ตัวอย่าง การเขียนรายงานเชิงวิชาการ ภาษาไทย

การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

                    รายงานทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการสำรวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ

ตัวอย่าง การเขียนรายงานเชิงวิชาการ ภาษาไทย

ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

รายงานเชิงวิชาการมีส่วนประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายมีรายละเอียดดังนี้
1. ส่วนนำ (Introduction) ประกอบด้วย
๑.๑ ปกนอก (Cover หรือ Binding) คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้า และปกหลังกระดาษที่ใช้เป็นปกควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควร สีใดก็ได้อาจมีภาพหรือไม่ก็ได้ถ้ามีภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ข้อความที่ปรากฏบนปกนอกประกอบด้วยชื่อเรื่องของรายงาน ชื่อผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ เขียนหรือพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้เขียนรายงาน ในกรณีที่รายงานนั้นมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ชื่อทุกคนโดยจัดเรียงตามลำดับเลขที่ส่วนล่างของหน้าปก ให้เขียนข้อความต่อไปนี้ตามลำดับ
๑.๒ ใบรองปก คือ กระดาษเปล่า ๑ แผ่น อยู่ต่อจากปกนอก เพื่อความสวยงาม และเป็นเครื่องช่วยป้องกันไม่ให้เสียหายถึงปกใน หากปกฉีกขาดเสียหายไป
๑.๓ หน้าปกใน (Title Page) อยู่ต่อจากใบรองปกมีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก
๑.๔ คำนำ (Preface) คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน (ถ้ามี) ให้ลงท้ายด้วยชื่อผู้จัดทำรายงาน หากมีหลายคนให้ลงว่า “คณะผู้จัดทำ” และลงวันที่กำกับ (เช่น ๑๐ กันยายน ๒๕๕๗) อาจมีเพียงย่อหน้าเดียว สองหรือสามย่อหน้าก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา
๑.๕ สารบัญ (Table of Contents) คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าคำนำ ในหน้านี้ให้เขียนคำว่า สารบัญไว้กลางหน้า ข้อความในหน้าสารบัญจะเริ่มต้นจากคำนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ ของรายงาน เรียงตามลำดับเรื่อง และท้ายสุดเป็นบรรณานุกรม ด้านขวาจะมีเลขหน้าแจ้งให้ทราบว่า
แต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใด หน้าสารบัญควรจัดทำเมื่อเขียนรายงานเสร็จแล้ว เพื่อจะได้ทราบว่าแต่ละหัวข้อเริ่มจากหน้าใดบ้าง
2. ส่วนเนื้อเรื่อง (Contents) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน ผลงานการศึกษาค้นคว้า จะนำมาเสนอตามโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ โดยก่อนเริ่มต้น ควรมีการเกริ่นเรื่อง และจบเนื้อเรื่องด้วยบทสรุป เนื้อหาที่เขียนนั้นจะต้องเขียนอย่างมีหลักเกณฑ์ หรืออ้างอิงหลักวิชา แสดงความคิดที่เฉียบแหลมและลึกซึ้ง

ส่วนประกอบที่แทรกในเนื้อหานั้นอาจแบ่งได้ดังนี้

3.ส่วนบทสรุปหรือสรุป (Conclusion) คือส่วนที่เขียนย้ำหรือเน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหาหรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า เช่นเดียวกับที่บทนำเป็นความสำคัญขั้นแรกในการชักจูงให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง บทสรุปก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้อ่านจับประเด็นของเนื้อเรื่องที่ได้อ่านไปทั้งหมด บทสรุปจะอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง อาจแยกเป็นบทต่างหากหรือเป็นเพียงย่อหน้าท้ายๆ ของเรื่อง

ตัวอย่าง การเขียนรายงานเชิงวิชาการ ภาษาไทย

การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnotes) เชิงอรรถเป็นข้อความซึ่งบอกที่มาของข้อความที่นำมาอ้างประกอบการเขียนรายงาน หรืออาจจะเป็นข้อความที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำ หรือข้อความในรายงานก็ได้ถ้าแบ่งตามประโยชน์ที่ใช้ เชิงอรรถจะมี ๓ ประเภทด้วยกันคือ
- เชิงอรรถอ้างอิง หมายถึง เชิงอรรถที่ใช้บอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาเป็นหลักฐานประกอบการเขียน เพื่อแสดงว่า สิ่งที่นำมาอ้าง ในรายงานนั้น ไม่เลื่อนลอย และผู้อ่านรายงานจะตัดสินใจได้ว่า ข้อความที่นำมาอ้างนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด
- เชิงอรรถอธิบาย หมายถึง เชิงอรรถซึ่งอธิบายความที่ผู้เขียนรายงานคิดว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน อาจจะเป็นคำนิยม หรือความหมายของศัพท์ที่ผู้ทำรายงานประสงค์จะให้ผู้อ่านทราบเพิ่มเติมก็ได้
- เชิงอรรถโยง หมายถึง เชิงอรรถที่แจ้งให้ผู้อ่านดูข้อความที่เกี่ยวข้องกัน ที่หน้าอื่นในรายงานฉบับนั้นหรือในที่อื่นๆ เพราะเรื้อหาอาจจะ สัมพันธ์กัน หรือเกี่ยวเนื่องกัน หรือช่วยให้เข้าใจเนื้อหาในตอนนั้นๆ ได้ดีขึ้น แทนที่จะกล่าวซ้ำความเดิมก็ใช้เชิงอรรถประเภทนี้ระบุให้ผู้อ่าน อ่านพลิกไปอ่านข้อความดังกล่าวเพิ่มเติม
ขั้นตอนในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

                         การเขียนรายงานให้ดีนั้น ควรจะมีการวางแผน และมีขั้นตอนมีการทำรายงานตามลำดับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเนื้อหา ไม่ลำดับสับสน หรือวกวนไปมา โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่มักจะขาดการวางแผนและขั้นตอนในการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงความต่อเนื่องของเนื้อหา ทำให้เนื้อหาขาดความสมบูรณ์ ดังนั้นก่อนที่จะเขียนรายงาน ควรมีการวางแผนและกำหนดขั้นตอนดังนี้
๑. กำหนดเรื่องก่อนที่จะทำรายงาน ทุกคนจะต้องกำหนดก่อนว่าจะทำรายงานเรื่องอะไร การเลือกเรื่องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
๑.๑ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
๑.๒ เป็นเรื่องที่มีขอบเขตและเนื้อหาไม่กว้างจนเกินไป สามารถทำได้ในระยะเวลาที่กำหนดได้
๑.๓ เป็นเรื่องที่หาข้อมูลจากหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ ฯลฯ มาประกอบการเขียนได้
๒. กำหนดชื่อเรื่องและขอบเขตของเรื่อง กำหนดชื่อเรื่องให้กระชับ ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อเรื่องส่วนขอบเขตของเรื่อง ควรเลือกเรื่องให้เหมาะสมกับความยาวของรายงานและตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน
๓. การวางโครงเรื่องการวางโครงเรื่องนั้นนับว่ามีความสำคัญต่อการเขียนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการวางโครงเรื่อง จะช่วยให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียน
๔. รวบรวมข้อมูล