เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

โรงเรียนเตรียมทหาร

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง
ชื่อย่อรร.ตท.สปท. / AFAPS.RTARF
คติพจน์สามัคคี มีความรู้ คู่คุณธรรม
ประเภทสถาบันการศึกษาทางทหาร
สถาปนา27 มกราคม พ.ศ. 2501 (64 ปี)
สังกัดการศึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
ผู้บัญชาการ
รองผู้บัญชาการ
พลตรี โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์
พันเอกหญิง สมใจ เกษเกษม
ที่ตั้ง

เลขที่ 9 หมู่ 10 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 26110

สี                 สีแดง-น้ำเงิน-ฟ้า-เลือดหมู
เว็บไซต์www.afaps.ac.th

โรงเรียนเตรียมทหาร (อังกฤษ: Armed Forces Academies Preparatory School) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)

การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี

ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ) ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เสด็จแทนพระองค์[1]

ประวัติ[แก้]

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

บรรยากาศภายในโรงเรียนเตรียมทหาร

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

การแต่งกายของนักเรียนเตรียมทหาร

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 จอมพลถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่าง ๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียว มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกันแต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้สามารถประสานงานกันได้ด้วยดีและปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สภากลาโหมได้เห็นชอบในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ ในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอก ปิยะ สุวรรณพิมพ์

ในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียนเตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับนายทหาร นายตำรวจ โดยสมบูรณ์ ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่พระราม 4 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2504

ในปี พ.ศ. 2522 กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก และกองร้อยทหารสื่อสารซ่อมบำรุงเขตหลัง กองบัญชาการกองทัพบก ได้ย้ายออกจากพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องกัน โรงเรียนเตรียมทหารจึงได้รับพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเพิ่มอีก 91 ไร่ 62 ตารางวา รวมเป็น 127 ไร่ 9 ตารางวา

ในปี พ.ศ. 2537 พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้พิจารณาว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมทหารได้เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่โดยรอบกลายเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ อีกทั้งพื้นที่ของโรงเรียนเตรียมทหารมีข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารและการพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารด้านต่างๆ ในอนาคต จึงได้ปรึกษากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ถึงการย้ายที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้มอบให้บริษัท คริสเตียนนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ของโครงการย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งเสนอแนะพื้นที่ตั้งโครงการ ในที่สุดได้เลือกพื้นที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเจ้าของพื้นที่มอบพื้นที่ให้ดำเนินการประมาณ 2,460 ไร่ เป็นผลให้โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่เกิดขึ้น

โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2541

ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้สามารถเปิดการศึกษาได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีพิธีเคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารเข้าสู่ที่ตั้งในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียน[2]

ส่วนพื้นที่โรงเรียนเตรียมทหารเดิม ต่อมาก็ได้กลายเป็นสวนลุมไนท์บาซาร์ และปัจจุบันกำลังก่อสร้างโครงการวัน แบงค็อก

ตราประจำโรงเรียน[แก้]

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเตรียมทหาร

เครื่องหมายจักรดาว เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเตรียมทหาร ประกอบด้วย

  1. คบเพลิง หมายถึง การศึกษาและความรุ่งโรจน์
  2. ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพบกและตำรวจ
  3. จักรเวียนซ้าย หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพเรือ
  4. ดาวห้าแฉก หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพอากาศ

สีประจำโรงเรียน[แก้]

สีแดง คือ เหล่าทหารบก

สีน้ำเงิน คือ เหล่าทหารเรือ

สีฟ้า คือ เหล่าทหารอากาศ

สีเลือดหมู คือ เหล่าตำรวจ

รายนามผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พลตรี ปิยะ สุวรรณพิมพ์ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
2 พลตรี ชิงชัย รัชตะนาวิน 13 มกราคม พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2520
3 พลตรี ไพบูลย์ สิรยากร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523
4 พลตรี สนั่น ขยันระงับพาล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2525
5 พลตรี โกมล เกษรสุคนธ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527
6 พลตรี นิยม ศันสนาคม 29 สิงหาคม พ.ศ. 2527 - 30 กันยายน พ.ศ. 2528
7 พลตรี ธีรวัฒน์ เอมะสุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531
8 พลตรี ชัยณรงค์ หนุนภักดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532
9 พลตรี พนม จีนะวิจารณะ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534
10 พลตรี มนัส คล้ายมณี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536
11 พลตรี ปรีชา สามลฤกษ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538
12 พลตรี ประพาฬ นิลวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
13 พลตรี สุเทพ โพธิ์สุวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544
14 พลตรี ธีระศักดิ์ ฤทธิวงศ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547
15 พลตรี พอพล มณีรินทร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549
16 พลตรี พรพิพัฒน์ เบญญศรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552
17 พลตรี รักบุญ มนต์สัตตา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
18 พลตรี สุรสิทธิ์ ถาวร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
19 พลตรี บุญชู เกิดโชค 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
20 พลตรี ชัยชนะ นาคเกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
21 พลตรี ชนินทร์ โตเลี้ยง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
22 พลตรี ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
23 พลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
24 พลตรี รวิศ รัชตะวรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

รายนามนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 1)
  • พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 2)
  • พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รุ่นที่ 3)
  • พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอดีตเสนาธิการทหารบก (รุ่นที่ 4)
  • พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 5)
  • พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 5)
  • พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 6)
  • พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 6)
  • พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 6)
  • พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (รุ่นที่ 6)
  • พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 6)
  • พลเอก ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย (รุ่นที่ 7)
  • พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 8)
  • พันโท ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช (รุ่นที่ 8)
  • พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 9)
  • ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (รุ่นที่ 9)
  • พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 9)
  • นายทักษิณ ชินวัตร (อดีตพันตำรวจโท) อดีตนายกรัฐมนตรี (รุ่นที่ 10)
  • พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 10)
  • พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ (รุ่นที่ 10)
  • พลเอก ไตรรงค์ อินทรทัต อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก (รุ่นที่ 10)
  • พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รุ่นที่ 10)
  • พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก (รุ่นที่ 11)
  • พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 12)
  • พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร อดีตรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 12)
  • พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 12)
  • พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 (รุ่นที่ 12)
  • พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ (รุ่นที่ 13)
  • พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ (รุ่นที่ 13)
  • พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (รุ่นที่ 13)
  • พลเอก อุดมเดช สีตบุตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 14)
  • พลเอก ธีรชัย นาควานิช อดีตองคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 14)
  • พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (รุ่นที่ 14)
  • พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตแม่ทัพภาคที่ 3 (รุ่นที่ 15)
  • พลเอก สมหมาย เกาฏีระ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 15)
  • พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 15)
  • พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 15)
  • พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รุ่นที่ 15)
  • พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 16)
  • พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ (รุ่นที่ 16)
  • พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รุ่นที่ 17)
  • พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 18)
  • พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ (รุ่นที่ 18)
  • พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (รุ่นที่ 18)
  • พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 19)
  • พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 20)
  • พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (รุ่นที่ 20)
  • พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 20)
  • พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (รุ่นที่ 21)
  • พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (รุ่นที่ 22)
  • พลตำรวจเอก ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 22)
  • พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกกองทัพบก อดีตโฆษกศอฉ. (รุ่นที่ 23)
  • นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย (รุ่นที่ 23)
  • พลโท นักรบ บุญบัวทอง ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย (รุ่น 24)
  • นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ประธานคณะกรรมการอำนวยการและพัฒนาพรรคไทยสร้างไทย อดีตผู้ประสานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมการบริษัท ทอท. (รุ่นที่ 24)
  • พลเอก จักรภพ ภูริเดช รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (รุ่นที่ 28)
  • พันเอก วินธัย สุวารี นักแสดง (รุ่นที่ 30)
  • พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รุ่นที่ 31)
  • พันเอก วันชนะ สวัสดี นักแสดง (รุ่นที่ 34)
  • พันตำรวจเอก จตุรวิทย์ คชน่วม นักแสดง​ (รุ่นที่ 37)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • เตรียมทหาร 10
  • กีฬาประเพณีเตรียมอุดม-เตรียมทหาร
  • กีฬาประเพณียุพราช-เตรียมทหาร

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/510853สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จฯพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้าและร.ร.นายร้อยตำรวจ
  2. https://www.youtube.com/watch?v=hO8Do-RAvGs ประวัติโรงเรียนเตรียมทหาร

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
โรงเรียนเตรียมทหาร

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง
กองทัพไทย

ผู้บัญชาการ

จอมทัพ · รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม · ปลัดกระทรวงกลาโหม · สมุหราชองครักษ์ · ผู้บัญชาการทหารสูงสุด · ผู้บัญชาการทหารบก · ผู้บัญชาการทหารเรือ · ผู้บัญชาการทหารอากาศ

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

เหล่าทัพ

กองทัพบก · กองทัพเรือ · กองทัพอากาศ

หน่วยทหาร

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ · หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ · หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน · กองเรือยุทธการ · หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน · หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ · หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง · กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ · หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

วิทยาลัย/โรงเรียน
วิทยาลัย

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร · วิทยาลัยเสนาธิการทหาร · วิทยาลัยการทัพบก · วิทยาลัยการทัพเรือ · วิทยาลัยการทัพอากาศ · วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า · วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก · วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ · วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

โรงเรียน

โรงเรียนเสนาธิการทหารบก · โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ · โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ · โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า · โรงเรียนนายเรือ · โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช · โรงเรียนเตรียมทหาร · โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร · โรงเรียนช่างฝีมือทหาร · โรงเรียนนายสิบทหารบก · โรงเรียนชุมพลทหารเรือ · โรงเรียนจ่าอากาศ · โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก · โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ · โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ

หน่วยงานอื่น

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

กำลังกึ่งทหาร

ตำรวจตระเวนชายแดน (สังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) · ทหารพราน · กองอาสารักษาดินแดน (สังกัด กระทรวงมหาดไทย)

กำลังพลสำรอง

นักศึกษาวิชาทหาร

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

การเกณฑ์ทหาร · ประวัติศาสตร์การทหารในประเทศไทย (รายชื่อสงคราม) · ธงแสดงยศทหาร · ยศทหารและตำรวจ · เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี · มวยไทยเลิศฤทธิ์ · ธงไชยเฉลิมพล · รัฐประหาร

จังหวัดนครนายก

อำเภอ

  • เมืองนครนายก
  • บ้านนา
  • ปากพลี
  • องครักษ์

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

ประวัติศาสตร์

  • เมืองโบราณดงละคร
  • รายชื่อโบราณสถาน

ภูมิศาสตร์

  • อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
  • แม่น้ำนครนายก
  • เขื่อนขุนด่านปราการชล
  • คลองรังสิต

เศรษฐกิจ
คมนาคม

  • ทางหลวงแผ่นดิน
    • 33 (สุพรรณบุรี–อรัญประเทศ)
    • 305 (รังสิต–นครนายก)
  • ทางราง
    • สายตะวันออก
    • สายชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย (เฉพาะสินค้า)

สังคม
การศึกษา

  • รายชื่อโรงเรียน
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  • สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
  • สถาบันด้านการทหาร
    • โรงเรียนเตรียมทหาร
    • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สาธารณสุข

  • ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วัฒนธรรม

  • รายชื่อวัด

กีฬา

  • สโมสรฟุตบอล
    • นครนายก
    • ทหารบก

การเมือง

  • สมาชิกวุฒิสภา
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง
หมวดหมู่

โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครนายก

*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

สังกัด สพม.
ปราจีนบุรี นครนายก

  • เขาเพิ่มนารีผลวิทยา
  • นครนายกวิทยาคม
  • นวมราชานุสรณ์
  • บ้านนา "นายกพิทยากร"
  • ปากพลีวิทยาคาร
  • ปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ฯ
  • เมืองนครนายก
  • ภัทรพิทยาจารย์
  • เลขธรรมกิตติ์วิทยาคม
  • องครักษ์
  • อุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครนายก

สังกัด สพป.
นครนายก

  • ชุมชนวัดเชี่ยวโอสถ*†
  • บ้านเขาดิน (แสงสว่างวิทยา)*†
  • บ้านเขาไม้ไผ่*†
  • บ้านเขาส่องกล้อง*†
  • บ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา)*†
  • บ้านคลอง 14*†
  • บ้านโคกสว่าง*†
  • บ้านชุมพล (อ้นอารีศึกษาคาร)*†
  • บ้านดอนกลาง (กิดารีศึกษาคาร)*†
  • บ้านบุ่งเข้*†
  • วัดเกาะกา*†
  • วัดเข็มทอง*†
  • วัดดอนยอ*†
  • วัดท่าด่าน*†
  • วัดธรรมปัญญา*†
  • วัดบ้านพริก*†
  • วัดประสิทธิเวช*†
  • วัดพรหมเพชร*†
  • วัดพลอยกระจ่างศรี*†
  • วัดโพธิ์แก้วเบญจธาราม*†
  • วัดโพธิ์แทน*†
  • วัดสมบูรณ์สามัคคี (ปากช่องประชานุกูล)*†
  • วัดสันตยาราม*†
  • วัดสุนทรพิชิตาราม*†
  • วัดหนองทองทราย*†
  • วัดหนองรี*†
  • วัดอรุณรังษี*†
  • สาริกา*†

สังกัด อปท.
ทม.นครนายก

  • เทศบาล 1 วัดศรีเมือง*†
  • เทศบาล 3 บ้านต่ำบุญศิริ*†

สังกัด สช.

  • คริสตสงเคราะห์*†
  • ดาวทองวิทยาลัย*
  • นักบุญยอแซฟอุปถัมภ์ หนองรี*†
  • นายกวัฒนากร (บ้านนา)†
  • นายกวัฒนากร วัดอุดมธานี*
  • ผดุงอิสลาม
  • โพธิวัฒน์พิทยา*†
  • มาลาสวรรค์พิทยา*
  • สุวรรณประสิทธิ์*†

สังกัดอื่น ๆ

  • กีฬาจังหวัดนครนายก
  • เตรียมทหาร
  • สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์*

ดูเพิ่ม: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครนายก

โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร

เตรียมอุดมศึกษา

เตรียมทหาร 4 เหล่า มีอะไรบ้าง

ภาคเหนือ

  • เตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
  • น่านประชาอุทิศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา
  • ศรีธวัชวิทยาลัย
  • อุดรพัฒนาการ

ภาคกลาง

  • เตรียมทหาร
  • ทวารวดี
  • พิบูลวิทยาลัย
  • มหิดลวิทยานุสรณ์
  • สาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาคตะวันออก

กำเนิดวิทย์

ภาคตะวันตก

เทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ภาคใต้

เตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้

หมวดหมู่

โรงเรียนชายล้วนในประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร

  • กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  • เซนต์คาเบรียล
  • เซนต์ดอมินิก
  • ไตรมิตรวิทยาลัย
  • ทวีธาภิเศก
  • เทพศิรินทร์
  • ปทุมคงคา
  • มัธยมวัดเบญจมบพิตร
  • วชิราวุธวิทยาลัย
  • วัดบวรนิเวศ
  • วัดราชบพิธ
  • วัดสระเกศ
  • วัดสุทธิวราราม
  • สวนกุหลาบวิทยาลัย
  • อัสสัมชัญ

ภาคกลาง

  • เตรียมทหาร
  • พิษณุโลกพิทยาคม†
  • ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาคเหนือ

อุตรดิตถ์†

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ร้อยเอ็ดวิทยาลัย†
  • ราชสีมาวิทยาลัย

ภาคตะวันออก

  • ชลราษฎรอำรุง†
  • เบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี†

ภาคตะวันตก

  • วิสุทธรังษี†
  • สารสิทธิ์พิทยาลัย

ภาคใต้

แสงทองวิทยา

†เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4 เหล่าทัพ มีอะไรบ้าง

น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มีเหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า).

5 เหล่าทัพ มีอะไร บ้าง

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพไทย (ผู้บัญชาการทหารสูงสุดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพไทย)

เตรียมทหารรุ่น4มีใครบ้าง

รายนามผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร.

โรงเรียนเตรียมทหาร สอบอะไรบ้าง

สรุปแนวข้อสอบ นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร (นายร้อย) ทุกเหล่าทัพ ตรงตามหลักสุตรการสอบล่าสุด โดยรวมวิชาที่ต้องใช้สอบทั้ง 5 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา สรุปกระชับ เข้าใจง่าย เน้นแนวข้อสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารทั้ง 4 เหล่า