อุบัติภัยที่เกิดจากการ ทํา งาน และการควบคุมป้องกัน

1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Action) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ถึง 88% เนื่องจากเกิดจากสิ่งที่เราเป็นคนทำ เช่น

• หยอกล้อเล่นกันขณะปฏิบัติงาน
• ไม่ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
• ไม่สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัย
• ถอดการ์ดของเครื่องจักรออก เป็นต้น

2. สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ 10% ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่
รอบๆ ตัวเรา เช่น

• แสงสว่างในการทำงานไม่เพียงพอ
• เครื่องจักรไม่มีการ์ดป้องกันอันตราย
• ฝุ่นในพื้นที่การทำงานที่มากเกินมาตรฐานกำหนด เป็นต้น

3. ภัยธรรมชาติ (Natural Disaster) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ 2% เช่น

• ฟ้าผ่า
• แผ่นดินไหว
• น้ำท่วม เป็นต้น
จากสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ 3 สาเหตุ ที่กล่าวมาข้างต้น เราคงพอเข้าใจกันแล้วว่า อุบัติเหตุเกิดจากอะไร แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือ คน หรือการกระทำที่ไม่ปลอดภัยนั่นเอง
จากประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ผ่านมา เมื่อมีอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้น มักพบว่า สาเหตุที่ทำให้อุบัติเหตุเกิดขึ้น คือ การไม่ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ หรือพนักงานที่มีอายุงานมาก มักปฏิบัติงานด้วยความประมาท คิดว่าชำนาญแล้ว จึงไม่ระมัดระวัง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น แล้วเราจะป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างไร

การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน โดยใช้หลัก 3E

1. Engineering คือ การป้องกันทางด้านวิศวกรรม ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันที่ตัวเครื่องจักรหรือ
แหล่งกำเนิดของอันตราย (Source) อันตรายตรงไหน ให้แก้ไขที่ตรงนั้น เช่น
• การออกแบบเครื่องจักรที่ปลอดภัย
• การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายของเครื่องจักร
• การใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อยกว่า แทนสารเคมีที่มีอันตรายมาก
• การจัดให้มีการระบายอากาศเฉพาะที่
2. Education คือ การให้การศึกษา การฝึกอบรม และการให้ความรู้ เช่น
• การสอนวิธีการทำงานที่ปลอดภัย ให้กับพนักงาน โดยใช้ WI , WS
• การสร้างความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยให้กับพนักงาน
• การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
3. Enforcement คือ การใช้กฎระเบียบ มาตรการควบคุม ให้ปฏิบัติตาม ซึ่งถือว่าเป็นข้อที่สำคัญเช่นกัน
เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่มีกฎระเบียบแล้ว ย่อมเกิดความวุ่นวายขึ้น จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน

จากหลัก 3E ที่กล่าวมาข้างต้น หากสามารถทำได้มากเท่าไหร่ ย่อมลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้มากเท่านั้น วิธีที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือ การใช้หลักทางด้านวิศวกรรม เพราะสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การออกแบบเครื่องปั๊มโลหะ โดยการใช้ปุ่มแบบ Two Hand Switch ย่อมมีความปลอดภัยมากกว่าปุ่มกดแบบมือเดียว และหากติดตั้ง Area Sensor เพิ่มเข้าไป ยิ่งมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ตามมาด้วยการให้ความรู้ การฝึกอบรม ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ถ้ามีเครื่องจักรที่ปลอดภัยแล้ว ร่วมกับพนักงานมีความรู้ สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ก็ส่งผลให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ถามว่า ถ้าทำ 2 ข้อ เพียงพอหรือไม่ คงต้องบอกว่า ยังไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มการควบคุมให้พนักงานปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดขึ้นมาด้วย เพราะหากไม่มีการควบคุมแล้ว อาจมีพนักงานบางส่วน ละเลยที่จะไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน จึงต้องมีการกำหนดบทลงโทษ เพื่อเอาไว้ป้องกันพนักงานละเลยและไม่ปฏิบัติตาม

และหากเราทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สิ่งที่เราต้องทำควบคู่กันไป นอกเหนือจากหลัก 3E ข้างต้นแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ เน้นย้ำ และตรวจสอบ ถ้าเราพบพนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย เราต้องเข้าไปบอก เข้าอธิบายให้พนักงานเข้าใจ ชี้ให้เห็นถึงผลที่ตามมา และจบด้วยว่า “เป็นห่วง” เพื่อไม่ให้ดูเหมือนเป็นการจับผิดพนักงาน เมื่อเราเข้าไปบอกแล้ว ในครั้งต่อไป เราจะไม่พบพนักงานคนนั้น ทำผิดในเรื่องเดิมๆ อีก แต่ต้องจำไว้ว่า “หากเห็นพนักงานปฏิบัติงานที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ อย่านิ่งเฉย เพราะการนิ่งเฉย แสดงให้เห็นว่า เรายอมรับสถานการณ์นั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้”

อบรม จป กับ Jorporonline ผู้นำทางด้านการรับอบรม จป อันดับหนึ่ง

บริษัทไหนต้องมี จป หรือกำลังมองหาศูนย์ฝึกอบรม จป หัวหน้างานที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งพนักงานภายในองค์กรเข้ารับการอบรม จป ในทุกระดับ สามารถเลือกเรียนหลักสูตรอบรม จป กับ Jorporonline ได้ เพราะเราคือผู้นำศูนย์ฝึกอบรม จป ออนไลน์ อันดับหนึ่ง ที่ให้บริการอบรมหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ บริษัทของเราได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีเลขที่ จป 63 – 010 ทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001

หลักสูตรอบรม จป ของเราในทุกระดับเป็นหลักสูตรออนไลน์ ดำเนินการอบรมโดยบุคลากร อาจารย์ผู้สอนมืออาชีพ พร้อมอุปกรณ์ในการสอนภาคปฏิบัติที่ได้มาตรฐานสากล คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับความรู้จากการเข้าอบรม จป กับเราอย่างครบถ้วนและสามารถนำปฏิบัติได้จริง ครอบคลุมทุกหลักสูตรตามกฎกระทรวงได้กำหนด พร้อมทั้งหากสำเร็จหลักสูตรอบรม จป กับเราในทุกระดับ คุณจะได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรม จป และสามารถไปสมัคร จป วิชาชีพได้ทันที บริษัทไหนต้องมี จป หรือต้องการส่งพนักงานเข้าอบรม จป อย่าลืมสมัครและติดต่อ Jorporonline กันด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน Occupational health and safety ความปลอดภัยในการทำงานทุกองค์กรถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยื่น

ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ เรียกกันได้อีกอย่างคือ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS) เป็นสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ ของพนักงานในองกรค์ ป้องไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย อุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.78 ล้านคนอันเป็นผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ส่งผลให้ทุกๆ 15 วินาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และ มีการบาดเจ็บที่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีก 375 ล้านคนต่อปี ทำให้องค์กรดังกล่าวนั้นต้องศูนย์เสียพนักงานและเงินชดเชยต่างๆเป็นจำนวนมากต่อการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง

อุบัติภัยที่เกิดจากการ ทํา งาน และการควบคุมป้องกัน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนมัยโลก WHO ได้จำกัดความร่วมกันถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย 3 หลักที่ในองค์กรนั้นควรจัดให้มี

1.มีการส่งเสริมด้านสุภาพของพนักงาน

2.มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.มีการเสริมสร้างวัฒธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในองค์กร และ สนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นมีส่วนร่วม มีการออกนโยบายจากผู้บริหารเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัยขององค์กร มีการสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมความปลอดภัย

อันตรายจากการทำงาน Workplace hazards

แม้ว่าการทำงานจะให้ผลประโยชน์กับนายจ้างและทางเศษรกิจอื่นๆอย่างมากมาย แต่การทำงานก็แฝงไปด้วยอันตรายในสถานที่ทำงานที่มากมายด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น สารเคมี สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ สารชีวภาพ อันตรายจากการรับสัมผัสสารเคมีอันตรายในที่ทำงาน ได้แก่ สารพิษต่อระบบประสาท สารเคมีที่ทำมีผลต่อภูมิคุ้มกัน สารเคมีที่ทำลายผิวหนัง สารเคมีประเภทก่อมะเร็ง สารก่อโรคหอบหืด เป็นต้น ปัจจัยอันตรายทางกายภาพ สภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ อันตรายการจากสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังซึ่งพบบ่อยที่สุดในประเทศสหัฐอเมริกาโดยมีพนักงานประมาณ 22 ล้าน คนที่สัมผัสกับเสียงดังเกิดมาตรฐาน

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย