เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

         ෤�������Ф�Ե��ʵ���ҧ��ѡ�С����ѭ������͹�ѹ ��Ъ���ʹѺʹع��觡ѹ��Сѹ ��෤��������仪��·��������ѭ�ҷҧ��Ե��ʵ������������Ӣ�� �� ������ҧ����ͧ�Դ�Ţ���ͪ��¤ӹdz����Ţ ������ǡѹ������ҧ����ͧ�Դ�Ţ ����繵�ͧ������������ǡѺ ��ô��Թ��÷ҧ��Ե��ʵ���鹰ҹ ��� ��úǡ ���ź ��äٳ ������ ���͡Ẻ����� �������ö�ӹdz������ͧ��� ��С�˹���Ҵ �ٻ��ҧ��鹷������ҹ�ͧ����ͧ�Դ�Ţ �ա��駡����ѭ�� ����ʹͧ������ͧ��÷ҧ෤����� �ѧ���繵�ͧ����¤����������ǡѺ��ô��Թ��÷ҧ��Ե��ʵ�� ������������ʹ�ȷ��١��ͧ�����

Show

หนึ่งปีที่ผ่านมา โลกได้เห็นความก้าวหน้าของวิทยาการหลายแขนง รวมทั้งการค้นพบที่น่าทึ่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งบีบีซีไทยได้รวบรวมและคัดสรรสุดยอดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ 10 อันดับแรกที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้สนใจได้ย้อนทบทวนถึงเรื่องราวของวิทยาการใหม่ล่าสุดดังต่อไปนี้

อันดับ 10: พบทวีปโบราณที่สูญหายใต้แผ่นดินยุโรป

แม้จะทราบกันดีว่า ผืนแผ่นดินของโลกในปัจจุบันประกอบไปด้วย 7 ทวีป แต่ล่าสุดในช่วงกลางปี 2019 นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยอูเทรกต์ของเนเธอร์แลนด์ได้ค้นพบว่า ยังมีทวีปที่ 8 คือ "เกรตเทอร์ เอเดรีย" (Greater Adria ) ซ่อนตัวอยู่ใต้ทวีปยุโรปด้วย

ที่มาของภาพ, UTRECHT UNIVERSITY

คำบรรยายภาพ,

ตำแหน่งของทวีปต่าง ๆ บนโลก รวมทั้ง Greater Adria เมื่อ 140 ล้านปีก่อน

"เกรตเทอร์ เอเดรีย" มีขนาดประมาณเกาะกรีนแลนด์ มุดตัวอยู่ใต้ผืนทวีปยุโรปตอนล่างในแถบประเทศอิตาลีและทะเลเอเดรียติก โดยมีอายุเก่าแก่เท่ากับทวีปอื่น ๆ แต่เมื่อ 175 ล้านปีก่อน ขณะที่ทวีปต่าง ๆ เริ่มแยกตัวออกจากมหาทวีปแพนเจียซึ่งเป็นแผ่นดินหนึ่งเดียวของโลก ทวีปเกรตเทอร์ เอเดรีย ได้ชนและมุดตัวเข้าไปอยู่ใต้ผืนทวีปยุโรปที่ใหญ่กว่า ทำให้เปลือกโลกส่วนนั้นยกตัวขึ้นเป็นแนวเขาสูงของยุโรป เช่นเทือกเขาแอลป์และเทือกเขาแอเพนไนน์

อันดับ 9: ปฏิกิริยาเคมีเย็นยะเยือกที่สุดในจักรวาล

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการทดลองสร้างปฏิกิริยาเคมีภายใต้ภาวะอุณหภูมิต่ำอย่างสุดขั้วที่ 500 นาโนเคลวิน ซึ่งนับว่าเย็นยะเยือกเสียยิ่งกว่าห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว (Interstellar space) อันเป็นบริเวณที่อุณหภูมิต่ำสุดในจักรวาลหลายล้านเท่า

คำบรรยายภาพ,

ปฏิกิริยาเคมีในภาวะเย็นสุดขั้วลดความเร็วลงนับล้านเท่า จากระดับเฟมโตวินาทีมาอยู่ในระดับไมโครวินาที

การทดลองดังกล่าวยังเฉียดเข้าใกล้อุณหภูมิศูนย์สัมบูรณ์มากที่สุด เท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติมา โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ที่ยิงสวนกันในหลายทิศทาง ลดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์หรืออุณหภูมิของโมเลกุลโพแทสเซียม-รูบิเดียม (KRb) จำนวน 2 โมเลกุลลงต่ำสุด จนทำให้ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 โมเลกุลนี้ชะลอความเร็วลงอย่างมาก

ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในภาวะเย็นสุดขั้ว ทำให้โมเลกุลเคลื่อนไหวช้าเหมือนภาพยนตร์แบบสโลว์โมชั่น ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตกระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมีตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียดชัดเจน ชนิดที่ไม่เคยได้เห็นกันมาก่อน

อันดับ 8: ยาต้านเชื้อเอชไอวีแบบออกฤทธิ์ระยะยาว

อีกไม่นานเกินรอ ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจะไม่ต้องคอยกินยาต้านเชื้อเป็นประจำทุกวันอีกต่อไป เพราะยาฉีดที่ออกฤทธิ์ได้นานครั้งละ 1-2 เดือน ผ่านการทดลองระดับคลินิกแล้ว

คำบรรยายภาพ,

ภาพจำลองเชื้อไวรัสเอชไอวี

การวิจัยระยะที่ 3 พบว่า ยา ATLAS-2M ของบริษัท ViiV Healthcare สามารถออกฤทธิ์ได้นานสูงสุดถึง 2 เดือน และมีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่าการกินยาต้านไวรัส 3 ชนิดเป็นประจำทุกวัน ยานี้เป็นความหวังว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีดีขึ้นกว่าเดิม และจะช่วยลดการติดเชื้อรายใหม่ด้วย

ด้านทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา วิทยาเขตแชเพิลฮิลล์ (UNC) ของสหรัฐฯ ก็ประกาศความสำเร็จขั้นต้นในด้านนี้ด้วยเช่นกัน โดยสามารถฉีดอุปกรณ์ฝังยาต้านไวรัสเอชไอวีหลายชนิดเข้าที่ใต้ผิวหนัง ซึ่งทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานต่อเนื่องถึงกว่า 1 ปี และเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในการป้องกันการติดเชื้อหรือหยุดยั้งการแพร่เชื้อได้แน่นอนยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ยาฝังใต้ผิวหนังดังกล่าว ผ่านขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยกับสัตว์ทดลองแล้ว

อันดับ 7: ควอนตัมคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพเหนือชั้น

กูเกิลประกาศศักดาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยระบุว่า "ซีคามอร์" (Sycamore) ควอนตัมคอมพิวเตอร์ 54 คิวบิตที่กูเกิลพัฒนาขึ้นเองมานานหลายปี ได้บรรลุถึงขีดความสามารถที่เหนือชั้นกว่าคอมพิวเตอร์ใด ๆ บนโลกใบนี้ในการประมวลผล หรือที่เรียกว่า "ควอนตัม ซูพรีเมซี" (Quantum supremacy) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คำบรรยายภาพ,

ชิปประมวลผลในควอนตัมคอมพิวเตอร์ของกูเกิล

สำหรับความเหนือชั้นในการคำนวณที่ว่านี้ กูเกิลอ้างว่าซีคามอร์สามารถคำนวณแก้ปัญหาที่เรียกว่า Random circuit sampling ซึ่งเป็นปัญหาสถิติขั้นสูงที่ยากและซับซ้อนมหาศาลจนเกินกำลังที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะทำได้ ภายในเวลา 3 นาที 20 วินาทีเท่านั้น ในขณะที่ "ซัมมิต" (Summit) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มที่ทรงพลังด้านการคำนวณสูงที่สุดในโลก ยังต้องใช้เวลานานถึง 10,000 ปี เพื่อคำนวณแก้ปัญหาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ไอบีเอ็มออกมาแย้งว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตนไม่ได้ด้อยประสิทธิภาพขนาดนั้น และอาจคำนวณแก้ปัญหาดังกล่าวได้ภายในเวลาไม่ถึง 3 วัน ไอบีเอ็มยังตั้งข้อสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของคำกล่าวอ้างจากกูเกิลอีกด้วย

อันดับ 6: พบน้ำเป็นครั้งแรกบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

ทีมนักดาราศาสตร์จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (UCL) ของสหราชอาณาจักร ค้นพบว่า ดาว K2-18b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากโลก 111 ปีแสง มีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นบรรยากาศมากถึง 50%

คำบรรยายภาพ,

ภาพจากฝีมือศิลปินจำลองลักษณะของดาว K2-18b และดาวฤกษ์แคระแดงที่มันโคจรวนรอบ

ถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบร่องรอยของน้ำ บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่โคจรอยู่ในเขตเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต(Goldilocks Zone) กล่าวคือดาวเคราะห์อยู่ในระยะห่างจากดาวฤกษ์อย่างพอเหมาะ ทำให้มีอุณหภูมิไม่ถึงขั้นร้อนจัดหรือเย็นจัดมากเกินไป จนน้ำสามารถคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ที่พื้นผิวดาวได้

การค้นพบน้ำบนดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตอุณหภูมิเหมาะสมดังกล่าว ทำให้ดาว K2-18b กลายเป็นสถานที่เป้าหมายในการค้นหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดแห่งหนึ่งในขณะนี้

อันดับ 5: พบฟอสซิลบรรพบุรุษมนุษย์ร่วมสมัยเดียวกับ "ลูซี่"

ปี 2019 ถือเป็นปีที่มีการค้นพบสำคัญทางมานุษยวิทยามากที่สุดปีหนึ่ง เช่นในช่วงกลางปี นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่า ชิ้นส่วนฟอสซิลของมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโม เซเปียนส์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 210,000 ปี ที่พบในถ้ำของประเทศกรีซ เป็นหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์ยุคใหม่อพยพออกจากถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาเร็วกว่าที่คาดกันไว้นับแสนปี

คำบรรยายภาพ,

ใบหน้าของ Australopithecus anamensis ที่จำลองขึ้นใหม่ เปรียบเทียบกับฟอสซิลกะโหลกศีรษะที่พบ

นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบฟอสซิลกะโหลกศีรษะของบรรพบุรุษมนุษย์ในเอธิโอเปีย โดยพบว่าเป็นของบรรพบุรุษมนุษย์สายพันธุ์ "ออสตราโลพิเทคัส อะนาเมนซิส" (Australopithecus anamensis) ซึ่งเคยเชื่อกันว่าเป็นต้นสายวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นมาก่อน "ลูซี่" ฟอสซิลบรรพบุรุษมนุษย์ชื่อดังคุ้นหูอีกสายพันธุ์หนึ่ง

นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติคลีฟแลนด์ (CMNH) ของสหรัฐฯ ผู้ค้นพบฟอสซิลนี้บอกว่า การที่มันมีอายุเก่าแก่ราว 3.8 ล้านปี ชี้ว่าออสตราโลพิเทคัส อะนาเมนซิส อยู่ร่วมกับสายพันธุ์ของ "ลูซี่" ในยุคสมัยเดียวกัน และไม่แน่ชัดอีกต่อไปว่าใครเป็นบรรพบุรุษที่มาก่อน หรือเป็นลูกหลานที่มาทีหลังกันแน่ ทำให้ต้องทบทวนทฤษฎีว่าด้วยเส้นทางของวิวัฒนาการมนุษย์เสียใหม่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าซับซ้อนยุ่งเหยิงกว่าที่คิด

อันดับ 4: ยานเรือใบสุริยะใช้พลังงานแสงเปลี่ยนวงโคจรสำเร็จ

ยานไลต์เซล (Lightsail) หรือ "เรือใบสุริยะ" ที่ท่องอวกาศไปตามลำแสงของดวงอาทิตย์ได้พัฒนาไปอีกขั้น โดยยานไลต์เซลทู (Lightsail 2) สามารถเปลี่ยนระดับการโคจร ขณะอยู่ในวงโคจรรอบโลกได้สำเร็จ โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ที่มาของภาพ, THE PLANETARY SOCIETY

คำบรรยายภาพ,

ยาน Lightsail 2 ถ่ายภาพ "ใบเรือ" ของตนเอง ขณะอยู่ในวงโคจรโลก

หลักการของเรือใบสุริยะ ใช้แผ่นวัสดุสะท้อนแสงเป็นใบเรือ ทำหน้าที่สะท้อนอนุภาคของแสงหรือโฟตอนจากดวงอาทิตย์ และใช้แรงจากโมเมนตัมที่เกิดขึ้นช่วยขับเคลื่อนยานไปข้างหน้า เสมือนหนึ่งล่องไปตามลำแสงของดวงอาทิตย์นั่นเอง

การพัฒนาเรือใบสุริยะนี้ เป็นความหวังว่าสักวันหนึ่งมนุษย์จะสามารถท่องอวกาศออกไปได้ไกลมากขึ้น โดยอาศัยแหล่งพลังงานขับเคลื่อนจากดาวฤกษ์ต่าง ๆ สำหรับการเดินทางที่ยาวนาน

อันดับ 3: ทดสอบยารักษาอีโบลา 2 ขนานได้ผล

ข่าวร้ายเรื่องเชื้อไวรัสอีโบลากลับมาระบาดอีกในประเทศดีอาร์คองโกปีนี้ กลับเป็นโอกาสดีให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ทดสอบยารักษาสองขนาน ซึ่งปรากฏว่าได้ผลชะงัดเกินคาดจนอาจจะพูดได้ว่า อีโบลาไม่ใช่โรคที่ไม่มีทางรักษาอีกต่อไป

คำบรรยายภาพ,

องค์การอนามัยโลกทดสอบยารักษาอีโบลาในประเทศดีอาร์คองโก

ยาสองขนานดังกล่าวคือ "อาร์อีจีเอ็น-อีบีทรี" (REGN-EB3) และ "เอ็มเอบี วันวันโฟร์" (mAb114) เป็นยาฉีดกึ่งวัคซีนที่ทำมาจากแอนติบอดีหลายชนิด ซึ่งจะเข้าไปทำให้ไวรัสอีโบลาในร่างกายผู้ป่วยหมดฤทธิ์

ทีมแพทย์ขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ยาสองขนานนี้ช่วยชีวิตผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ถึง 90% โดยยิ่งได้รับยาเร็ว โอกาสรอดชีวิตก็จะยิ่งสูงขึ้น และถ้าต้องการให้ยามีประสิทธิภาพในการรักษาดีที่สุด ควรจะฉีดให้คนไข้ภายใน 3 วันแรกของการติดเชื้อ

อันดับ 2: ยานวอยาเจอร์เผยความลับของโครงสร้างระบบสุริยะ

หลังจากยาน "วอยาเจอร์ทู" (Voyager 2) เดินทางพ้นขอบเขตอิทธิพลลมสุริยะ ซึ่งเปรียบเสมือนบริเวณสุดขอบรั้วของระบบดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่ ยานก็ได้ส่งข้อมูลการสำรวจอวกาศที่แปลกใหม่ ซึ่งมนุษย์ไม่เคยล่วงรู้มาก่อนให้นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์กันในหลายประเด็น

ที่มาของภาพ, NASA / JPL-CALTECH

คำบรรยายภาพ,

แถบพลาสมาร้อนแรงแต่มีความหนาแน่นต่ำ ตั้งอยู่ชิดกับแนวสิ้นสุดอิทธิพลลมสุริยะ (Heliopause)

จากบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ข้อมูลเหล่านี้บ่งบอกว่า สภาพแวดล้อมภายในระบบสุริยะกับห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว (Interstellar space) ที่อยู่ภายนอกนั้น แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ทั้งอุณหภูมิและความเข้มของรังสีคอสมิก ซึ่งแสดงว่าโลกและดาวเคราะห์เพื่อนบ้านอีก 7 ดวง อยู่ภายใต้การปกป้องของสนามพลังหรือขอบเขตการพัดของลมสุริยะจากดวงอาทิตย์นั่นเอง

ยานวอยาเจอร์ทูยังพบเข้ากับ "กำแพงไฟ" หรือแนวพลาสมาร้อนแรงหลายหมื่นองศาเซลเซียสตรงสุดขอบระบบสุริยะอีกด้วย โดยเป็นกลุ่มก๊าซและอนุภาคมีประจุไฟฟ้าที่เกิดจากการสะสมตัวของลมสุริยะที่พัดต่อไปไม่ได้อีก เนื่องจากปะทะเข้ากับรังสีคอสมิกทรงพลังนอกระบบสุริยะ

อันดับ 1: นักดาราศาสตร์เผยรูปหลุมดำครั้งแรกของโลก

สุดยอดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่งแห่งปี ได้แก่ความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ที่เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon Telescope - EHT) สามารถถ่ายรูปหลุมดำได้เป็นครั้งแรกของโลก ถือเป็นหลักฐานเชิงรูปธรรมชิ้นแรกที่พิสูจน์ชัดเจนว่าหลุมดำมีอยู่จริง

ที่มาของภาพ, EHT COLLABORATION

คำบรรยายภาพ,

ภาพถ่ายขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำมวลยิ่งยวด ใจกลางดาราจักร M87

หลุมดำมวลยิ่งยวดในภาพนี้อยู่ห่างจากโลก 53 ล้านปีแสง ตรงใจกลางดาราจักร M87 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 หมื่นล้านกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าโลก 3 ล้านเท่า

การทำงานร่วมกันของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 8 แห่งทั่วโลก ให้ผลเป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่เสมือนกับใช้กล้องโทรทรรศน์ความกว้างราว 13,000 กิโลเมตร หรือกล้องที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับโลกนั่นเอง

ตามปกติแล้วเราไม่อาจจะมองเห็นหรือตรวจจับตำแหน่งของหลุมดำในขณะที่มันสงบนิ่ง ไม่ได้ดูดกลืนดวงดาวต่าง ๆ อยู่ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลทำให้แม้แต่แสงก็ไม่อาจหลุดลอดออกมาได้ แต่หากมีการดูดกลืนมวลสารของดาวอื่นเกิดขึ้น จะปรากฏจานพอกพูนมวล (Accretion disk) โดยรอบระนาบหมุนของขอบฟ้าเหตุการณ์ให้สังเกตเห็นหรือตรวจจับการแผ่รังสีได้

วิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง

กลุ่มวิชาสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร (2) สาขาอุตสาหกรรมเคมี (3) สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (4) สาขาภูมิสารสนเทศ (5) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (6) สาขาเทคโนโลยีพลังงาน (7) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (8) สาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร (9) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (10) สาขาเทคโนโลยีวัสดุ (11) สาขา ...

เทคโนโลยีคืออะไร ม.1

เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

ลักษณะของเทคโนโลยีมีกี่ลักษณะอะไรบ้าง

ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์.
เครื่องวัดแสง (Lux Meter).
เครื่องชั่งสาร 4 ตำแหน่ง (Balance).
เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้า (Conductivity Meter).
เครื่องทดสอบการตกตะกอน (Jar Test).
ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar Air Flow).
ตู้บ่มเชื้อ (Incubator).
หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ Autoclave..