การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1945 ในช่วงโค้งสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประธานาธิบดี เฮนรี เอส ทรูแมน (Harry S. Truman) ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญว่าจะปิดม่านสงครามดังกล่าวอย่างไร

ที่ปรึกษารายงานว่าทรูแมนมีสองทางเลือก ระหว่าง

A. ดำเนินยุทธการทางการทหาร ยกพลขึ้นบกเข้ายึดเกาะญี่ปุ่น ซึ่งประเมินว่าจะต้องสูญเสียทหารประมาณหนึ่งถึงสองล้านคน

B. ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เพิ่งสร้างสำเร็จใส่บางจังหวัดของญี่ปุ่น (เป้าหมายคือ ฮิโรชิมา ตามด้วยนางาซากิ) เพื่อกดดันให้รัฐบาลทหารญี่ปุ่นยอมจำนน ทางเลือกนี้มั่นใจว่าได้ผล แต่ต้องแลกด้วยชีวิตผู้บริสุทธิ์ รวมถึงเด็กในจังหวัดเป้าหมายหลักแสน

เป็นคุณจะตัดสินใจอย่างไร?

คำถามแบบนี้ไม่ได้มีแค่ในประเด็นการตัดสินใจระดับชาติ แต่วนเวียนอยู่รอบตัวเราเสมอ

งานวิจัยหนึ่งเล่าว่า รัฐบาลมีทางเลือกในการแก้ปัญหาคนโดนรถไฟทับตายเพราะลื่นล้มบนชานชาลาได้ หากผสมทองเข้าไปบนพื้นผิวชานชาลา ทางเลือกดังกล่าวจะช่วยได้หลายสิบชีวิตต่อปี แต่แลกมาด้วยการสูญเสียงบประมาณมหาศาลที่จะนำไปลงทุนในระบบสาธารณสุขและจราจรด้านอื่น ซึ่งจะช่วยชีวิตคนได้หลักหมื่นหลักแสน

หมอในห้องฉุกเฉินต้องคิดคำนวณว่าควรทุ่มทรัพยากรสำคัญเพื่อช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีโอกาสรอดน้อยตอนนี้ หรือเก็บไว้ช่วยผู้ป่วยที่มีจำนวนและโอกาสรอดมากกว่าที่อาจจะเข้ามาทีหลัง

Self-driving car ที่กำลังฮิตตอนนี้ก็เจอคำถาม ว่าในยามคับขัน รถควรหักเลี้ยวหลบคนจำนวนมากกว่าข้างหน้า ไปชนคนจำนวนน้อยกว่าหรือไม่

ปัญหาลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า ‘ปัญหารถราง’ (Trolley problem) ซึ่งเป็นปัญหาที่นักจริยศาสตร์พยายามหาคำตอบมาเนิ่นนานแล้วว่า เราสามารถหาหลักการทั่วไป หรือคำตอบมาตรฐานสำหรับปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่

ปัญหารถราง: รูปแบบและคำตอบมาตรฐาน

หากตัดรายละเอียดที่แตกต่างทิ้งไป ประเด็นรวมศูนย์ของกรณีเหล่านี้อยู่ที่คำถามที่ว่า ในกรณีที่เราต้องเลือกว่า ‘เราควรตัดสินใจเสียสละชีวิตหรือยอมรับความเสียหายจำนวนน้อยกว่า เพื่อช่วยชีวิตหรือประโยชน์ในภาพรวมหรือไม่’

ในวิชาจริยศาสตร์ คำถามดังกล่าวถูกถอดเป็นรูปเป็นคำถามง่ายๆ ที่เรียกว่า Trolley problem หรือปัญหารถราง ซึ่งถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Philippa Foot เมื่อปี 1967

รูปแบบพื้นฐานของปัญหารถรางเป็นไปตามภาพนี้

การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
Trolley problem (ที่มา We Love Philosophy)

สมมติว่าเราป็นคนขับรถรางที่กำลังวิ่งไปตาม ‘เส้นทางปกติ’ ซึ่งมีคนห้าคนนอนหมดสติขวางอยู่ เรารู้ว่าหากไม่ทำอะไร ทั้งห้าคนนั้นจะต้องตายแน่ๆ แต่ในฐานะคนขับรถราง เราสามารถโยกคันโยกเปลี่ยนทางรถรางให้หักหัวไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็น ‘เส้นทางที่ไม่ปกติ’ แต่ทางดังกล่าวดันมีคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่นอนอยู่หนึ่งคน หากเราตัดสินใจเปลี่ยนใจโยกคันโยก ก็จะสามารถรักษาชีวิตคนทั้งห้าคนบนทางปกติได้ แต่ต้องแลกกับอีกชีวิตของคนหนึ่งคนที่ไม่รู้เรื่อง

คำถามคือ เราควรหันหัวรถรางหรือไม่?

ในกรณีพื้นฐาน สามัญสำนึกของเราส่วนใหญ่คือควรโยกคันเร่งเพื่อช่วยคนจำนวนมากกว่า (หากใครไม่ซื้อคำตอบนี้ ก็ลองชักจูงเขาด้วยการเพิ่มจำนวนคนบนรางปกติจากห้า เป็นสิบ ยี่สิบ สามสิบ ถึงจุดหนึ่งเขาก็คงบอกว่าต้องยอมเสียสละหนึ่งชีวิตเพื่อช่วยคนจำนวนจำนวนมาก)

เมื่อคำตอบชัดเช่นนี้ ทำไมเรายังต้องถกเถียงกันอีก? ที่เราต้องเถียงกัน เป็นเพราะแบบนี้ครับ…

ความล้มเหลวของหลักจริยศาสตร์แบบ Consequentialism  

ในวิชาจริยศาสตร์สมัยใหม่ หลักจริยศาสตร์ที่ใช้อธิบายสามัญสำนึกทางศีลธรรมของมนุษย์ และประยุกต์ใช้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ แบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่

รูปแบบแรกคือหลักจริยศาสตร์แบบ Consequentialism ที่เห็นว่าการกระทำที่ถูกคือการกระทำที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการกระทำอื่น

แนวคิดที่มีชื่อเสียงที่สุดในร่มหลักจริยศาสตร์แบบนี้คือ วิธีคิดแบบอรรถประโยชน์นิยมที่อธิบายและชี้นำว่าการกระทำที่ดีที่สุดคือการกระทำที่นำประโยชน์เช่นความสุขมาสู่คนจำนวนมากที่สุด

อีกแบบคือ Deontology ที่เห็นว่า เราสามารถนิยามกฎสากลเรื่องความถูกผิดของการกระทำ โดยพิจารณาเนื้อหาหรือเจตนาของการกระทำนั้น ไม่ต้องดูผลลัพธ์ เช่นการฆ่าคนบริสุทธิ์นั้นผิดเสมอ ไม่ว่าการฆ่านี้จะนำไปสู่ผลลัพธ์ใดก็ตาม

จะเห็นว่าหากยึดถืออย่างเคร่งครัด หลัก Deontology ไม่อนุญาตให้เราหันรถรางไปชนคนบริสุทธิ์หนึ่งคน ซึ่งขัดกับสามัญสำนึกทางศีลธรรมแบบแบบ Consequentialism ที่ว่า เราต้องทำอะไรผิดแน่ๆ หากไม่ยอมหันรถรางช่วยคนจำนวนมากกว่า

หากเราทดสอบปัญหารถรางนี้กับคนทั่วไปจะพบว่า หลักแบบ Consequentialism สามารถอธิบายสนับสนุนสามัญสำนึกที่ว่าได้โดยง่าย ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ‘ผลลัพธ์สุดท้ายดีกว่า’ ซึ่งก็คือการช่วยชีวิตคนจำนวนมากกว่า

และเมื่อหลักนี้สอดคล้องกับสามัญสำนึกพื้นฐานและให้คำตอบที่น่าจะถูก เรื่องก็น่าจะจบ ไม่ควรมีสิ่งที่เรียกว่าปัญหารถรางคงอยู่มาเกือบศตวรรษ

แต่เดี๋ยวก่อน!

ปัญหาคือหลักจริยศาสตร์แบบ Consequentialism นั้นถูกปัดทิ้งได้โดยง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหลักดังกล่าวล้มเหลวในการอธิบายสามัญสำนึกพื้นฐาน ว่าเหตุใดเราจึงไม่ควรทำอะไรในปัญหารถรางรูปแบบที่สอง

รูปแบบนี้เรียกว่า Fat Man case ตามรูปต่อไปนี้

การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
The fat man (1976) (ที่มา medium.com)

ในรูปดังกล่าว รถรางกำลังจะวิ่งไปชนคนห้าคนเช่นกัน แต่คราวนี้ไม่มีคันโยกเปลี่ยนรางหรืออุปกรณ์อื่นใด ทางเดียวที่จะหยุดรถรางมีเพียงการผลักคนอ้วนที่ยืนอยู่บนสะพาน เพื่อใช้หนักตัวของเขาหยุดรถ แต่แน่นอนว่าคนอ้วนจะตาย

กรณีดังกล่าวคือการ ‘ฆ่าคนหนึ่งคนโดยตรง’ เพื่อช่วยคนจำนวนมากกว่า ในโลกจริง เทียบเคียงได้กับการอนุญาตให้หมอฆ่าคนไข้ในโรงพยาบาลหนึ่งคน เพื่อเอาอวัยวะของเขาไปแจกช่วยชีวิตผู้ป่วยจำนวนมากกว่าที่กำลังจะตายหากไม่ได้รับอวัยวะ

ทุกอย่างเริ่มแปลกๆ เมื่อเคสที่สองนี้ถูกหยิบยกขึ้น เพราะคงแทบไม่มีใครเห็นด้วยว่าเราควรทำอะไรทำนองนี้

แต่หลัก Consequentialism เหมือนจะบังคับให้เราทำเช่นนั้น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า ซึ่งไม่น่าจะยอมรับได้!

บางคนอาจบอกว่าเราสามารถสร้างคำตอบที่ถูกต้อง (ไม่ผลักคนอ้วน) จากหลัก Consequentialism ได้ด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าหากว่ามีการอนุญาตให้ ‘ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ทางสังคม’ ได้ ผลลัพธ์สุดท้ายคือ ทุกคนจะอยู่ด้วยความหวาดกลัว ซึ่งไม่ใช่ผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาเลย

แต่คำอธิบายนี้จะแปลกๆ ทันที ถ้าเอาใช้กับเคสอื่นๆ เช่น สมมติคุณไปโรงพยาบาล แล้วเขาบอกว่าคุณไม่ต้องกลัวหมอฆ่าคุณเพื่อเอาอวัยวะไปแจกคนอื่นหรอกนะ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้คนกลัวโรงพยาบาล ทำให้ชื่อเสียงของโรงพยาบาลเสียหาย ถ้าเป็นแบบนี้เราคงแอบเอ๊ะในใจ! เพราะที่การที่เราไม่กลัวว่าหมอจะฆ่าเราก็ควรมาจากการที่หมอรู้ว่าการฆ่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ นั้นเป็นการทำผิด

พูดอีกแบบคือ หลัก Consequentialism ปฏิบัติกับเราคล้ายกับว่า ชีวิตของเราเป็นเพียง ‘เครื่องมือ’ ในการคิดคำนวณผลประโยชน์ ที่ไม่มีคุณค่าในตัวเอง  

ในทางปรัชญา ปัญหาใหญ่ของคำอธิบายเช่นนี้คือ การสังคมเป็นก้อนเดียวกัน คล้ายว่าแต่ละคนเป็นบางส่วนของอวัยวะในร่างกายที่ประกอบขึ้นมาเป็นอวัยวะหนึ่ง เช่น เป็นนิ้ว ซึ่งประกอบเข้ากันเป็นมือ (คุ้นๆ ไหมครับ) โดยมองไม่เห็นว่า แท้จริงแล้วชีวิตของปัจเจกแต่ละคนนั้น แยกขาดจากกันไม่ได้ดำรงอยู่ในลักษณะเป็นก้อนมวลใหญ่ก้อนเดียว ลองคิดง่ายๆ ว่า หากเรามีต้องเผชิญกับภาวะนิ้วชี้เน่าและกำลังลุกลาม เราคงยินดีสละนิ้วชี้เพื่อให้ร่างกายโดยรวมดำรงอยู่ต่อไปได้หากจำเป็น แต่ประเด็นนี้แหละครับที่เป็นจุดชี้ขาดสำคัญ เพราะการตัดนิ้วเพื่อรักษามือ ประโยชน์ยังตกอยู่กับเจ้าของร่างกายผู้เสียสละเอง

แต่หากมองว่าปัจเจกทุกคนไม่ได้ผูกติดเป็นก้อนเดียว คนที่เสียประโยชน์ไม่ใช่คนเดียวกับที่ได้รับประโยชน์เหมือนในกรณีร่างกาย ในกรณีแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่คนหนึ่งๆ จะมองไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมชีวิตของเขาจึงเป็นเพียง ‘เครื่องมือ’ ของคนอื่น (The principle od Seperation of Persons)

ดังนั้น แม้ Consequentialism จะให้คำตอบที่ถูกในปัญหารถรางแบบแรก แต่ล้มเหลวในการสร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลในปัญหารถรางรูปแบบที่สองที่เพิ่งว่าไป

เมื่อ Consequentialism ล้มเหลว ดีเบตจึงเกิดขึ้น เพราะเราต้องการคำอธิบายใหม่ว่า ทำไมเราจึงต้องหันหันรถรางเพื่อช่วยเหลือคนจำนวนมากในกรณีแรก ในขณะที่เดียวกันก็ไม่ควรฆ่าคนอ้วนในกรณีที่สอง รวมถึงในกรณีอื่นๆ

หลัก Deontology ที่นับเลขได้

เมื่อ Consequentialism ไม่น่าจะถูก ทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่จึงได้แก่หลักแบบ Deontology

แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ ภายใต้หลักดังกล่าว การไม่สนใจผลลัพธ์ของการกระทำเลย ดูเผินๆ ก็เหมือนจะให้คำตอบที่ผิดในอีกแบบหนึ่ง เพราะเราคงไม่รู้จะตัดสินใจในภาวะสงคราม การบริหารจัดการนโยบาย หรือชีวิตประจำวันอย่างไร หากถูกบังคับให้ทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คิดคำนวณถึงผลลัพธ์แบบนี้

ดังนั้นในปัจจุบัน นักจริยศาสตร์สมัยใหม่จึงมองปัญหารถรางเป็นเรื่องของการค้นหาหลัก Deontology ที่อนุญาตให้เราช่วยชีวิตหรือคนจำนวนมากกว่าได้ อย่างน้อยก็ในบางเงื่อนไข โดยไม่สูญเสียแก่นสารที่ว่าการกระทำต่างๆ นั้นมีความถูกผิดในตัวเองโดยไม่เกี่ยวโยงกับผลลัพธ์

พูดง่ายๆ ก็คือ ทำให้หลักดังกล่าวนับเลขได้บ้าง

หลักที่ว่าจะต้องให้คำตอบและคำอธิบายที่สมเหตุสมผลว่า ทำไมเราจึงควรหันรถรางในเคสที่หนึ่ง แต่ไม่ผลักคนอ้วนในเคสที่สอง

พูดให้ถึงที่สุด เกมของการแก้ปัญหารถรางที่ผ่านมาตลอดหนึ่งศตวรรษเป็นเรื่องของการหาหลัก Deontology แบบนี้แหละครับ แต่ความสนุกคือ เมื่อหาหลักการคิดแบบหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาได้ ก็จะมีคนนำเสนอรูปแบบปัญหารถรางใหม่ ที่หลักดังกล่าวไม่สามารถให้คำตอบที่สอดคล้องสมเหตุสมผลได้ และต้องเริ่มกันใหม่เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ

ในปัจจุบัน ปัญหารถรางรูปแบบต่างๆ ซึ่งถอดมาจากกรณีในโลกจริง มีประมาณ 18 รูปแบบใหญ่ และน่าจะมีเพิ่มเรื่อยๆ

ปลายทางในฝันของรางรถไฟเหล่านี้ คือภารกิจอันยิ่งใหญ่ คือการสร้างหลักจริยศาสตร์ (แบบ Deontology) หนึ่งเดียวที่สามารถอธิบายปัญหาเรื่องการช่วย/ไม่ช่วย ฆ่า’ไม่ฆ่า คนจำนวนมากหรือคนจำนวนน้อยได้ในทุกกรณี โดยไม่ขัดกับสามัญสำนึกของมนุษย์ (ในกรณีที่สามัญสำนึกชัดมาก)

คล้ายๆ Theory of Everything ทางฟิสิกส์ที่มุ่งอธิบายโลกกายภาพ หลักในฝันดังกล่าวคือ Unified Principle ทางปทัสสถาน

ผมจะทยอยเล่าปัญหารถรางและหลักการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ในโอกาสต่อไป

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บทความนี้แค่จะแนะนำว่าเกมนี้สนุกนะครับ ใครสนใจลองเสิร์จหาอ่านตามอินเทอร์เน็ตอ่านดูสนุกๆ ได้ ผมเองได้แต่อ่าน ไม่มีปัญญาอะไรไปถกเถียงกับเขาเพราะไม่ฉลาดพอ ไม่แน่ เพื่อนๆ อ่านแล้วอาจมีคำตอบใหม่ๆ สนุกๆ ที่พาเราไปสู่ปลายทางในฝันที่ว่าได้เสียที

  • จนกว่ามรสุมจะผ่านไป

    อาจเพราะความบังเอิญ ที่ทำให้หน้ามรสุม เป็นช่วงเวลาแห่งความสูญเสีย

  • งานฟุตบอลประเพณีฯ ให้อะไรเรา

    ทุกๆ ปี เราจะได้ข่าวคราวการจัดงานฟุตบอลประเพณีของสองมหาวิทยาลัยใหญ่ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งหลายคนก็อาจจะงงอยู่ว่างานนี้คืออะไร จัดมาได้อย่างไร และทำไมเราต้องสนใจ งานนี้มี ‘หน้าที่’ อะไรต่อสังคมวงกว้างหรือเปล่า

  • 10 เหตุผลที่ทำให้ข่าวทีมหมูป่าดังไปทั่วโลก

    ข่าวเด็กทีมหมูป่าติดถ้ำครบองค์ประกอบข่าวอย่างไรจนทำให้ทั่วโลกเฝ้าติดตามอย่างใจจดใจจ่อ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เจียระไนออกมา 10 เหตุผล

  • เราร้องไห้กันคนละเรื่อง

    'Interview 101' โดย วรพจน์ พันธุ์พงศ์ เดือนนี้ว่ากันด้วย เนื้อหาของสื่อ-เหตุของน้ำตาที่บางคนให้ค่าและบางคนทิ้งขว้าง

  • เมื่อเพชรบูรณ์เกือบได้เป็นเมืองหลวง

    วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนถึงแนวคิดการย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง

  • อย่าหลงประเด็น

    วรพจน์ พันธุ์พงศ์ เขียนถึงความสำคัญของ 'ประเด็น' อันเป็นหัวใจของการสัมภาษณ์ การทำงานสื่อ เลยไปถึงการอ่านโลก อ่านสังคมให้กระจ่าง

ตะวัน มานะกุล trolley problem ปัญหารถราง hard choices จริยศาสตร์

การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
Print

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง

เรื่อง: ตะวัน มานะกุล

ชาวไทยในต่างแดน ผู้ตั้งเป้าหมายทำมาหากินในอาชีพนักทฤษฎีปทัสถาน อันมีศาสนาฟุตบอลเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจ และศรัทธาอย่างแรงกล้าว่าปีหน้าลิเวอร์พูลจะคว้าทุกแชมป์

การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง
การเสียสละเพื่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง

ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

มีความฝันอยากวาดภาพประกอบให้เข้าถึงคนมากๆ หลงใหลในกาเฟอีนและเสียงเพลง บางวันก็คิดว่าวันนี้ควรฟังเพลง Flipper อีกกี่รอบถึงจะพอ

การเสียสละต่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง

๑. ช่วยเหลืองานบ้านพ่อแม่ ๑. ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ Q). ๑. ดูแลรักษาความสะอาดชุมชน ๒. บริจาคสิ่งของเครื่องใช้ ๒. ช่วยสอนการบ้านให้เพื่อน ผู้พิการ ๒. เสียสละที่นั่งบนรถโดยสาร 60. ๓. ช่วยครูถือของ ๔. แบ่งขนมให้น้อง ให้แก่พระภิกษุ คนชรา ช่วยเก็บของเมื่อเห็นผู้อื่นทำ แก่ผู้ประสบภัย เข้าร่วมกิจกรรมอาสาต่างๆ

การเสียสละมีกี่ประเภท

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเสียสละของพระโพธิสัตว์นั้นมี 5 รูปแบบ คือ 1) การเสียสละทรัพย์คือวัตถุ สิ่งของต่าง ๆ 2) การเสียสละบุตรธิดา 3) การเสียสละภรรยา 4) การเสียสละอวัยวะ และ 5) การเสียสละชีวิต และการเสียสละดังกล่าวมาทั้งหมดนั้นจัดเป็นทานบารมี ซึ่งมี 3 ระดับ คือ 1) ทานบารมี หมายถึงการเสียสละ ทรัพย์สมบัติคือวัตถุสิ่งของ ...

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเสียสละ มีอะไรบ้าง

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม.
มีจิตใจโอบอ้อมอารี.
มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น.
มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อบุคคลรอบข้าง.
มีความจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่น.
มีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน.
ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการ.
เสียสละที่นั่งบนรถโดยสารให้แก่พระภิกษุ คนชรา.
ช่วยเก็บของเมื่อเห็นผู้อื่นทำของตก.

ความเสียสละ มีความสําคัญอย่างไร

ความเสียสละเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้้าใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่ กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรียึดเหนี่ยวจิตใจไว้เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะ นิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัวคนที่อยู่ร่วมกัน ...