องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร

เมื่อคุณทดสอบผลิตภัณฑ์ออกใหม่ที่สำคัญ บางครั้งคุณอาจประหลาดใจกับข้อผิดพลาดใหม่ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน เพราะเหตุใด เกิดปัญหาอะไรขึ้น สภาพแวดล้อมในการทดสอบอาจไม่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมในการผลิตจริงอย่างที่คุณคิด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสามารถเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้โดยไม่มีระบุมาเป็นเอกสาร ทำให้สภาพแวดล้อมค่อยๆ เริ่มแตกต่างออกไป

การแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องใช้เวลานานมาก การเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาให้เร็วขึ้นถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ดีที่สุดที่คุณทำได้ในฐานะนักพัฒนาซอฟต์แวร์

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคืออะไร

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (RCA) คือเทคนิคพิเศษที่คุณนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะ เทคนิคนี้ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่พบเจอได้โดยใช้ขั้นตอนที่กำหนดมาโดยเฉพาะต่างๆ เพื่อค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา RCA ยึดหลักการว่า การสนใจแต่ปลายเหตุโดยเพิกเฉยต่อสาเหตุของปัญหานั้นไม่มีประโยชน์

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหามีประโยชน์อย่างไร

การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (RCA) คือเทคนิคพิเศษที่คุณนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะ เทคนิคนี้ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่พบเจอได้โดยใช้ขั้นตอนที่กำหนดมาโดยเฉพาะต่างๆ เพื่อค้นหาสาเหตุหลักของปัญหา RCA ยึดหลักการว่า การสนใจแต่ปลายเหตุโดยเพิกเฉยต่อสาเหตุของปัญหานั้นไม่มีประโยชน์

ฉันจะเริ่มต้นทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างไร

อธิบายปัญหา

ใช้ การอธิบายปัญหาอย่างง่ายๆ ให้กับน้องเป็ดยาง(Rubber-Duck Debugging) ในการอธิบายอะไรก็ตาม คุณถูกบังคับให้ต้องเรียงลำดับความคิดของคุณ Jeff Atwood ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ถามตอบยอดนิยมอย่าง Stack Overflow เล่าให้ฟังว่ากี่ครั้งแล้วที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์บอกเขาเกี่ยวกับการเขียนคำถามใหม่ไปยังเว็บไซต์ การค้นหาคำตอบด้วยตนเอง แต่ไม่เคยส่งคำถามจริงๆ

ลองใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อช่วยให้คุณระบุปัญหาได้ง่ายๆ

  1. เขียนคำถามลงใน Stack Overflow แม้ว่าคุณจะไม่เคยทำก็ตาม
  2. บันทึกรายงานข้อบกพร่องโดยละเอียดเอาไว้
  3. อธิบายให้เพื่อนร่วมงานฟัง

รวบรวมข้อมูลบันทึก (และค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ)

ลำดับต่อไปคือรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาและหาข้อมูลเชิงลึก การบันทึกและการติดตามตรวจสอบอาจช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกการทำงานล้มเหลว บันทึกแอปพลิเคชันและเซิร์ฟเวอร์ และอื่นๆ คุณต้องรวบรวมหลักฐานว่าปัญหาเกิดขึ้นจริง และหากเป็นไปได้ ให้หาด้วยว่าปัญหาเกิดขึ้นนานแค่ไหนแล้วและเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

ภายในข้อมูลทั้งหมดนั้น คุณต้องค้นหาจุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงอย่างรวดเร็ว เครื่องมือสามารถช่วยคุณค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลบันทึกที่คุณได้รวบรวม และเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ใช้เทคนิค 5 Why

ต่อไปก็ระบุปัจจัยเชิงสาเหตุ หรือสาเหตุโดยตรงของปัญหาที่เผชิญอยู่ ไม่ควรระบุปัจจัยเชิงสาเหตุแค่ประการเดียวแล้วก็จบ คุณต้องทำต่อด้วยการใช้เทคนิค 5 Why ถาม “ทำไม” ซ้ำๆ จนกว่าจะถึงต้นตอของปัญหา ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของคุณแสดงข้อผิดพลาด 500

  1. เพราะเหตุใด เพราะองค์ประกอบการกำหนดเส้นทางของเฟรมเวิร์กเว็บไซต์ทำงานผิดพลาด
  2. เพราะเหตุใด เพราะองค์ประกอบดังกล่าวต้องใช้อีกองค์ประกอบร่วมด้วย ซึ่งก็ทำงานผิดพลาดเช่นกัน
  3. เพราะเหตุใด เพราะองค์ประกอบของเฟรมเวิร์กเว็บไซต์นี้ต้องใช้ส่วนขยาย intl ซึ่งไม่ทำงาน
  4. เพราะเหตุใด เพราะส่วนขยายนี้ถูกปิดโดยไม่ได้ตั้งใจหลังจากอัปเดตซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์

แน่นอน คุณอาจจะเจอสาเหตุของปัญหาได้เร็วกว่านั้น หรือบางทีคุณก็อาจต้องถามเพิ่ม

ให้ผู้อื่นช่วย

เช่นเดียวกับการตรวจสอบโค้ด ให้คนอื่นที่เป็นกลางช่วยดูโค้ดของคุณ เมื่อเวลาผ่านไป ความคาดหมายจากการตรวจสอบจะช่วยคุณปรับแต่งกระบวนการของคุณ หรือยิ่งดีไปกว่านั้น จับคู่ปัญหากับการแก้ไขปัญหา

AWS นำเสนออะไรสำหรับการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาของ Amazon OpenSearch Service

ไปที่หน้าราคา

AWS จะสิ้นสุดการรองรับ Internet Explorer ในวันที่ 07/31/2022 เบราว์เซอร์ที่รองรับ ได้แก่ Chrome, Firefox, Edge และ Safari เรียนรู้เพิ่มเติม »

นิยาม

การแก้ปัญหาหรือพัฒนาชิ้นงาน วิธีการหรือนวัตกรรม โดยใช้ความคิดที่แปลกใหม่หรือพัฒนาต่อยอด
จากของเดิมให้เหมาะสมต่อการใช้งานจริง เปรียบเทียบแหล่งข้อมูลและข้อเท็จจริงได้ ประเมินผลกระทบของปัญหาโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม พิจารณาโครงสร้างเชิงระบบให้ครอบคลุมเพียงพอที่จะแก้ปัญหา สามารถสะท้อนความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการแก้ปัญหาของตนเองได้

  1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking : HOT-CTC) หมายถึง การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลที่มีจุดประสงค์เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ โดยอาศัยการใช้ทักษะ
    ทางพุทธิปัญญาหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จากการตัดสินใจที่ดี เช่น ทักษะการตีความ ประเมิน วิเคราะห์ สรุปความ และอธิบาย ตามหลักฐาน แนวคิด วิธีการ กฎเกณฑ์ หรือบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่รวบรวมหรือข้อมูลจากการสังเกต ประสบการณ์ การใช้เหตุผล การสะท้อนคิด การสื่อสาร และการโต้แย้ง
  2. การคิดเชิงระบบ (System Thinking : HOT-STM) หมายถึง การคิดที่แสดงให้เห็นโครงสร้างทั้งหมดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้บริบท/ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกิดปัญหานั้น ๆ โดยมองปัญหาให้ลึกลงไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เห็นถึงแบบแผนหรือรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ให้เห็นรากเหง้าของสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น ๆ จนเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ของระบบนั้นอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง
  3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking: HOT-CRT) หมายถึง การคิดที่หลากหลาย ริเริ่ม ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดความคิด เพื่อการแก้ปัญหาหรือสร้างทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความก้าวหน้าในความรู้ หรือการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยอาศัยจินตนาการและทักษะพื้นฐานด้านการคิดริเริ่ม คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ คิดหลากหลาย คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า แตกต่างไปจากเดิม มีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมมากกว่าเดิม
  4. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking : HOT-PRB) หมายถึง การคิดของบุคคลในการระบุปัญหา นิยามปัญหา รวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและครอบคุลมทุกมิติ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking : HOT-CTC)

ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลที่มีจุดประสงค์เพื่อตัดสินว่า
สิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ (Ennis, 1987; Richard Paul, 2004; Facione, 1990 ) โดยอาศัยการใช้ทักษะทางพุทธิปัญญาหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จากการตัดสินใจที่ดี (Diane Halpern, 1996) เช่น ทักษะการตีความ ประเมิน (Richard Paul, 2004; Alec Fisher 1997; Facione, 1990) วิเคราะห์ สรุปความ และอธิบาย ตามหลักฐาน แนวคิด วิธีการ กฎเกณฑ์ หรือบริบทต่าง ๆ (Facione, 1990) ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่รวบรวมหรือข้อมูลจากการสังเกต ประสบการณ์ การใช้เหตุผล การสะท้อนคิด การสื่อสาร และการโต้แย้ง (Alec Fisher and Michael Scriven, 1997)

ความสำคัญของการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่อวิทยาศาสตร์

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นกระบวนการคิดที่มีความซับซ้อน  มีการพินิจพิจารณา วิเคราะห์ ประเมินค่า และไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล รอบคอบรอบด้าน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการคิดแก้ปัญหา การตั้งสมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล (Gorge, 1968) ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณทั้งสิ้น หรือกล่าวได้ว่านักเรียนจะสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ดีนั้น นักเรียนจะต้องใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมาช่วยให้การคิดเป็นเหตุเป็นผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถึงแม้ว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะนำไปสู่การสรุปบนหลักของเหตุผล การมีหลักฐานพิสูจน์อย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อมั่นได้มากที่สุด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่วิทยาศาสตร์ไม่อาจจะตอบได้ทุกเรื่อง เช่น คำถามที่เกี่ยวกับการพิจารณาในเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นคำถามที่เชื่อมโยงบรรทัดฐานของคนกลุ่มหนึ่งที่มีความคิดและการให้น้ำหนักในเรื่องหนึ่ง ๆ มากน้อยต่างไปจากคนอีกกลุ่มหนึ่งทั้งในเรื่องของความดี ความเลว เรื่องความถูกผิด ความงดงาม ความน่าเกลียด หรือสิ่งที่ต้องการและไม่ต้องการ
คำถามเหล่านี้ อาทิ การทำแท้งเป็นเรื่องที่ผิดหรือไม่ การโคลนนิ่งมนุษย์เป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่ เป็นต้น คำถามเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะพยายามใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยตอบก็จริง แต่เชื่อว่าการหาข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่ายคงไม่ใช่เรื่องง่าย (บรรจง อมรชีวิน, 2556) ดังนั้นนอกจากจะจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน
เป็นผู้รู้วิทยาศาสตร์แล้วควรฝึกให้นักเรียนคิดอย่างรอบคอบ รอบด้าน มีการคิดถึงเหตุผลในหลาย ๆ มิติ
มีการเชื่อมโยงกับบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง และตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณได้ว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ

การสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

        การสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการจัดห้องเรียนให้เป็นแหล่งที่สามารถยอมรับมุมมองที่หลากหลาย อภิปรายโดยอิสระ ห้องเรียนควรเน้นไปที่การให้เหตุผลของความคิดมากกว่า
การต้องการคำตอบที่ถูกต้อง เน้นการสร้างจิตวิญญาณของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Spirit)
เช่น ตั้งคำถามต่อสิ่งที่ได้ยิน ตรวจสอบความคิดของตนเอง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้เรียนควรมีความรู้ในเนื้อหาที่กำลังเรียน
ในการฝึกคิด หรือคุ้นเคยเป็นอย่างดีในเรื่องนั้น ๆ (วีรพล แสงปัญญา, 2561) สำหรับแนวทางในการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในแง่ของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ ครูควรที่จะให้โอกาสแก่นักเรียนในการ
ตั้งคำถาม หาทางออก พัฒนา และดำเนินการปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยนักเรียนควรได้รับการถามคำถาม
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิด เพื่ออธิบายและโต้แย้งข้อกล่าวอ้างทางวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุ สมผล เช่น นักเรียนกำลังวัดอะไร การวัดนั้นจะบอกอะไรเรา นักเรียนสามารถอธิบายผลลัพธ์ในอีกทางได้หรือไม่ อย่างไร บอกได้หรือไม่ว่าอันไหนเหมาะสม ถูกต้อง เพราะอะไร จะเกิดอะไรขึ้นหากว่าเราทำแบบนั้นแทนแบบนี้ ทำไมตำราอธิบายแบบนี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบได้อย่างไร จะพิสูจน์ข้อสรุปนี้ได้อย่างไร ซึ่งการให้คำถามเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกทางความคิดและพยายามที่จะอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้กับสมาชิก เมื่อมีความคิดเห็นต่าง ๆ นักเรียนก็จะมีโอกาสได้วิเคราะห์และประเมินข้อความคิดเห็นต่าง ๆ ทำให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ในที่สุด (บรรจง อมรชีวิน, 2556)

การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

ความหมายของการคิดเชิงระบบ

       การคิดเชิงระบบ (System Thinking: HOT-STM) หมายถึง การคิดที่แสดงให้เห็นโครงสร้างทั้งหมด
ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้บริบท/ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกิดปัญหานั้น ๆ  โดยมองปัญหาให้ลึกลงไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เห็นถึงแบบแผนหรือรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ให้เห็นรากเหง้าของสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น ๆ จนเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ของระบบนั้นอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งเปรียบเทียบการคิดเชิงระบบกับภูเขาน้ำแข็งที่โผล่เหนือน้ำ (Iceberg Model) จะสามารถวิเคราะห์วิธีคิดเชิงระบบได้ 4 ระดับ ดังแสดงในภาพต่อไปนี้

องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร

การคิดในระดับสถานการณ์ (Events) เป็นการคิดตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น โดยไม่สนใจว่าสภาพการณ์หรือสถานการณ์นั้นมีรูปแบบการเกิดสถานการณ์นั้นได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใด

  1. จึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น การแก้ปัญหาจึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้สถานการณ์นั้นสิ้นสุดลงโดยที่ยังไม่ได้ทำในสิ่งที่เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาหรือพื้นฐานที่มาของปัญหาที่แท้จริงเลย
  2. การคิดในระดับแบบแผน (Patterns) เป็นการคิดที่จะฉายให้เห็นถึงภาพนิ่งของเหตุการณ์หนึ่งเป็นการทำความเข้าใจกับความจริงที่เกิดขึ้นในระดับที่ลึกลงไปถึงแนวโน้มของเหตุการณ์นั้น ๆ การคิดในระดับแบบแผนจะมีการเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ มาใช้ประกอบการมองสถานการณ์ รวมถึงการศึกษาและสืบค้นข้อมูล ที่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นภายใต้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไปปัจจัยต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลง
    ในทิศทางเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร การคิดในระดับแบบแผนจะทำให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การคิดในระดับโครงสร้างต่อไป
  3. การคิดระดับโครงสร้าง (Structure) การคิดในระดับโครงสร้าง ทำให้ได้คำตอบหรือคำอธิบายเกี่ยวกับแบบแผนที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจว่าแบบแผนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากโครงสร้างใดบ้าง การคิดในระดับโครงสร้างทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงต้นตอสุดท้ายของปัญหา เพราะได้เข้าใจถึงโครงสร้างต่าง ๆ
    ที่เกี่ยวข้องปัญหา การมองเห็นโครงสร้างของปัญหาจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
    ที่แตกต่างไปจากการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ
  4. ระดับภาพจำลองของความคิด (Mental Model) ภาพจำลองความคิดเปรียบเสมือนความคิดที่อยู่ในระดับลึก ที่จะส่งผลและก่อให้เกิดแรงผลักดันต่อการกระทำสิ่งต่าง ๆ การสร้างภาพจำลองความคิดจะนำไปสู่การออกแบบการแก้ปัญหาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภาพจำลองความคิดเป็นส่วนที่ซ่อนอยู่ใต้สุดของภูเขาน้ำแข็ง แต่เป็นสิ่งที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากที่สุด เช่น วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ สิ่งเหล่านี้มักจะไม่ถูกตรวจสอบหรือนำมาเพื่อพิจารณาเมื่อเกิดปัญหา

ขั้นของกระบวนการคิดเชิงระบบ

องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร

การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking: HOT-CRT)

ความหมายการคิดสร้างสรรค์

การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking: HOT-CRT) หมายถึง การคิดในการเสนอ (Generate) ความคิดที่หลากหลาย ริเริ่ม ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดความคิด เพื่อการแก้ปัญหาหรือสร้างทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความก้าวหน้าในความรู้ หรือการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยอาศัยจินตนาการและทักษะพื้นฐานด้านการคิดริเริ่ม คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ คิดหลากหลาย
คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า แตกต่างไปจากเดิม มีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมมากกว่าเดิม ซึ่งสิ่งใหม่ในที่นี้อาจเป็นการปรับหรือประยุกต์สิ่งเดิมให้อยู่ในรูปแบบใหม่
หรือเป็นการต่อยอดจากสิ่งเดิม หรือเป็นการริเริ่มสิ่งใหม่ขึ้นมาทั้งหมด

ข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดนิยามและพฤติกรรมบ่งชี้การคิดสร้างสรรค์

โดยทั่วไป ในการนิยามหรือกำหนดองค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์มักนิยามตามกรอบแนวคิด
ของ Torrance ซึ่งแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Torrance  ได้แบ่งองค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์ ออกเป็น 4 องค์ประกอบคือ

  1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่าง และไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ มีลักษณะความคิดที่ไม่ปกติธรรมดา (Web Idea) เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากนำความรู้เดิมมาคิดดัดแปลงและประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น ความคิดริเริ่มจึงเป็นลักษณะความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นความคิดที่แปลกแตกต่างจากความคิดเดิม ต้องอาศัยลักษณะความกล้าคิด บางครั้งความคิดริเริ่มต้องอาศัยความคิดจากจินตนาการ
  2. ความคิดคล่อง (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว  ในเวลาที่จำกัด สามารถแบ่งได้  4 ลักษณะ
    • ความคิดคล้องด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
    • ความคิดคล่องด้านการโยงความสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความคิดที่จะค้นหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดในเวลาที่จำกัด
    • ความคิดคล่องด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค สามารถนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
    • ความคิดคล้องในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น คิดหาประโยชน์ของก้อนหินมาให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด
  3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภท หลายทิศทาง ความคิดยืดหยุ่นเป็นความคิดพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการสร้างทางเลือกไว้หลายทาง ความคิดยืดหยุ่นจึงเป็นความคิดเสริมคุณภาพให้ได้
    • ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)  เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดให้หลายรูปแบบอย่างอิสระ
    • ความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) เป็นความสามารถในการดัดแปลงความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) ความสามารถที่จะให้รายละเอียดหรือตกแต่งเพื่อให้มีความสมบูรณ์ หรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ PISA 2021 (ข้อมูลจาก สสวท. อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ห้ามเผยแพร่อ้างอิง) ได้เสนอมิติในการวัด (Facets for measurement purpose) ความคิดสร้างสรรค์ที่พิจารณาใน 3 มิติ ซึ่งจะแสดงออกได้ทั้ง Written และ Visual ทั้งในบริบททางสังคม (Social) และบริบททางวิทยาศาสตร์ (Scientific) ได้แก่

องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร

1) การเสนอความคิดที่หลากหลาย (Generate Diverse Ideas) เป็นความสามารถในการคิดยืดหยุ่นหลากหลาย ซึ่งการประเมินความยืดหยุ่นหลากหลายในที่นี้ขึ้นอยู่ลักษณะของงานที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น การเสนอทางแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลายแตกต่าง การนำเสนอแนวความคิดด้วยวิธีที่แตกต่าง
ซึ่งการแสดงออกนี้มีฐานมาจาก คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น/คิดหลากหลาย ตามองค์ประกอบเดิมของ Torrance

2) การเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (generate creative ideas) เป็นความสามารถในการเสนอแนวความคิดที่ริเริ่มและเหมาะสม เช่น การเสนอทางแก้ปัญหาที่ริเริ่ม การมีแนวทางที่แปลกใหม่ในการสื่อสารความคิดผ่านภาพ 

ทั้งนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เน้นการพิจารณาจาก “ความใหม่” และ “เป็นประโยชน์”  โดยระดับของความใหม่ ต้องพิจารณาว่าใหม่สำหรับผู้คิดหรือสังคม สำหรับ PISA 2021 พิจารณาความใหม่ในเชิงสถิติว่าเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มนั้น ๆ มีผู้เสนอความคิดในลักษณะเดียวกันนี้มากน้อยเพียงใด และในการกำหนดค่าน้ำหนักของ “ความใหม่” และ “เป็นประโยชน์” นั้น จะแตกต่างกันไปตามความเฉพาะของงาน เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับมิติเป็นประโยชน์มากกว่าทางศิลปะ ในทางกลับกัน สำหรับงานศิลปะ มิติเป็นประโยชน์ก็ได้รับการให้ความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งการแสดงออกนี้มีฐานมาจาก คิดริเริ่ม ตามองค์ประกอบเดิมของ Torrance

ทั้งนี้ มิติที่ 1) และ 2) เป็น Divergent Cognitive Process of CRT ส่วนมิติที่ 3) ให้ความสำคัญกับการประเมินและพัฒนาต่อยอด

3) การประเมินและพัฒนาต่อยอดความคิด (Evaluate and Improve Ideas) เป็นการประเมินความคิดผู้อื่น พัฒนาต่อยอด และให้ข้อเสนอแนะที่ริเริ่มแตกต่างจากความคิดนั้นได้

** เมื่อเทียบมิติทั้ง 3 มิติกับองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบเดิมของ Torrance พบว่าแต่ละมิติมีทั้ง 4 องค์ประกอบอย่างครบถ้วน แต่มุ่งเน้นหรือให้ความสำคัญกับแต่ละองค์ประกอบต่างกัน

 PISA 2021 ได้ระบุถึง Achievement & Progress of CRTว่าประกอบด้วย การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ (Creative Expression) การสร้างสรรค์ความรู้ (Knowledge Creation)  และการแก้ปัญหา (Problem Solving)  โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดสร้างสรรค์  ได้แก่ (1) ปัจจัยภายในตัวบุคคล เช่น ความพร้อม/พื้นฐาน

ในประเด็นที่คิด ความเชื่อและเป้าหมายในการคิด ทักษะทางปัญญา การเปิดใจกว้าง แรงจูงใจของงาน ความสามารถในการร่วมมือกับผู้อื่น และ (2) ปัจจัยภายนอก เช่น ความคาดหวังและบรรทัดฐานของสังคม
แนวคิดในการจัดการศึกษา บรรยากาศในชั้นเรียนและโรงเรียน

องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร

ทั้งนี้ ในแง่ของความใหม่ของผลผลิตของการคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับคำว่านวัตกรรม จึงได้ดำเนินการสังเคราะห์นิยามของ “นวัตกรรม” จากหลายแหล่งข้อมูล อาทิ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ.2551 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และพิจารณาร่วมกับความเป็นไปได้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปได้ว่า “นวัตกรรม” (สำหรับนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน) หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ แนวคิด วิธีการ หรือกระบวนการใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดหรือหลักการต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นหรือสภาพปัญหาในบริบทหนึ่ง ๆ 
ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมอย่างเป็นระบบ จนได้ผลงานที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา พัฒนางาน หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งผลงานดังกล่าว ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในบริบทใดบริบทหนึ่ง โดยยังไม่ได้ใช้อย่างเป็นปกติในบริบทนั้น ๆ

จากข้อมูลข้างต้น เพื่อพิจารณาในแง่ของการกำหนดนิยามของทักษะการคิดขั้นสูงในส่วนของการคิดสร้างสรรค์นี้ให้มีลักษณะเป็นสมรรถนะที่มุ่งเน้นที่การกระทำหรือการแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ จึงได้สังเคราะห์และเรียบเรียงตามลำดับคือ การแสดงออก (Action) à จุดมุ่งหมาย/ ผลการคิดà โดยอาศัยทักษะการคิดพื้นฐานและลักษณะการคิดที่จำเป็น à ผลผลิต ดังนี้

การคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิด/ การคิด (เลี่ยงการใช้คำวิชาการ เช่น กระบวนการทางปัญญา พฤติกรรมทางสมอง) ……. ที่มีการแสดงออก  จุดมุ่งหมาย ทักษะการคิดพื้นฐานและลักษณะการคิดที่จำเป็นและผลผลิต ดังนี้  

การแสดงออก (Action) ….. ในการ (1) เสนอความคิดที่หลากหลาย (generate diverse ideas)
(2) การเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Generate Creative Ideas) และ (3) การประเมิน ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดความคิด (Evaluate and Improve Ideas)

จุดมุ่งหมาย…..  เพื่อ 1) การแก้ปัญหา (Problem Solving) หรือสร้างทางเลือกที่ริเริ่มและมีประสิทธิภาพ  2) การสร้างสรรค์ความรู้ (Knowledge Creation) สร้างความก้าวหน้าในความรู้ หรือ 3) การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ (Creative Expression) หรือการแสดงออกซึ่งจินตนาการได้อย่างทรงพลัง

ทักษะการคิดพื้นฐานและลักษณะการคิดที่จำเป็นตามทฤษฎี ….. โดยอาศัยจินตนาการและทักษะพื้นฐานด้านการคิดริเริ่ม คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ คิดหลากหลาย คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์

ผลผลิต………. เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า แตกต่างไปจากเดิม มีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมมากกว่าเดิม ซึ่งสิ่งใหม่ในที่นี้อาจเป็นการปรับหรือประยุกต์สิ่งเดิมให้อยู่ในรูปแบบใหม่ หรือเป็นการต่อยอดจากสิ่งเดิม หรือเป็นการริเริ่มสิ่งใหม่ขึ้นมาทั้งหมด

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของนิยามที่ได้เสนอไว้ข้างต้น และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ต่อไป

การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking : HOT-PRB)

ความหมายการคิดแก้ปัญหา

       การคิดแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการระบุปัญหา นิยามปัญหา รวบรวมข้อมูล
เพื่อแก้ปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและครอบคุลมทุกมิติ (Anderson, 2015, p.183; Ashcraft & Radvansky, 2010, p.484 อ้างถึงในจุฑามาศ, 2562, หน้า 269; Aurelio Villa Sanchez & Manuel Poblete Ruiz, 2008, p.142)

ลักษณะของการคิดแก้ปัญหา 

          ลักษณะของการคิดแก้ปัญหา มีดังนี้ (จุฑามาศ, 2562, หน้า 269;  Aurelio Villa Sanchez & Manuel Poblete Ruiz, 2008, p.142)

  1. 1. การคิดแก้ปัญหา เป็นการกระทำที่มีเป้าหมายเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
  2. 2. การคิดแก้ปัญหา เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนที่แสดงถึงกระบวนการทำงานของสมอง
  3. 3. การคิดแก้ปัญหา เป็นกระบวนการจัดกระทำของการรู้คิด เนื่องจากต้องใช้กระบวนการทำงาน
    ของสมองที่หลากหลาย เช่น กระบวนการคิด การให้เหตุผล การตัดสินใจ เป็นต้น

กระบวนการคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน  ดังนี้

  1. 1. การระบุปัญหา (Identification)
  2. การนิยามปัญหา (Definition)
  3. 3. การรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา (Information Gathering)
  4. 4. วิธีการแก้ปัญหา (Methodology)
  5. 5. การเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา (Alternatives)
  6. 6. การวางแผนเพื่อปฏิบัติการแก้ปัญหา (Action Plan)

ระดับของการเรียนรู้ (Levels of Mastery)

  1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้วิธีแก้ปัญหา
  2. ใช้ประสบการณ์ของตนเองและเกณฑ์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและสร้างวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
  3. เสนอและสร้างวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายและครอบคลุม

 ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบายของการคิดแก้ปัญหา

   ความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบายของการคิดแก้ปัญหา แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบาย

ระดับของการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้

คำอธิบาย

1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้วิธีแก้ปัญหา

1

2

3

4

5

1.สามารถระบุได้ว่าอะไรคือปัญหา และไม่ใช่ปัญหา โดยใช้การตัดสินใจ

ไม่สามารถทำนายปัญหา

มีความยาก

ในการทำนายปัญหาในกรณีที่ไม่มีผลเกิดขึ้น

ทำนายปัญหาที่เป็นไปได้

ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน

ถึงเวลาที่กำหนด

วิเคราะห์

และจัดลำดับของ

ปัญหา

ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนถึงเวลาที่กำหนดได้อย่างชัดเจน

2.อ่าน /ฟังอย่างกระตือรือร้น

ถามคำถามเพื่อ

นิยามปัญหา

ไม่ตอบ

สนอง

ต่อปัญหา

ถามบางคำถามที่เหมาะสมเพื่อระบุปัญหา

ถามคำถามทุกคำถามที่เหมาะสมเพื่อระบุปัญหา

ถามคำถามเพื่อระบุปัญหาอย่างรวดเร็ว

ตั้งคำถาม

เพื่อระบุ

ปัญหาและ

ประเมินความสำคัญ

3.รวบรวมข้อมูลที่สำคัญเพื่อแก้ปัญหาซ้ำ โดยใช้ข้อเท็จจริง และติดตามวิธีการ

วิเคราะห์ข้อมูล

ไม่สามารถ

รวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาหรือข้อมูลที่รวบรวมไม่สำคัญ

สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา

ได้แต่ไม่

สมบูรณ์ และไม่ได้ติดตามวิธีวิเคราะห์ปัญหา

สามารถ

รวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาที่ต้องการได้และ

วิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

เลือกข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้อย่าง

ถูกต้องและ

วิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ

เลือกข้อมูล

เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถูกต้องและ

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้

วิธีที่ดีผ่านการคิด

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบาย (ต่อ)

ระดับของการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้

คำอธิบาย

1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้วิธีแก้ปัญหา

1

2

3

4

5

4.ติดตามวิธีการ

ระบุสาเหตุของปัญหา

ไม่สามารถระบุสาเหตุของปัญหา

ที่สำคัญเนื่องจากเกิดความสับสน

ระบุสาเหตุของปัญหา

ได้บางสาเหตุ

ระบุสาเหตุของปัญหา

ได้และติดตามวิธีการระบุสาเหตุของปัญหาได้ถูกต้อง

ระบุและจัดลำดับสาเหตุของปัญหาได้

ติดตามกระบวนการที่ใช้ในการระบุปัญหาโดยบูรณาการเข้าไปใน

แบบจำลอง

5. เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลายและ

ประเมินความเสี่ยงที่เป็นไปได้และข้อดีของทางเลือกแต่ละวิธี

ไม่เสนอทางเลือก

เสนอทางเลือก

ในการแก้ปัญหา

บางสถานการณ์

เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา

บางทางเลือกและข้อดีและข้อเสียของทางเลือก

เสนอการ

วิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้

เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดตามการวิเคราะห์ทางเลือกที่หลากหลาย

6. ออกแบบการวางแผนเพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหา

ไม่เลือกวิธีแก้ปัญหา

หรือเสนอสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหา

เลือกวิธีแก้ปัญหา

แต่ขาดการวางแผน

ประยุกต์

ระบุขั้นตอน

การแก้ปัญหาที่เลือกได้

เลือกวิธีแก้ปัญหาและออกแบบ

แผนการปฏิบัติเพื่อ

ประยุกต์ใช้

เลือกวิธีแก้ปัญหาและออกแบบ

แผนการปฏิบัติที่ชัดเจน

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบาย (ต่อ)

ระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้   คำอธิบาย
2.ใช้ประสบการณ์ของตนเองและเกณฑ์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และสร้างวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ    1 2 3 4 5
1.ตระหนักถึง ปัญหาที่ซับซ้อนและสามารถแยกเป็นปัญหา ย่อย ๆ เพื่อจัดการ ไม่สามารถทำนายปัญหา มีความยาก ในการทำนายปัญหาในกรณีที่ไม่มีผลเกิดขึ้น ทำนายปัญหาที่เป็นไปได้ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน ถึงเวลาที่กำหนด วิเคราะห์ และจัดลำดับของ ปัญหา ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนถึงเวลาที่กำหนดได้อย่างชัดเจน
2.เปรียบเทียบ แหล่งข้อมูลและ ข้อเท็จจริง ไม่กังวลเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ต้องการความช่วยเหลือในการตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และข้อเท็จจริง สามารถเปรียบเทียบข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ สามารถจัดการข้อเท็จจริงที่ยากและรู้วิธีการจัดการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ขัดแย้งกัน เสนอวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ขัดแย้งกัน จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลใหม่ได้
3. มีวิธีการวิเคราะห์ เพื่อระบุสาเหตุที่สำคัญและประเมินผลของ ปัญหา ไม่มีการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ระบุสาเหตุของปัญหา แต่ไม่มีการประเมินผล กระทบของปัญหา ติดตามวิธีการ ระบุสาเหตุของปัญหาและ ประเมินผล กระทบของปัญหาได้ถูกต้อง เสนอวิธี การที่ดีในการวิเคราะห์ ปัญหาเพื่อระบุสาเหตุของปัญหา ได้ดี เสนอวิธี การที่ดีในการวิเคราะห์ ปัญหาเพื่อระบุสาเหตุของปัญหา และประเมินผลกระทบด้วยความเข้าใจ

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบาย (ต่อ)

ระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้   คำอธิบาย
2.ใช้ประสบการณ์ของตนเองและเกณฑ์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และสร้างวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ     1 2 3 4 5
4.เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาซึ่งมีประสิทธิภาพสำหรับแก้ปัญหาซ้ำ ไม่เสนอวิธีแก้ปัญหา เสนอวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่มีประสิทธิภาพ เสนอวิธีแก้ปัญหา มากกว่า 1 วิธี เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เป็นไปได้ และมีเหตุผล
5.มีเกณฑ์ที่ดี สำหรับเลือกวิธีแก้ปัญหา ไม่มีเกณฑ์ ไม่รู้วิธี การตัดสินใจ ใช้เกณฑ์ ไม่เหมาะสม สำหรับเลือก วิธีแก้ปัญหา ใช้เกณฑ์สำหรับเลือก วิธีแก้ปัญหา ได้ถูกต้อง ประยุกต์เกณฑ์ที่เหมาะสม และเลือกวิธีแก้ปัญหาได้ถูกต้อง พัฒนาเกณฑ์ด้วยตนเอง เพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
6. วางแผนการปฏิบัติและติดตามการ ประยุกต์วิธีแก้ปัญหา ไม่ตระหนักถึงการวาง แผน การปฏิบัติ ตระหนักถึงการวาง แผนการปฏิบัติ แต่ขาดการติดตามแผน วางแผนการปฏิบัติได้และติดตาม แผนได้อย่าง ถูกต้อง แต่ไม่ครอบคลุม วางแผนการปฏิบัติได้และติดตาม แผนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ มีแผนการปฏิบัติที่มีคุณภาพติดตาม แผน  และสามารถทำนายแผน

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบาย (ต่อ)

  ระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้   คำอธิบาย
3. เสนอและสร้างวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายและครอบคลุม   1 2 3 4 5
1.ทำนายปัญหา ก่อนเกิดเหตุการณ์ ไม่สามารถทำนายปัญหา มีความยาก ในการทำนายปัญหาในกรณีที่ไม่มีผลเกิดขึ้น ทำนายปัญหาที่เป็นไปได้ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน ถึงเวลาที่กำหนด วิเคราะห์ และจัดลำดับของ ปัญหา ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนถึงเวลาที่กำหนดได้อย่างชัดเจน
2.วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เผชิญปัญหา โดยปราศจาก วิธีการแก้ปัญหา มีวิธีการแก้ปัญหา บางส่วนสำหรับระยะสั้นเท่านั้น มีวิธีการแก้ปัญหาสำหรับระยะกลางและระยะยาว เน้นวิธีแก้ปัญหา โดยสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ ยอดเยี่ยม
3. กำกับกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบผ่านการ ตัดสินใจ ในกลุ่ม มีกระบวนการติดตามการทำงานที่ไม่เป็นระบบสำหรับการตัดสินใจ ติดตามกระบวนการการทำงานแต่ไม่ได้กำกับ กระบวนการ ทำงานอย่าง เป็นระบบ มีการกำกับวิธีการและกระบวนการแก้ปัญหาในกลุ่มโดยใช้ การตัดสินใจ ใช้การกำกับวิธีการและกระบวนการ แก้ปัญหาในกลุ่มโดยใช้ การตัดสินใจ ใช้การกำกับวิธีการและกระบวนการ แก้ปัญหาในกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ มีความไว้วางใจต่อกัน
4. ถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกในห้องเรียน ไปสู่สถานการณ์จริงในศาสตร์อื่น ยึดติดกับลักษณะเฉพาะ.” here and now” ต้องการคำแนะนำเพื่อถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่ศาสตร์อื่น ถ่ายโอนวิธีการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่น เผชิญกับสถานการณ์จริง โดยใช้ การเรียนรู้ที่มีประโยชน์ เพื่อสรุปอ้างอิง และเชื่อมโยง สามารถจัดการกับ สถานการณ์จริงได้อย่างง่ายในศาสตร์ ต่าง ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์

 ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ และคำอธิบาย (ต่อ)

ระดับของการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้   คำอธิบาย
3. เสนอและสร้างวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายและครอบคลุม 1 2 3 4 5
5. ได้รับการสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ได้ข้อกำหนดสำหรับ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้รับการสนับสนุน ได้รับการสนับสนุนแต่ การตัดสินใจไม่มีประสิทธิภาพ ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในกลุ่มเพื่อ วางแผน การ แก้ปัญหาให้สำเร็จ ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก นอกกลุ่มเพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจ ประสบความสำเร็จ ตะหนักถึงความสามารถในการจัดระบบและ จัดการสิ่งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจประสบความสำเร็จ

ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้และตัวบ่งชี้ (ต่อ)

ลำดับที่ ระดับของการเรียนรู้ (Level of Mastery) ตัวบ่งชี้
1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้วิธีแก้ปัญหา 1.สามารถระบุได้ว่าอะไรคือปัญหา และไม่ใช่ปัญหา โดยใช้การตัดสินใจ
2.อ่าน /ฟังอย่างกระตือรือร้นถามคำถามเพื่อนิยามปัญหา
3.รวบรวมข้อมูลที่สำคัญเพื่อแก้ปัญหาซ้ำ โดยใช้ข้อเท็จจริง และติดตามวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูล
4. ติดตามวิธีการระบุสาเหตุของปัญหา
5. เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลายและประเมินความเสี่ยงที่เป็นไปได้และข้อดีของทางเลือกแต่ละวิธี
6. ออกแบบการวางแผนเพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหา

 ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเรียนรู้และตัวบ่งชี้ (ต่อ)

ลำดับที่ ระดับของการเรียนรู้ (Level of Mastery) ตัวบ่งชี้
2.  ใช้ประสบการณ์ของตนเองและเกณฑ์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และสร้างวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ  1.ตระหนักถึงปัญหาที่ซับซ้อนและสามารถแยกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อจัดการ
2.เปรียบเทียบแหล่งข้อมูลและข้อเท็จจริง
3. มีวิธีการวิเคราะห์เพื่อระบุสาเหตุที่สำคัญและประเมินผลของปัญหา
4.เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาซึ่งมีประสิทธิภาพสำหรับแก้ปัญหาซ้ำ
5.มีเกณฑ์ที่ดีสำหรับเลือกวิธีแก้ปัญหา
6. วางแผนการปฏิบัติและติดตามการ ประยุกต์วิธีแก้ปัญหา
3. เสนอและสร้างวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายและครอบคลุม 1.ทำนายปัญหาก่อนเกิดเหตุการณ์
2.วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3. กำกับกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบผ่านการตัดสินใจในกลุ่ม
4. ถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกในห้องเรียน ไปสู่สถานการณ์จริงในศาสตร์อื่น
5. ได้รับการสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ได้ข้อกำหนดสำหรับการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดแก้ปัญหากับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

องค์ประกอบสำคัญประการแรกในการแก้ปัญหานั้นคืออะไร

  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นกระบวนการนิยาม การประยุกต์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมิน ข้อมูล เพื่อตอบคำถามหรือสรุป
  • การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking) เป็นผลของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้นพบและวิเคราะห์ปัญหา โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดที่ชนะอุปสรรค