พัฒนาการด้านต่างๆของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ มีอะไรบ้าง

การสถาปนาราชธานี

พัฒนาการด้านต่างๆของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ มีอะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจลเมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไขวิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยสืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการสถาปนาราชวงศ์จักรี)
ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน โดยบริเวณที่ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนเมื่อได้ทรงชดเชยค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างรั้วไม้แทนกำแพงขึ้นและสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ” แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยมเรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่งวังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จในปี พ.ศ.2328 ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา  มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม) และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่และเมื่อสร้างพระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่

เหตุผลของการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

  • ที่ตั้งกรุงธนบุรีไม่เหมาะสม เพราะอยู่ในท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอ
  • บริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคับแคบ ไม่สะดวกต่อการขยายพระราชวังให้กว้างออกไป
  • ฝั่งกรุงเทพฯ มีชัยภูมิเหมาะ เพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตก และด้านใต้ ประกอบกับพื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็น พื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยก ทัพมาด้านนี้ ได้ยาก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

  1. เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมีเส้นทางออกสู่ทะเล
  2. มีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้มีฝนตกชุก
  3. มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านออกสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทย
  4. เป็นศูนย์รวมของการขยายตัวทางด้านวัฒนธรรม
  5. พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลาง

  1. พระมหากษัตริย์
    – กรมมหาดไทย
    – กรมกลาโหม
    – กรมเมือง
    – กรมวัง
    – กรมท่า
    – กรมนา
  2. การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนหัวเมือง
    – หัวเมืองชั้นนอก
    – หัวเมืองชั้นใน
    – หัวเมืองประเทศราช
  3. การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนท้องที่
    ประกอบด้วย หมู่บ้านหรือบ้าน แต่ละหมู่บ้านจะมีผู้ใหญ่บ้านซึ่งเจ้าเมืองแต่งตั้งเป็นหัวหน้า หลายหมู่บ้านรวมเป็นตำบล แต่ละตำบลจะมีกำนันซึ่งเจ้าเมืองแต่งตั้งเป็นหัวหน้า หลายตำบลรวมเป็นแขวง มีเจ้าแขวงเป็นหัวหน้าหลายแขวงรวมเป็นเมือง  มีเจ้าเมืองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของเมืองนั้นๆ นอกจากนี้ ในการปกครองบ้านเมืองยังมีการใช้กฎหมาย ที่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงเป็นหลักเพื่อความสงบเรียบร้อยด้วย

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

  1. การค้าภายในประเทศ
    ลักษณะเศรษฐกิจเป็นแบบยังชีพโดยผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน หากเหลือจึงนำไปเสียภาษีอากรให้แก่ทางราชการและนำไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
  2. การค้ากับต่างประเทศ
    อยู่ภายใต้การควบคุมของพระคลังสินค้าที่ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับอังกฤษ (ที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์) และกับสหรัฐอเมริกา ทำให้สินค้าออกของไทย เช่น ข้าว น้ำตาล พริกไทย เป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติจำนวนมาก

พัฒนาการด้านสังคม

โครงสร้างสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  1. พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นสมมติเทพ และทรงเป็นธรรมราชา
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นเครือญาติของพระมหากษัตริย์ มีศักดินาแตกต่างกันไปตามฐานะ
  3. ขุนนาง บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีทั้งศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง
  4. ไพร่ ราษฎรที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับทางราชการทั้งในยามปกติและยามสงคราม และต้องสังกัดมูลนาย
  5. ทาส บุคคลที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง ต้องตกเป็นทาสของนายจนกว่าจะได้ไถ่ตัว
  6. พระภิกษุสงฆ์ เป็นบุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการยกย่องและศรัทธาจากบุคคลทุกชนชั้น

พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ลักษณะความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน

รัฐเพื่อนบ้าน หมายถึง รัฐที่ตั้งอยู่ติดกับดินแดนราชอาณาจักรไทย ประกอบด้วย ล้านนา พม่า มอญ ล้านช้าง เขมร ญวน และมลายู กรณีความสัมพันธ์กับพม่าเป็นการเผชิญหน้าทางการทหาร โดยสงครามครั้งสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพใน พ.ศ. ๒๓๒๘ สมัยรัชกาลที่ ๒ และสมัยรัชกาลที่ ๓การทำสงครามต่อกัน ค่อยๆ ลดลงตามลำดับ  ทั้งนี้เพราะพม่าต้องหันไปเผชิญหน้ากับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก คือ อังกฤษ พม่าจึงไม่ได้คุกคามไทยอีก

ลักษณะความสัมพันธ์กับจีน

มีความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า การค้าขายกับจีนจะมีลักษณะพิเศษ ที่เรียกว่า การค้าแบบรัฐบรรณาการ โดยถ้ารัฐใดแต่งตั้งทูตพร้อมกับนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน ราชสำนักจีนถือว่าเข้ามาอ่อนน้อมและให้การรับรองกษัตริย์ของรัฐนั้นๆ และอนุญาตให้ซื้อขายกับจีน

ลักษณะความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีการติดต่อทางการทูตกับประเทศตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ไทยยินดีให้โปรตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาส่งพ่อค้าเข้ามาค้าขายกับไทยได้ แต่ขณะเดียวกันก็เพื่อรักษาความมั่นคงและปลอดภัยให้พ้นจากการครอบครองของชาติตะวันตกด้วย

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การอพยพเข้ามาของชาวจีนในสมัยรัตนโกสินทร์

  1. สาเหตุของการอพยพออกนอกประเทศของชาวจีน
    – การเมืองภายในของจีน
    – ภัยธรรมชาติ
    – การเพิ่มจำนวนประชากร
  2. ปัจจัยที่ทำให้ชาวจีนอพยพเข้ามาในไทย
    – ความอุดมสมบูรณ์และความสงบสุขของแผ่นดินไทย
    – การมีชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ในไทย
  3. ผลจากการที่ชาวจีนอพยพเข้ามาในไทย
    ด้านการเพิ่มกำลังคน  ซึ่งช่วยเพิ่มแรงงานให้กับเมืองไทยในเวลาที่ฟื้นฟูบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี
    ด้านการปกครอง  บางคนได้มีบทบาททางการปกครองโดยเป็นขุนนางไทย เช่น ชาวจีนชื่อเหยียง เป็นพระยาสงขลา และเป็นต้นตระกูล ณ สงขลา
    ด้านเศรษฐกิจ  ชาวจีนอพยพประกอบอาชีพต่างๆ เช่น การค้า ทำสวนผัก เลี้ยงสัตว์ รวมถึงเจ้าภาษี   นายอากร ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย
    ด้านสังคม  ชาวจีนอพยพบางส่วนทำการละเมิดกฎหมาย มีการรวมตัวกันเป็นอั้งยี่หรือสมาคมลับลักลอบซื้อขายฝิ่น ส่งผลให้ชาวไทยสูบด้วย ทางราชการต้องออกประกาศห้ามการซื้อขายและสูบฝิ่น

การจัดระเบียบสังคมชาวจีนในสมัยรัตนโกสินทร์

  • ให้ชาวจีนจ่ายเงินผูกปี้แทนการเกณฑ์แรงงาน ทำให้มีรายได้และควบคุมชาวจีน
  • ในเมืองที่มีชาวจีนอพยพอยู่มาก ให้มีกรมการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ ของเมืองเป็นชาวจีนด้วย
  • กวดขันให้หัวหน้าหรือเถ้าเก๋ ซึ่งเป็นนายทุนชาวจีนที่รับชาวจีนอพยพ เข้ามา ให้ควบคุมดูแลชาวจีนให้ดี
  • ในสมัยต่อมา คือ รัชกาลที่ 5 ทรงให้ชาวจีนตั้งเป็นสโมสรการค้า เป็นสมาคมในลักษณะอื่นได้ ซึ่งต่อมาได้ เป็นสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เช่น สมาคมมูลนิธิร่วมกตัญญู

บทบาทของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการเมืองการปกครอง
– ทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี
– ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี
– โปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระกฎหมาย เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
ด้านความมั่นคง
– ทรงป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามเก้าทัพ
ด้านศิลปวัฒนธรรม
– โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎกทรงสนพระทัยวรรณคดี จึงมีวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ รวมถึงการแปลวรรณกรรมของต่างชาติ เช่น สามก๊ก และราชาธิราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านความมั่นคง
– โปรดเกล้าฯ ให้ครัวมอญไปตั้งภูมิลำเนา    ที่แขวงเมืองปทุมธานี เมืองนนทบุรีและเมืองนครเขื่อนขันธ์
– โปรดเกล้าฯ ให้ไพร่มารับราชการ ๑ เดือน และอยู่กับครอบครัว ๓ เดือน ทรงให้มี   การตรากฎหมายห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
ด้านศิลปวัฒนธรรม
– ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม  ดนตรีนาฏศิลป์ และวรรณกรรมประเภทต่างๆ
– โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์วัด อรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านความมั่นคง
– ทรงป้องกันอาณาจักรด้วยการสกัดกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ทรงประสบความสำเร็จในการยุติการสู้รบระหว่างไทยกับญวน
ด้านศิลปวัฒนธรรม
– ทรงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือสำเภาที่วัดยานนาวา
– โปรดเกล้าฯ ให้จารึกวรรณคดีสำคัญ และวิชาการแพทย์ลงแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบบริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ด้านการค้ากับต่างประเทศ
– ทรงสนับสนุนการค้าทั้งกับเอเชียและยุโรปมีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นีย์

พัฒนาการในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นช่วงพศอะไร

เป็น 3 สมัยคือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3 : .. 2325-2394) สมัยปฏิรูปบ้านเมือง (รัชกาลที่ 4-7 : .. 2394-2475) และสมัยประชาธิปไตย (.. 2475-ปัจจุบัน) โดยมีพัฒนาการมาเป็นลําดับดังต่อไปนี้

พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

กล่าวโดยสรุป พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการฟื้นฟูประเทศให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองดี คือ ทำให้บ้านเมืองเหมือนในสมัยอยุธยาทั้งรูปแบบการปกครอง สังคม ศิลปวัฒนธรรม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง และในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อถูกจักรวรรดินิยมตะวันตกคุกคาม ...

ข้อใดคือพัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

- การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด - การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้ คือ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง และมีจตุสดมภ์ทั้ง 4 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสมุหนายก - การปกครองส่วนภูมิภาค ได้มีการแบ่งหัวเมืองเป็น 3 ประเภท คือหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นอย่างไร

กล่าวโดยสรุป สภาพเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มขยายตัวและเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 จนกระทั่งมาถึงรัชกาลที่ 3 เพราะระบบการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และการเข้ามาติดต่อค้าขายของชาวตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี่ระหว่างไทยกับอังกฤษ และติดตามมาด้วย ...

พัฒนาการในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นช่วงพศอะไร พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง ข้อใดคือพัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พัฒนาการด้านเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นอย่างไร เฉลย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ด้านเศรษฐกิจ เฉลย พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สรุปพัฒนาการสมัยรัตนโกสินทร์ สรุปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสั้นๆ ประวัติศาสตร์ ม.3 พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ด้านคุณภาพราษฎร พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ppt