ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย
   1.1 ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
   เอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
       1. ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลคารา ทะเลแลปทิฟ และทะเลไซบีเรียตะวันออกในมหาสมุทรอาร์กติก 
       2. ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลเบริง ทะเลโอคอตสค์ ทะเลญี่ปุ่น ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก
       3. ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย และอ่าวเอเดนในมหาสมุทรอินเดีย
       4. ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลแดง คลองสุเอซ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ เทือกเขาคอเคซัส ทะเลแคสเปียนและเทือกเขายูรัล

   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
   ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชียอาจแบ่งออกได้เป็น 6 เขต ดังนี้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       1. เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ
       2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ
       3. เขตเทือกเขาสูง
       4. เขตที่ราบสูงทางตอนกลางทวีป
       5. เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้
       6. หมู่เกาะ

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

   1.3 ภูมิอากาศ
       1.3.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศ
          1. ที่ตั้ง ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ คือ จากเส้นศูนย์สูตรไปจนถึงขั้วโลก ทำให้ทวีปเอเชียมีภูมิอากาศทุกชนิด
          2. ขนาด ทวีปเอเชียมีอาณาเขตกว้างขวางมาก มีเส้นศูนย์สูตร เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่าน จึงมีภูมิอากาศทั้งเขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว
          3. ความใกล้–ไกลทะเล ทวีปเอเชียมีดินแดนบางส่วนอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และดินแดนภายในทวีปบางแห่งอยู่ห่างไกลจากทะเลมาก จึงมีความแตกต่างของภูมิอากาศอย่างรุนแรง
          4. ความสูงต่ำของพื้นที่ ทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทั้งที่เป็นเทือกเขาสูง ที่ราบ และที่ราบสูง จึงทำให้ภูมิอากาศแตกต่างกันทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ในแนวละติจูดเดียวกัน
          5. ลมประจำที่พัดผ่าน ได้แก่
             1) ลมประจำฤดูกาล เช่น ลมมรสุม ซึ่งมีอิทธิพลต่อทวีปเอเชียมาก คือ
             ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทางตอนเหนือของทวีปซึ่งมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในฤดูหนาว
             ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พัดพาความชุ่มชื้นมาสู่ภาคพื้นทวีปในฤดูฝน
      

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่
   
ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

             2) พายุหมุน คือ พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุไต้ฝุ่นที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและพายุไซโคลนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคพื้นทวีป
          6. กระแสน้ำ ในมหาสมุทรแปซิฟิกมีกระแสน้ำเย็นโอยาชิโอ (Oyashiwo) ไหลผ่านชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น และมีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโอ (Kuroshio) ไหลผ่านชายฝั่งตะวันออกของประเทศ ทำให้พื้นที่ด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นมีภูมิอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก
       1.3.2 เขตภูมิอากาศ (climatic region)
       ทวีปเอเชียมีภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลาย จำแนกได้ 11 เขต ดังนี้
          1. เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบมรสุม (Am)
          3. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
          4. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          5. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          6. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Ca)
          7. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs)
          8. เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (Da)
          9. เขตภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา (Dc)
          10. เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา (ET)
          11. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H)

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

   1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
       1. แร่ ทวีปเอเชียมีทรัพยากรแร่ที่อุดมสมบูรณ์หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก ดีบุก ปิโตรเลียม
       2. ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินในทวีปเอเชียแตกต่างกันไปตามเขตภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศ
       3. น้ำ เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและเขตมรสุมเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก ส่วนพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปภายในทวีปเป็นที่มีปริมาณฝนน้อยเป็นเขตแห้งแล้ง โดยในทวีปเอเชียมีพื้นที่ติดต่อกับแหล่งน้ำใหญ่ 3 แห่ง คือ มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
       4. ป่าไม้ ทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่าทุกทวีป ลักษณะของป่าไม้อาจจำแนกได้ดังนี้
          1) ป่าไทกา ป่าในทวีปเอเชียส่วนใหญ่เป็นป่าไทกา ซึ่งเป็นป่าไม้สนในเขตหนาวและเป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อนที่สำคัญที่สุดของทวีป
          2) ป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่น เป็นป่าไม้เนื้อแข็งผสมกับป่าสน
          3) ป่าไม้เขตร้อน ในเขตร้อนที่มีฝนตกชุก ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นและไม่มีฤดูผลัดใบที่แน่นอน
       5. สัตว์ในธรรมชาติ จำแนกตามที่อยู่อาศัยได้ 2 ประเภท คือ
          1) สัตว์บก เขตป่าไม้ของทวีปเอเชียเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกพื้นที่ป่าและการลักลอบล่าสัตว์ป่า สัตว์ป่าในทวีปเอเชียมีปริมาณลดลง และมีบางชนิดสูญพันธุ์ไป
          2) สัตว์น้ำ ทวีปเอเชียมีสัตว์น้ำทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็มอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์

2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปเอเชีย
   2.1 ประชากร
       2.1.1 จำนวนประชากร
       ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรประมาณ 4,052 ล้านคน ซึ่งประเทศจีนมีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก และประเทศอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
       2.1.2 เชื้อชาติ
          1. เชื้อชาติมองโกลอยด์ (Mongoloid) แบ่งได้ 2 พวก ดังนี้
             1) พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นพวกผิวเหลืองที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและตะวันออกของทวีป
             2) พวกมองโกลอยด์ใต้ เป็นพวกผิวเหลืองที่อยู่ทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พวกดยัก (Dyak) ในเกาะบอร์เนียว
          2. เชื้อชาติคอเคซอยด์ (Caucasoid) เป็นพวกผิวขาว หน้าตารูปร่างสูงใหญ่อย่างชาวยุโรปแต่ตาและผมมีสีเข้มกว่าชาวยุโรป ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลาง และทางภาคเหนือของประเทศปากีสถานและอินเดีย
          3. เชื้อชาตินิกรอยด์ (Negroid) เป็นพวกผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมหยิก ได้แก่ ชาวพื้นเมืองทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินเดียและเกาะศรีลังกา ชาวพื้นเมืองในคาบสมุทรมลายูและในหมู่เกาะต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       2.1.3 ภาษา
       ภาษาของประชากรในทวีปเอเชีย อาจจำแนกเป็นตระกูลของภาษาต่าง ๆ ได้ดังนี้
          1. ตระกูลภาษาจีน–ทิเบต
          2. ตระกูลภาษาดราวิเดียน
          3. ตระกูลภาษาออสโตร–เอเชียติก
          4. ตระกูลภาษาไท
          5. ตระกูลภาษาอัลเทอิก
          6. ตระกูลภาษาอินโด–อิหร่าน
          7. ตระกูลภาษาสลาโวนิก
          8. ตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย
          9. ตระกูลภาษาเซมิติก
       2.1.4 ศาสนา
       ศาสนาที่สำคัญของโลกเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย โดยมีแหล่งกำเนิดดังนี้
          1. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
          2. เอเชียใต้ เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาสิกข์
          3. เอเชียตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิขงจื๊อ เต๋า และชินโต
          ศาสนาที่ประชากรในทวีปเอเชียนับถือกันมากในปัจจุบัน คือ ศาสนาอิสลาม พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิความเชื่อของจีน ศาสนาคริสต์ ศาสนาสิกข์ และความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่า
       2.1.5 การกระจายประชากร
       ในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปเป็นบริเวณที่มีประชากรเบาบางมาก เช่น ในไซบีเรียที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นแบบขั้วโลกและกึ่งขั้วโลก ภาคกลางของทวีปที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และเขตภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศจีน ส่วนบริเวณที่ราบที่มีประชากรหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรและตามลุ่มน้ำต่าง ๆ

   2.2 เศรษฐกิจ
       1. การเกษตร ประกอบด้วย
          1) การเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่ในเขตมรสุมเขตร้อนที่มีอากาศชุ่มชื้นและที่ราบลุ่มแม่น้ำอุดมสมบูรณ์จะมีอาชีพเพาะปลูก พืชสำคัญ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวโพด มันสำปะหลัง มันเทศ อ้อย และพืชผักผลไม้
          2) การเลี้ยงสัตว์ ประชากรในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งในทวีปเอเชียกลาง มีอาชีพเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ อูฐ แพะ แกะ โค และจามรี ส่วนในเขตภูมิอากาศร้อนและเขตภูมิอากาศอบอุ่น จะมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและส่งออก สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ และปลา
       2. การทำประมง บริเวณที่มีผลผลิตการทำประมงมาก ได้แก่ ชายฝั่งตะวันออกของทวีปตั้งแต่อ่าวไทยไปจนถึงช่องแคบเบริง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮกไกโดของญี่ปุ่น เป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำอยู่มาก เรียกบริเวณนี้ว่า คูริลแบงก์ (Kuli Bank)
       3. การทำป่าไม้ จำแนกได้ 2 แหล่ง คือ
          1) การทำป่าไม้ในเขตร้อน มีการทำป่าไม้เนื้อแข็งในประเทศพม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ลาว และกัมพูชา
          2) การทำป่าไม้ในเขตหนาว เป็นการตัดและแปรรูปไม้สน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน โดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
       4. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน ดีบุก น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ แมงกานีส เพชร พลอย และโครไมต์
       5. อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นแบบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน มีประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน และสิงคโปร์ที่มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม
       6. การค้า ประเทศที่มีการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญมีดังนี้
          1) ญี่ปุ่น ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่
          2) ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย ส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
          3) ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งออกข้าวเจ้ารายใหญ่ที่สุดในโลก และมีผลผลิตจากพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกอีก 2 ชนิด คือ ยางพาราและมะพร้าวแห้ง
          4) จีน ส่งทังสเตนเป็นสินค้าออกมากที่สุดในโลก

   2.3 การคมนาคมขนส่ง
   เส้นทางคมนาคมที่สำคัญของทวีปจำแนกได้ดังนี้
       1. ทางรถไฟ มีอยู่หนาแน่นและสามารถใช้ติดต่อกันได้ทั่วถึง ได้แก่ ประเทศอินเดียและประเทศญี่ปุ่น เส้นทางรถไฟสายยาวในทวีปเอเชียที่สร้างเชื่อมติดต่อระหว่างทวีปเอเชียและทวีปยุโรป คือ สายทรานส์ไซบีเรีย
       2. ทางรถยนต์ ถนนสายสำคัญที่เชื่อมการติดต่อระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและติดต่อเข้าไปถึงทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาใต้ คือ ทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway-AH) มีเส้นทางสายหลักที่สำคัญ 2 สาย คือ
          1) สาย AH-1เป็นทางหลวงสายเอเชียที่ยาวที่สุดเริ่มต้นจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ไปสิ้นสุดที่เส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศตุรกีและบัลแกเรียทางตะวันตกของเมืองอิสตันบูล
          2) สาย AH-2เริ่มต้นจากเมืองเดนปาซาร์ (Denpasar) ในเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ไปสิ้นสุดที่เมืองคอสราวี (Khosravi) ประเทศอิหร่าน
       3. ทางอากาศเส้นทางคมนาคมขนส่งทางอากาศ ช่วยให้ทวีปเอเชียซึ่งมีความกว้างใหญ่สามารถติดต่อกันได้สะดวก เมืองที่เป็นศูนย์กลางและมีการคมนาคมขนส่งสะดวก จะมีสายการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศมาแวะขนถ่ายผู้โดยสารและสินค้ามาก
       4. ทางน้ำ แม่น้ำสายสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ แม่น้ำหวางเหอ แม่น้ำฉางเจียง แม่น้ำซีเจียง แม่น้ำอามูร์ และปากแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร ปัจจุบันมีการเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียและออสเตรเลีย โดยผ่านคลองสุเอซและเมืองท่าสำคัญต่าง ๆ เข้าสู่ช่องแคบมะละกามายังสิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองท่าเรือใหญ่ เป็นศูนย์กลางการเดินเรือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมืองท่าในเอเชียตะวันออก เช่น ฮ่องกง โซล โอซะกะ โยะโกะฮะมะ โตเกียว

3. ภูมิภาคของทวีปเอเชีย
   ดินแดนของทวีปเอเชียแบ่งได้ 5 ภูมิภาค ดังนี้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

   3.1 เอเชียตะวันออก
       3.1.1 ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
       เอเชียตะวันออกตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 18 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 54 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 74 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 145 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
       ทิศเหนือ         ติดกับสหพันธรัฐรัสเซีย
       ทิศตะวันออก   จดมหาสมุทรแปซิฟิก
       ทิศใต้            ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้
       ทิศตะวันตก     ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และเอเชียกลาง
       เอเชียตะวันออกมีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ
 

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกแบ่งได้ 4 เขต ดังนี้
          1. เขตที่ราบสูงทิเบต
          2. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
          3. เขตภาคตะวันออก
          4. หมู่เกาะ
       3.1.3 ภูมิอากาศ

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       ภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกแบ่งได้ 7 เขต ดังนี้
          1. เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          3. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          4. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Ca)
          5. เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (Da)
          6. เขตภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา (Dc)
          7. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H)
       3.1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
          1. ป่าไม้ มีมากบริเวณคาบสมุทรเกาหลี เกาะต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เกาะไต้หวัน
          2. น้ำ แหล่งน้ำในเอเชียตะวันออกโดยเฉพาะในเขตเทือกเขา สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ พื้นที่ลุ่มน้ำหวางเหอในจีนตอนกลางเป็นแหล่งทับถมของดินเลิสส์ ซึ่งอาจจมลงสู่แม่น้ำและถูกพัดพามาทำให้น้ำในแม่น้ำมีสีเหลือง
          3. แร่ ที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติน้ำมัน และเหล็ก
       3.1.5 เศรษฐกิจ
          1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก พืชที่สำคัญ คือ ข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำของประเทศจีนและในบริเวณอื่นที่อากาศไม่หนาวเย็นจัด ส่วนข้าวสาลี ข้างฟ่าง ถั่วเหลือง มันฝรั่ง ปลูกมากในแมนจูเรียของประเทศจีน ญี่ปุ่น และมองโกเลีย นอกจากนี้ยังมีพืชที่ปลูกกันมาก เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง ชา ยาสูบ และผลไม้ ได้แก่ แอปเปิล พลับ ท้อ ปลูกในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน
             2) การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนตามทุ่งหญ้าธรรมชาติมาก เช่น ประเทศมองโกเลียและที่ราบสูงทิเบต จะเลี้ยงอูฐ จามรี แพะ แกะ ม้า โค ส่วนการเลี้ยงสัตว์แบบฟาร์มขนาดใหญ่ยังมีไม่มากนัก นิยมทำบริเวณเกาะฮกไกโด ทางเหนือของญี่ปุ่น สัตว์ที่เลี้ยง คือ โคเนื้อและโคนม
          2. การทำประมง แหล่งเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดที่สำคัญคือ ประเทศจีน ในบริเวณแม่น้ำฉางเจียง และมณฑลฝูเจี้ยน กว่างตง และแหล่งประมงน้ำเค็มที่สำคัญของโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น ในบริเวณคูริลแบงก์
          3. การทำป่าไม้ มีมากในบริเวณคาบสมุทรเกาหลี เกาะต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เกาะไต้หวัน และเกาะไหหลำ
          4. อุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ มีอุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้า และมีสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกสู่ตลาดทั่วโลก
          5. การค้า ประเทศญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าด้านอุตสาหกรรม ส่วนสินค้าเข้าจะเป็นพวกวัตถุดิบและอาหาร
       3.1.6 ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
          1. ประชากร มีประมาณ 1,549.8 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในทวีปเอเชียและโลก ซึ่งจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด และมองโกเลียเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุด บริเวณที่ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น คือ ทางตะวันออกของภูมิภาคและหมู่เกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์
          2. ภาษา มีภาษาที่ใช้พูดกันอยู่หลายภาษา แบ่งได้เป็น 2 ตระกูลภาษาใหญ่ คือ
             1) ตระกูลภาษาจีน–ทิเบต มีผู้ใช้มากกว่า 1,000 ล้านคน มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษาซินิติก และกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า
             2) ตระกูลภาษาอัลเทอิก เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี
          3. วัฒนธรรม ทุกประเทศในภูมิภาคนี้จะได้รับอิทธิพลมาจากจีนทั้งทางด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ แล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน
          4. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานควบคู่ไปกับลัทธิต่าง ๆ ในประเทศของตน นอกจากนี้ยังมีศาสนาอื่น ๆ ที่มีผู้นับถือไม่มากนัก ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม

   3.2 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       3.2.1 ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 141 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
       ทิศเหนือ         ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย
       ทิศตะวันออก   จดมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
       ทิศใต้            จดมหาสมุทรอินเดีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
       ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และสาธารณรัฐอินเดีย
       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับ ประกอบด้วย 11 ประเทศ คือ

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.2.2 ลักษณะภูมิประเทศ
       ดินแดนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่หรือคาบสมุทรอินโดจีน ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และบางส่วนของมาเลเซีย และดินแดนที่เป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วยประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม ติมอร์–เลสเต และมาเลเซียส่วนที่อยู่บนเกาะบอร์เนียว
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำแนกได้ดังนี้
          1. บริเวณเทือกเขา แบ่งได้ 3 แนว ได้แก่ แนวเทือกเขาหินเก่าตอนกลาง แนวเทือกเขายุคกลางตะวันออก แนวเทือกเขาหินใหม่ตะวันตก
          2. ที่ราบลุ่มแม่น้ำ แม่น้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำแดง แม่น้ำเจ้าพระยา
          3. ที่ราบชายฝั่งทะเล
          4. หมู่เกาะ

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.2.3 ภูมิอากาศ
       ภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้ 3 เขต ดังนี้
          1. เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบมรสุม (Am)
          3. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
          1. ป่าไม้ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้
             1) ป่าดิบชื้น เป็นป่าไม้ในบริเวณที่มีฝนตกชุกตลอดปี เช่น ภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ไม้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี ไม้ยาง ไม้ตะเคียน และไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ
             2) ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง ไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง พบได้ในประเทศไทย พม่า เวียดนาม ลาว ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ คือ ไม้แดง ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้ประดู่
             3) ป่าชายเลน พบบริเวณใกล้ปากแม่น้ำและตามริมฝั่งทะเล เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และภาคใต้ของไทย ไม้สำคัญ คือ ไม้แสมและไม้โกงกาง
          2. ดิน ดินตะกอนน้ำพัดพาและดินเถ้าธุลีภูเขาไฟเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ดินตะกอนน้ำพัดพาจะพบตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ และดินเถ้าธุลีภูเขาไฟจะพบในหมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์
          3. น้ำ แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติสายยาวที่สุดของภูมิภาคนี้ แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแดง ส่วนทะเลสาบที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลสาบกัมพูชา ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทะเลสาบโตบาบนเกาะสุมาตราที่มีขนาดใหญ่รองลงมา ทะเลที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ ทะเลฟิลิปปินส์ และมีมหาสมุทร 2 แห่ง คือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก
          4. แร่ ที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก วุลแฟรม นิกเกิลเหล็ก ทองแดง ปิโตรเลียม เชื้อเพลิงธรรมชาติและเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหิน แซปไฟร์และทับทิม
       3.2.5 เศรษฐกิจ
          1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำต่าง ๆ พืชอื่น ๆ เช่น ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ผักและผลไม้ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะปลูกแบบไร่นาขนาดใหญ่เพื่อการค้า และนิยมปลูกพืชเพียงชนิดเดียว
             2) การเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ เช่น โค สุกร ไก่ เป็ด มีการเลี้ยงเพื่อส่งออกมากในประเทศไทย ส่วนการเลี้ยงแพะและแกะจะเลี้ยงมากในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
          2. การทำประมง ประเทศที่จับสัตว์น้ำได้มากที่สุด คือ ประเทศไทย และประเทศอื่นที่จับสัตว์น้ำได้มาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
          3. การทำป่าไม้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้เมืองร้อนที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก ไม้ที่มีค่า เช่น ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี ไม้ยาง ไม้ตะแบก แต่ปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายไปมาก จนทำให้หลายประเทศต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้
          4. การทำเหมืองแร่ เป็นแหล่งผลิตแร่ดีบุกที่สำคัญ ประเทศที่ส่งออกแร่ดีบุกมากที่สุดในโลก คือ ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย แร่ที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศอินโดนีเซียและบรูไนดารุสซาลาม
          5. อุตสาหกรรม ในภูมิภาคนี้อุตสาหกรรมยังไม่เจริญก้าวหน้ามากนัก โดยประเทศสิงคโปร์มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมต่อเรือมากกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้ ส่วนประเทศที่มีอุตสาหกรรมมากรองจากสิงคโปร์ คือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมัน และอุตสาหกรรมโรงงานประเภทต่าง ๆ
          6. การค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ส่งออกเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ น้ำมัน
       3.2.6 ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
          1. ประชากร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรประมาณ 586.5 ล้านคน ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมากที่สุด และประเทศบรูไนดารุสซาลามมีประชากรน้อยที่สุด ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณภูเขาไฟที่มีดินอุดมสมบูรณ์
          2. ภาษา ประเทศต่าง ๆ ใช้ภาษาประจำชาติของตนควบคู่กับภาษาอื่น
          3. วัฒนธรรมมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอินเดีย จีน และตะวันตกที่เข้ามาภายหลังเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน
          4. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไนดารุสซาลาม รองลงมา คือ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในภาคพื้นทวีป ได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และศาสนาอื่น ๆ ที่มีการนับถือในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบริเวณเกาะบาหลี

   3.3 เอเชียใต้
       3.3.1 ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
       เอเชียใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 36 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 61 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 97 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
       ทิศเหนือ         ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
       ทิศตะวันออก    ติดต่อกับสหภาพพม่า
       ทิศใต้             จดทะเลอาหรับและอ่าวเบงกอลของมหาสมุทรอินเดีย
       ทิศตะวันตก      ติดต่อกับสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
       เอเชียใต้มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย รองจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำดับ ประกอบด้วย 7 ประเทศ คือ

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.3.2 ลักษณะภูมิประเทศ
       ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้แบ่งได้ดังนี้
          1. เขตภูเขาสูงภาคเหนือ
          2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา
          3. เขตที่ราบสูงตอนใต้
          4. เกาะ

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.3.3 ภูมิอากาศ
       ภูมิอากาศของเอเชียใต้แบ่งได้ 6 เขต ดังนี้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

          1. เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
          3. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          4. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          5. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Ca)
          6. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H)
       3.3.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
          1. ป่าไม้ เขตมรสุมมีป่าไม้ใบกว้าง ซึ่งมีไม้สักและไม้ไผ่เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เขตที่สูงภาคเหนือมีป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่นและป่าสน
          2. น้ำ เขตเทือกเขาหิมาลัยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำ และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญในเอเชียใต้หลายสาย ส่วนเขตภูเขาในคาบสมุทรอินเดียปริมาณน้ำในแม่น้ำมักเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล
          3. สัตว์ป่า ในเขตป่าไม้จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น สิงโต เสือ หมาป่า ลิง ช้าง หมี งู
          4. แร่ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ แต่มีแร่อื่น ๆ อยู่หลายชนิด เช่น เหล็ก ทับทิม ไพลิน และแร่แกรไฟต์
       3.3.5 เศรษฐกิจ
          1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกเพื่อยังชีพ เช่น ข้าวเจ้า อ้อย ปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ฝ้ายปลูกมากในประเทศอินเดียและปากีสถาน ปอกระเจาเป็นพืชเศรษฐกิจของแถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ยางพารา ชา และมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกา ส่วนข้าวสาลี ข้าวฟ่าง และฝ้ายปลูกมากในประเทศปากีสถาน
             2) การเลี้ยงสัตว์ ในประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา และปากีสถาน นิยมเลี้ยงโค ประเทศปากีสถานมีการเลี้ยงแพะและแกะมาก และประเทศเนปาลและภูฏานมีการเลี้ยงโคและแกะเป็นอาชีพ
          2. การทำประมง ประเทศอินเดียมีการทำประมงเจริญก้าวหน้าที่สุด ประเทศปากีสถานมีปลาสด ปลาแห้ง และกุ้ง เป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่ง และประเทศบังกลาเทศส่งผลิตภัณฑ์ปลาเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
          3. การทำป่าไม้ มีการอนุรักษ์ป่าเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรและสร้างความชุ่มชื้น ซึ่งพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ คือ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เนปาล และทางตะวันออกของประเทศบังกลาเทศ
          4. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหินและเหล็ก พบทางภาคตะวันออกของคาบสมุทร บ็อกไซต์ผลิตได้ทางตอนใต้ของแม่น้ำคงคาซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย เพชร พลอยมีมากในประเทศศรีลังกา
          5. อุตสาหกรรม อินเดียมีอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากที่สุด ที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนประเทศอื่น ๆ อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
          6. การค้า สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าทางการเกษตร เช่น ชา ฝ้าย ปอ พืชน้ำมัน แร่เหล็ก รัตนชาติ ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า
       3.3.6 ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
          1. ประชากร เอเชียใต้มีประชากรประมาณ 1,517.7 ล้านคน ประเทศอินเดียมีประชากรมากที่สุด และประเทศมัลดีฟส์มีประชากรน้อยที่สุด ซึ่งประชากรจะอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ประเทศบังกลาเทศ และเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศอินเดีย
          2. ภาษา โดยเฉพาะในประเทศอินเดียมีภาษาที่ใช้พูดแตกต่างกันมาก และใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางราชการ
          3. วัฒนธรรม มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามขนมธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม
          4. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย บังกลาเทศ และเนปาล รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม นับถือมากในประเทศปากีสถาน พระพุทธศาสนานับถือมากในประเทศเนปาลและภูฏาน ส่วนศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาสิข ศาสนาเชน

   3.4 เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
       3.4.1 ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
       เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 7 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 42 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 26 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 75 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       ทิศเหนือ          ติดต่อกับทะเลดำ ทะเลแคสเปียน และภูมิภาคเอเชียกลาง
       ทิศตะวันออก    ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและภูมิภาคเอเชียใต้
       ทิศใต้             จดอ่าวเอเดน อ่าวโอมาน และอ่าวเปอร์เซียของทะเลอาหรับ
       ทิศตะวันตก      จดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแดง และทวีปแอฟริกา
       เอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างทะเล 5 แห่ง ได้แก่ ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแดง และทะเลอาหรับ มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย รองจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกประกอบด้วย 16 ประเทศ คือ

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.4.2 ลักษณะภูมิประเทศ
       ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้แบ่งได้ 3 เขต ดังนี้
          1. เขตภูเขาและที่ราบสูงภาคเหนือ
          2. เขตคาบสมุทรอาหรับ
          3. เขตดินอุดมรูปพระจันทร์เสี้ยว
       3.4.3 ภูมิอากาศ
       ภูมิอากาศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้แบ่งได้ 4 เขต ดังนี้

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

          1. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          2. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          3. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs)
          4. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H)
       3.4.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
          1. แร่ ที่สำคัญ ได้แก่ ปิโตรเลียม และเนื่องจากน้ำมันเป็นทรัพยากรที่ทั่วโลกต้องการ โดยประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ที่อุดมไปด้วยน้ำมันต่างมั่งคั่งร่ำรวยจนเรียกน้ำมันว่า ทองคำดำ (Black Gold) และแหล่งน้ำมันบางแหล่งยังมีแก๊สธรรมชาติอยู่ด้วย
          2. ทรัพยากรอื่น ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคอยู่ในเขตภูมิอากาศแห้งแล้ง จึงขาดแคลนทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และน้ำจืด
       3.4.5 เศรษฐกิจ
          1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก เพาะปลูกได้ผลดีบริเวณเขตอุดมรูปพระจันทร์เสี้ยว พืชที่ปลูกมาก เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ ปลูกมากในประเทศตุรกี ซีเรีย และอิรัก ฝ้ายปลูกมากในประเทศตุรกีและอิสราเอล ส้ม องุ่น และมะกอก ปลูกในเขตภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน ผลไม้ผลิตได้มากที่สุดในประเทศตุรกี ส่วนประเทศซีเรียมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ มะกอกและองุ่น
             2) การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ คือ แกะ แพะ และอูฐ โดยจะเคลื่อนย้ายสัตว์ไปตามฤดูกาล
          2. การทำประมง ประเทศที่จับปลาได้มาก คือ ประเทศตุรกี มีการจับปลาซาร์ดีนและปลาทูน่าในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนประเทศอิหร่าน โอมาน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จับปลาและกุ้งในอ่าวเปอร์เซียและทะเลอาหรับ และประเทศอิหร่านยังสามารถจับปลาสเตอร์เจียนในทะเลแคสเปียนเพื่อนำมาทำไข่คาเวียร์ได้ปีละมาก ๆ ด้วย
          3. อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกี่ยวกับน้ำมันมีความสำคัญที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะมีแหล่งทรัพยากรแร่เชื้อเพลิงอย่างน้ำมันมาก
          4. การค้า มีการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า
       3.4.6 ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
          1. ประชากร เอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีประชากรประมาณ 309.4 ล้านคน ตุรกีเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด และบาห์เรนเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุด ประชากรจะอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส–ยูเฟรทีส บริเวณโอเอซิส ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาหรับ ซึ่งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย อิรัก โอมาน ซีเรีย จอร์แดน คูเวต กาตาร์ เลบานอน บาห์เรน รองลงไป ได้แก่ ชาวเติร์กในประเทศตุรกี ชาวเปอร์เซียในประเทศอิหร่าน และชาวยิวในประเทศอิสราเอล
          2. ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ และมีภาษาอื่นบ้าง ได้แก่ ภาษาฮิบรูภาษาตุรกีภาษาพัชโทภาษาเปอร์เซีย และภาษากรีก
          3. วัฒนธรรม มีวัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่คล้ายคลึงกัน
          4. ศาสนา นับถือศาสนาอิสลามนิกายต่าง ๆ ส่วนประเทศอิสราเอลประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนายิวหรือยูดาย ประเทศเลบานอนและไซปรัสประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเมืองเยรูซาเลมเป็นเมืองสำคัญทางศาสนา ทั้งศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนายูดาห์

   3.5 เอเชียกลาง

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.5.1 ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
       เอเชียกลางตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 36 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 56 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 40 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 88 องศาตะวันออก ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนที่มีทะเลแคสเปียนคั่นอยู่ คือ ดินแดนด้านตะวันออกของทะเลแคสเปียน ได้แก่ ประเทศคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน กับดินแดนทางด้านตะวันตกของทะเลแคสเปียน ได้แก่ ประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน โดยมีอาณาเขตติดต่อกับดินแดนอื่นดังนี้
       ทิศเหนือ          ติดต่อกับสหพันธรัฐรัสเซีย
       ทิศตะวันออก     ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
       ทิศใต้              ติดต่อกับสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และสาธารณรัฐตุรกี
       ทิศตะวันตก       จดทะเลดำ
       เอเชียกลางเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดในทวีปเอเชีย ประกอบด้วย 8 ประเทศ คือ

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       3.5.2 ลักษณะภูมิประเทศ
       ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางแบ่งได้ 2 เขต ดังนี้
          1. เขตเทือกเขาและที่ราบสูง
          2. เขตที่ราบ
       3.5.3 ภูมิอากาศ

ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่

       ภูมิอากาศของเอเชียกลางแบ่งได้ 4 เขต ดังนี้
          1. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          2. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          3. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs)
          4. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H)
       3.5.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
          1. แร่ ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน ทองคำ และทองแดง
          2. ป่าไม้ มีน้อยเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งเป็นทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย แต่มีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์
       3.5.5 เศรษฐกิจ
          1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก ภูมิภาคนี้มีปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปีต่ำ ในเขตที่ราบลุ่ม เขตโอเอซิส หรือบริเวณที่มีชลประทานเข้าถึง เช่น ที่ราบทางด้านตะวันออกของทะเลแคสเปียนสามารถปลูกข้าวสาลี ฝ้าย ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ได้ดี และที่ราบลุ่มแม่น้ำทางภาคตะวันตกของทะเลแคสเปียน เหมาะแก่การปลูกพืชผลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ข้าวสาลี องุ่น ส้ม และพืชผัก
             2) การเลี้ยงสัตว์ มีทั้งการเลี้ยงแบบเร่ร่อน และแบบฟาร์มปศุสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงกันมาก เช่น แกะ แพะ โค ไก่ ม้า ลา ล่อ โดยเลี้ยงกันมากในบริเวณตอนใต้ของทะเลอารัลและตอนใต้ของภูมิภาค โดยประเทศคาซัคสถานเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาค
          2. การทำประมง แหล่งประมงที่สำคัญ คือ ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลอารัล และทะเลบัลคัช โดยมีเมืองเกอร์เยป เมืองเชฟเชนโก เมืองคราสโน–วอดสค์เป็นเมืองทำการประมงที่สำคัญของภูมิภาค ผลผลิตที่มีชื่อเสียงของภูมิภาคนี้ คือ คาเวียร์ที่ได้จากไข่ปลาสเตอร์เจียน
          3. อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน การแยกแก๊สธรรมชาติ ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เหล็กแปรรูป สินค้าทางการเกษตร และเครื่องใช้ไฟฟ้า
          4. การค้า ทำการค้ากับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน สิงค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ฝ้าย ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ขนสัตว์ สิ่งทอ ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร

       3.5.6 ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
          1. ประชากร เอเชียกลางมีประชากรประมาณ 77 ล้านคน ประเทศอุซเบกิสถานมีประชากรมากที่สุด และประเทศอาร์เมเนียมีประชากรน้อยที่สุด เป็นภูมิภาคที่มีประชากรเบาบางของโลก โดยประชากรจะอาศัยอยู่หนาแน่นในประเทศแถบเทือกเขาคอเคซัสทางตะวันตกของทะเลแคสเปียน
          2. เชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นพวกคอเคซอยด์หรือพวกผิวขาว
          3. ภาษา มีประชากรหลายเชื้อชาติที่มีภาษาเป็นของตนเอง แต่ที่มีจำนวนประชากรมาก คือ ชาวคีร์กีซใช้ภาษาคีร์กีซ ชาวอุซเบกใช้ภาษาอุซเบก ชาวอาเซอรีใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางสื่อสารกัน
          4. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี มีเพียงประเทศอาร์เมเนียและจอร์เจียเท่านั้นที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ

ทวีปเอเชียแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาคอะไรบ้าง

โครงสรางและขอบเขตภูมิศาสตรทวีปเอเชีย 1. เอเชียตะวันออก (East Asia) หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast Asia) 2. เอเชียใต(South Asia) 3. เอเชียตะวันออกเฉียงใต(Southeast Asia) 4. เอเชียตะวันตกเฉียงใต(Southwest Asia)

ทวีปเอเชียแบ่งออกเป็นกี่ประเทศ

ทวีปเอเชีย.

ทวีปเอเชียมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปใดบ้าง

ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศทั้งเขตอากาศร้อน อากาศอบอุ่น และอากาศหนาว สาเหตุที่มี ภูมิอากาศแตกต่างกันเป็นผลมาจากขนาดที่กว้างใหญ่ของทวีป ความสูงและ กว้างใหญ่ของภูเขาใจกลางทวีป และมีลมมรสุมพัดผ่าน ... (1) ขนาด ที่ตั้ง และอาณาเขต.

ภูมิภาค มีอะไรบ้าง

การแบ่งอย่างเป็นทางการ.
ภาคเหนือ.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ภาคตะวันตก.
ภาคกลาง.
ภาคตะวันออก.
ภาคใต้.