หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

Portfolio คืออะไร?
ทำไมเด็กจบใหม่ต้องมี

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

เมื่อเข้าสู่ช่วงจบการศึกษาระดับมัธยมแล้ว การเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็นสิ่งที่น้อง ๆ หลาย ๆ คนต้องการ แต่การสมัครเรียนเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังต่าง ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย นอกจากจะต้องมีการสอบ GAT PAT, TCAS, O-NET เพื่อรวบรวมคะแนนและยื่นสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการแล้วยังต้องมีด่านต่อไปก็คือ การสอบสัมภาษณ์ โชว์ Portfolio เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนต้องเป็นกังวลกันแน่นอน และไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวยังไงดี แต่ก่อนอื่นเลยเราอยากให้น้อง ๆ ได้รู้จักกันก่อนว่า Portfolioคืออะไร

Portfolio หรือเรียกชื่อว่า “แฟ้มสะสมผลงาน” ซึ่งหมายถึงแฟ้มที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ที่สามารถอธิบายถึงความเป็นตัวตนของเราได้ ช่วยให้คณะกรรมการรู้ว่าเราเคยทำอะไรมาบ้าง มีความสามารถอะไรบ้าง ตลอดจนผลงานที่ได้ทำและรางวัลที่ได้รับมา และอาจมีความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เราต้องการสมัครเรียน

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

                1. แฟ้มที่รวบรวมผลงานที่สะสมมาตั้งแต่อดีตย้อนหลังไป 3 – 4 ปี ที่ผลงานมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่น้อง ๆ ต้องการสมัคร

2. แฟ้มผลงานที่สร้างขึ้นมาตามโจทย์ที่สาขาวิชาที่ต้องการสมัครเรียนนั้นกำหนดขึ้นมา ซึ่งโจทย์จะเปลี่ยนทุก ๆ ปี ดังนั้นไม่ต้องลอกของเพื่อนกันนะ แต่ให้ติดตามจากประกาศของแต่ละสาขาของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ

                ถ้าจะบอกว่า Portfolio นั้นสำคัญมากกับการเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ผิดซะทีเดียว เพราะในการรับตรง สอบตรง ที่มหาวิทยาลัยเปิดรับต้องการอยากจะคัดนักเรียนที่อยากเข้ามาศึกษาในคณะและมหาวิทยาลัยนั้นจริง ๆ ซึ่งนอกจากการคัดด้วยการสอบการสัมภาษณ์ก็จะมี Portfolio นี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยยืนยันได้ว่า นักเรียนคนนั้นๆ มีความสนใจในคณะที่เข้ามาสมัครจริง ๆ เพราะฉะนั้น Portfolio จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันคือภาพรวมทั้งหมดของช่วงชีวิตนักเรียน และในการสอบสัมภาษณ์นั้นอาจารย์ที่มหาลัยเองก็ไม่ได้มีเวลามากมายในการไปนั่งถามถึงเรื่องราวทุกอย่างจากตัวน้องๆ การมีพอร์ตโฟลิโอก็จะช่วยประหยัดเวลาในการสอบสัมภาษณ์ลงและช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจในตัวตนของน้อง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น

                เชื่อว่าตอนนี้น้อง ๆ คงได้รู้จักแล้วว่า Portfolioคืออะไร และเราก็อยากแนะนำเพิ่มว่าในการสอบสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยนั้น การจะให้สอบผ่านนั้นจะอยู่ที่ตัวตนของน้อง ๆ ที่จะพูดออกมา และมีทักษะการนำเสนอตัวเองมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าหากน้องๆ พูดไม่เก่ง ไม่ถนัดเรื่องการแนะนำตัวเองก็ควรที่จะมีตัวช่วยอย่าง Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงาน ไว้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้คณะกรรมการได้รู้จักเรามากขึ้น และการทำ Portfolio ให้น่าสนใจ ดึงดูดสายตากรรมการได้นั้น ความสวยงามและเรียบง่ายของแฟ้มก็สำคัญเหมือนกัน เพราะถ้าหากเราเลือกแฟ้มที่ไม่ดี ไม่มีคุณภาพก็อาจสร้างความเสียหายให้กับเอกสารของเราได้ แต่ไม่ใช่กับแฟ้มตราช้าง รุ่น 444 ที่สามารถเก็บเอกสารได้เยอะ ปกแฟ้มปกทำจากกระดาษแข็ง หุ้มด้วย Duraplast กันน้ำ กันรอยขีดข่วน ซองโชว์เอกสารพลาสติกใส ไม่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต ตัวหนังสือไม่มีหลุดลอก สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

องค์ประกอบของ Portfolio ที่ใช้ในการยื่นเข้า
มหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง?

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยที่เราต้องเข้าเรียนนั้นได้รู้จักเรามากขึ้น เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวเรา เช่น ชื่ออะไร ที่อยู่ปัจจุบัน เรียนอยู่ที่ไหน เคยทำอะไรมาบ้าง เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ ถนัดอะไร เพื่อที่อาจารย์หรือคนสัมภาษณ์จะสามารถประเมินตัวเราแบบคร่าว ๆได้ ดังนั้นแฟ้มเล่มเล็ก ๆ นี่แหละจะเป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้เราได้เข้าไปเรียนในคณะและในมหาวิทยาลัยที่เราใฝ่ฝันไว้ได้

สำหรับ Portfolio ที่ดีนั้น ไม่ควรมีแต่ตัวหนังสือบรรยายอยู่อย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้ Portfolio ของน้อง ๆ ไม่โดนใจคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยได้ ส่วนกิจกรรมไหนที่เคยทำ หรือกิจกรรมไหนที่เคยเข้าร่วม หากมีภาพเหล่านั้นก็ควรใส่ลงด้วย แล้วเขียนคำอธิบายใต้ภาพว่างานนี้คือกิจกรรมอะไร เพื่อช่วยให้ Portfolio ของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น เพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้ว่า Portfolioมีอะไรบ้าง วันนี้เรามาลองดูกันซิว่าใน Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน 1 แฟ้ม จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการยื่นสอบเข้ามหาวิทยาลัยอะไรบ้าง

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

First Impression หรือ ความประทับใจแรก เป็นสิ่งที่สร้าง “แต้มต่อ” ให้กับตัวเราเป็นอย่างมากในรอบการสัมภาษณ์ หน้าปกถือเป็นหน้าตาด่านแรกของเรา หากใครที่ไม่ค่อยมีไอเดียบรรเจิด ก็อย่าคิดมาก เน้นทำแบบสะอาด ๆ มีระเบียบก็น่าสนใจไม่น้อย และควรเลือกแฟ้มที่สามารถเปลี่ยนแผ่นหน้าปกได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และแฟ้มที่ใช้ต้องมีคุณภาพ ไม่ทำให้ตัวหนังสือหลุดลอก

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

ในส่วนนี้จะเป็นหน้าที่จะบอกถึงตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี สามารถใส่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราได้เต็มที่ ถ้าให้ดีแนะนำให้ทำเป็น 2 ภาษาไปด้วยเลย จะสามารถทำให้แฟ้มของเราดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเนื้อหาที่ใส่ไปก็แนะนำตัวไปเลย ชื่อ นามสกุล วันเกิด นิสัย ความชอบ รวมถึงแนวคิด และความคาดหวังในอนาคตของเรา ซึ่งจากหน้านี้แหละกรรมการจะรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

ส่วนนี้จะแสดงศักยภาพในการเรียนของเรา โดยให้เขียนเรียงลำดับจากการศึกษาที่น้อยสุดมาจบที่ปัจจุบัน และอาจจะบอกไปด้วยก็ได้ว่า แต่ละระดับที่เราเรียนมานั้นได้เกรดเฉลี่ยรวมเท่าไหร่ แต่หากใครที่ไม่มั่นใจเว้นไว้ก็ไม่เป็นไร รายชื่อโรงเรียนก็เขียนให้ครบ ไม่ควรที่จะย่อ

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

4.รางวัลและผลงานที่ได้รับ

สามารถเขียนเป็นลักษณะการเรียงลำดับ โดยกำหนดเป็นปี พ.ศ. ก็จะน่าสนใจไม่น้อย เช่น พ.ศ.2563 เรามีกิจกรรมอะไรบ้างที่เข้าร่วม หรือได้รับรางวัลอะไรมาบ้าง หากกิจกรรมที่เราเข้าร่วม มีรูปประกอบด้วยจะเพิ่มความน่าสนใจได้มากขึ้นไม่น้อย

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

ผลงานที่เราภาคภูมิใจ และประทับใจ อยากที่จะนำเสนอ โดยลักษณะการจัดการเขียนก็คล้าย ๆ กับส่วนรางวัลและผลงานที่ได้รับ แต่สิ่งที่ควรเพิ่มเติมคือการบรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ผลงานนี้เราภูมิใจอย่างไร เหนื่อยยากลำบากแค่ไหนกว่าจะได้มา ที่สำคัญอย่าลืมใส่รูปประกอบไปด้วย

หาก ต้องการ แลกเปลี่ยน ความรู้ เรื่อง การ ทํา Portfolio จะต้อง เลือก ใช้ บริการ ใด

6.กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน

ใครที่เคยเป็นถึงประธานนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ประธานชมรม ก็สามารถมานำเสนอในส่วนนี้ได้ ซึ่งลักษณะการนำเสนอก็บอกไปเลยว่า เราทำกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละระดับชั้น หรืออาจจะรวบถึงการทำงานพิเศษ งานพาร์ทไทม์ก็ได้ ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการประมวลภาพกิจกรรมที่เราเคยทำ หากมีเยอะย่อมเป็นข้อได้เปรียบแน่นอน