ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด

อุปสรรคสำคัญของการออมเงิน คือ การขาดวินัยในการออมที่ทำให้การออมเงินไม่สำเร็จตามเป้าหมายนอกจากนี้ยังมีอุปสรรคสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาอีก 3 ประการ คือ

1.เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้อำนาจซื้อและมูลค่าของเงินออมลดลงจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างขิ่งที่จากภาวะเศรษฐกิจที่ควบคุมไม่ได้ด้วยตัวผู้ออมเงินเอง มีแนวทางแก้ไข คือการหาแหล่งเงินออมที่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าภาวะเงินเฟ้อ ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมายการออมเพื่อดาวน์รถยนต์โดยกำหนดไว้ว่าภายใน 5 ปีต้องได้เงิน 180,000 บาท แต่เมื่อครบเวลาตามที่ตั้งเป้าหมายไว้พบว่า ราคารถยนต์แพงขึ้นบริษัทจำต้องเพิ่มวงเงินดาวน์ เป็น 200,000 บาท อย่างนี้ เป็นต้น ที่ทำให้เป้าหมายการออมคาดเคลื่อน

2.ความโลภหรือกิเลส (Greedy) คือความอยากมีอยากได้สิ่งที่พบเห็นทุกอย่างจนลืมคิดถึงการออมเงินเพื่อสำหรับใช้ในอนาคต ซึ่งความอยากมีอยากได้นี้ทำให้แผนการออมเงินล้มเหลว “ความโลภ” เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ขาดวินัยการออมได้ทันที ดังนั้นจึงต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จักคำว่า “พอเพียง” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.เหตุการณ์ที่ไมคาดฝัน (Unexpected Event) คือเหตุการณ์ที่ไม่ได้กำหนดไวล่วงหน้าว่าจะเกอดขึ้นเมื่อใด ทำให้ชีวิตเราตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน มักจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น อุบัติเหตุ ตกงาน เจ็บป่วย ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ จึงส่งผลต่อการนำเงินที่ออม อยู่มาใช้ซึ่งนับว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเป็นอุปสรรคที่เราไม่รู้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใดจึงต้องวางแผนป้องกันเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เช่น การทำประกันชีวิตประกันภัยไว้เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

อัตราเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ "ค่าของเงิน" เช่น เมื่อก่อนซื้อข้าวราดแกงจานละ 15 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 50 บาท ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ "เงินเฟ้อ" ทำให้เงินมีมูลค่า หรือ "อำนาจซื้อ" ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับนั้นจึงยังไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง ต้องมีการหักผลกระทบจากเงินเฟ้อออกก่อน ดังนี้​

ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด
 

ทั้งนี้ สามารถดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ได้จาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย​ 

ยกตัวอย่างเช่น หากนำเงินไปฝากประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3 ต่อปี ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับร้อยละ 1 เท่านั้น และในบางครั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เงินที่งอกเงยขึ้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ผู้ฝากอาจนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมที่ การลงทุน 

​​​​​

3. ระยะเวลาในการออม

เพราะการออมมีผลตอบแทน ดังนั้นยิ่งเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งงอกเงยมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่นำเงินไปฝากแบบมีการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยที่ได้จะถูกทบเข้ากับเงินต้นเดิม และกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินงอกเงยได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากเรามีการตั้งเป้าหมายทางการเงินไว้ ยิ่งเราเริ่มออมเร็วเท่าไหร่ ภาระในการเก็บออมก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งเป้าหมายออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทเพื่อการเกษียณ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี หากเริ่มออมตั้งแต่อายุ 31 ปี จะต้องออมเพียงปีละ 15,000 บาทเท่านั้น แต่หากเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี จะต้องออมถึงปีละ 76,000 บาท ดังตารางด้านล่าง

ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด
 

 

และหากตั้งเป้าหมายการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัว ก็สามารถคำนวณระยะเวลาในการออมง่าย ๆ ได้ดังนี้​

ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด
 

 

จากสมการ จะเห็นได้ว่ายิ่งอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูง ระยะเวลาการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราออมโดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 จะต้องใช้เวลา 18 ปีเงินจึงจะงอกเงยเป็นเท่าตัว แต่ถ้าเราออมที่ดอกเบี้ยร้อยละ 6 เงินจะงอกเงยเป็นเท่าตัวในเวลาเพียง 12 ปี

​ ​​​​

4. สภาพคล่องทางการเงินของผลิตภัณฑ์

สภาพคล่องทางการเงิน คือ ความยากง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีเป็นเงินสด สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ จะต้องใช้เวลานานในการขายหรือเปลี่ยนให้เป็นเงินสด เช่น รถ ที่ดิน หรือ สิ่งของสะสม 

ผลิตภัณฑ์เพื่อการออมแต่ละประเภทก็มีสภาพคล่องที่ต่างกัน เช่น การฝากออมทรัพย์จะมีสภาพคล่องสูง สามารถฝาก-ถอนเงินสดได้ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่การฝากประจำแม้จะมีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็อาจเรียกได้ว่ามีสภาพคล่องต่ำกว่า เนื่องจากหากถอนเงินออกจากบัญชีก่อนครบกำหนดเวลา ก็มักจะได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ประกาศไว้

ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเงินออมให้สอดรับกับรูปแบบการใช้จ่ายและความจำเป็นทางการเงินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาขาดสภาพคล่องหรือ "หมุนเงินไม่ทัน" จนต้องถอนเงินก่อนกำหนด หรือต้องกู้ยืมเงินมาใช้โดยไม่จำเป็น โดยสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือการวางแผนการเงินและการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าเราจะต้องมีเงินที่มีสภาพคล่องสูง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำแต่ละเดือน และเงินที่สำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อฝากเงิน 2 ส่วนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ (แต่ควรแยกบัญชีกันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต่างกัน) แล้ว เรายังสามารถนำเงินส่วนที่เหลือมาออมด้วยการฝากประจำหรือนำไปลงทุนซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อให้เงินงอกเงยมากขึ้นด้วย

​​​​​​​​

5. ​อัตราค่าธรรมเนียมและข้อกำหนดต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์เพื่อการออมแต่ละประเภทจะมีข้อกำหนดและอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เช่น เงินฝากบางประเภทอาจมีข้อกำหนดว่าหากถอนเงินเกินจำนวนครั้งสูงสุดที่​กำหนดก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเพิ่ม รวมทั้งอาจมีค่าธรรมเนียมกรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดให้เข้าอย่างใจถ่องแท้ โดยสามารถสอบถามข้อมูลจากสถาบันการเงินนั้น ๆ หรือตรวจสอบข้อมูลค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้จาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ​มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการใช้บริการทางการเงินของเราหรือไม่ ​​


 

  • 6. ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

โดยทั่วไปผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่ก็มีผลตอบแทนการออมบางประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษี เช่น

    • ดอกเบี้ยจากเงินฝากออมทรัพย์ส่วนที่ไม่เกิน 20,000 บาท
    • ดอกเบี้ยจากสลากออมทรัพย์
    • ดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำรายเดือน ตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไป (บุคคลธรรมดาสามารถใช้สิทธิฝากเงินในบัญชีประเภทนี้ได้เพียงบัญชีเดียว โดยยอดเงินฝากรวมต้องไม่เกิน 600,000 บาท และผู้ปกครองสามารถเปิดบัญชีในนามของผู้เยาว์ได้)


 

  • 7. ​การคุ้มครองเงินฝาก

    ศึกษาละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เรื่อง บัญชีเงินฝาก หัวข้อ ต้องรู้อะไร...เมื่อไปฝากเงิน ข้อ 4  เงื่อนไขการคุ้มครองเงินฝาก
  •  

 

คำถามถามบ่อย

ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด
ควรออมเงินเดือนละเท่าไร
ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด
ดยทั่วไป เราควรออมเงินเดือนละประมาณ 1 ใน 4 ของรายได้ อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับรายได้ปัจจุบันและแผนทางการเงินที่วางไว้ เช่น หากเรามีแผนที่จะใช้เงินก้อนใหญ่ในระยะเวลาอันใกล้ อาจจำเป็นต้องออมเงินมากกว่า 1 ใน 4 แต่ถ้าเรามีรายได้น้อยแต่มีรายจ่ายที่จำเป็นมาก หรือมีหนี้สินเยอะ ก็อาจลดสัดส่วนการออมลง เช่น 10% ของรายได้ เพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปทยอยผ่อนชำระหนี้สินที่มีให้หมดก่อน แล้วค่อยออมเพิ่มขึ้นในภายหลัง ​
ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด

เงินออมเผื่อฉุกเฉิน อยากมีไว้เกิน 6 เดือนของรายจ่ายประจำได้หรือไม่

ปัญหาในการออม ด้านเงินเฟ้อ ตรงกับข้อใด

จริง ๆ แล้วเงินออมยิ่งมีมากยิ่งอุ่นใจ แต่ก็มีข้อควรคำนึงคือ ควรฝากในบัญชีออมทรัพย์เพื่อให้มีสภาพคล่องสูง จะได้นำมาใช้ในยามฉุกเฉินได้สะดวก อย่างไรก็ตาม บัญชีออมทรัพย์อาจได้ดอกเบี้ยไม่สูงนัก ถ้ามีเงินออมแบบนี้มาก ๆ ก็อาจแบ่งเงินบางส่วนไปไว้ในทางเลือกอื่น ๆ บ้าง เช่น เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เงินฝากประจำ กองทุนรวม ซึ่งแม้จะทำให้มีสภาพคล่องน้อยลง แต่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น