ประวัติและผลงานของบุคคลสําคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ข้อสอบ

02/09/2012 · 1:44 am

:: ทดสอบบุคคลสำคัญ ::

1. พระมหากษัตริย์พระองค์ใด ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรในประวัติศาสตร์ไทย

  1.       พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  2.       สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
  3.       สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  4.       สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 2. ข้อใดกล่าวถึงประวัติศาสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ ไม่ถูกต้อง

  1.         รัชกาลที่ 1 ใช้กฎหมายตราสามดวงปกครองประเทศ
  2.         รัชกาลที่ 2 ทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับประเทศอังกฤษเป็นชาติแรก
  3.         รัชกาลที่ 3 ได้บูรณะ และรวบรวมสรรพความรู้ไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
  4.         รัชกาลที่ 4 ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษ

 3. วีรกรรมของท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร เกี่ยวข้องกับสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลใดแห่งรัตนโกสินทร์      

  1.          รัชกาลที่ 1
  2.          รัชกาลที่ 2
  3.          รัชกาลที่ 3
  4.          รัชกาลที่ 4

4. ครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเยือนนานาประเทศในยุโรป พระองค์ได้สถาปนาสตรีท่านใดเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์

  1.         สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
  2.         สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
  3.         สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี
  4.         พระอรรคชายา พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์

 5. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีตรงกับวันสำคัญใด

  1.         วันสตรีไทย
  2.         วันศิลปินแห่งชาติ
  3.         วันงดสูบบุหรี่โลก
  4.         วันฉลองบุคคลสำคัญของสหประชาชาติ

 6. ผู้ที่มีความสามารถทางด้านการออกแบบก่อสร้างโดยการนำศิลปวัฒนธรรมไทยมาถ่ายทอดเป็นผลงาน หากได้รับการพิจารณาเป็นศิลปินแห่งชาติ ควรอยู่ในสาขาใด

  1.        สาขาทัศนศิลป์
  2.        สาขาศิลปะการแสดง
  3.        สาขาวรรณศิลป์
  4.        สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม

7. องค์การ UNESCO มีชื่อภาษาไทยว่าอย่างไร

  1.        องค์การศิลปวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
  2.        องค์การการศึกษา และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
  3.         องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
  4.         องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

8. บุคคลใดที่ UNESCO ได้ประกาศยกย่อง และร่วมฉลองบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเป็นท่านแรก

  1.         พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  2.         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3.         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
  4.         สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

9. บุคคลใดที่ได้รับยกย่อง เป็น “รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” และเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ได้รับยกย่องจาก UNESCO

  1.          สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
  2.          สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
  3.          ท่านพุทธทาสภิกขุ (เงื่อม อินทปัญโญ)
  4.          พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุต ปยุตฺโต)

10. ข้อใดเป็นประวัติผลงานที่สำคัญของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี หรือ Corrado Feroci ชาวอิตาลี

  1.         บันทึกประวัติศาสตร์อาณาจักรสยาม
  2.         ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
  3.         ผู้ริเริ่มรักษาคนไข้ด้วยวิธีการผ่าตัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  4.         ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชาย ต่อมาพัฒนาเป็นโรงเรียนกรุงเทพศริสเตียน

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียง 1 ข้อ

ประวัติและผลงานของบุคคลสําคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ข้อสอบ

แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
                  ชาติไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีบูรพมหากษัตริย์รวมถึงบุคคลสำัคัญในยุคสมัยต่างๆ ได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่่งเรือง และสละพระชมน์ชีพและชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย ไว้ให้ชนรุ่นหลัง การศึกษาประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ตระหนักและยึดถือเป็นแนวทางปฎิบัติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย

1.ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี นำมาซึ่งการวางรากฐานทางด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคมไทยจวบจนปัจจุบัน หากพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้สังคมไทยสามารถดำรงความเป็นไทยจนทุกวันนี้มาจากปัจจัยข้อใดเป็นสำคัญ *

ความกล้าหาญทำสงครามเอาชนะข้าศึก

ความเสียสละ กล้าหาญอดทนของบรรพบุรุษ

การดำเนินนโยบายทางการทูตเพื่อรักษาเอกราชของชาติ

การใช้นโยบายรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.บูรพมหากษัตริยาธิราชพระองค์ใด ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.1893 และดำรงอยู่ได้นานถึง 417 ปี *

3.รูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์ ทำให้การปกครองอาณาจักรมีระบบแบบแผนรัดกุม รูปแบบการปกครองแบบนี้ ได้แบบอย่างมาจากชนชาติใด *

4.นโยบายการปกครองที่แปรเปลี่ยนจากพ่อปกครองลูกสมัยสุโขทัย มาเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจอยู่ที่กษัตริย์ การปกครองดังกล่าวเรียกได้หลายประการ ยกเว้นข้อใด *

5.การปฎิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ซึ่งถือเป็นรากฐานทางการปกครองจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งใด และเกิดในรัชกาลใด *

กรมเวียง กรมวัง สมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง

สมุหกลาโหม สมุหนายก สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ

สมุหนายก สมุหกลาโหม สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาจักรี สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ

6.พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่สร้างความกลมกลืนทางวัฒนธรรมระหว่างสุโขทัยและอยุธยา ทรงเลือกประทับที่เมืองลูกหลวงและออกผนวช  ณ วัดจุฬามณี อันถือเป็นประเพณีตามแบบสุโขทัย พระมหากษัติริย์ที่กล่าวมานี้หมายถึงพระองค์ใด *

7.การบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถมีความรัดกุม สะดวกในการควบคุมกำลังคน และยังเป็นระเบียบปฎิบัติจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หลักการดังกล่าวคือข้อใด *

รวมหัวเมืองเป็นมณฑลแลภาค ตั้งอุปราชดูแล

แบ่งหัวเมืองเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช

แบ่งหัวเมืองเป็น เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนต่างๆ

จัดระเบียบหัวเมืองขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี และจัตวา

8.การกำหนดการสืบสันติวงค์หรือตำแหน่งรัชทายาทในการสืบราชบันลังก์ ได้ตราขึ้นเป็นกฎหมายครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีชื่อว่าอะไร *

9.การจัดระเบียบสังคมกำหนดความรับผิดชอบตลอดจนสิทธิของบุคคลในสังคม เพื่อสะดวกในการปกครองกำลังคน ลงโทษปรับไหม และใช้ประโยชน์ในการทำกินหมายถึงข้อใด *

10.พระยาพิชัยดาบหัก มีคุณลักษณะอันโดดเด่นอย่างไร *

ประวัติและผลงานของบุคคลสําคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย ข้อสอบ

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม