สัมภาษณ์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ลาดกระบัง

Ep.21 พอร์ตสอบติดมหาลัย คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สัมภาษณ์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ลาดกระบัง
สัมภาษณ์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ลาดกระบัง

Ep.21 ตัวอย่างพอร์ตสอบติดมหาลัย

คณะ : วิทยาศาสตร์

สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์

มหาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โครงการ : โครงการคัดเลือกตรงประเภทเรียนดี

พอร์ตโฟลิโอ โดย : นายคเณศ บุญศิริ

โรงเรียน : กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม

*ตัวอย่างพอร์ตโฟลิโอที่ส่งเข้าร่วมประกวดโครงการคนทำพอร์ต ปี 2563

ตัวอย่างพอร์ตโฟลิโอหรือแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่ใช้ในการสมัครสอบมหาลัยในระบบ TCAS ซึ่งพอร์ตโฟลิโอเล่มที่นำมาเผยแพร่นี้ คือพอร์ตโฟลิโอที่ได้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย พี่ๆแอดมิน เพจ คนทำพอร์ต ได้รวบรวมมาจากกิจกรรมประกวดพอร์ตโฟลิโอ ปี 2563 ให้น้องๆ มัธยม Dek TCAS เพื่อศึกษาเป็นแนวทางวิธีทำพอร์ตโฟลิโอ การสอบสัมภาษณ์พอร์ตโฟลิโอ แนวทางการเตรียมตัวทำพอร์ตโฟลิโอ การเก็บรวบรวมกิจกรรม เกียรติบัตรและผลงานต่างๆ ในการทำพอร์ตโฟลิโอ

พี่ๆแอดมินคนทำพอร์ต หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พอร์ตโฟลิโอเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆทุกคนที่ต้องการสอบเข้ามหาลัยในรอบแฟ้มสะสมผลงานหรือพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) ในระบบ TCAS

ตัวอย่างพอร์ตด้านใน

ประสบการณ์สัมภาษณ์

พอเข้าห้องสัมภาษณ์

อาจารย์ให้แนะนำตัวและขอดูPortfolio

ผมตอบว่าชื่อคเณศ บุญศิริ มาจากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐมครับ

พออาจารย์เห็นหน้าปกอาจารย์ถามว่าถ่ายที่ไหน

ผมตอบว่าตัดต่อครับ *-*

อาจารย์ก็ขำๆ

อาจารย์ถามว่าทำไมถึงอยากเข้ามหาวิทยาลัยนี้

ผมตอบว่าชอบที่นี่ เพราะเคยมาเข้าค่ายและมา Open houseแล้วครับ

อาจารย์ถามว่าเคยมาค่ายอะไรบ้าง

ผมตอบว่าค่าย INC camp10 และค่าย TueAd 12ครับ

อาจารย์ถามว่าทำไมถึงอยากเข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์

ผมตอบว่าได้ไปอ่านหลักสูตรมาแล้ว รู้สึกชอบและอยากเรียนครับ

อาจารย์ถามว่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดียต่างกันอย่างไร(เนื่องจากในมหาวิทยาลัยมีสาขานี้)

ผมตอบว่าวิศกรรมคอมพิวเตอร์จะเน้นไปทางฮาร์ดแวร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์จะเน้นไปทางซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นไปทางจัดการ-ใช้งานจริง วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดียจะเน้นเกี่ยวกับการทำมัลติมีเดียครับ

อาจารย์ถามว่าเคยเขียนโปรแกรมภาษาอะไรบ้าง(อาจารย์เปิดPortแล้วเห็นว่ามีSkillการเขียนโปรแกรมอยู่)

ผมตอบว่าเคยเขียนภาษา C C++ Pythonครับ

อาจารย์ก็ถามผมต่อว่าชอบภาษาไหนที่สุด

ผมตอบว่าภาษา C เพราะใช้บ่อยที่สุดครับ

อาจารย์ถามว่าเรียนเขียนโปรแกรมจากที่ไหน

ผมตอบว่าที่โรงเรียนมีสอนภาษา Cเบื้องต้น และได้เรียนต่อในค่ายสอวน.คอมพิวเตอร์ทั้ง C และ C++ครับ

อาจารย์ถามความแตกต่างระหว่างภาษา Cและ C++

ผมตอบว่า C++ จะออกไปทางObject-Oriented Programming(OOP)มากกว่า Cครับ

อาจารย์ถามว่าProjectที่ทำนี่เราทำอะไรยังไง(อาจารย์เปิดPortแล้วมี Projectที่ผมเคยทำใส่ไว้อยู่)

ผมตอบว่าทำเป็นโมเดลไฟจราจร โดยจะมีไฟจราจรอยู่สองที่คือตรงถนนและทางม้าลาย ปกติถนนจะเป็นไฟเขียวและทางม้าลายจะเป็นไฟแดง หากว่าคนต้องการจะข้ามถนนให้กดปุ่ม จากนั้นไฟจราจรตรงถนนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลืองจากนั้นก็เป็นไฟแดง ไฟจราจรตรงทางม้าลายจะกลายเป็นไฟเขียว หลังจากผ่านไป 10 วินาทีก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมครับ

ปริญญาตรี : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 136 หน่วยกิต

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบงานทางด้านคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพในสายงานทางคอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ อย่างเช่น ด้านการพัฒนาโปรแกรมบนเว็บและโมบายด์แอปพลิเคชัน ด้านการพัฒนาโปรแกรมระบบงานอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ด้านการทดสอบเพื่อให้มีซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ด้านการพัฒนาเกมและสื่อผสม ด้านการออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล คลังข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ความรู้จากเหมืองข้อมูลและ Big Data ในแนวทางของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ด้านการออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้านการจัดการระบบความปลอดภัยบนการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing System) ด้านการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ เป็นต้น

การเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ของประเทศ และประกอบด้วยกลุ่มวิชาเลือก ดังต่อไปนี้

- กลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

- กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

- กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และมัลติมีเดีย

- กลุ่มวิชาการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงบูรณาการ

- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง

โดยมีกลุ่มวิชาการศึกษาทางเลือกแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือก เพื่อให้นักศึกษาได้เลือกแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตนเอง 1 ทางเลือก

1) โครงงานพิเศษ มีการจัดการเรียนการสอนที่ภาควิชา ในระยะเวลา 1 ปี

2) สหกิจศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนแบบทำงานจริงที่บริษัทที่ทางภาควิชามีเครือข่าย ในระยะเวลา 6-7 เดือน

3) การศึกษาหรือการปฏิบัติการฝึกงานต่างประเทศ ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 4 เดือน

เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มีคุณสมบัติดังนี้

(1) สามารถทำงานด้าน ICT รองรับทางด้านธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น

(2) มีศักยภาพด้าน ICT เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

(3) มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณอาชีพ

โดยอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา คือ

(1) นักพัฒนาเว็บและโมบายด์แอปพลิเคชัน

(2) นักพัฒนาโปรแกรมระบบงานฝังตัว (Embedded System)

(3) นักพัฒนาโปรแกรมระบบงานอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT : Internet of Things)

(4) นักพัฒนาระบบงานสารสนเทศ

(5) นักทดสอบโปรแกรมและระบบงานสารสนเทศ

(6) นักวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์

(7) นักบริหารโครงการและจัดการกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์เชิงอุตสาหกรรม

(8) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานและฐานข้อมูล

(9) ผู้ดูแลและพัฒนาบนระบบฐานข้อมูล ระบบคลังข้อมูลและ Big Data

(10) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)

(11) ผู้ดูแลและจัดการระบบเครือแม่ข่ายและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

(12) ผู้ดูแลและจัดการระบบความปลอดภัยบนการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing System)

==>> ขอฝากบอกนะครับ ....ถ้าไม่ชอบเขียนโปรแกรม ถ้าไม่ชอบวิเคราะห์โจทยปัญหาระบบงาน หรือ ถ้าไม่ชอบสมการด้าน Data Science ....ไม่ต้องมาสมัครนะครับ อึดอัดแน่นอนครับ

Web Site : http://www.comsci.science.kmitl.ac.th/cs/

ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตึกจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ 1 ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง