Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


นอกเหนือจากการสร้างผลิตภัณฑ์หรือการหาวิธีทางการตลาดใหม่ๆ ให้ผลิตภัณฑ์เติบโตแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญก็คือ Business Model หรือโมเดลในการทำธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือที่จะทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจน และครบทุกมิติภายในกระดาษแผ่นเดียว คือการใช้ Business Model Canvas: BMC (คิดขึ้นโดย Alex Osterwalder)




BMC นี้มีไว้เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจ สามารถตอบคำถามสำคัญของธุรกิจ 4 เรื่องคือ


Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


ซึ่งการตอบคำถาม 4 เรื่องหลักนี้ จะถูกแยกเป็น 9 องค์ประกอบสำคัญอยู่ในผืนผ้าใบ 1 ผืน โดยมีรายละเอียดดังนี้


Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


1 ลูกค้าคือใคร หรือ Customer Segments (CS): ธุรกิจต้องระบุให้ได้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย ควรระบุให้ชัดเจน ยิ่งลึกยิ่งดี เพราะจะได้นำเสนอคุณค่าของสินค้าได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่สุด


2 คุณค่าของสินค้าหรือบริการคืออะไร หรือ Value Proposition (VP): ธุรกิจต้องมั่นใจและหาให้ได้ว่าคุณค่าของสินค้าบริการ ที่ส่งมอบให้ลูกค้า จะตอบโจทย์ความต้องการ หรือแก้ปัญหาให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้


3 ขายผ่านช่องทางไหน หรือ Channels (CH): ธุรกิจต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าช่องทางการสื่อสาร และช่องทางการส่งมอบสินค้า ช่องทางแบบไหนที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด


4 สร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างไร หรือ Customer Relationships (CR): ธุรกิจมีวิธีในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไร เพื่อให้เกิดการใช้สินค้าบริการต่อเนื่อง รวมถึงบอกต่อ


5 มีโครงสร้างรายได้อย่างไร หรือ Revenue Streams (RS): โมเดลรายได้ของธุรกิจสตาร์ทอัพ มีหลากหลายรูปแบบ ธุรกิจจึงต้องมองให้ออกว่า เราจะสร้างรายได้ด้วยวิธีการใด เช่น จากส่วนแบ่งจากค่าสินค้าบริการ จากค่าสมาชิก หรือจากค่าโฆษณา เป็นต้น


6 ทรัพยากรของบริษัทคืออะไร หรือ Key Resources (KR): คือเงินลงทุน เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงทรัพยากรบุคคล ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องรู้ว่าบริษัทมี KR ที่เหมาะสมหรือเพียงพอต่อการทำธุรกิจหรือไม่


7 กิจกรรมที่ขับเคลื่อนธุรกิจคืออะไร หรือ Key Activities (KA): คือการมองว่างานหลักของธุรกิจคืออะไร เทียบกับคู่แข่งเป็นอย่างไร จะสามารถสร้างกิจกรรม หรือ Solutions ใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้อย่างไรบ้าง


8 คู่ค้าคือใคร หรือ Key Partners (KP): หุ้นส่วนทางธุรกิจเป็นใครได้บ้าง ที่จะมาช่วยส่งเสริม หรือเติมเต็มให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้น


9 ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร หรือ Cost Structure (CS): คือค่าใช้จ่ายทั้งรายจ่ายคงที่และไม่คงที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาด ที่เมื่อนำรายจ่ายเหล่านี้ไปลบกับรายได้แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือผลตอบแทนที่กิจการจะได้รับกลับมา




การร่าง BMC ทั้ง 9 ช่องนี้จะช่วยให้เราคิดรอบด้าน และทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ สามารถสื่อสารกับทีมงาน ให้เข้าใจได้ง่าย และไปในทิศทางเดียวกัน ว่ากำลังส่งมอบคุณค่าอะไรให้กับลูกค้ากลุ่มไหน ผ่านช่องทางอะไร ด้วยกิจกรรมอะไร และทรัพยากรอะไร ด้วยรายได้ต้นทุนอย่างไร ก็จะทำให้เราเห็นจุดที่สามารถพัฒนาปรับปรุงได้ รวมถึงรู้ว่าธุรกิจควรจะต้อง Focus ไปในทิศทางไหน ซึ่ง BMC สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป





สามารถเรียนรู้เรื่อง Business Model Canvas ได้ที่


e-Learning หลักสูตร Business Model Canvas โดย คุณณฤทธิ์ วรพงษ์ดี ลงทะเบียนเรียนฟรีคลิก


Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


e-Book คู่มือ SET Your Startup Business Guide: รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ ดาวน์โหลดฟรีคลิก


Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


ในการทำธุรกิจให้เจริญเติบโตเปรียบเสมือนการทำสงครามแย่งชิงดินแดน แต่ดินแดนในที่นี้หมายถึง “ลูกค้า” การทำธุรกิจแบบที่ไม่มีการวางแผนทั้งการศึกษาตัวเองและศึกษาคู่แข่งย่อมเสียเปรียบในการแข่งขัน แต่การวางแผนอย่างละเอียดที่เนื้อหาเยอะเกินและเข้าใจได้ยากก็จะเป็นข้อเสียของแผนธุรกิจได้เช่นกัน แล้วเครื่องมืออะไรคือสิ่งที่ช่วยให้แผนธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพและง่ายต่อการทำความเข้าใจละ? BMC หรือ Business Model Canvas คือ คำตอบของคำถามนี้ครับ

ในบทความนี้ Good Material จะมาอธิบายถึงเครื่องมือที่ชื่อว่า Business Model Canvas (BMC) ว่ามีรายละเอียดอย่างไร ทำไมถึงควรใช้ ประโยชน์ และขั้นตอนการดำเนินการอย่างละเอียด เพื่อที่คุณจะสามารถนำไปใช้เขียนแผนธุรกิจของบริษัทตัวเอง (บทความนี้ใช้เวลาอ่านประมาณ 20-30 นาที)

 

Table of Contents

  • BMC : Business Model Canvas คือ
    • ทำไมถึงต้องใช้ Business Model Canvas (BMC)
  • วิธีสร้าง Business Model Canvas
    • 1.Customer Segments (ลูกค้า) 
    • 2.Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ) 
    • 3.Channels (ช่องทางการจัดจำหน่าย) 
    • 4.Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) 
    • 5.Revenue Streams (กระแสรายได้)
    • 6.Key Activities (กิจกรรมหลัก) 
    • 7.Key Resources (ทรัพยากรหลัก) 
    • 8.Key Partnerships (พันธมิตรหลัก)
    • 9.Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน) 
  • สรุป

BMC : Business Model Canvas คือ

BMC : Business Model Canvas คือ แผนธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่เขียนออกมาให้อยู่ในกรอบของพื้นผ้าใบแผ่นเดียว บางครั้งเครื่องมือนี้ก็ถูกเรียกว่า “Canvas Business Model” หรือ “Canvas  Model” ขอให้เข้าใจว่ามันคือเรื่องเดียวกันครับ รายละเอียดในผืนผ้าใบจะช่วยในการตอบคำถามบางประการของ 5W1H ได้แก่ WHAT , WHO , WHEN , WHERE , WHY และ HOW แยกออกเป็น 9 ปัจจัยดังต่อไปนี้

  • 1.Customer Segments (ลูกค้า) :  ใครคือลูกค้าของคุณ , พวกเขาคิดอย่างไร , พวกเขาเห็น ทำ และรู้สึกอย่างไร
  • 2.Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ) : อะไรคือสิ่งที่เป็นคุณค่าที่อยากส่งมอบให้ลูกค้า , ทำไมลูกค้าถึงซื้อสินค้าและบริการของคุณ
  • 3.Channels (ช่องทางขาย) : สินค้าและบริการจะส่งมอบถึงลูกค้าอย่างไร
  • 4.Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) : การโต้ตอบระหว่างคุณกับลูกค้าเป็นอย่างไร อะไรคือ “Customer Journey”
  • 5.Revenue Streams (รายได้ของธุรกิจ) : ธุรกิจของคุณจะมีรายได้จากการเสนอคุณค่าผ่านสินค้าและบริการอย่างไร
  • 6.Key Activities (กิจกรรมหลัก) :  อะไรคือกิจกรรมหลักที่ธุรกิจดำเนินการเพื่อให้โมเดลธุรกิจดำเนินต่อไป
  • 7.Key Resources (ทรัพยากรหลัก) : อะไรคือทรัพยากรที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้
  • 8.Key Partnerships (พันธมิตรหลัก) : อะไรคือสิ่งที่บริษัทไม่สามารถทำได้ และต้องพึ่งพาบริษัทอื่นเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ตามแผนธุรกิจ
  • 9.Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน) : อะไรคือต้นทุนที่ขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น ต้นทุนขาย หรือ ต้นทุนการผลิต และจะเชื่อมโยงกับรายได้ได้อย่างไร ?

หน้าตาของ Business Model Canvas จะเป็นไปตามรูปด้านล่างนี้ครับ ประกอบด้วย 9 ช่องที่คุณต้องเติมให้สมบูรณ์

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
Business Model Canvas, strategyzer.com

ทำไมถึงต้องใช้ Business Model Canvas (BMC)

Canvas Model เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนวัตกรรม และนี่คือเหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรพิจารณาใช้ BMC ในการวางแผนผลิตภัณฑ์และวางแผนธุรกิจ

  • คิดด้วยภาพ (Visual Thinking) : BMC เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีอำนาจตัดสินใจ เข้าใจรูปแบบแผนการตลาดหรือแผนธุรกิจได้อย่างง่ายดาย ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของภาพบนกระดาน แสดงปัจจัยแต่ละส่วนที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างละเอียดและชัดเจน
  • ง่ายต่อการทำซ้ำ : Business Model Canvas คือ โครงสร้างการคิดผ่าน 9 ช่องบนผืนผ้าใบข้างต้น เพียงแค่คุณปริ้นส์หรือวาดรูปแบบของ BMC ก็สามารถนำไปใช้งานที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ช่วยให้คุณและทีมระดมความคิดได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนแผนในอนาคต
  • เข้าใจความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยของธุรกิจ : การใช้ Canvas Model ช่วยให้ทีมผู้บริหารเข้าใจว่า Building Block ทั้ง 9 ช่องเกี่ยวข้องกันอย่างไร และสามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธุรกิจ
  • สั้นและรวบรัด : เครื่องมือนี้สนับสนุนให้แต่ละคนในทีมสามารถเสนอไอเดียหรือคำแนะนำสั้นๆ (บน Post it) เพื่อแปะลงบนผืนผ้าใบ เป็นการช่วยกันระดมความคิด

 

วิธีสร้าง Business Model Canvas

โครงสร้างพื้นฐานของ Canvas Model ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ปัจจัย หรือที่เรียกว่า “9 Building Block” ในขั้นตอนการทำคุณควรเริ่มจากการค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับแต่ละองค์ประกอบอย่างรอบคอบ และจัดเวิร์คช็อปสำหรับการระดมความคิดเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจของคุณ โดยรายละเอียดที่ต้องพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

ก่อนที่จะเริ่มอย่าลืมเตรียม Business Model Canvas Template ของคุณให้พร้อม หรือ ดาวน์โหลดได้ ที่นี่

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

1.Customer Segments (ลูกค้า) 

Customer Segments คือ กลุ่มคนหรือองค์กรต่าง ๆ ที่บริษัทของคุณมุ่งหวังจะเข้าถึงเพื่อขายสินค้าหรือบริการ ในปัจจัยเกี่ยวกับลูกค้าคุณต้องทำความรู้จักลูกค้าในทุกแง่มุม ทั้งความชอบ ลักษณะนิสัย พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัญหาที่ลูกค้ามี เมื่อคุณเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริงแล้ว คุณจะสามารถผลิตสินค้าหรือบริการมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด

ปัจจัยลูกค้า (Customer Segments) จะเชื่อมโยงต่อปัจจัย “Revenue Streams (รายได้ของธุรกิจ)” หากไม่มีลูกค้าบริษัทก็ขาดรายได้และต้องปิดกิจการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ก่อนที่จะไปถึงกลุ่มประเภทของลูกค้า คุณต้องพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มลูกค้าเสียก่อน โดยองค์ประกอบในการกำหนดตลาดขึ้นอยู่กับการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ดังนี้

  • Demographics Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามข้อมูลประชากร เช่น แบ่งตามอายุ เพศ สถานะภาพ ศาสนา เป็นต้น
  • Psychographic Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามหลักจิตวิทยา เป็นการแบ่งตามพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งได้จากการวิจัย สำรวจ หรือสัมภาษณ์
  • Geographic Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามหลักภูมิศาสตร์ เป็นการแบ่งประเภทลูกค้าตามถิ่นฐาน เช่น ตามรหัสไปรษณีย์ ตามจังหวัด ตามภาค เป็นต้น
  • Behavioral Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมซึ่งมาจากการที่ลูกค้ามีปฎิสัมพันธ์กับแแบรนด์แล้วถูกเก็บข้อมูลพฤติกรรมไว้ เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า เป็นต้น

หลังจากที่คุณได้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ แบ่งประเภทของกลุ่มลูกค้าที่คุณต้องการทำตลาด คุณจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า “คุณกำลังสร้างคุณค่าให้กับใคร” และ “ใครคือลูกค้าที่สำคัญของคุณ”

คุณอาจได้คำตอบว่า รูปแบบธุรกิจของคุณเหมาะกับกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ กลุ่มลูกค้าขนาดเล็ก หรือ ต้องแบ่งสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้าหลายกลุ่ม ในขั้นตอนนี้คุณต้องมีสติคิดอย่างรอบคอบ ซึ่งกลุ่มลูกค้ามีอยู่หลายประเภท และนี่คือตัวอย่างบางส่วน

  • Mass market (ตลาดมวลชน) : ธุรกิจที่เน้นตลาด Mass จะผลิตสินค้าหรือบริการออกมาเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าทั้งหมดเหมือนกัน ไม่มีการแยกความแตกต่างทั้งสินค้า การตลาด อาจรวมถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ข้อดีคือ ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าและการตลาดจะต่ำมาก แต่ต้องอาศัยงบประมาณการตลาดที่สูงเพื่อเข้าถึงคนจำนวนมาก ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ Coca-Cola
  • Segmented (การตลาดแบบแบ่งกลุ่ม) : การกำหนดเป้าหมายทางการตลาดที่แตกต่างกัน ทำให้กลุ่มลูกค้ามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น การตลาดรูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “การตลาดแบบแบ่งกลุ่ม” โดยจะพิจารณากลุ่มลูกค้าแยกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักจำนวนหนึ่ง และอาจจะมีกลุ่มย่อยอีกจำนวนหนึ่ง (อาจจะ 2 กลุ่มขึ้นไป) ที่ผ่านการพิจารณาว่า จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้บริษัทได้มากที่สุด ตัวอย่างได้แก่ บริษัทรถยนต์ และบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค
  • Niche Market (การตลาดเฉพาะส่วน) :  “Niche Market” เป็นการตลาดที่มีความเข้มข้นในการทำการตลาด โดยแบรนด์จะใช้ความพยายามและทรัพยากรทั้งหมด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการทำการตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยเฉพาะ กลยุทธ์นี้มีประสิทธิภาพและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากช่วยให้บริษัทโฟกัสไปที่ตลาดเดียวและสร้างกลุ่มลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ขึ้นมา
  • Diversified (การตลาดที่หลากหลาย) : ในการทำตลาดที่เน้นความหลากหลาย บริษัทอาจมีรูปแบบธุรกิจให้บริการลูกค้า 2 กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงและต้องแก้ปัญหาที่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ บริษัท Amazon.com เดิมทีให้บริการขายหนังสือจนภายหลังขายสินค้าออนไลน์ทุกประเภท จนปี พ.ศ. 2549 ได้ให้บริการ Cloud Server

บทความที่เกี่ยวข้อง : Segmentation Targeting Positioning คือ ทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ STP Marketing

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

2.Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ) 

Value Proposition คือ การส่งมอบคุณค่าของบริษัทสู่ลูกค้า อีกมุมมองหนึ่งหมายถึง สาเหตุที่ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการจากคุณแทนที่จะไปใช้บริการบริษัทอื่น ปัจจัยนี้จะเชื่อมโยมกับ Customer Segments อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะว่าการที่คุณจะผลิตสินค้าหรือบริการได้ คุณต้องเข้าอกเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง รับรู้ถึงความต้องการ รับรู้ถึงปัญหา แล้วใช้สินค้าหรือบริการของคุณในการส่งมอบคุณค่าสู่ลูกค้า

ประเภทของการเสนอมูลค่า (Type of Value Proposition)

การส่งมอบคุณค่าของคุณเพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าสามารถดำเนินการได้หลายมิติ เช่น มูลค่าเชิงปริมาณ (ราคาคุ้มค่า หรือ ความเร็วในการบริการ) มูลค่าเชิงคุณภาพ (การส่งมอบประสบการณ์ที่ดี) เหล่านี้คือมูลค่าที่คุณสามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้

  • ความใหม่ : คุณค่าบางอย่างสามารถนำเสนอได้ด้วยความใหม่ ปัจจัยความใหม่ที่ผมนึกออกมักจะเกี่ยวข้องกับสายเทคโนโลยี การเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบชำระเงินแบบใหม่ เซ็นเซอร์อัจฉริยะรุ่นใหม่ หรือ สมาร์ทโฟสรุ่นใหม่
  • ประสิทธิภาพ : การปรับปรุงประสิทธิภาพของสินค้าหรือบริการเป็นวิธีการทั่วไปในการสร้างมูลค่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ คอมพิวเตอร์ กว่า 20 ปีคอมพิวเตอร์ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม แต่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพอยู่ตลอดเวลา เช่น การลดขนาดให้เบาขึ้น เพิ่มความเร็ว เพิ่มพื้นที่จัดเจ็บ การใช้งานกราฟฟิกที่ดีขึ้น
  • ออกแบบ : การออกแบบเป็นองค์ประกอบด้านมูลค่าที่สำคัญ แต่วัดและประเมินผลได้ยาก สำหรับผมมองว่าเป็นเรื่องของคุณค่าทางใจ ในหลายผลิตภัณฑ์การออกแบบที่เหนือกว่าช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแฟชั่น และในยุคหลังอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ใช้การออกแบบเป็นส่วนสำคัญของ Value Proposition ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เครื่องดูดฝุ่นและเครื่องใช้ไฟฟ้าของ Dyson
  • ราคา : การส่งมอบคุณค่าด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่ใกล้เคียงกันในราคาที่ต่ำกว่า เป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ลูกค้าส่วนใหญ่นำปัจจัยด้านราคามาเป็นเรื่องหลัก แบรนด์ที่เป็นตัวอย่างของการใช้ราคาเป็นกลยุทธ์หลักในการส่งมอบคุณค่าคือ Xiaomi แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าสัญชาติจีน ที่ตีตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ด้วยสินค้าราคาไม่สูงมาก สามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก อีกทั้งยังมีการออกแบบที่ทันสมัยอีกด้วย
  • ลดต้นทุน : การช่วยลูกค้าลดต้นทุน เป็นหนึ่งในวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าใครก็อยากจะประหยัดเงินมากขึ้นโดยเฉพาะ ประหยัดเงินจากการลดต้นทุนพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัท OilPureThailand.net ให้บริการยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นในอุตสาหกรรม สิ่งนี้ช่วยให้ลูกค้าลดการซื้อน้ำมันใหม่ ประหยัดเงินจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ปรับปรุงคุณภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

3.Channels (ช่องทางการจัดจำหน่าย) 

Building Block ถัดมาของ Business Model Canvas คือ Channels : ช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นวิธีการที่บริษัทส่งมอบคุณค่าผ่านผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ลูกค้าและผู้ใช้ปลายทาง บางธุรกิจขายให้กับลูกค้าโดยตรงในลักษณะ B2C (Business to Customer) บางธุรกิจขายสินค้าให้กับพาร์ทเนอร์ในลักษณะ B2B (Business to Business) เพื่อให้คู่ค้าไปจำหน่ายต่อ

ธุรกิจของคุณสามารถเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการเลือกกลุ่มลูกค้า Customer Segments (ลูกค้า) ที่คุณได้เลือกไว้ และนี่คือวิธีการหรือช่องทางการจัดจำหน่าย

1.Owned Direct

ช่องทางการขายที่เจ้าของแบรนด์เป็นผู้ขายด้วยตนเอง ไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์หรือร้านค้าปลีกขององค์กรเอง รูปแบบนี้เป็นช่องทางที่สามารถสร้างผลกำไรในอัตราสูง แต่ก็มีอัตราค่าใช้จ่ายสูงในระหว่างการวางระบบและดำเนินการสร้างหน้าร้านเช่นกัน

2.Partner Indirect

การขายผ่านพันธมิตรเป็นกลยุทธ์กระจายสินค้าทางอ้อม จะเชื่อมโยงกับปัจจัย Key Partnerships (พันธมิตรหลัก) การขายผ่านเครื่อข่ายพันธมิตรอัตราผลกำไรจะลดลง แต่แลกมาด้วยการเข้าถึงลูกค้าที่มากกว่าจากจุดแข็งของพันธมิตรแต่ละราย นี่คือตัวอย่างการขายผ่านพันธมิตร

  • Retailer 
  • Intensive distribution 
  • Selective distribution
  • Exclusive distribution
  • Wholesaler

 

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

4.Customer Relationships (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) 

Customer Relationships คือ ส่วนประกอบที่สำคัญของ Canvas Model เป็นส่วนที่จะกำหนดว่าความสัมพันธ์ที่คุณสร้างขึ้นกับลูกค้าจะมีลักษณะใด ในหัวข้อนี้จะเป็นแก่นกลางระหว่าง Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ) กับ Customer Segments (ลูกค้า) คุณอาจจะต้องคิดในมุมของลูกค้า และตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ที่ลูกค้าอยากได้รับจากคุณหรือแบรนด์

ความสัมพันธ์ที่คุณมีกับลูกค้าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อประสบการณ์ของลูกค้า คุณอาจจะต้องออกแบบ Customer Journey Map เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณอาจพิจารณาจากประเภทของความสัมพันธ์เหล่านี้

ประเภทของความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าที่ควรพิจารณา

  • Personal assistance : รูปแบบแรกของความสัมพันธ์คือ การช่วยเหลือแบบส่วนบุคคล เป็นรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการสื่อสารของมนุษย์ ตัวอย่างรูปแบบของการบริหารประเภทนี้คือ คอลเซ็นเตอร์ที่คอยช่วยเหลือ แอดมินเพจที่ช่วยรับออเดอร์และตอบคำถาม
  • Dedicated personal assistance : การช่วยเหลือส่วนบุคคลแบบเฉพาะเจาะจง เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น รูปแบบความสัมพันธ์นี้จะเข้าไปทำความรู้จักและเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดความเชื่อใจ ไว้ใจ และมีความหมายกับลูกค้าในระยะเวลาที่ยาวนาน ตัวอย่างได้แก่ เซลล์ขายประกันชีวิต ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล หรือเซลล์ที่ต้องขายแบบให้คำปรึกษา
  • Self-service : ลูกค้าที่ให้บริการตัวเองจะตรงกันข้ามกับ 2 ข้อแรกอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากลูกค้าพึงพอใจที่จะช่วยเหลือตัวเอง บริษัทไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ใด ๆ กับพวกเขา ตัวอย่างคือ บริการตู้ซักผ้าหยอดเหรียญ
  • Automated services : ความสัมพันธ์ประเภทนี้เป็นการผสานระหว่างรูปแบบของ Self-service เข้ากับระบบอัตโนมัติที่บริษัทสร้างขึ้นด้วย “ Business Process Management ” กระบวนการเหล่านี้สามารถออกแบบมาเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ตัวอย่างคือ ระบบซื้อประกันโควิทออนไลน์
  • Communities : การสร้างกลุ่มคนหรือชุมชน เป็นความสัมพันธ์ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มของลูกค้าหรือผู้ที่สนใจเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน ในหลายกรณีลูกค้าที่ชื่นชอบแบรนด์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแทนบริษัท ตัวอย่างคือ Facebook Group กลุ่มที่พูดคุยเกี่ยวกับสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน

และนี่คือตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีความสัมพันธ์อีกหลายประเภทที่คุณสามารถพิจารณานำไปปรับใช้กับบริษัทของคุณได้ ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบใด อย่าลืมคำนวนต้นทุนประกอบด้วยนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : [CRM] Customer Relationship Marketing คือ หลักการตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

5.Revenue Streams (กระแสรายได้)

Revenue Streams คือ แหล่งที่มาของรายได้ของกิจการ มีคำเปรียบเปรยว่า “ถ้าลูกค้าคือหัวใจของธุรกิจ รายได้หรือกระแสเงินสด คือ เส้นเลือดใหญ่” รายได้ของธุรกิจเริ่มจากกิจการ ส่งมอบคุณค่า (Value Propositions) จำหน่ายผ่านช่องทางขาย (Channels) สู่ลูกค้า (Customer Segments)

คำถามที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับรายได้คือ

  1. มูลค่าเท่าไหร่ที่ลูกค้าเต็มใจจ่ายเพื่อสินค้าหรือบริการของคุณ ?
  2. พวกเขาต้องการจ่ายเงินในรูปแบบใด ?
  3. Revenue Streams แต่ละรายการคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของรายได้โดยรวม

ถ้าคุณกำลังวางแผนธุรกิจ ยังไม่ได้พิจารณาถึงโมเดลการสร้างรายได้ ลองพิจารณาเกี่ยวโมเดลรายได้ในหัวข้อถัดไปครับ

ประเภทของกระแสรายได้ (Revenue Streams)

  • Asset sale : การขายทรัพย์สินหรือสินค้า เป็นวิธีการหารายได้ที่แพร่หลายที่สุด เพียงคุณผลิตสินค้าขายให้กับลูกค้า ตัวอย่างบริษัท Apple ขายโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
  • Usage fee : กระแสรายได้จากค่าธรรมเนียม เป็นโมเดลการหารายได้จากการคิดค่าบริการตามปริมาณการใช้ข้อมูลของลูกค้า ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ AIS, True จะเรียกเก็บเงินคุณมากขึ้นตามปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
  • Subscription fees : กระแสรายได้จากการสมัครสมาชิก เป็นรูปแบบการหารายได้จากการสมัครใช้บริการอย่างต่อเนื่องของลูกค้า เพื่อแลกกับการเข้าถึงสินค้าหรือบริการบางอย่าง ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการ Fitness ที่คุณต้องจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนเพื่อสามารถเข้าไปออกกำลังกายได้ หรือการสมัครสมาชิกรายเดือน Netflix เพื่อดูหนังออนไลน์แบบถูกลิขสิทธิ์ เป็นต้น
  • Licensing : ในกรณีนี้คือเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยี เนื้อหา ทำนอง รูปภาพ อนุญาตให้บุคคลที่สามใช้เนื้อหาหรือลิขสิทธิ์ของตนเองแต่มีค่าธรรมเนียม ตัวอย่างที่เราพบเห็นได้บ่อย เช่น กรณีนักร้องไปเล่นคอนเสิร์ตแล้วร้องเพลงของบุคคลอื่นหรือค่ายเพลงอื่น ผู้ร้องต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของเพลงด้วย เป็นต้น
  • Brokerage fees : กระแสรายได้ในรูปแบบค่านายหน้า เกิดจากการเป็นตัวแทนหรือเป็นสื่อกลางเพื่อดำเนินการซื้อขายระหว่าง 2 บุคคลจนเสร็จสมบูรณ์ นายหน้าจะได้ค่าตอบแทนจากค่าคอมมิชชั่น ตัวอย่างเช่น นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
  • Advertising : รายได้จากค่าโฆษณา เป็นผลมาจากค่าธรรมเนียมในการโฆษณาสินค้าหรือบริการให้กับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากค่าโฆษณาเป็นหลักคือ ธุรกิจสื่อ ภายหลังแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, Youtube หรือ Google ก็มีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณาเช่นกัน

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

6.Key Activities (กิจกรรมหลัก) 

Key Activities คือ กิจกรรมหลักหรืองานสำคัญที่สุดที่บริษัทต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จ บริษัทต้องดำเนินการใดๆที่ส่งผลโดยตรงต่อโมเดลธุรกิจขององค์กรเป็นหลัก หากคุณดำเนินธุรกิจที่เน้นการผลิต กิจกรรมหลักอาจจะเป็นการพัฒนากระบวนการผลิต การวิจัยพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค หรือถ้าธุรกิจคุณอยู่ในภาคการให้บริการ คุณค่าที่องค์กรส่งมอบคือการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า รักษาความสัมพันธ์ระยะยาว เป็นต้น

ในการประเมินหรือวางแผนธุรกิจ Key Activities ของคุณ จะแปรผันตามหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ โมเดลการหารายได้ ประเภทของลูกค้า รูปแบบของการตลาด รวมถึงช่องทางการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า แต่ถ้าคุณกำลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนกิจการหรือวางแผนโปรเจคใหม่ ลองเริ่มจากคำถามเหล่านี้ครับ

  1. จากปัจจัย ส่งมอบคุณค่า (Value Propositions) กิจกรรมประเภทใดที่สำคัญต่อธุรกิจ?
  2. กิจกรรมประเภทใดที่สำคัญต่อช่องทางการจัดจำหน่าย (Channels)?
  3. รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกค้า ควรมีกิจกรรมสำคัญอย่างไรเพื่อรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ (Customer Relationships)?
  4. กิจกรรมประเภทใดที่เป็นพื้นฐานของแหล่งรายได้ของกิจการ (Revenue Streams)?

เมื่อคุณพิจารณาคำตอบของคำถามได้แล้ว ลองพิจารณาประเภทของกิจกรรมหลักกันบ้างครับ

ประเภทของกิจกรรมหลัก

  • กิจกรรมการผลิต : กิจกรรมการผลิตใน Business Model Canvas เกี่ยวข้องกับการออกแบบการผลิตสินค้าที่ยอดเยี่ยมและการส่งมอบสู่ลูกค้า เพื่อให้ปัจจัยการส่งมอบคุณค่า (Value Propositions) เหนือกว่าคู่แข่ง บรรลุผลการแข่งขันในระยะยาวโดยการจัดการผลิต ประกอบด้วยกระบวนการหลายอย่าง ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การเลือกกระบวนการผลิต การพิจารณากำลังการผลิตที่เหมาะสม การวางแผนผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต การควบคุมคุณภาพ การควบคุมต้นทุน การควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง และการบำรุงรักษาเครื่องจักร
  • การแก้ปัญหา : การแก้ปัญหาให้ลูกค้าเป็นหนึ่งในกระบวนการ การส่งมอบคุณค่า (Value Propositions) เชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบประสบการณ์ที่ดี การที่ธุรกิจสามารถเข้าไปแก้ปัญหาให้ลูกค้าในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ การเข้าไปช่วยลดต้นทุนให้ลูกค้า ถือเป็นหนึ่งการกระบวนการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย โรงพยาบาลเป็นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ หรือผู้ให้ความรู้ในการแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • แพลตฟอร์ม / เครือข่าย : โมเดลธุรกิจที่ออกแบบโดยใช้แพลตฟอร์มเป็นทรัพยากรหลัก ธุรกิจลักษณะนี้จะมีกิจกรรมหลักที่เกี่ยวข้องกับระบบแพลตฟอร์มหรือเครือข่าย การพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบปฎิบัติการเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ตัวอย่างกิจกรรมที่เกิดขึ้น ได้แก่ การสร้างแบบจำลอง การพัฒนา UX/UI การทดสอบ ตัวอย่างธุรกิจแพลตฟอร์ม ได้แก่ บริษัท Amezon.com ต้องพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ธุรกิจ Netflix ผู้ให้บริการดูหนังออนไลน์ถูกลิขสิทธิ์ มีกิจกรรมหลักคือการพัฒนาระบบที่สามารถเสนอหนังที่ตรงใจลูกค้า เป็นต้น

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

7.Key Resources (ทรัพยากรหลัก) 

Key Resources คือ ทรัพยากรหลักที่ธุรกิจคุณต้องใช้เพื่อให้กิจกรรมหลัก (Key Activities) ดำเนินการต่อไปได้ ทรัพยากรหลักของคุณจะช่วยให้องค์กรสร้างข้อเสนอทางคุณค่า การเข้าถึงลูกค้า สร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อสร้างได้รายจากโมเดลธุรกิจของคุณ

ในขั้นตอนนี้คุณต้องพิจารณาคำถามเหล่านี้เพื่อช่วยพิจารณา Key Resources ที่เหมาะสม

  1. Value Propositions : คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบให้ลูกค้าต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง?
  2. ช่องทางการจัดจำหน่ายที่องค์กรต้องการ
  3. ทรัพยากรใดที่ช่วยให้องค์กรสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้าได้

4 ประเภทของแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ

  • Physical : ทรัพยากรทางกายภาย คือ ทรัพยากรที่จับต้องได้ เช่น เครื่องจักร โรงงาน อาคาร ยานพาหนะ ระบบหน้าร้าน (Point of Sales) เครือข่ายการจัดจำหน่าย เป็นต้น ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตรถยนต์ทรัพยากรทางกายภาพคือ เครื่องจักรและโรงงาน ส่วนธุรกิจค้าปลีกอย่าง 7-11 ทรัพยากรทางกายภาพคือ เครือข่ายหน้าร้านและระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น
  • Intellectual : ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่แบรนด์มีสิทธิความเป็นเจ้าของ ตัวอย่างเช่น ชื่อแบรนด์ สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ รายชื่อลูกค้า ความรู้ของคุณ หรือแม้แต่พนักงานของคุณก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาเช่นกัน บริษัทเทคโนโลยีสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจากการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา แต่ก็ต้องแลกมาด้วยต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
  • Human : ทรัพยากรบุคคล เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในองค์กร แต่ก็เป็นส่วนที่ถูกมองข้ามได้ง่ายเช่นกัน ทุกองค์กรต้องการคนเก่ง คนมีความสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรทั้งสิ้น คุณต้องคิดให้ออกว่าบุคลากรตำแหน่งใดบ้างที่สำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตขององค์กร เช่น ตำแหน่งนักออกแบบของบริษัทแฟชั่น โปรแกรมเมอร์ของบริษัทเทคโนโลยี หรือ พนักงานขายที่ทุกบริษัทต้องการ
  • Financial : ทรัพยากรทางการเงิน เป็นสิ่งที่สำคัญต่อทุกบริษัท ในปัจจัยทรัพยากรหลัก (Key Resources) บริษัทควรวางแผนการเงินทั้งรูปแบบของเงินสด วงเงินเครดิต การปันผล และ การกระจายหุ้น อย่างที่บอกว่าทรัพยากรด้านการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญต่อทุกองค์กร แต่ก็จะมีบางธุรกิจที่ต้นทุนทางการเงินมีผลอย่างมากต่อการแข่งขัน ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน และ ธุรกิจให้สินเชื่อ

 

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

8.Key Partnerships (พันธมิตรหลัก)

เรามาถึง Building Block ที่ 8 ของ Business Model Canvas คือ Key Partnerships : หุ้นส่วนทางธุรกิจ หมายถึง การร่วมมือกันระหว่างบริษัท 2 แห่งขึ้นไปรวมตัวกันเป็นพันธมิตรเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า รูปแบบของความสัมพันธ์อาจเป็นความสัมพันธ์แบบหลวมๆ โดยที่ทั้ง 2 บริษัทยังคงรักษาความเป็นอิสระและมีเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจของตนเอง หรือ รูปแบบของการเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นอย่างการเปิดบริษัทร่วมกัน

Key Partnerships หมายถึง เครือข่ายซัพพลายเออร์และคู่ค้าที่ทำให้รูปแบบธุรกิจมีประสิทธิผล เหตุผลในการเลือกหุ้นส่วนมีหลายปัจจัยในการพิจารณา การเป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตรที่ดีของซัพพลายเออร์ มีส่วนสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวด้วย ในส่วนนี้คุณต้องพิจารณาเลือกอย่างรอบคอบ โดยอาจเริ่มจากคำถามเหล่านี้

  1. ความร่วมมือใดที่มีความสำคัญต่อธุรกิจของเรา ?
  2. ซัพพลายเออร์ที่สำคัญของเราคือใคร ?
  3. ซัพพลายเออร์และคู่ค้ารายใดเป็นผู้หาทรัพยากรหลักของเรา ?
  4. ความร่วมมือประเภทใดที่เหมาะกับความต้องการของเรา ?

หลังจากตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้ว คุณลองพิจารณาจากประเภทของพันธมิตรประกอบดู

ประเภทของพันธมิตร

  • Co-opetition คือ การแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ภายใต้ความร่วมมือกัน เพื่อช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งกันและกัน ถึงแม้ว่าสุดท้ายจะต้องมาแข่งขันกันในอนาคตก็ตาม ตัวอย่างเช่น Google เข้าสนับสนุน Mozilla (เว็บเบราว์เซอร์ Firefox) ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ Google Chrome เพื่อจำกัดการขยายอิทธิพลของ Microsoft Internet Explorer และ Apple Safari
  • Joint-Ventures หรือ กิจกรรมร่วมค้า คือ การที่บริษัทตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปมีความสนใจร่วมกันในการพัฒนาธุรกิจใหม่ อาจจะมาจากการเกิดขึ้นของตลาดใหม่หรือการเปิดตลาดในต่างภูมิภาค ตัวอย่างเช่น การร่วมมือกันระหว่าง UBER และผู้ผลิตรถยนต์ Volvo ที่มีเป้าหมายในการร่วมทุนเพื่อพัฒนาและผลิตรถยนต์ไร้คนขับ
  • Buyer-Supplier Relationships คือ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (ซัพพลายเออร์) ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ความสัมพันธ์ลักษณะนี้เป็นความสัมพันธ์ทางการค้าเพื่อจุดประสงค์ว่า บริษัทจะมีแหล่งทรัพยากรในการผลิตที่เชื่อถือได้และมั่นใจได้ว่า ซัพพลายเออร์จะมีความต่อเนื่องในการส่งสินค้าให้คุณได้ตามต้องการ

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

9.Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน) 

Cost Structure คือ โครงสร้างประเภทของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ มักประกอบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่และค่าใช้จ่ายผันแปร โครงสร้างของตนทุน (Cost Structure) จะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การกำหนดราคาสินค้า เช่น การกำหนดราคาตามต้นทุน นอกจากนี้โครงสร้างต้นทุนยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กร ถ้าบริหารจัดการดีจะช่วยลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น ในหัวข้อนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

ชนิดของโครงสร้างต้นทุน (Types of Cost Structure)

  • Cost-driven : รูปแบบธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยต้นทุน มักมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แนวทางนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและรักษาโครงสร้างต้นทุนให้ต่ำเพื่อความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจการบินใครที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนค่าเชื้อเพลิง และต้นทุนค่าซ่อมบำรุงเครื่องบินได้ต่ำที่สุดจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง
  • Value-driven : บริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยมูลค่า มักจะไม่ค่อยกังวลกับผลกระทบด้านต้นทุนมากนัก โมเดลธุรกิจในรูปแบบนี้ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าแทน ตัวอย่างเช่น บริการระดับพรีเมี่ยม, บริการผู้ช่วยส่วนบุคคลระดับสูง หรือสำหรับธุรกิจสายการบิน คือ ที่นั่งชั้น First Class ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวก ความพรีเมี่ยม ให้กับลูกค้าคนพิเศษ

สำหรับ Business Model Canvas แบ่งโครงสร้างต้นทุนออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

  • 1.ต้นทุนคงที่ (Fix Cost) : ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ยังคงเท่าเดิมแม้ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนเท่าใดก็ตาม ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าแรงพนักงาน ค่าเสื่อมของสินทรัพย์ถาวร ดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น
  • 2.ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)  : ต้นทุนผันแปร คือ ต้นทุนที่ปรับเปลี่ยนตามสัดส่วนของปริมาณการผลิต ตัวอย่างเช่น ค่าวัสดุทางตรง ค่าแรงงานอย่างค่าโอที สาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) โบนัส ค่าคอมมิชชั่น และค่าใช้จ่ายทางการตลาด
  • 3.การประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) : การประหยัดจากการขยายการผลิต คือ เมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง ซึ่งทำให้การผลิตขนาดใหญ่ได้เปรียบกว่าการผลิตขนาดเล็ก (แต่การผลิตขนาดใหญ่ก็มีข้อเสียเปรียบบางอย่าง)
  • 4.การประหยัดต่อขอบเขต (Economies of scope) : เกิดขึ้นเมื่อหน่วยธุรกิจรายหนึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ จากการผลิตผลผลิตจำนวน 2 ชนิดหรือมากกว่า แทนที่จะผลิตผลผลิตเพียงชนิดเดียว หรือให้มีการผลิตผลผลิตแต่ละชนิดโดยหน่วยธุรกิจแต่ละราย

Business Model Canvas คืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

สรุป

BMC : Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถเขียนแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น กระชับ และทีมของคุณสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ความเชื่อมโยงหลักของ Business Model Canvas จะเริ่มจาก 2 ส่วนคือ ส่วนของ การส่งมอบคุณค่าสู่ลูกค้าของคุณ ผ่านกระบวนการขายและสร้างสายสัมพันธ์เพื่อหารายได้ ส่วนปัจจัยอื่นของ Building Block เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยทำให้ขั้นตอนที่ผมได้กล่าวมาสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ถึงตาคุณแล้วครับที่จะนำ Business Model Canvas  ไปลองเขียนแผนธุรกิจของบริษัทตัวเองออกมา ใช้งานแล้วได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไรอย่าลืมกลับมาบอกเล่าให้เราได้ฟังบ้างนะครับ

Business Model Canvas มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

รายละเอียด Business Model Canvas.
Customer Segment (กลุ่มลูกค้า) ... .
Value proposition (การเสนอคุณค่า) ... .
Channel (ช่องทาง) ... .
Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า) ... .
Revenue Streams (กระแสรายได้) ... .
Key Resources (ทรัพยากรหลัก) ... .
Key Activities (กิจกรรมหลัก) ... .
Key Partner (พันธมิตรหลัก).

The Business Model Canvas คืออะไร

Business Model Canvas (BMC) คือ การอธิบายองค์ประกอบของธุรกิจหรือโปรเจคซึ่งมีองค์ประกอบ ส าคัญ 9 ส่วน ในแบบที่เรียบง่ายบนหน้ากระดาษเพียงแผ่นเดียว เพื่อให้ทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กร สามารถสื่อถึงสิ่งเดียวกันได้อย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย และ นาไปใช้งานได้ทันที

โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) มีองค์ประกอบด้วยกันกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้างพร้อมอธิบาย

Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจ ผ่านองค์ประกอบ 9 อย่าง ประกอบด้วย 1.ลูกค้า (Customer Segments—CS) ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ 2.คุณค่า (Value Propositions—VP) จุดขายของสินค้าหรือบริการ 3.ช่องทาง (Channels—CH) สื่อ แพลตฟอร์ม รูปแบบ และวิธีในการสื่อสารไปถึงลูกค้า

Revenue Model มีอะไรบ้าง

*** Revenue Model มี6 แบบ คือ 1. The Web Catalog Model 2. Digital Content Revenue Models 3. Advertising-Supported Revenue Models 4. Advertising-Subscription Mixed Revenue Models 5. Fee-for-Transaction Revenue Models 6. Fee-for-Service Revenue Models.