ถ้าวัดเรื่องความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาก็อาจจะใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นเครื่องมือหลัก และใช้เครื่องมืออื่นๆ ประกอบ เช่น การพิจารณาผลงานของผู้เรียน การตั้งคำถามในห้องเรียน การสังเกตพฤติกรรม ถ้าวัดความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ คุณธรรม อาจจะใช้การสัมภาษณ์การสังเกตพฤติกรรมเป็นหลัก โดยจัดทำเป็นแบบบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน หรือใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาในการวัด เป็นต้น

                   เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ควรมีการพิจารณาเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาใช้ในการให้ข้อมูล ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลพื้นฐาน การสำรวจข้อมูลจากผู้ปกครอง การสำรวจข้อมูลจากนักเรียน การสำรวจข้อมูลจากครู การสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลหลายตัวบ่งชี้ ทำให้มีความกระชับและมีไม่กี่ชุด

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                   สถานศึกษาควรวางแผนการจัดเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับการทำงานปกติของสถานศึกษาให้มากที่สุด เช่นข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและรายได้ของผู้ปกครองอาจจะให้ผู้ปกครองกรอกแบบสอบถามในวันที่เชิญมาประชุม หรือน้ำหนักและส่วนสูงให้ครูประจำชั้นจัดเก็บ เป็นต้น สิ่งที่ไม่ควรทำ คือ ระดมเก็บข้อมูลทุกอย่างในช่วงเวลาเดียวกันจำนวนมาก จนเป็นภาระของผู้เก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูล

                   การจัดเก็บข้อมูลจะครอบคลุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมิน ถ้าต้องการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงผู้เรียนหรือครู เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงเป็นรายบุคคล ก็ควรจะเก็บข้อมูลของทุกคน แล้วประเมินเป็นรายบุคคล แต่ถ้าต้องการประเมินในภาพรวม หรือเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองหรือชุมชน ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการเรียนการสอนทั่วๆไป ก็สามารถใช้วิธีสุ่มตัวอย่างก็ได้

                   อนึ่ง สถานศึกษาควรวางระบบการเก็บข้อมูลให้ดี ทั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วและข้อมูลที่เก็บใหม่ เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ การเก็บข้อมูลอาจยุ่งยากในปีแรกๆ แต่ปีต่อๆ ไป จะสะดวกขึ้น

การวิเคราะห์ข้อมูล

                   ในการวิเคราะห์ข้อมูลของสถานศึกษานั้น ผู้รับผิดชอบควรร่วมกันพิจารณากรอบการวิเคราะห์ว่าข้อมูลแต่ละประเด็นจะวิเคราะห์ในระดับใด ระดับบุคคล ระดับห้องเรียน หรือระดับภาพรวมของสถานศึกษา ใครเป็นผู้วิเคราะห์ วิเคราะห์ในช่วงเวลาใด เพื่อจะนำผลมาใช้ ดังตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน ซึ่งอาจมีกรอบการวิเคราะห์ดังที่นำเสนอในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ตัวอย่างกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน

ระดับการวิเคราะห์

ผู้วิเคราะห์

ช่วงเวลาที่วิเคราะห์

ระดับบุคคล

ครูประจำชั้น

ตลอดเวลา เพื่อปรับปรุงเป็นรายบุคคล

ระดับชั้น/ หมวดวิชา
กลุ่มประสบการณ์

หัวหน้าระดับชั้น/ หมวดวิชา

นำผลการวิเคราะห์ของครูประจำชั้น/ครูประจำวิชามาวิเคราะห์รวม

ภาคเรียนละครั้งเป็นอย่างน้อยหรือแล้วแต่จะกำหนด

ระดับภาพรวมของสถานศึกษา

คณะกรรมการ/คณะทำงานที่รับผิดชอบ

ตามที่คณะกรรมการคณะทำงานกำหนด อาจจะภาคเรียนละครั้งหรือปีละครั้ง

                   การวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนในภาพรวม ซึ่งอาจจะเป็นการวิเคราะห์ระดับห้องเรียน ระดับหมวดวิชา ระดับสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบจะต้องศึกษาลักษณะของข้อมูลเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมเช่น ฐานนิยม ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย เป็นต้น

          การแปลความหมาย

                   ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อสถานศึกษาได้แปลความหมายของข้อมูล โดยมีการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ดังขั้นตอนที่นำเสนอในภาพประกอบที่ 3

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

                           ภาพประกอบที่ 3 ขั้นตอนการแปลความหมาย

                   เนื่องจากสถานศึกษาขาดข้อมูลเกี่ยวกับ ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งไม่เคยมีการจัดเก็บข้อมูลมาก่อน ไม่มีข้อมูลเส้นฐาน (Baseline Data) ที่จะเป็นตัวเปรียบเทียบ จึงใช้วิธีการแก้ไขปัญหาโดยการกำหนดเกณฑ์แบบอิงเกณฑ์ ที่ระดับความสำเร็จร้อยละ 80 เป็นส่วนใหญ่

                   รูปแบบการกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงควรให้ผู้เกี่ยวข้องกำหนดเกณฑ์ร่วมกัน ซึ่งแต่ละมาตรฐานหรือแต่ละตัวบ่งชี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเกณฑ์เดียวกันก็ได้ เนื่องจากสถานศึกษามีจุดแข็งและจุดอ่อนในการดำเนินงานที่ต่างกัน

                   การกำหนดเกณฑ์การประเมินตนเองของสถานศึกษานั้น กำหนดเป็นระดับได้แก่ เกณฑ์ระดับบุคคล เกณฑ์ระดับห้องเรียน ระดับชั้น ระดับหมวดวิชา และเกณฑ์ระดับสถานศึกษา ตัวอย่าง เช่น

-          เกณฑ์ระดับบุคคล อาจกำหนดว่าผู้เรียนจะต้องสอบให้ได้คะแนนร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์

-          เกณฑ์ระดับห้องเรียน ระดับชั้น ระดับหมวดวิชา ระดับสถานศึกษา อาจกำหนดว่า

ผู้เรียนมากกว่าร้อยละ 80 ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ถือว่าอยู่ในระดับ ดี

ผู้เรียนร้อยละ       70-80 ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ถือว่าอยู่ในระดับ พอใช้

     ผู้เรียนน้อยกว่าร้อยละ 70 ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ถือว่าอยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง

          เมื่อสถานศึกษาได้กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินแล้ว สถานศึกษาก็สามารถแปลความหมายของข้อมูลได้ว่าเรื่องใดมีผลการประเมินเป็นอย่างไร

                2.1.1.3 ขั้นตอนการประเมิน [12]

          ในการประเมิน ขั้นตอนของการประเมินโดยละเอียดจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะประเมิน แต่โดยทั่วไปสามารถแบ่งขั้นตอนการประเมินคร่าวๆ ได้ดังภาพประกอบที่ 4 ดังนี้

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 4 ขั้นตอนการประเมิน 

                2.1.1.4 ประเภทของข้อคำถาม [6]

แบบสอบถาม หมายถึง รูปแบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต แบบสอบถามประกอบด้วยรายการคำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ การใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะการเก็บรวบรวมข้อมูลสะดวกและสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์หรือให้ผู้ตอบด้วยตนเอง

โครงสร้างของแบบสอบถาม

โครงสร้างของแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้

1. หนังสือนำหรือคำชี้แจง โดยมากมักจะอยู่ส่วนแรกของแบบสอบถาม โดยคำชี้แจงมักจะระบุถึงจุดประสงค์ที่ให้ตอบแบบสอบถาม การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ คำอธิบายลักษณะของแบบสอบถาม วิธีการตอบแบบสอบถามพร้อมตัวอย่าง ชื่อ และที่อยู่ของผู้วิจัย ประเด็นที่สำคัญคือการแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ตอบมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบไปจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นรายบุคคล จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ตอบ และมีการรักษาสิทธิของผู้ตอบด้วย

2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น การที่จะถามข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยดูว่าตัวแปรที่สนใจจะศึกษานั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และควรถามเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในการวิจัยเท่านั้น

3. คำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือตัวแปรที่จะวัด เป็นความคิดเห็นของผู้ตอบในเรื่องของคุณลักษณะ หรือตัวแปรนั้น

ประเภทของข้อคำถาม

ข้อคำถามในแบบสอบถามอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. คำถามปลายเปิด (Open Ended Question) เป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบสามารถตอบได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้คำตอบที่แน่นอน สมบูรณ์ ตรงกับสภาพความเป็นจริงได้มากกว่าคำตอบที่จำกัดวงให้ตอบ คำถามปลายเปิดจะนิยมใช้กันมากในกรณีที่ผู้วิจัยไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร หรือใช้คำถามปลายเปิดในกรณีที่ต้องการได้คำตอบเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างคำถามปลายปิด แบบสอบถามแบบนี้มีข้อเสียคือ มักจะถามได้ไม่มากนัก การรวบรวมความคิดเห็นและการแปลผลมักจะมีความยุ่งยาก

2. คำถามปลายปิด (Close Ended Question) เป็นคำถามที่ผู้วิจัยมีแนวคำตอบไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบจากคำตอบที่กำหนดไว้เท่านั้น คำตอบที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ล่วงหน้ามักได้มาจากการทดลองใช้คำถามในลักษณะที่เป็นคำถามปลายเปิด หรือการศึกษากรอบแนวความคิด สมมติฐานการวิจัย และนิยามเชิงปฏิบัติการ คำถามปลายเปิดมีวิธีการเขียนได้หลาย ๆ แบบ เช่น แบบให้เลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง แบบให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แบบผู้ตอบจัดลำดับความสำคัญหรือแบบให้เลือกคำตอบหายคำตอบ

วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม

เป็นการนำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ เพื่อนำผลมาตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม ซึ่งการวิเคราะห์หรือตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามทำได้หลายวิธี แต่ที่สำคัญมี 2 วิธี ได้แก่

1. ความตรง (Validity) หมายถึง เครื่องมือที่สามารถวัดได้ในสิ่งที่ต้องการวัด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1) ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) คือ การที่แบบสอบถามมีความครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดหรือไม่ ค่าสถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพ คือ ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ หรือเนื้อหา(IOC: Index of item Objective Congruence) หรือดัชนีความเหมาะสม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินเนื้อหาของข้อถามเป็นรายข้อ

2) ความตรงตามเกณฑ์ (Criterion-related Validity) หมายถึง ความสามารถของแบบวัดที่สามารถวัดได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง แบ่งออกได้เป็นความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์และความเที่ยงตรงตามสภาพ สถิติที่ใช้วัดความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ เช่น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ทั้งของ Pearson และ Spearman และ ค่า t-test เป็นต้น

3) ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) หมายถึงความสามารถของแบบสอบถามที่สามารถวัดได้ตรงตามโครงสร้างหรือทฤษฎี ซึ่งมักจะมีในแบบวัดทางจิตวิทยาและแบบวัดสติปัญญา สถิติที่ใช้วัดความเที่ยงตรงตามโครงสร้างมีหลายวิธี เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) การตรวจสอบในเชิงเหตุผล เป็นต้น

2. ความเที่ยง (Reliability) หมายถึง เครื่องมือที่มีความคงเส้นคงวา นั่นคือ เครื่องมือที่สร้างขึ้นให้ผลการวัดที่แน่นอนคงที่จะวัดกี่ครั้งผลจะได้เหมือนเดิม สถิติที่ใช้ในการหาค่าความเที่ยงมีหลายวิธีแต่นิยมใช้กันคือ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ คอนบาร์ช (Conbach’s Alpha Coefficient: α coefficient) ซึ่งจะใช้สำหรับข้อมูลที่มีการแบ่งระดับการวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale)

ข้อเด่นและข้อด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม

การใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีข้อเด่นและข้อด้อยที่ต้องพิจารณาประกอบในการเลือกใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

ข้อเด่นของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีดังนี้ คือ

1.       ถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จะเป็นวิธีการที่

สะดวกและประหยัดกว่าวิธีอื่น

2.  ผู้ตอบมีเวลาตอบมากกว่าวิธีการอื่น

3.  ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการสังเกต

4. ไม่เกิดความลำเอียงอันเนื่องมาจากการสัมภาษณ์หรือการสังเกต เพราะผู้ตอบเป็นผู้ตอบข้อมูลเอง

5. สามารถส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ได้

6. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล

ข้อด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีดังนี้คือ

1. ในกรณีที่ส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ มักจะได้แบบสอบถามกลับคืนมาน้อย และต้องเสียเวลาในการติดตาม อาจทำให้ระยะเวลาการเก็บข้อมูลล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้

2. การเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะกับกลุ่มประชากรเป้าหมายที่อ่านและเขียนหนังสือได้เท่านั้น

3. จะได้ข้อมูลจำกัดเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะต้องมีคำถามจำนวนน้อยข้อที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

4. การส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ หน่วยตัวอย่างอาจไม่ได้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามเองก็ได้ ทำให้คำตอบที่ได้มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความจริง

5. ถ้าผู้ตอบไม่เข้าใจคำถามหรือเข้าใจคำถามผิด หรือไม่ตอบคำถามบางข้อ หรือไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะตอบคำถาม ก็จะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้ โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถย้อนกลับไปสอบถามหน่วยตัวอย่างนั้นได้อีก

6. ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมาทางไปรษณีย์ อาจเป็นกลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มผู้ที่ไม่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา ดังนั้นข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะมีความลำเอียงอันเนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างได้

2.1.1.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล [12]

                   1.สถิติพื้นฐาน

                             1.1 หาค่าเฉลี่ย (Mean) โดยใช้สูตร (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538: 73)

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

                             1.2 หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard - Deviation) โดยใช้สูตร (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538: 79)

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

2.1.2         ทฤษฎีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

2.1.2.1 Web Application [16]

                   Web Application คือการจัดสร้างโปรแกรมให้ทำงานอัตโนมัติอยู่บนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น การนำเสนอข้อมูลแบบอัตโนมัติตามความต้องการของเจ้าของเว็บ การบันทึกข้อมูล ประวัติ รายละเอียดต่าง ๆ ฯลฯ จากเว็บลงสู่ฐานข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ หรือ การติดต่อสื่อสารกับผู้เข้าชมเว็บแบบออนไลน์ กระทั่งการทำ Web Content Editor เพื่อทำการแก้ไขข้อมูล ปรับแต่งหน้าตาเว็บไซต์ได้แบบออนไลน์ โดยไม่ต้องมีความรู้และทักษะทางด้านการเขียนเว็บ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและตรงตามความต้องการในการใช้งานและเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นๆ   

                    หลักการทำงานของโปรแกรมที่เขียนโดยยึดหลักการเป็น Web Application นั้น โปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine (โปรแกรมส่วนที่อ่าน HTML แล้ววาดออกมาเป็นเว็บเพจแสดงบนหน้าจอ ซึ่งอธิบายง่ายๆ Rendering Engine ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ Browser) ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้น และการประมวลบางส่วน แต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บน Server ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งตัว

ข้อดีของ Web Application คือ Web Application ไม่ต้องใช้ Client Program ทำให้ไม่ต้อง Upgrade Client Program และสามารถใช้ผ่าน Internet Connection ที่มีความเร็วต่ำกว่า ทำให้ใช้โปรแกรมได้จากทุกแห่งในโลก ข้อมูลต่างๆ ในระบบมีการไหลเวียนในแบบ Online ทั้งแบบ Local (ภายในวง LAN) และ Global (ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการข้อมูล แบบ Real Time

ข้อเสียของ Web Application คือ ไม่เหมาะสมสำหรับโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งปันให้กับผู้อื่น รวมถึงข้อมูลที่อาจจะมีความลับสูง ถ้าต้องส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ที่แม้จะเข้ารหัสไว้แล้ว แต่อาจจะถูกเจาะและถอดรหัสนำข้อมูลออกมาไปใช้ได้

ภาษาที่เหมาะจะนำมาสร้าง Web Application คือ ภาษา PHP เพราะ PHP เป็นภาษาที่ทำงานในลักษณะเป็นสคริปต์ หรือตัวโค้ดโปรแกรมจะถูก interpreter (ตัวแปล source code ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้วิธีการแปลทีละบรรทัดหรือทีละประโยค) ในขณะที่รัน

แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโดย third party (ผู้พัฒนาท่านอื่นๆ) ในส่วนการทำ catching และการทำ precompiled โดยสามารถแปลโค้ดล่วงหน้าเพื่อเก็บไว้ใช้รันได้ทันที

2.1.2.2 ระบบฐานข้อมูล (Database System) [15]

                   ระบบฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูลแต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล

                    ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น

ฐานข้อมูลเบื้องต้นจะประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านธนาคาร จะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเงินฝาก ข้อมูลการให้สินเชื่อ หรือด้านโรงพยาบาล จะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อมูลประวัติคนไข้ ข้อมูลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บอย่างมีระบบ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและเรียนใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลโดยมีซอฟแวร์หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ ฐานข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น อุปกรณ์นำเข้าและออกรายงานหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. โปรแกรม (Program) โปรแกรมที่ทำหน้าที่การสร้าง การเรียกใช้ข้อมูล

การจัดทำรายงาน การปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้าง การควบคุม หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)

3. ข้อมูล (Data) การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกันได้ ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน

4. บุคลากร (People) เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ 

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedures) ในระบบฐานข้อมูลควรมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่การงานต่าง ๆ ในระบบฐานข้อมูล ในสภาวะปกติและในสภาวะที่ระบบเกิดปัญหา (Failure) ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทุกระดับขององค์กร

รูปแบบของฐานข้อมูล มีด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้

1.  ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นการจัดเก็บข้อมูลของเอนทิตี้ในรูปแบบของตารางที่มีลักษณะเป็น มิติคือ เป็นแถว (Row) และเป็นคอลัมน์ (Column) ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวท์ที่มีอยู่ในทั้งสองตาราง เป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลกัน ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน

2. ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ ลูก

3. ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายงาน โครงสร้างของข่ายงานประกอบด้วยประเภทของเรคคอร์ด และกลุ่มของข้อมูลของเรคคอร์ดนั้น ๆ เช่นเดียวกับโครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับชั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของเรคคอร์ดในฐานข้อมูล เรียกว่า Set Type

2.1.3 ระบบงานหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1.3.1 ระบบงานหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการประเมินนี้

มีหลายกลุ่มนักพัฒนาที่ได้จัดทำแบบฟอร์มการประเมินสำเร็จรูปขึ้นมาไว้แล้ว โดยมีหลายกลุ่มที่พัฒนาไว้อย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการใช้งานของแต่ละหน่วยงานก็ง่ายและแตกต่างกันออกไป ทีมพัฒนาของเราจึงได้ยกตัวอย่างแบบฟอร์มการประเมินที่กลุ่มพัฒนาอื่นๆได้ทำไว้แล้ว มาเปรียบเทียบกับโครงงานระบบการประเมินของเรา รายละเอียด ดังนี้

         1. การสร้างแบบประเมินใน Google Form

                   Google Form เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่ออกแบบการประเมินสำเร็จรูปขึ้นมา โดยให้ผู้ใช้ที่ต้องการออกแบบการประเมิน เลือกใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งทีมพัฒนาของเราจะนำมาศึกษาเป็นตัวอย่าง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป ดังตัวอย่างของ Google Form ที่ยกมาดังนี้

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 5 การสร้างแบบประเมินใน Google [2]

จากภาพประกอบที่ 5 จะเห็นได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการทำงานของ Google Form โดยให้ผู้ใช้เลือกรูปแบบแบบประเมินที่ต้องการ

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 6 ขั้นตอนที่สอง การกรอกข้อมูลรายละเอียดแบบฟอร์ม [2]

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง
 

ภาพประกอบที่ 7 ขั้นตอนที่สาม การเริ่มออกแบบ แบบฟอร์ม  [2] 

2. การสร้างแบบประเมินใน www.lnwform.com

เว็บไซต์ www.lnwform.com เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่สามารถให้ผู้ใช้เข้ามาสร้างแบบประเมินที่ต้องการได้ ซึ่งลักษณะการใช้งานก้อจะมีความแตกต่างจาก Google Form อยู่เล็กน้อย ทางทีมพัฒนาของเรา มีความคิดเห็นว่า เว็บไซต์นี้พัฒนาได้ใช้งานง่ายและสามารถเข้าใจการทำงานได้ง่ายกว่า Google Form ซึ่งทีมพัฒนาของเราจะนำมาศึกษาเป็นตัวอย่าง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป ดังตัวอย่างของ www.lnwform.com ที่ยกมาดังนี้

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 8 การเริ่มสร้างแบบฟอร์มใหม่ [3]

หมายเหตุ : หมายเลข 1 หมายถึง กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแบบฟอร์ม การประเมิน

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 9 แบบฟอร์มที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว [3]

3. แบบประเมินในwww.reg.msu.ac.th

เว็บไซต์ www.reg.msu.ac.thเป็นเว็บทะเบียนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งในเว็บไซต์นี้ จะมีการประเมินอาจารย์ผู้สอน โดยแบบฟอร์มได้ถูกตั้งคำถามมาเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่ให้นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ดำเนินการประเมินอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานั้นๆ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น การดำเนินการ ซึ่งทีมพัฒนาของเราจะนำมาศึกษาเป็นตัวอย่าง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป ดังตัวอย่างของ www.reg.msu.ac.th ที่ยกมาดังนี้

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 10 การประเมินอาจารย์ใน www.reg.msu.ac.th[10]

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

          ภาพประกอบที่ 11 ทำการประเมินอาจารย์ และกดส่งผลการประเมิน [1]

                                       ตารางที่ 3 ตารางเปรียบเทียบระบบประเมิน

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

2.2     ภาพรวมของระบบ  

ระบบประเมินการเรียนการสอน คือ ระบบประเมินรายวิชาที่เปิดสอน การประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอน และจะมีการสรุป รายงานผลในรูปแบบต่างๆตามที่ผู้ใช้ต้องการ

จุดเด่นของระบบ

-         สามารถเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขคำถามได้ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

-         สามารถเลือกแบบฟอร์มสำเร็จรูปได้เลย

-         การสร้างแบบฟอร์มการประเมินไม่ยุ่งยาก เข้าใจง่าย ไม่ต้องทำหลายขั้นตอนให้เสียเวลา

และภาพรวมของระบบการประเมินการเรียนการสอน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 12 ภาพรวมของระบบ

2.3     กรอบการดำเนินงาน

ระบบการประเมินผลการเรียนการสอนนี้เป็น Web Application ที่ใช้ในการสร้างแบบฟอร์มการประเมิลผล วิเคราะห์ และเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินการผลการเรียนการสอน ในรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา โดยมีรายละเอียดของกรอบการดำเนินงาน ดังในภาพประกอบที่ 13

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง

ภาพประกอบที่ 13 กรอบการดำเนินการของระบบการประเมินผลการเรียนการสอน

          วิเคราะห์และทำความเข้าใจปัญหา เนื่องจากแบบประเมินที่มีอยู่ในสถานศึกษาในปัจจุบันนี้ ไม่มีความหลากหลาย และส่วนมากจะเป็นการประเมินหลังจากที่ทำการเรียนการสอนเสร็จสิ้นเพียงครั้งเดียว ทีมพัฒนาจึงต้องการพัฒนาจึงต้องการสร้างระบบการประเมินผลการเรียนการสอนขึ้น เพื่อความหลากหลายของรูปแบบการประเมิน และเพื่อความยืดหยุ่นในการตั้งข้อคำถามที่ต้องการประเมิน อีกทั้งยังสามารถประเมินได้เรื่อยๆ บ่อยครั้งตามต้องการ