ความดันปกติเท่าไหร่ อายุ50

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุในไทย เกิดได้จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม การวัดความดันเป็นจุดเริ่มต้นบ่งบอกสุขภาพร่างกายคร่าวๆ ได้ก่อนที่คุณหมอจะตรวจและให้ยา โดย “ความดันโลหิต” เป็นค่าที่สามารถบ่งบอกความเสี่ยงโรคต่างๆ ได้ ค่าความดันปกติของคนเราอยู่ที่เท่าไหร่มาดูกัน

ความดันของคนปกติอยู่ที่เท่าไหร่

ความดันปกติ หรือ ความดันโลหิตที่เหมาะสม ของผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าตัวบน หมายถึง Systolic Blood Pressure (SBP) ซึ่งเป็นค่าความดันโลหิตสูงสุดขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว และ ค่าตัวล่าง หมายถึง Diastolic Blood Pressure (DBP) การตรวจความดันโลหิต มักจะต้องวัดก่อนตรวจรักษากับแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยร่วมกับอาการของโรค และรวมอยู่ในแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีด้วย แต่คนที่มีภาวะเสี่ยงความดันผิดปกติก็ต้องตรวจซ้ำถี่ขึ้น โดยการแปลผลค่าความดันปกติ พร้อมคำแนะนำ ดังนี้

  • กลุ่มความดันปกติ <130 / <85 ควรตรวจทุกปี
  • กลุ่มความเสี่ยงสูง 130-139 / 85-89 ควรตรวจทุกปี
  • กลุ่มความดันสูงเล็กน้อย 140-159 / 90-99 ควรตรวจใหม่ภายใน 2 เดือน
  • กลุ่มความดันสูงปานกลาง 160-179 / 100-109 ควรตรวจใหม่ภายใน 1 เดือน
  • กลุ่มความดันสูงรุนแรง 180-209 / 110-119 ควรตรวจใหม่ภายใน 1 เดือน
  • กลุ่มความดันสูงรุนแรงมาก >210 / >120 ควรรักษาทันที

ความดันปกติของผู้สูงอายุอยู่ที่เท่าไหร่

ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มักเจอโรคประจำตัวจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หรือจากพันธุกรรม การอ่านค่าความดันโลหิตสามารถบอกภาวะเสี่ยงโรคต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น ความดันของคนอายุ 50 เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง, เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

การติดตามความดันปกติของคนอายุ 50 - 60 ปี เมื่ออ่านค่าความดัน 3 ตัวด้านบนไม่ควรเกิน 120 และตัวล่างไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท

วิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคความดันสูง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และติดตามผลความดันของตัวเอง รวมถึงดูแลสุขภาพรอบด้านเพื่อลดค่าความดัน ด้วยวิธีการดังนี้

- ลดน้ำหนักตัว หากเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รสเค็ม
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคความดันต่ำ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีค่าความดัน Systolic Blood Pressure (หรือค่าความดัน 3 ตัวบน) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ส่งผลให้เกิดใจเต้นแรง เวียนศีรษะและตาพร่าเบลอได้ง่าย มีวิธีการดูแลตัวเองดังนี้

- หลีกเลี่ยงการพักผ่อนน้อย
- หลีกเลี่ยงการยืน หรือ นั่งนานๆ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในตอนกลางคืน
- ลุกและนั่งให้ถูกท่า หากมีอาการวิงเวียนให้ค่อยๆ นั่งลงหรือนอนพักให้เท้าอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง
- ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม

วิธีการวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง

กรณีที่คุณซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาไว้วัดความดันตัวเองที่บ้าน เพื่อติดตามผลด้วยตัวเอง ดูแลตัวเอง ลดความดันโลหิตสูงด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช้ยา มีวิธีการวัดดังนี้

1. เลือกวัดความดันช่วงเช้า หรือช่วงเย็น โดยวัดซ้ำ 2 ครั้งต่อรอบ ห่างกันครั้งละ 1-2 นาที ช่วงเช้าทำหลังตื่นนอน 2 ชั่วโมง และก่อนรับประทานยาความดัน
2. ไม่ดื่มชา กาแฟ ก่อนวัดความดันอย่างน้อย 30 นาที
3. ก่อนวัดความดัน ปัสสาวะให้เรียบร้อย
4. นั่งพิงเก้าอี้ให้หลังพิงพนัก และไม่เกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางแขนราบกับพื้นเพื่อให้ผ่อนคลายอย่างน้อย 5 นาที ก่อนวัดความดัน
5. ไม่กำมือ ไม่ขยับตัวหรือพูดคุย

การวัดความดันเป็นการติดตามความเสี่ยงอาการป่วยของร่างกายได้เบื้องต้น ปัจจุบันนี้มีเครื่องวัดความดันที่ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง สามารถซื้อติดบ้านเพื่อใช้ติดตามสุขภาพของตัวเองได้ แต่หากพบค่าความดันโลหิตที่ผิดปกติ ควรวัดซ้ำ และปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเพื่อความปลอดภัย

Home > สังเกตอาการความดันต่ำ ต้องระวัง

ความดันโลหิตต่ำ…อย่าชะล่าใจ!

อย่างที่ทราบกันว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ขณะเดียวกันโรคความดันโลหิตต่ำก็เป็นภัยร้ายต่อสุขภาพที่เราไม่อาจมองข้ามได้เช่นกัน

ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 (mm/Hg) ในผู้ใหญ่ และในผู้สูงอายุมีค่าความดันต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) มักจะพบในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

สังเกตอาการความดันต่ำ ต้องระวัง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ มักจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆ ในบางรายอาจมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ตาลาย มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย ปฏิกิริยาเชื่องช้า ไม่กระปรี้กระเปร่า ระบบการย่อยอาหารไม่ดี  ในผู้ป่วยที่มีอาการมาก มักจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ เวียนศีรษะในท่ายืน หายใจลำบาก

ภาวะความดันโลหิตต่ำย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงเลือดไปล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ซึ่งง่ายต่อการเกิดลิ่มเลือดทำให้หลอดเลือดอุดตัน และภาวะความดันโลหิตต่ำ ยังอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้ หากมีอาการขั้นรุนแรง

ระดับความดันโลหิตปกติควรอยู่ที่เท่าไร?

ความดันโลหิตที่ “เหมาะสม” ของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป จะอยู่ที่ 120-129 (mm/Hg) สำหรับตัวบน และ และ 80-84 (mm/Hg) สำหรับตัวล่าง วิธีการวัดความดันด้วยตนเอง

ความดันโลหิตต่ำ ทำไมต้องรักษา? สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ ก็ควรเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น การตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์

แชร์บทความ

ข้อมูลสุขภาพ

ความดันปกติของผู้สูงอายุเท่าไร

เด็กเล็ก 3 – 6 ปี : ไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท เด็กโต 7 – 17 ปี : ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท วัยทำงาน 18 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท

ความดันต่ํา อยู่ที่เท่าไร

ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 (mm/Hg) ในผู้ใหญ่ และในผู้สูงอายุมีค่าความดันต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) มักจะพบในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

ความ ดัน 140 90 สูง ไหม

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจไม่แสดงอาการแต่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้ผู้ป่วย ...

ความดัน 134 สูงไหม

ในคนปกติความดันตัวบนไม่ควรเกิน 120 และตัวล่างไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท หากความดันตัวบนเกิน 140 หรือตัวล่างเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว ความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายหลายโรค อาทิ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ