กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ

หัวใจของคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดใหญ่กว่ากำปั้นของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทุกๆวันหัวใจจะเต้นประมาณ 100000 ครั้ง สูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2000 แกลลอน ระบบไหลเวียนโลหิตของเราประกอบไปด้วยหลอดเลือด ซึ่งเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากหัวใจห้องซ้ายล่าง Left Ventricle ฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เรียกว่า Aorta แล้วต่อไปยังหลอดเลือดแดง Artery ,Aterioles ต่อเส้นเลือดฝอย capillaries เลือด ณ.บริเวณนี้จะอุดมไปด้วยอาหาร และออกซิเจนซึ่งแลกเปลี่ยนกับเนื้อเยื่อ แล้วไหลกลับสู่หลอดเลือดดำ vein ซึ่งนำเข้าหลอดเลือดดำใหญ่และเข้าสู่หัวใจ

โครงสร้างของหัวใจ


กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ

หัวใจของเราประกอบด้วย 4 ห้อง ห้องข้างบนเรียก atrium มีทั้งซ้ายและขวา ส่วนห้องข้างล่างเรียก ventricle ซึ่งก็มีทั้งซ้ายและขวา ระหว่างหัวใจห้องข้างบนและล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้นอยู่

  • tricuspid valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา และล่างขวา
  • pulmonary or pulmonic valveกั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวากับหลอดเลือดดำ
  • mitral valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย
  • aortic valve กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือด aorta

หัวใจจะรับเลือดดำเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา Right atrium ไหลผ่านลงหัวใจห้องล่างขวา Right ventricle ซึ่งจะฉีดเลือดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด เลือดที่ฟอกแล้วจะไหลกลับเข้าหัวใจที่ห้องซ้ายบน LEFT Atrium แล้วไหลลง Left ventricle ซึ่งจะสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดง

สาเหตุของโรคหัวใจวาย | การวินิจฉัยโรคหัวใจวาย | อาหารสำหรับโรคหัวใจวาย | สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจวาย | หกขั้นตอนการดูแลโรคหัวใจที่บ้าน | ยารักษาโรคหัวใจ | การปรับพฤติกรรม | อาการโรคหัวใจวาย | การรักษาหัวใจวาย การทำงานของหัวใจ | ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย

ในขณะเดียวก็ทำหน้าที่ลำเลียงของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญและการสันดาปในร่างกาย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรดยูริก และแอมโมเนีย ไปขับออกจากร่างกายยังอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ระบบไหลเวียนโลหิตยังทำหน้าที่ควบคุมและรักษาดุลของน้ำและอุณหภูมิภายในร่างกายอีกด้วย

กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ

ระบบไหลเวียนโลหิตทั้งหมดอาศัยการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. เลือด (Blood) : ประกอบด้วยน้ำเลือด (Plasma) ประมาณร้อยละ 55 ซึ่งอยู่ในสถานะของเหลว และเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร ฮอร์โมน ก๊าซ และแร่ธาตุต่าง ๆ ไปยังเซลล์

เม็ดเลือดสามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย

เกล็ดเลือด (Platelet) คือ ส่วนประกอบของเซลล์ขนาดเล็กที่ถูกสร้างจากไขกระดูก ไม่มีนิวเคลียส ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน มีอายุราว 8 ถึง 10 วันในกระแสเลือด ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาให้เกิดการแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผล

เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) คือ เซลล์เม็ดเลือดที่ถูกสร้างจากไขกระดูก มีรูปร่างคล้ายจาน ไม่มีนิวเคลียส มีรอยบุ๋มตรงกลางเซลล์ มีอายุราว 120 วัน ก่อนถูกทำลายโดยฟาโกไซต์ (Phagocyte) ในม้ามและตับ เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่งและถ่ายโอนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ผ่านการจับของสารสีม่วงแดงที่เรียกว่า “ฮีโมโกลบิน” (Hemoglobin)

เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood Cell) คือ เซลล์เม็ดเลือดที่ถูกสร้างจากไขกระดูก มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างกลมแบน มีนิวเคลียส ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี้ (Antibody) เพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม สร้างภูมิคุ้มกัน และทำลายเชื้อโรค

กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
องค์ประกอบของเลือด

2. หลอดเลือด (Blood Vessels) : ท่อลำเลียงเลือดที่ทอดแขนงจากหัวใจไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเป็นการทำงานร่วมกันของหลอดเลือดแดง (Artery) ที่นำเลือดซึ่งมีปริมาณออกซิเจนสูงออกจากหัวใจส่งต่อไปยังหลอดเลือดฝอย (Capillary) ที่มีขนาดเล็ก แตกแขนงแทรกซึมอยู่ในเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ก่อนที่หลอดเลือดฝอยจะรับเลือดดำหรือเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำออกจากเซลล์ส่งต่อไปยังหลอดเลือดดำ (Vein) ที่นำเลือดกลับสู่หัวใจอีกครั้ง

กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
หลอดเลือดชนิดต่าง ๆ ภาพประกอบ : Richard Foster

3. หัวใจ (Heart) : อวัยวะที่มีกล้ามเนื้อชนิดพิเศษ ซึ่งทำการบีบตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยภายในหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องมีการเรียงลำดับตามการไหลเวียนโลหิตของหัวใจ ดังนี้

หัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) คือ ส่วนที่รับเลือดดำหรือเลือดที่ผ่านการใช้งานจากทุกส่วนของร่างกาย
หัวใจห้องล่างขวา (Right Ventricle) คือ ส่วนที่รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา เพื่อส่งไปยังปอด
หัวใจห้องบนซ้าย (Left Atrium) คือ ส่วนที่รับเลือดแดงซึ่งผ่านการฟอกจากปอด
หัวใจห้องล่างซ้าย (Left Ventricle) คือ ส่วนที่รับเลือดแดงจากหัวใจห้องบนซ้ายก่อนส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกาย จึงเป็นส่วนของหัวใจที่ทำงานหนักที่สุด มีผนังหัวใจหนาที่สุด เพื่อทำการสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
กายวิภาคของหัวใจมนุษย์

นอกจากนี้ ในหัวใจยังมีผนังหรือเนื้อเยื่อแข็งแรงกั้นระหว่างหัวใจซีกซ้ายและขวา รวมถึงห้องหัวใจด้านบนและด้านล่างของแต่ละซีก และมีลิ้นหัวใจทำหน้าปิดกั้นไม่ให้เลือดเกิดการไหลย้อนกลับ ดังนั้น การไหลเวียนของเลือดในร่างกายจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ

กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ
กระบวนการทํางานของระบบไหลเวียนโลหิต5ข้อ

ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยในธรรมชาติสามารถจำแนกออกเป็น 2 ระบบหลัก คือ ระบบหมุนเวียนโลหิตแบบวงจรปิด (Close Circulatory System) ที่เลือดไหลไปตามเส้นเลือดผ่านหัวใจและเส้นเลือดต่าง ๆ เหมือนในมนุษย์ ซึ่งมักพบในสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ ขณะที่ระบบหมุนเวียนโลหิตแบบวงจรเปิด (Open Circulatory System) คือ ระบบที่เลือดมีการไหลออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือดผ่านช่องว่างระหว่างลำตัวที่เรียกว่า “เฮโมซีล” (Haemocoel) หรือช่องว่างระหว่างอวัยวะ ซึ่งมักพบในสัตว์จำพวกแมลง กุ้ง ปู และหอย เป็นต้น