5. จงบอกประเภทของ search engine

ปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแพร่กระจายข่าวสารข้อมูลต่างๆ เมื่อความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย ทำให้ปริมาณข้อมูลมีมากขึ้นการสืบค้นข้อมูลจึงเป็นเรื่องยากลำบากในการค้นหา จึงมีบริการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) เกิดขึ้นเพื่อเข้ามาช่วยในการสืบค้นข้อมูลให้ง่ายสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น



ความหมายของ Search Engine
Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Seaech Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword เข้าไปที่ช่องที่กำหนด แล้วกด Enter ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมา เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่ต้องการเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

เครื่องมือสืบค้นอาจแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Crawler Based Search Engine
2. Meta Search Engine
3. Classified Directory
4. Subject Gateway

1. Crawler Based Search Engine
Crawler Based Search Engine คือเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมดัชนีของเว็บเพจ หรือเว็บไซต์ในโลกนี้โดยใช้โปรแกรมตัวเล็กๆ ที่เราๆ ทุกคนอาจรู้จักในชื่อว่า Robot หรือ Spider ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ

โครงสร้างของ Crawler Based Search Engine จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ




1. Spider หรือ Web Robot
Spider หรืออาจเรียกในชื่ออื่นว่า Web Robot หรือ ครอเลอร์ (Crawler) Search Engine ทุกตัว จะส่ง robot ของตัวเอง เช่น หากเป็น Google จะเรียกว่า Google bot , MSN จะเรียกของตัวเองว่า MSN bot หรือแม้แต่ Yahoo หรือ Search Engine ตัวอื่น ๆ ก็จะเรียกชื่อที่ต่างกันออกไป เพื่อจุดประสงค์ไปไต่ (Craw) ตามเว็บ Link ต่างๆ เช่น และเก็บเอาเนื้อหา หรือ Content ต่างๆ กลับมาวิเคราะห์ที่ Server ของตัวเอง เพื่อหาว่า เนื้อหาใน Web ที่ไปเก็บมานั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น กีฬา , ข่าว , Blog หรือเนื้อหาอื่น ๆ โดยจะใช้กรรมวิธีในการคิด วิเคราะห์ (Algorithm) ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อวิเคราะห์ให้ได้ว่า Web นั้น มีเนื้อหาด้านนั้นจริงๆ และนำมาจัดเก็บใน Index Server เพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาคำที่ต้องการ มาค้นหาจาก Index Server เพื่อจะได้ค้นหา Website ที่เขาต้องการได้รวดเร็ว และตรงตามใจที่สุด

นอกจาก Spider จะทำงานหาลิงค์เพิ่มโดยอัตโนมัติแล้ว Search Engine ส่วนใหญ่อนุญาตให้ส่ง URL เพื่อกำหนดให้ Spider มาทำดัชนีที่เว็บไซต์ใดๆได้ ในปัจจุบันมีบริการที่จะส่ง URL ไป Search Engine หลายๆแห่งพร้อมกันในคราวเดียวเช่นที่ www.submit-it.com Spider หรือ Web Robot จะมีโปรแกรมคำสั่งที่เรียกว่า robots.txt คือการคำสั่งให้ Web Robot ของแต่ละ search engine นั้น ทำตามเก็บ index แต่ละอย่างที่เว็บไซต์ที่อนุญาติ โดยบางเว็บไซต์อาจไม่ต้องการให้ search engine เข้าไปในเว็บบางอย่าง ก็จะเขียนกำหนดได้บน Robot.txt นี้เอง robots.txt เป็น fileที่บอก Search engine ว่า ไม่ต้องมาเก็บเว็บไซต์นี้ หรือเว็บเพจบางหน้า หรือไฟล์บางไฟล์ Robot เป็นโปรแกรมเก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางครั้ง เรียกว่า Spider หรือ ครอว์เลอร์(Crawler) จะทําหน้าที่รวบรวมไฟล์ HTML เพื่อมาเป็นข้อมูล สําหรับสร้างดัชนีค้นหา ให้กับ Search Engine โดยทั่วไปแล้ว โรบอตจะกลับมาที่เว็บไซต์ที่อ่านไปแล้ว เพื่อตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลง ตามระยะเวลาที่กําหนด




2. indexer
Indexer ( อินเด็กเซอร์ ) หรือบางครั้งเรียก catalogue ( แคตตาล็อก ) จะรับข้อมูลจาก Spider มาทำดัชนี เทคนิคการทำดัชนีมักใช้การจัดเก็บแบบแฮชชิง เพื่อที่ช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว ขั้นตอนการทำงานของ index ( อินเด็กซ์ ) แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
- กรองคำด้วยฟิลเตอร์ เนื่องจากไฟล์ที่ทำดัชนีอาจไม่เป็น HTML หรือไฟล์แอสกี ดังนั้นฟิลเตอร์จะตรวจสอบไฟล์ที่ได้ว่าเป็นไฟล์ชนิดใดสามารถนำมาทำดัชนีได้หรือไม่ ถ้าได้ก็จะส่งต่อสู่ภาคการแยกคำต่อไป Search Engine บางตัวสามารถ ทำดัชนีไฟล์อื่นๆนอกเหนือจากไฟล์ HTML ได้ด้วยเช่น Index Server ของไมโครซอฟต์สามารถทำดัชนีคำของแฟ้มเวิร์ดหรือเอกเซลได้
- แยกคำ ขั้นตอนนี้จะรับสายอักขระมาจากฟิลเตอร์ แล้วตัดแบ่งสายอักขระนั้นๆออกเป็นคำๆ และเพื่อตรวจสอบต่อไปว่าควรจะนำคำนั้นมาทำดัชนีหรือไม่
- จัดทำดัชนี ขั้นตอนนี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบคำศัพท์แต่ละคำที่ได้มาจากการแยกคำ แล้วพิจารณาว่าคำศัพท์คำนั้นสมควรที่จะนำมาทำดัชนีหรือไม่ เช่นคัดทิ้งคำบางคำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการค้นหา คำสิ้นเปลืองและคำหยุด (Common word หรือ stop word) ออกไปจากหน้าเอกสาร เช่น a, the, is, on, of, it เป็นต้น เพื่อลดอัตราการสิ้นเปลืองในการประมวลผลแต่ละครั้งให้เหลือน้อยที่สุด




3. Search Engine software
เป็นส่วนของโปรแกรมที่รับคำศัพท์ที่ต้องการให้ค้นหา แล้วค้นหาในดัชนี หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ค้นหามาจัดลำดับตามความสำคัญก่อนหลังเพื่อแสดงกลับไปบนหน้าจอ โปรแกรมส่วนนี้มักเป็นโปรแกรม cgi ที่เขียนเชื่อมโยงเข้ากับเว็บเพจที่รอให้ผู้ใช้ป้อนคำศัพท์

ตัวอย่าง Crawler Based Search Enginewww.google.com





5. จงบอกประเภทของ search engine



Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ มี Spider ที่มีความเร็วในการเก็บข้อมูลโดยที่ความเร็วสูงสุด Spider 4 ตัวสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า 100 เว็บเพจต่อวินาที หรือได้ข้อมูลประมาณ 600 Kต่อวินาที เวลาปรกติประสิทธิภาพของ Spider และ indexer ทำให้ Google ดาวน์โหลดข้อมูลล่าสุด 11 ล้านหน้าในเวลาเพียง 63 ชั่วโมงเฉลี่ยเพียง 4 ล้านหน้าต่อวันหรือ 48.5 หน้าต่อวินาทีเพราะ indexer ทำงานเร็วกว่า Spider จีงมีเวลาพอเพียงเพิ่มประสิทธิภาพการทำ indexer เพื่อให้มันไม่คั่งค้าง ตัวอย่างสถาปัตยกรรม ของ Google ดังรูป




5. จงบอกประเภทของ search engine
รูปที่ 1 High Level Architecture Google





ตัวอย่าง Crawler Based Search Engine อื่น ๆ



http://www.excite.com/

http://www.altavista.com/

http://www.lycos.com/

http://www.bing.com/



2.Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้การค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML โดยค้นหาจากฐานข้อมูลของ Search Engine หลาย ๆ แห่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาในมาตรฐานเดียวกัน เพราะ Meta Search Engine ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล จุดด้อยคือ ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บจะใส่ ประโยค หรือถ้อยคำ (Keywords) ต่างๆเข้าไปมากมายเพื่อเวลาใครมาSearch จะได้พบเว็บ หรือ บล็อกของตนเองซึ่งประโยค หรือถ้อยคำต่างๆนั้นอาจไม่ตรงหรือเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นเลยก็ได้ และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ อาจไม่เที่ยงตรง


ตัวอย่าง Meta Search Engine


http://www.ixquick.com/

http://www.dogpile.com/

http://www.metacrawler.com/

http://www.mamma.com/



3 Classified Directory
Classified Directory คือสารบัญเว็บไซต์ที่ให้สามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล จัดทำโดยมนุษย์ โดยนำข้อมูลที่ปรากฏใน Web ต่างๆ มาจัดเป็นหมวดหมู่ เป็นเรื่องๆ โครงสร้างของการจัดหมวดหมู่จะถูกเตรียมไว้ก่อน ภายใต้แต่ละเรื่องจะทำการแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ตามลำดับจากเรื่องทั่วไป ไปสู่เรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จากนั้นจึงนำเว็บไซต์ต่างๆ ที่รวบรวมมาไปจัดเก็บตามหมวดหมู่ที่จัดทำไว้
ข้อดีของ Classified Directory คือการแบ่งหมวดหมู่ที่ชัดเจนช่วยนำทางในการเข้าถึงข้อมูลจากประเด็นกว้างๆ ที่ยังไม่ชัดเจนไปสู่ประเด็นเรื่องที่ชัดเจนทำให้ในการค้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องที่ค้นหรือคำศัพท์เฉพาะในเรื่องที่ค้นมาก่อน
ข้อด้อยของ Classified Directory คือขนาดของฐานข้อมูลจะมีขนาดเล็กกว่า Search Engines ทั่วไปเนื่องจาก Classified Directory จัดทำดรรชนีโดยมนุษย์ความรู้ของผู้จัดทำ และผู้ใช้ แตกต่างกันไปปัญหาอาจเกิดจากการจัดทำหมวดหมู่ เช่น
- การกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของหมวดหมู่ไม่ชัดเจน ไม่สมเหตุสมผล
- โครงสร้างหมวดใหญ่ หมวดย่อยมีความซ้ำซ้อน หรือคาบเกี่ยวกัน
- เรื่องเดียวกันแต่อยู่ได้หลายที่หลายระดับ อาจสร้างความสับสนให้กับผู้ค้นได้


การเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่เว็บ Classified Directory
ในอดีตการเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่เว็บ Classified Directory สามารถทำได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบันมีการทำการตลาดเพื่อให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก การนำเว็บไซต์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลของ Classified Directory สามารถทำได้ดังนี้
1. Free Submission คือ Classified Directory ที่ยอมให้เพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2. Reciprocal Link คือ Classified Directory ที่ต้องทำ Link กลับมาก่อนจึงจะสามารถเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลได้
3. Paid Submissions คือ Classified Directory ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการเพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าสู่ฐานข้อมูลเว็บไดเรคทอรี่

ตัวอย่าง Classified Directory

http://www.dmoz.org/

http://www.galaxy.com/

http://www.yahoo.com/

http://www.sanook.com/


4. Subject Gateway
Subject Gateway คือ Classified Directory จัดทำขึ้นเพื่อใช้ค้นหาข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่นกฎหมาย ศาสนา ศิลปะ การศึกษา สุขภาพ มีการแบ่งหมวดและแยกหัวเรื่องโดยบรรณารักษ์ เน้นการรวบรวมทั้งในระดับกว้างและลึกของสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ตัวอย่าง Subject Gateway ที่น่าสนใจคือ
1. http://scholar.google.com/ เป็นการร่วมมือกันทั้งจากองค์กรการศึกษา นักวิชาการ และทีมงานด้านเทคนิค เพื่อร่วมกันจัดการกับดัชนีต่างๆ ที่จำเป็นต้องเข้าถึงเนื้อหาข้อมูล รวมถึงการพัฒนาในส่วนของเทคนิคต่าง ๆข้อมูลบางชนิดไม่สามารถจะนำมาเชื่อมโยงได้โดยบริการค้นหาข้อมูลแบบธรรมดา ทำให้ Search Engine ไม่อาจค้นหาข้อมูลเหล่านั้นได้ บริการ Google Scholar มีข้อดีก็คือทำให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะทางได้พบเจอข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหรือทางสำเนาดิจิตอลของบทความว่าออนไลน์หรือในห้องสมุดโดยอาจเป็นข้อมูลวิชาการซึ่งปรากฏโดยอ้างอิงจาก'ข้อความเต็มของบทความ,วารสารรายงานทางเทคนิค, วิทยานิพนธ์ หนังสือและเอกสารอื่น ๆ ที่คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือน่าสนใจ
2. http://www.hw.ac.uk/libwww/irn/pinakes/pinakes.html เป็น Subject Gateway เฉพาะที่เรียกตัวเองว่า Multi-Subject Gateways คือรวบรวมเอา Subject Gateway หลายๆที่มารวมที่เว็บไซต์ของตนเอง


เห็นได้ว่า Search Engine แต่ละที่มีวิธีการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการมากที่สุดจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป
ในปัจจุบัน Search Engine มีอยู่มากมายแต่ได้รับความนิยมอยู่ไม่กี่เว็บไซต์โดย www.google.com มีผู้มาใช้มากที่สุด ประมาณ 70%และเมื่อนำ www.google.com , search.yahoo.com , www.bing.com มารวมกันจะได้ส่วนแบ่งตลาดไปเกือบทั้งหมดคือประมาณ 90% ดูได้จากตารางต่อไปนี้




Top Search Engine - Volume





5. จงบอกประเภทของ search engine
The following report shows search engines for the industry 'All Categories', ranked by Volume of Searches for the 4 weeks ending21/08/2010.




Top Search Engines – Visits


5. จงบอกประเภทของ search engine
The following report shows websites for the industry 'Computers and Internet - Search Engines', ranked by Visits for the week ending21/08/2010.



เทคนิคการใช้ Search Engine
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดจาก Search Engine ทั้ง 4 ประเภทข้างต้น เช่น ถ้าต้องการข้อมูลที่มีคำเฉพาะแล้วก็ควรเลือกสืบค้นข้อมูล แบบ Crawler Based Search Engine แต่ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกสืบค้นข้อมูล แบบ Classified Directory
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา กำหนดคำที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าใช้คำทั่ว ๆ ไปและใส่เครื่องหมายคำพูด( “ ” ) เพราะจะได้ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น
3. ใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย + เพื่อใช้กับคำที่คุณต้องการใช้ในการค้นหา และ - เพื่อใช้กับคำที่ไม่ต้องการใช้ในการค้นหา ข้อควรระวังคือ เราจะต้องใช้เครื่องหมายบวกติดกับคำหลักนั้นเสมอ ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก เช่น +Android -Phone
4. ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) ช่วยในการค้นหาคำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น com* กรณีเช่นนี้ จะเป็นการบอกให้ Search Engine ทราบว่าเราต้องการต้นหาคำที่มีคำว่า com นำหน้า ส่วนตัวท้ายจะเป็นอะไรก็ได้ยกตัวอย่าง coma, computer, combat และ company เป็นต้น
5. การใช้ตรรกะแบบบูลีน ( Boolean logic ) คือ การใช้ตัวเชื่อม AND, OR , NOT, NEAR เชื่อมคำหรือวลี เพื่อให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
6. การขึ้นต้นของตัวอักษร กรณีที่คุณพิมพ์ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ตรวจพบได้ จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ ก็ให้ใช้ตัวอักษรแบบพิมพ์ใหญ่แทน
7. . ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า การสืบค้นแบบขั้นสูง(Advanced search) เข้ามาช่วย เพราะจะ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา

การแทรก Meta tags
Meta tags ส่วนของซอร์สโค๊ดที่อยู่ใน Head (ส่วนหัว) ของเอกสาร HTML โดยปกติเมื่อเราเปิดหน้าเว็บไซต์หนึ่ง ๆ ขึ้นมา ส่วนของ Head จะถูกประมวลผลก่อน ดังนั้น Meta tags จึงเป็นส่วนที่บอกคุณลักษณะของเว็บนั้น ๆ ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร เป็นข้อความที่ประกาศเอาไว้ใน Code จะไม่แสดงผลในเว็บเพจ โดยเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ , Keywords ที่ใช้ที่เกี่ยวข้อกับเว็บไซต์ Search Engine จะทำการเก็บรายละเอียดพวกนี้ไว้อ้างอิงเว็บไซต์ ถ้าไม่เขียนก็ได้ แต่ Search Engine จะทำการหาข้อความ หรือเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ไปแทน ซึ่งอาจไม่ใช่ใจความสำคัญ หรือส่วนสำคัญของเว็บไซต์ก็ได้
ขั้นตอนการแทรก Meta tags ในเว็บเพจ

Meta tags ที่จะแทรกนั้นจะมี 2 อย่างคือ

1.Description เป็นส่วนที่ใช้บอกรายละเอียดของเว็บเพจแบบคร่าวๆ

2.Keywords เป็นส่วนที่ใช้บอก คำที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจหน้านี้ เป็นคำที่ใช้ในการค้นหาหน้านี้


การแทรก Meta tags ในส่วนของ Description

1.เปิดหน้าเว็บเพจที่เราต้องการแทรก Meta tags ขึ้นมา

2.ไปที่ Menu เลือก Insert > HTML > Head Tags > Description

3.จะมีกล่องข้อความขี้นมาให้เขียนรายละเอียดลงไปในกล่องนั้น ใส่ได้เฉพาะตัวอักษรห้ามใส่ Code ต่างๆ จะ เป็นภาษาอังกฤษ หรือไทยก็ได้

Search Engine คือ อะไร พร้อมยกตัวอย่าง 5 ตัวอย่าง

เสิร์ชเอ็นจิ้น (Search Engine) คือ เครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ด้วยคำค้นต่างๆ ซึ่งข้อมูลนั้น อาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ สื่อมัลติมีเดีย ไฟล์บีบอัด และรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มีดังนี้ http://www.google.com.

Google จัดเป็น Search Engines ประเภทใด

Google Search คือเครื่องมือค้นหาแบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Web Crawler ในการสำรวจเว็บเป็นประจำเพื่อค้นหาหน้าเว็บที่จะเพิ่มไปยังดัชนีของเรา ในความเป็นจริง หน้าเว็บส่วนใหญ่ที่แสดงในผลการค้นหาไม่ได้ส่งข้อมูลมาให้รวมไว้ในดัชนี แต่ระบบค้นพบและเพิ่มหน้าเว็บเหล่านั้นโดยอัตโนมัติในขณะที่ Web Crawler ...

ข้อใดคือลักษณะของโปรแกรมค้นหาประเภท Crawler Based Search Engine

Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเทอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึก ข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผล การค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการ ค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

เสิร์ชเอ็นจิ้น คืออะไร?

เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย.