ผู้ชายหมดความต้องการอายุเท่าไร

วัยทองในผู้ชายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผู้ชายต้องเผชิญเมื่ออายุย่างเข้าเลข 4 แต่ละคนจะแสดงอาการมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และการดำเนินชีวิต แต่หากเข้าใจและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงย่อมช่วยให้รับมือได้อย่างถูกต้อง

Show

ความจริงที่ผู้ชายต้องยอมรับ 

โดยธรรมชาติฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบเผาผลาญไขมัน (Metabolism) การสร้างกล้ามเนื้อเพศชาย ความแข็งแรงของโครงสร้างกระดูก เป็นต้น ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเริ่มลดลงในช่วงอายุ 42 – 45 ปี จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อาทิ ลงพุง อ้วนง่าย ผมร่วง ความต้องการทางเพศลดลง รวมถึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและการดำเนินชีวิตหากไม่สามารถปรับตัวได้
     


เช็กอาการเข้าข่ายผู้ชายวัยทอง

ผู้ชายแต่ละคนมีอาการวัยทองเกิดขึ้นแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน
  • เบื่อง่าย หงุดหงิดง่าย
  • ลงพุง
  • นอนไม่หลับ
  • อ่อนเพลีย
  • สมาธิลดลง
  • ซึมเศร้า
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ฯลฯ

ปฏิบัติตัวดียืดความเป็นหนุ่มได้นาน

แนวทางการดูแลตัวเองของคุณผู้ชายเพื่อรับมือวัยทองนั้นทำได้ไม่ยาก ขอเพียงเปิดใจและพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้แก่

  • อาหาร เลี่ยงอาหารรสหวาน เน้นทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย อาทิ ผักใบเขียว ถั่ว ไข่แดง แตงโม หรือหอยนางรม (ผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงต้องระวัง ควรปรึกษาแพทย์และเลือกรับประทานให้เหมาะกับร่างกาย)
  • ออกกำลังกาย เน้นชนิดกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ปั่นจักรยาน ตีสควอช เป็นต้น
  • จิตใจ คิดบวกและรู้วิธีจัดการกับความเครียด ซึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยเยียวยาจิตใจได้เป็นอย่างดีคือ กำลังใจและความเข้าใจจากคนในครอบครัว

สำหรับคุณผู้ชายท่านใดที่อาการวัยทองรบกวนและส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและทำตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์อาจทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศว่าลดลงมากน้อยเพียงใด มีความรุนแรงในระดับใด รวมถึงเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุอื่นหรือไม่ ซึ่งวิธีรักษาอาการวัยทองนั้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การฟื้นฟูจิตใจไปจนถึงการใช้ยา มีทั้งยาทาน ยาทา และยาฉีด

ไม่เพียงแต่ผู้ชายอายุเลข 4 ที่เข้าสู่วัยทอง ผู้ชายอายุเลข 3 ก็สามารถเข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควรได้ หากเครียด พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย ชอบทานอาหารรสหวาน รวมถึงขาดสารอาหารบางประเภท เช่น ธาตุสังกะสี เป็นต้น การเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ แต่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยแพทย์ผู้ชำนาญการ


title

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัยทอง” คนทั่วไปมักจะนึกถึงอาการของผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเป็นอันดับแรก แต่ความจริงแล้วผู้ชายเองก็ต้องก้าวสู่วัยทองเช่นเดียวกัน มาดูกันดีกว่า ว่าเมื่อคุณผู้ชายเริ่มเข้าสู่วัยทองแล้ว จะมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับคำว่า “วัยทอง” ของคุณผู้ชายในทางการแพทย์จะเรียกผู้ชายวัยทองว่า “แอนโดรพอส” (Andropause) ซึ่งหมายถึง กลุ่มอาการถดถอยทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ชายวัยเกิน 40 ปีขึ้นไป โดยมีความสัมพันธ์กับการที่ฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเทอโรนในร่างกายลดระดับลง โดยหลังช่วงอายุ 40 ปี การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ชายจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ ประมาณปีละ 1% โดยเฉพาะคนที่ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพ ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลงเร็วกว่าคนอื่นๆ

พฤติกรรมน่าสงสัย เมื่อเข้าสู่ “วัยทอง” อาการที่จะบอกถึงภาวะการพร่องฮอร์โมนเพศชายหรือวัยทองนั้น แบ่งออกได้เป็น 4 ด้านหลักๆ คือ- ด้านร่างกาย เช่น มีอาการอ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร อ้วนลงพุง ปวดเมื่อยตามตัวโดยไม่มีสาเหตุ ไม่กระฉับกระเฉง กล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มลดขนาดลง- ด้านสติปัญญาและอารมณ์ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย เครียดและหงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา ซึมเศร้า ขาดสมาธิในการทำงาน ความจำระยะสั้นถดถอย- ด้านระบบไหลเวียนโลหิตอาจจะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก หรือชีพจรเต้นเร็ว- ด้านจิตใจและเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการนอนไม่หลับ ตื่นตกใจง่าย สมรรถภาพทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว และการหลั่งน้ำอสุจิลดลงทั้งปริมาณและความถี่

ปัจจัยอะไร? ที่เป็นสาเหตุของวัยทองในคุณผู้ชายนอกจากเรื่องของอายุซึ่งเป็นปัจจัยธรรมชาติที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ก็ยังมีสภาวะบางอย่างที่เป็นตัวเร่งให้ผู้ชายเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติได้ด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก การพักผ่อนน้อย ความเครียด ความวิตกกังวล การดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ และโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดอาการของวัยทองเร็วขึ้นได้ทั้งนั้น

แม้จะป้องกันไม่ได้…แต่เลือก “ปรับตัว” ได้แม้วัยทองไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในทางการแพทย์ ร่างกายย่อมมีการเสื่อมถอยลงไปตามกฎของธรรมชาติ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เราปรับตัวได้ดีก็คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ลดอาหารประเภทไขมัน และรับประทานพืชผักและผลไม้ให้มากขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเอาชนะความเสื่อมถอยตามธรรมชาติได้ แต่หากมีการจัดการกับชีวิตและสุขภาพให้ลงตัว ก็อาจช่วยยืดเวลาแห่งความเป็นหนุ่มให้ยาวนานภายใต้เงื่อนไขของธรรมชาติ

สอบถามรายละเอียด ศูนย์ตรวจสุขภาพ อาคาร 5 ชั้น 1 โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 โทร.02-514-4141 ต่อ 5160 - 5161