ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด

ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดข้าวในอาเซียนมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เพราะในอาเซียน 10 ประเทศ มีทั้งประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าว อาทิ ไทย เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา ลาว และมีทั้งประเทศที่ยังเพาะปลูกข้าวไม่เพียงพอจำเป็นต้องนำเข้าข้าว หรือเป็นประเทศผู้บริโภคข้าว อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ระบุว่า ในแต่ละปีอาเซียนสามารถผลิตข้าวได้เฉลี่ย 120 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นการใช้เพื่อบริโภคภายในประมาณ 105 ล้านตันข้าวสาร และที่เหลืออีก 15 ล้านตันจากการบริโภคก็จะถูกนำไปส่งออก 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์Facebook bangkokbanksme 

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด

โดยล่าสุดในฤดูการผลิต ปี 2563/2564 คาดว่าจะมีผลผลิต 115.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ประมาณ 2.05% และคาดว่าจะมีสต๊อก 14.09 ล้านตัน ลดลง 1.60% จากปีก่อน โดยประเทศที่มีการปลูกข้าวเพิ่มขึ้นในปีนี้ มีทั้งอินโดนีเซีย ไทย เมียนมา และกัมพูชา ส่วนเวียดนามคาดว่าผลิตได้ลดลง จากพื้นที่ปลูกข้าวลดลง

เนื่องจากข้าวยังถือเป็นอาหารหลักของประชากรในอาเซียน ซึ่งมีจำนวนผู้บริโภคมากถึง 600 ล้านคน จะนำข้าวมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ด้วยเหตุที่จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำความต้องการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น และยิ่งประชาชนยุคใหม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ก็จะยิ่งหันมานิยมบริโภคข้าวที่มีคุณภาพดี และข้าวพิเศษเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวอินทรีย์ หรือข้าวเฉพาะเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวหอมมะลิแดงเป็นต้น 

แม้ว่าแนวโน้มความต้องการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่าในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2563 ไทยส่งออกข้าวได้ 4.04 ล้านตัน ลดลง 30% ขณะที่เวียดนามส่งออกได้ 4.99 ล้านตัน ลดลง 1.9% จากปีก่อนที่ส่งออกได้ 5.06 ล้านตัน (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย : 2563)  จึงถือว่าปี 2563 นี้ เวียดนามยังครองตลาดส่งออกเหนือกว่าไทย จากในอดีตที่ไทยเคยส่งออกได้มากกว่าเวียดนาม นี่จึงนับว่าเป็นความท้าทายสำหรับการส่งออกข้าวไทยในอนาคต

โดยปัจจัยสำคัญมาจากการที่ราคาข้าวไทยสูงกว่าราคาข้าวเวียดนามค่อนข้างสูง โดยยกตัวอย่างเช่น ราคาข้าวหอมมะลิไทยตันละ 1,000 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าราคาข้าวหอมเวียดนามตันละ 500 เหรียญสหรัฐ และยังสูงกว่าคู่แข่งน้องใหม่อย่างกัมพูชาซึ่งราคาตันละ 800-900 เหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มว่าการแข่งขันด้านราคาจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแต่ละประเทศต่างมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการปลูกข้าวมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้นไทยต้องวางกลยุทธ์เรื่องรักษาตำแหน่งการเป็นผู้ส่งออกข้าวไทยให้ดี ว่าจะรักษาตลาดอย่างไร มุ่งเน้นสินค้าเพื่อผู้บริโภคกลุ่มใด และต้องพยายามรักษาอัตลักษณ์ข้าวไทยไว้ให้ได้ 

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด

สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการเจาะตลาด ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มุ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือการร่วมกิจกรรมการทำการตลาดกับห้างค้าปลีกต่างๆ หรือที่เรียกว่า In store Promotion ทั้งผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น ในกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกับร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ Thai Select ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมั่นใจในการบริโภคข้าวไทย 

และที่สำคัญต้องพัฒนาต่อยอดสินค้าข้าวไปสู่สินค้าอาหารแปรรูปชนิดต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยวจากข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำมันรำข้าว น้ำนมข้าว เครื่องสำอางจากข้าว และเวชภัณฑ์จากข้าว เป็นต้น เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มโอกาสทางการค้าให้ข้าวไทยด้วย 

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวงSMEs ดีแน่นอน<< 

ดัชนีอุตสาหกรรมขยับ อาหาร-ยามาแรง

วิกฤติสูญพันธุ์! ลำบาก–รายได้ต่ำ ชาวนาฟิลิปปินส์ไม่อยากให้ลูกรับไม้ต่อ

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333

ประเด็นสำคัญ

  • แม้ไทยจะยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไทยได้สูญเสียตลาดข้าวในอาเซียนให้กับเวียดนามไปแล้วอย่างสิ้นเชิง
  • เวียดนามคือประเทศที่น่าจับตามองที่สุดในฐานะคู่แข่งของไทยในปัจจุบัน เนื่องจากเวียดนามสามารถผลิตข้าวได้มากเป็นอันดับสองของอาเซียน มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยมาก และมีตลาดส่งออกหลักเช่นเดียวกับไทย
  • ในตลาดอาเซียน ข้าวหอมของไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันดี ส่วนข้าวขาวของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันต่ำลงและกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว
  • ปัจจัยในการผลิตข้าวของไทยมีศักยภาพดีกว่าเวียดนาม แต่ต้นทุนในการผลิตของเวียดนามต่ำกว่าไทยทำให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามถูกกว่า
  • การที่ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดข้าวในอาเซียน ส่งผลให้ไทยมีโอกาสได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าข้าวน้อยกว่าเวียดนาม
  • รัฐบาลควรมีมาตรการต่างๆในการสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กับข้าวไทย ได้แก่ (1) มาตรการในการเสริมศักยภาพด้านการผลิตของชาวนาไทย เช่น การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต และการจัดการปัญหาด้านต้นทุนของเกษตรกร (2) ส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาด ได้แก่ การเผยแพร่ข่าวสารด้านเทคโนโลยีการผลิต ราคาข้าว สถานการณ์การค้าข้าว การวิเคราะห์เตือนภัยข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการทำการตลาดข้าวเพื่อส่งออก และ (3) การเสริมศักยภาพข้าวไทยทั้งระบบ ด้วยการสร้างสถาบันที่เข้มแข็งและบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อดูแลข้าวไทยทั้งระบบตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงการส่งออก

* Policy Brief ฉบับนี้เรียบเรียงโดย ดร.นลิตรา ไทยประเสริฐ (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) จาก โครงการศึกษาความอยู่รอดของข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดย อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ดูเอกสารอ้างอิง)

1. บทนำ

             หนึ่งในข้อตกลงอันจะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างแท้จริงคือ การที่ประเทศสมาชิกจะต้องปรับลดภาษีศุลกากรลงให้เหลือร้อยละศูนย์สำหรับสินค้าทุกรายการในบัญชี Inclusion List ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน) ให้ได้ภายในปี 2553 และสำหรับประเทศสมาชิกใหม่ (เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า) ให้ได้ภายในปี 2558 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินค้าข้าวนั้นได้ถูกจัดให้เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงสำหรับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และพม่า ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่ยินยอมที่จะลดภาษีนำเข้าให้เหลือศูนย์ภายในปี 2558 แต่จะคงไว้ที่อัตราร้อยละ 25 20 35 5 และ 5 ตามลำดับ1สิ่งนี้นับว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการส่งออกข้าวของไทยไปยังประเทศอาเซียนเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังได้ประโยชน์จากการที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนได้ยินยอมที่จะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าข้าวให้เหลือศูนย์ รวมทั้งการที่ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์อย่างน้อยก็ได้ยินยอมปรับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าข้าวลงมาบ้าง (ลดลงร้อยละ 5 จากปีฐาน) ทั้งนี้ ประเทศที่น่าจะได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับไทยจากข้อตกลงนี้ก็คือประเทศเวียดนามที่เป็นคู่แข่งทางการค้าและการผลิตข้าวที่สำคัญของไทยในอาเซียน ซึ่งในที่สุด ประเทศใดจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงมากกว่าก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการผลิต การแข่งขัน และนโยบายและมาตรการรองรับที่มีประสิทธิภาพ

              แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตหลักและผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก โดยรายงานสถิติของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า จากพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด 285.1 ล้านไร่ของอาเซียนในช่วงปี 2550 – 2553  อินโดนีเซียมีเนื้อที่เพาะปลูกมากที่สุด จำนวน 74.4 ล้านไร่ รองลงมาคือ ไทย 67.7 ล้านไร่ และเวียดนาม 46.3 ล้านไร่ ในแง่ของผลผลิตต่อไร่นั้น อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในแต่ละปี (572.8 – 583.6 กิโลกรัมต่อไร่) แต่ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย กลับมีผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับผลผลิตข้าวสารในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศที่มีผลผลิตมากที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือเวียดนาม ไทย พม่า และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ (ดูตารางที่ 1) และสำหรับปริมาณการบริโภคข้าวของประเทศในอาเซียน จากสถิติระหว่างปี 2549 – 2554 พบว่าประเทศที่มีปริมาณการบริโภคข้าวสูงสุด คือ กัมพูชา (280.6 กิโลกรัม/คน/ปี) รองลงมาคือ เวียดนาม พม่า และอินโดนีเซีย ซึ่งในปี 2553 ไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณการบริโภคข้าวน้อยที่สุดคือเพียง 143.4 กิโลกรัม/คน/ปี

              เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดข้าวในตลาดอาเซียนจากข้อมูลล่าสุด (ปี 2548 – 2552) ไทยกับเวียดนามคือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด แต่เมื่อเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวและส่วนแบ่งตลาดแล้วพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไทยได้สูญเสียตลาดข้าวในอาเซียนให้กับเวียดนามไปแล้วอย่างสิ้นเชิง (ดูตารางที่ 2 และ 3) แต่หากพิจารณาส่วนแบ่งตลาดข้าวในตลาดโลก ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกในช่วงปี 2548 – 2550 ตามมาด้วยอินเดียและสหรัฐอเมริกา และในช่วงปี 2551 – 2552 ไทยยังเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งเช่นเดิม แต่ประเทศผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับสองและสามเปลี่ยนมาเป็น เวียดนามกับอินเดีย ส่วนสหรัฐอเมริกาส่งออกข้าวได้เป็นอันดับสี่ และไทยยังคงมีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าเวียดนาม อินเดียและสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมาก ทำให้โดยภาพรวมแล้วไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

              จะเห็นได้ว่าประเทศที่น่าจับตามองที่สุดในฐานะคู่แข่งของไทยในปัจจุบัน คือ ประเทศเวียดนามเนื่องจากเป็นประเทศที่สามารถผลิตข้าวได้มากเป็นอันดับสองของอาเซียน (รองจากอินโดนีเซีย) มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยมาก และมีตลาดส่งออกหลักเช่นเดียวกับไทย

                                                         ตารางที่ 1: เนื้อที่เพาะปลูกข้าว ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตข้าวสารของอาเซียน 

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด

                                                         หมายเหตุ: เครื่องหมาย * หมายถึง ตัวเลขแสดงค่าเฉลี่ย

                                                         ที่มา: อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) โดยดึงข้อมูลจาก USDA, Foreign Agricultural Service (2010)                                                        


                                                       ตารางที่ 2: การส่งออกข้าวไทยในตลาดอาเซียน

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด
                                                       ที่มา: อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) โดยดึงข้อมูลจาก Global trade Atlas (2010)
 


                                                       ตารางที่ 3: การส่งออกข้าวเวียดนามในตลาดอาเซียน

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด
                                                       ที่มา: อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) โดยดึงข้อมูลจาก Global trade Atlas (2010)


1 ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปี 2553

2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบศักยภาพข้าวของไทยกับเวียดนาม

            อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) ได้ทำการวิจัยโครงการศึกษาความอยู่รอดของข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยได้ทำการวิเคราะห์สถานะตลาดในปัจจุบันของข้าวไทยเปรียบเทียบกับเวียดนามโดยใช้แบบจำลอง BCG (Boston Consulting Group Model) และพบว่า สำหรับตลาดข้าวขาวอาเซียน ในปี 2552 เวียดนามอยู่ในสถานะทำเงินซึ่งมีศักยภาพในการแข่งขันปานกลางแต่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงสามารถครองตลาดข้าวขาวอาเซียนเนื่องจากราคาข้าวถูกกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ และมีปริมาณการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ สำหรับข้าวขาวของไทยที่ถูกเวียดนามแย่งตำแหน่งผู้นำตลาดข้าวขาวไปตั้งแต่ปี 2547 พบว่าในปี 2552 มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก เพียงร้อยละ 7.4 เท่านั้นซึ่งน้อยกว่าส่วนแบ่งตลาดเฉลี่ย และมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกไปอาเซียนที่ติดลบ แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะส่งข้าวขาวไปขายในอาเซียนได้น้อยลง ส่งผลให้ข้าวขาวของไทยในตลาดอาเซียนมีสถานะตกต่ำ นั่นคือมีศักยภาพในการแข่งขันต่ำลงและกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว สำหรับข้าวหอมนั้น พบว่าไทยอยู่ในสถานะทำเงินด้วยส่วนแบ่งตลาดที่สูงเป็นอันดับหนึ่ง แม้จะมีอัตราการขยายตัวที่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของอาเซียน แต่มีทิศทางเป็นบวก จึงถือได้ว่าสินค้าข้าวหอมของไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดอาเซียน ส่วนข้าวหอมของเวียดนามนั้นอยู่ในสถานะตกต่ำเนื่องจากเวียดนามสามารถผลิตข้าวหอมได้น้อย จึงมีการส่งออกไปในอาเซียนได้น้อยเช่นกัน

            อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) ได้ใช้แบบจำลองไดมอนด์ (Diamond Model)2วิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันและการเพิ่มผลิตภาพของเครือข่ายวิสาหกิจหรือคลัสเตอร์ทั้งหมด 4 ด้าน (ปัจจัยการผลิต กลยุทธ์การแข่งขัน ความต้องการของตลาด และความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรม) บวกกับนโยบายของภาครัฐ เพื่อประเมินศักยภาพข้าวไทยกับเวียดนามในภาพรวม โดยพบว่าด้านปัจจัยการผลิตของไทยจะมีศักยภาพดีกว่าเวียดนาม ทั้งในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า พื้นที่เพาะปลูกข้าว ด้านเทคโนโลยีในการเพาะปลูก พันธุ์ข้าวที่มีความหลากหลาย ความรู้และความชำนาญของชาวนาไทยในการปลูกข้าว การเข้าถึงแหล่งทุน คุณภาพของผลผลิตที่ได้ และเทคโนโลยีการเก็บและรักษาผลผลิต เช่น กรรมวิธีการเก็บเกี่ยว ไซโลที่ได้มาตรฐาน กรรมวิธีการสีข้าว ฯลฯ สำหรับเวียดนามจะมีศักยภาพในด้านของระบบชลประทาน  โดยในปัจจุบันเวียดนามได้ขยายระบบชลประทานเข้าไปในพื้นที่การเกษตรได้มากขึ้นถึงร้อยละ 85.03ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ประกอบกับต้นทุนในการผลิตของชาวนาเวียดนามนั้นต่ำกว่าชาวนาไทย เช่น ค่าจ้างแรงงาน ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันกรรมวิธีและรูปแบบในการปลูกข้าวของเวียดนามส่วนใหญ่ ยังคงใช้แรงงานคนซึ่งเป็นแรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก ปริมาณการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชก็ยังมีปริมาณน้อยกว่าชาวนาไทย ส่วนการขายข้าวของชาวนาเวียดนามส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อถึงที่ ซึ่งลักษณะของพ่อค้าคนกลางนี้จะมีลักษณะเป็นคนรวบรวมข้าวที่ออกไปรับซื้อจากชาวนา แล้วนำมาขายให้โรงสีข้าวอีกที จะมีบางส่วนที่ชาวนาซึ่งมีพื้นที่ทำนาอยู่ใกล้กับโรงสีนำข้าวไปขายให้โรงสีโดยตรง ซึ่งรูปแบบในการขนส่งจะเป็นแบบง่าย โดยอาศัยจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือรถบรรทุกเล็กในการขนส่งข้าวไปโรงสี ทำให้ชาวนาเวียดนามเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยกว่าชาวนาไทยที่จ้างรถขนส่งข้าวเปลือกไปขายให้แก่โรงสีหรือแหล่งรับซื้อข้าวเปลือกโดยตรง

            จากการที่ชาวนาเวียดนามมีต้นทุนการปลูกข้าวต่ำ ทำให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามถูกกว่าราคาส่งออกข้าวของไทยทั้งในตลาดโลกและตลาดอาเซียน ประกอบกับการกำหนดราคาส่งออกข้าวของเวียดนาม รัฐบาลจะมอบหมายให้สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) เป็นผู้กำหนดราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำ (Minimum Export Price: MEP) ที่ผู้ส่งออกจะไปทำสัญญาซื้อขายกับต่างประเทศ และการส่งออกข้าวต้องมีการขอใบอนุญาตส่งออก ดังนั้นราคาส่งออกข้าวของเวียดนามจึงมีการกำหนดให้มีราคาถูกได้ ส่วนรูปแบบของการทำการตลาดของเวียดนามจะเป็นแบบทีมเดียว โดยรัฐบาลเป็นผู้นำในการหาตลาด การส่งออกข้าวของเวียดนามจึงเป็นแบบการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ซึ่งการทำการตลาดแบบทีมเดียวกันของรัฐบาล ผู้ส่งออก โรงสีข้าว และชาวนาของเวียดนามนี้ ส่งผลให้เวียดนามสามารถครองส่วนแบ่งตลาดข้าวเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2548 และมีแนวโน้มว่าส่วนแบ่งตลาดจะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่หากพิจารณาถึงคุณภาพของข้าวไทยและข้าวเวียดนาม ทั้งข้าวขาวและข้าวหอมแล้ว จะพบว่าข้าวของไทยมีคุณภาพดีกว่า ทั้งคุณภาพของเมล็ดข้าว เทคโนโลยีการสีข้าว และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเวียดนาม

            ในส่วนของการรวมกลุ่มของกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งชาวนา โรงสี และผู้ส่งออกข้าว พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการโรงสีกับชาวนาของไทยค่อนข้างมีความใกล้ชิดกัน โดยความสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยกัน การขายข้าวของชาวนาไทยในปัจจุบันจะขายให้กับโรงสี ท่าข้าวหรือลานข้าวโดยตรง โดยดูจากราคารับซื้อว่าที่ไหนให้ราคาสูงชาวนาก็จะไปขายให้กับแหล่งนั้น ขณะที่ในเวียดนาม การขายข้าวของชาวนาส่วนใหญ่จะขายให้กับพ่อค้าคนกลาง จะมีเพียงชาวนาที่มีพื้นที่ในการปลูกข้าวอยู่ใกล้กับโรงสีนำข้าวไปขายให้กับโรงสีโดยตรง ซึ่งโรงสีข้าวส่วนใหญ่จะเป็นรายย่อย

            ส่วนผู้ส่งออกข้าวมีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ซึ่งมีการประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกด้วยกันในด้านการกำหนดนโยบายและแนวทางด้านการส่งออกข้าวในภาพรวม แต่ในส่วนของการค้าข้าวนั้นเป็นการดำเนินงานของแต่ละบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ทำให้ยังคงพบปัญหาการขัดแย้งทางผลประโยชน์และการขายตัดราคากันเอง ส่วนในประเทศเวียดนาม ผู้ส่งออกข้าวเกือบทั้งหมดของเวียดนามจะเป็นสมาชิกของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) และมีผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ คือ Northern Food Corporation (Vinafood 1) และ Southern Food Corporation (Vinafood 2)  ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม (Ministry of Agriculture & Rural Development: MARD) ทำให้การรวมตัวของผู้ส่งออกเวียดนามค่อนข้างเข้มแข็ง การกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำของ VFA ยังทำให้เกิดการป้องกันการขายตัดราคากันเอง ในส่วนของการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการโรงสีข้าวนั้น ในประเทศไทยอยู่ในรูปแบบของสมาคมที่มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน แต่เนื่องจากจำนวนผู้ประกอบการโรงสีมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องแข่งขันกันสูง แต่สำหรับเวียดนามผู้ประกอบการโรงสีมีน้อยราย และส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก ลักษณะจะเป็นแบบต่างคนต่างทำไม่ได้มีการรวมตัวกันอย่างจริงจัง

            สำหรับนโยบายของภาครัฐนั้น ปัจจุบันไทยดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่ประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำจากภาวะข้าวล้นตลาดช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว และป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ให้แก่ชาวนาไม่ให้ต้องขาดทุน นอกจากนั้น รัฐบาลไทยยังไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่อทำนา ทั้งในรูปแบบส่วนบุคคลหรือนิติบุคคล ในขณะที่ประเทศเวียดนามไม่มีนโยบายด้านราคา แต่มีมาตรการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่ทำนาในประเทศของตน ทั้งนี้ ในปัจจุบันเวียดนามได้มีความพยายามที่จะพัฒนาการผลิตและการเก็บรักษาข้าวให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยมีการการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว การฝึกอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคการจัดการให้แก่เกษตรกร และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta River) และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง (Red River Delta) ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศให้เป็นแหล่งปลูกข้าวเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม เวียดนามก็ยังคงมีข้อด้อยตรงที่รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบหรือข้อปฏิบัติที่ใช้ในตลาดโลก เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองแรงงาน ลิขสิทธิ์ บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกข้าวของเวียดนามในอนาคต

                                                 ตารางที่ 4 ได้ทำการสรุปข้อเปรียบเทียบศักยภาพของข้าวไทยกับเวียดนามให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                                                       ตารางที่ 4: การเปรียบเทียบศักยภาพของข้าวไทยกับเวียดนาม

ประเทศที่ปลูกข้าวมากที่สุด
                                                       ที่มา: สรุปจาก อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) 
 


2พัฒนาโดย Michael Porter (1990). The Competitive Advantage of Nation. New York: Free Press.
3จากรายงานข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2552 พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีระบบชลประทานอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 67 ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก 

 

3. ผลกระทบต่อชาวนา โรงสี และผู้ส่งออก หลังจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

            อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ (2554) ได้ประเมินว่า แม้ว่าเมื่อประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าข้าวให้เป็นไปตามข้อตกลงอันจะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว การที่ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดข้าวในอาเซียน ส่งผลให้ไทยมีโอกาสได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าข้าวน้อยกว่าเวียดนาม สำหรับสัดส่วนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคการผลิตต่างๆ ในประเทศนั้น ผู้ส่งออกจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 ของผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับ เนื่องจากเมื่อมีการกำหนดอัตราภาษีเป็นศูนย์ ย่อมส่งผลทำให้ราคาข้าวลดลง ผู้ส่งออกจะขายข้าวได้มากขึ้น ดังนั้นผลกำไรที่ได้จะตกอยู่ที่ผู้ส่งออกเป็นหลัก จากนั้นผลประโยชน์จากการขายข้าวได้เพิ่มขึ้นจะส่งต่อไปยังโรงสีข้าว ทำให้โรงสีข้าวสามารถขายข้าวให้แก่ผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย คิดเป็นผลประโยชน์ที่ได้รับร้อยละ 40 สำหรับผลประโยชน์ที่ตกถึงมือชาวนานั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับการส่งออกต่างประเทศน้อยที่สุด
 

4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

            เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะตั้งรับกับการลดภาษีนำเข้าสินค้าข้าวของประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2558 ตามข้อตกลงอันจะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยจำเป็นต้องมีนโยบายเร่งด่วนในการพัฒนาข้าวไทยทั้งระบบ ดังนี้

  4.1 นโยบายเพื่อเสริมศักยภาพด้านการผลิตของชาวนาไทย

            ส่งเสริมให้ชาวนาลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวอย่างจริงจัง โดยรณรงค์ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงขึ้น  การดำเนินงานดังกล่าวต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผลถึงความเปลี่ยนแปลงของผลผลิตที่เกิดขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเข้ามาดูแลและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทำให้สามารถเพาะปลูกได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และระบบป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนเพื่อป้องกันความเสียหายในฤดูน้ำหลาก นอกจากนี้ควรดำเนินการบริหารจัดการรายได้ของชาวนาอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมให้ชาวนาสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยส่งเสริมด้านการลดต้นทุนการผลิตตลอดจนส่งเสริมให้ชาวนาใส่ใจ ดูแล และเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตข้าวเปลือก คู่ขนานไปกับการปฏิรูปนโยบายราคาข้าวเปลือกภายในประเทศ เพื่อลดระดับการแทรกแซงตลาดและลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศในระยะยาว
 

  4.2 นโยบายส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาด

            เพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้าวของประเทศในอาเซียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ทั้งชาวนา โรงสีข้าว ผู้ส่งออก ได้รับรู้และเข้าใจอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ดังนี้

   4.2.1 ข่าวสารด้านเทคโนโลยีการผลิต ราคาข้าว สถานการณ์การค้าข้าว

            เผยแพร่ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของแต่ละประเทศในอาเซียน ด้านการพัฒนาพันธุ์ข้าว เทคโนโลยีการเพาะปลูกข้าว แนวโน้มราคาข้าว แนวโน้มการค้า-การส่งออกข้าว ตลอดจนสถานการณ์ตลาดข้าวในอาเซียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออก และประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียที่เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญของอาเซียน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง การเผยแพร่ข่าวสารแก่เกษตรกร อาจจัดเป็นโครงการเสียงตามสายของชุมชน เพื่อกระจายความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของประเทศสมาชิกในอาเซียน ในลักษณะของหอกระจายข่าว

   4.2.2 ความคืบหน้าข้อตกลงอาเซียน

            รายงานความคืบหน้าของข้อตกลงต่างๆ ภายในอาเซียน รวมถึงแผนการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และการดำเนินงานของภาครัฐที่มีต่อข้อตกลงต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการรับรู้ เข้าใจ และสามารถเตรียมความพร้อมได้ถูกทิศทาง

   4.2.3 วิเคราะห์เตือนภัยข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

            จัดทำบทวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการค้าข้าวในตลาดอาเซียน นโยบายข้าวของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนโยบายด้านการผลิต การตลาด การส่งออก ราคา ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากนโยบายสำคัญๆ นั้น และผลกระทบจากข้อตกลงอาเซียนในปัจจุบัน แนวโน้มในอนาคต ที่มีต่อชาวนา โรงสี หรือผู้ส่งออก และนโยบายของภาครัฐที่ควรเร่งดำเนินการ

   4.2.4 ทำการตลาดข้าวเพื่อการส่งออก

            เสริมสร้างการทำตลาดข้าวเพื่อการส่งออกมากขึ้น ทั้งการกระชับสัมพันธ์ในตลาดส่งออกเดิม โดยจัดประชุมพบปะแบบรัฐบาลกับรัฐบาล รัฐบาลกับเอกชน และเอกชนกับเอกชน เพื่อให้การค้ามีความคล่องตัวมากขึ้น ตลอดจนทำการตลาดในตลาดส่งออกใหม่ๆ ทั้งด้านแนวโน้มความต้องการบริโภคข้าวเป็นประเภทใดเพื่อส่งเสริมหรือพัฒนาพันธุ์ข้าวได้ตรงตามความต้องการ ชูจุดเด่นของเอกลักษณ์ข้าวไทย ด้านความหลากหลายของชนิดพันธุ์ข้าว คุณภาพข้าวที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างความแตกต่างของข้าวไทยกับข้าวของประเทศคู่แข่ง รวมทั้งตั้งศูนย์แสดงสินค้าถาวรของข้าวไทยในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ข้าวไทยได้โดยตรง สามารถชิมข้าวไทยได้ตลอดเวลา ป้องกันการปลอมแปลงสินค้า และเป็นการขยายตลาดการส่งออกข้าวไทย

  4.3 นโยบายเสริมศักยภาพข้าวไทยทั้งระบบ

            รวมกลุ่มกันระหว่างชาวนา ผู้ประกอบการโรงสีข้าว ผู้ส่งออก รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระที่ดูแลข้าวไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับการผลิต การแปรรูป และการส่งออก เพื่อให้การดำเนินงานในทุกส่วนสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนนโยบายของภาครัฐ ราคา และด้านการตลาด เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางแก้ไข และเข้าใจสถานการณ์ข้าวของไทยอย่างถูกต้องตรงกัน

บรรณานุกรม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (2555). ประวัติความเป็นมาอาเซียน. http://www.thailandaec.com/index.php?option=com_content&view=article&id=939&Itemid=32&lang=th
ดึงข้อมูลเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555.

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา (2553). การบรรยายเรื่องการขนส่งไทยสู่ประชาคมอาเซียน. กระทรวงคมนาคม.http://vigportal.mot.go.th/portal/site/PortalMOT/foreign/comu-asean/
ดึงข้อมูลเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555.

อัทธ์  พิศาลวานิช และคณะ (2554). โครงการศึกษาความอยู่รอดของข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, เสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

Porter, M. (1990). The Competitive Advantage of Nation. New York: Free Press

ประเทศใดที่ผลิตข้าวส่งออกได้มากที่สุดเป็น 5 อันดับแรกของโลก

ส่วนอันดับการส่งออกข้าวของโลกในปี 2563 อินเดีย อันดับ 1 ส่งออกปริมาณ 14 ล้านตัน เวียดนาม อันดับ 2 ปริมาณ 6.3 ล้านตัน ไทย อันดับ 3 ปริมาณ 5.72 ล้านตัน ปากีสถาน อันดับ 4 ปริมาณ 4 ล้านตัน และสหรัฐฯ อันดับ 5 ปริมาณ 3.05 ล้านตัน

ข้าวเจ้าปลูกที่ไหนมากที่สุด

2554
ลำดับที่
จังหวัด
ผลผลิต
1
สุพรรณบุรี
808,558
2
นครสวรรค์
647,496
3
พิจิตร
620,988
จังหวัดที่มีผลผลิตข้าวมากที่สุด10 อันดับ - TH - สำนักงานสถิติแห่งชาติservice.nso.go.th › nso › nsopublish › TopTennull

ประเทศไหนมีการส่งออกข้าวมากที่สุด

โดยอันดับ1 ยังคงเป็นอินเดีย โดนมีปริมาณส่งออกข้าว19.55ล้านตันซึ่งมากที่สุดในโลกต่อเนื่อง4ปีนับตั้งแต่ปี2561-2564) เพิ่มขึ้น33.9% โดยปี2563 ส่งออกได้14.60ล้านตัน อันดับ2 เป็นเวียดนาม ส่งออกได้ในปริมาณ 6.24ล้านตัน แต่ภาพรวมทั้งปีส่งออกติดลบ5.2% ปี2563ส่งออกได้ 6.58ล้านตัน ส่วนอันดับ4เป็นของปากีสถาน ปริมาณ3.93ล้านตัน และ ...

ประเทศใดที่ไม่มีการผลิตข้าว

ที่มา กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) เดือนธันวาคม 2562/ไม่มีข้อมูลส าหรับประเทศบรูไนและ สิงคโปร์ (ไม่ผลิตข้าว)