วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากเผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต  มีทั้งข้อมูลเชิงสารคดีและบันเทิงคดี เช่น การรายงานข่าวประจำวัน  ข้อมูลอันดับหนัง อันดับเพลงฮิต  สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเว็บ การประกาศโฆษณาขายของบนอินเทอร์เน็ต  ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่ามีจำนวนเว็บไซต์เกิดใหม่ในแต่ละวันมีจำนวนเป็นล้านเว็บไซต์ต่อวัน  

WebOPAC เว็บโอแพค

 WebOPAC ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการ โดยสืบค้นผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

   เริ่มต้นการสืบค้น  เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักวิทยบริการที่ http://www.library.msu.ac.th  หัวข้อสืบค้นสารสนเทศคลิก WebOPAC หรือพิมพ์คำค้นในช่องว่างซึ่งอยู่ด้านบนของเว็บไซต์ เลือกขอบเขต กดปุ่มสืบค้น ดังรูป



วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



1.  การสืบค้นหนังสือ

     เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์ งานวิจัย นวนิยาย และ เรื่องสั้น ที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการนั้น จะเิริ่มต้นอย่างไรดี  การค้นหาหนังสือให้ได้ดังใจและรวดเร็วมีขั้นตอนนี้ดังนี้


    1) สืบค้นจาก WebOPAC โดยเลือกใช้ขอบเขตหรือทางเลือกในการสืบค้นซึ่งมี  6  ทางเลือกได้แก่

       - ผู้แต่ง  หมายถึง ผู้แต่ง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปลชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการประชุมสัมมนา สำหรับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ชื่อต้น และชื่อกลาง

       - ชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ

       - หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ เอกสาร หรือบทความ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด

        - คำสำคัญ หมายถึง คำ หรือ วลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่ทราบทั้งชื่อเรื่อง ผู้แต่ง และหัวเรื่อง

         - เลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด

              - ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อผู้แต่ง หรือหากทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ จะทำให้สามารถจำกัดผลการสืบค้นได้


      2) พิมพ์คำที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศในช่องว่าง คลิกทางเลือกการสืบค้น ได้แก่ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ หรือ ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง  จากรูปตัวอย่างเป็นวิธีการสืบค้นหนังสือโดยเลือกใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง  คลิกที่ปุ่มสืบค้น

              * ถ้าเริ่มต้นสืบค้นโดยที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง ให้เลือกสืบค้นจากขอบเขต "คำสำคัญ"


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



          3) หน้าจอแสดงผลการสืบค้น โดยแสดง ชื่อเรื่อง สถานที่จัดเก็บ เลขเรียก และสถานภาพ  ให้ตรวจสอบดูสถานที่จัดเก็บหนังสือที่ต้องการนั้นว่าจัดเก็บอยู่ที่ใด มีสถานภาพอยู่บนชั้น ถูกยืมออกไปแล้ว หรือห้ามยืมออก  ผู้ใช้สามารถดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ จากนั้นให้จดเลขเรียกแล้วหยิบหนังสือบนชั้น แล้วนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



2.  การสืบค้นบทความ

           จะมีวิธีการสืบค้นเริ่มแรกไม่แตกต่างจากการสืบค้นหนังสือ แต่ผู้สืบค้นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่าบทความเรื่องที่ต้องการนั้นอยู่ในวารสารชื่อเรื่องอะไร และจัดเก็บอยู่ที่ใด ซึ่งวารสารจะมีอยู่ 3 สถานภาพ คือ

          - วารสารฉบับปัจจุบัน  หมายถึง  วารสารฉบับล่าสุด ให้บริการที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ชั้น 3 

          - วารสารล่วงเวลา  หมายถึง  วารสารที่นำลงมาจากชั้นวารสารใหม่สีส้ม และถูกนำมาจัดเก็บไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และเพื่อรอเย็บเล่ม ผู้ใช้บริการสามารถกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการกับบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และนำวารสารไปถ่ายสำเนาได้ที่ศูนย์ถ่ายเอกสาร สำนักวิทยบริการ ชั้น 3

          - วารสารเย็บเล่ม  หมายถึง  วารสารที่ถูกนำมาเย็บเล่มแล้วจัดไว้ให้บริการที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน ผู้ใช้บริการสามารถหยิบตัวเล่มด้วยตนเองและนำไปถ่ายสำเนาเอกสารได้

          ขั้นตอนการสืบค้นมีดังนี้

          1) สืบค้นจาก Web OPAC โดยใช้ชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง หรือคำสำคัญ เพื่อตรวจสอบว่ามีบทความที่ต้องการหรือไม่ จากรูปตัวอย่างเป็นการสืบค้นหาบทความโดยใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อเรื่อง เมื่อได้ผลลัพธ์การสืบค้นให้เลื่อกรายการที่ต้องการแล้วคลิกเข้าไปดูแหล่งข้อมูลหรือชื่อวารสารของบทความเรื่องนั้น  ในกรณีที่มีผลลัพธ์เยอะและต้องการคัดเลือกเอาเฉพาะบทความ ให้คลิกที่ปุ่มเมนู Limit/Sort Search

          * Limit/Sort Search หรือการจำกัดผลลัพธ์ ใช้เพื่อคัดกรองทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ทุกประเภท


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



          2) จากนั้นให้เลือกประเภทวัสดุ เป็น "ดรรชนีวารสาร" เพื่อกรองผลลัพธ์ให้ได้เฉพาะบทความวารสารเท่านั้น แล้วคลิกปุ่ม Submit เพื่อยืนยัน


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



          3)  ให้เลือกบทความเรื่องที่สนใจ จากนั้นคลิกที่ "ดูรายละเอียดวารสาร" หน้าจอจะแสดงเลขเรียก สถานที่จัดเก็บ และวารสารฉบับที่มีให้บริการ ให้ผู้ใช้บริการคลิกที่ "Latest Received" เพื่อตรวจสอบว่าวารสารที่ต้องการนั้นถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



          4) ให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบว่าบทความที่ต้องการอยู่ในวารสารฉบับที่เท่าใด ถ้าเป็นฉบับที่มีข้อความว่า "ฉบับปัจจุบัน" ให้หยิบตัวเล่มได้ที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ถ้ามีข้อความว่า "Arrived/ได้รับแล้ว" แสดงว่าเป็นวารสารล่วงเวลารอเย็บเล่ม ให้ติดต่อที่เคาน์เตอร์วารสารเพื่อยืมไปถ่ายสำเนาเอกสาร ถ้ามีข้อความว่า "Bound/เย็บเล่ม" ให้หยิบวารสารได้ที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน  

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac




ตัวอย่างของวารสารที่มีข้อความ "Bound/เย็บเล่ม"


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



3.  การสืบค้นสื่อโสตทัศน์

     เมื่อต้องการค้นหาสารสนเทศประเภท VCD DVD เทป วีดิโอ หรือชุดสื่อการสอนอื่นๆ สามารถสืบค้นได้จาก WebOPAC  ใช้วิธีการและขั้นตอนเหมือนกับการสืบค้นหาหนังสือ แต่สถานที่จัดเก็บสื่อโสตทัศน์จะอยู่ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศน์ชั้น 4 ดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ 


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



     จากรูปตัวอย่างค้นหาเรื่อง Photoshop ให้คลิกเลือกรายการผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อตรวจสอบสถานภาพ จดเลขเรียก แล้วส่งให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการยืมออก


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


เขียนโดย bumka ที่ 22:05 0 ความคิดเห็น

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

Search Engine

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


 Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา

Search Engine มีกี่ประเภท ?
   Search Engine มี?3?ประเภท (ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล ผมสรุปได้?3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยค่ะ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง?3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ค่ะ
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
  Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots

ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
  จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักนะค่ะก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะค่ะ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันค่ะ

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
  Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองค่ะ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ


ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
  Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
  ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.
  มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า “Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไร” นี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน

เขียนโดย bumka ที่ 22:05 0 ความคิดเห็น

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

การสร้าง Blog !!!

Blog ไทยก็มีเยอะนะค่ะ แต่ส่วนใหญ่ เค้าไม่ให้มีโฆษณาใน Blog จึงขอแนะนำ Blog ของ google ดีกว่า ซึ่งมีภาษาไทย ในการอธิบายเมนูต่างๆด้วยและสามารถเลือกภาษาที่จะแสดงเมนูใน blog ได้ (กรณีทำโฆษณาภาษาอังกฤษ)
การสร้าง blog กับ blogger.com ชื่อที่ได้ จะได้เป็น ชื่อที่ตั้ง.blogspot.com
ถามว่า Blog สู้การทำเว็บ .com ได้มั้ย ลองเข้า google.co.th แล้วค้นคำว่า เที่ยวลาว ดูนะค่ะ จะเห็นว่า blog สู้ .com ได้อย่างสบาย การที่เว็บจะอยู่อันดับต้น มันขึ้นกับเนื้อหาในเว็บค่ะ

วิธีการสมัคร Blogger.com 
เข้า http://www.blogger.com

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


 ถ้าคุณเคยสมัครอะไรของ google ไว้แล้ว เช่น เคยสมัครเมล์ gmail ก็สามารถใช้ รหัส gmail login ในช่อง ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย...หรือถ้าไม่เคยสมัครอะไร หรืออยากจะสมัครใหม่ ก็ คลิกคลิกที่ลูกศรสีส้ม สร้างบล็อคของคุณทันที


1.สร้างบัญชี Google

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


- ที่อยู่อีเมล ใส่เมล์ของเรานะค่ะ เมล์อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น gmail ค่ะ ก็ประมาณว่า เมล์ที่เราใช้อยู่นั่นแหละค่ะ
- ใส่เมล์นั้นอีกครั้งค่ะ
- กำหนดรหัสผ่าน ตั้งขึ้นมาเลย ไม่ใช่รหัสเมล์นะค่ะ เป็นรหัสที่เราตั้งขึ้นเพื่อสมัคร blogger ครับ
- ชื่อที่แสดง ก็อย่างที่ในเว็บบอกค่ะ คือ คือนี่จะแสดงว่าเราเราโพสข้อความอะไรใน blog ของเรา หรือเขียนคอมเม้น แสดงความคิดเห็น blog ของคนอื่น
- รหัสยืนยัน ใส่รหัสสุ่มตามภาพที่ขึ้นมา
- ทำเครื่องหมายช่องสี่เหลี่ยม ยอมรับข้อตกลง ...จากนั้นคลิก ดำเนินการต่อ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


ตั้งชื่อเว็บบล็อกเลยค่ะ ชื่อจะปรากฏที่บนสุดของ blog เช่น ดังภาพ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


ที่อยู่บล็อก ก็คือ ชื่อที่อยู่ url ของ blog นั่นเองค่ะ ตัวอย่างชื่อ blog

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

สำหรับการ ตรวจสอบความพร้อมคือ ตรวจสอบว่าชื่อที่ตั้งอยู่ ซ้ำหรือมีใครใช้อยู่หรือยังถ้าขึ้น ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้ ก็สามารถใช้ชื่อนี้ได้ค่ะ
*** ทั้งชื่อเว็บบล็อก และที่อยู่ บล็อก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังค่ะ และ 1 user ที่ใช้ login blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ค่ะ ถ้าอยากสร้างอีก ก็สมัคร account blogger ใหม่ เพิ่มอีกค่ะ ***

ขั้นตอนต่อไปก็จะมีให้เลือกรูปแบบของ blog เลือกได้เลยค่ะ ชอบแบบไหนก็เลือกไปก่อน สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

คลิก ดำเนินการต่อ ...

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

หลังจากนั้น จะมาถึงขั้นตอน เริ่มต้นการเขียนบล็อก เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ blog ของ blogger ก่อนค่ะ ก่อนเขียน blog เราต้องทำความเข้าใจและวางแผนก่อนค่ะ
- blog เราสามารถ เขียนข้อความต่างๆ แทรกภาพ หรือนำเสนอต่างๆได้

การเขียน blog ที่ blogger
- ข้อความล่าสุด จะอยู่ที่หน้า blog
- ข้อความต่างๆที่เขียนไป จะเป็นหัวข้อ รวมอยู่ในคลังบทความของบล็อก ซึ่งคำว่า "คลังบทความของบล็อก"

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac
คลิกเข้าที่แก้ไข เพื่อเข้าไปแก้ไขคำว่า คลังบทความของบล็อก




- สำหรับรูปแบบของ blog เกี่ยวกับคลังของบทความ เราควรวางแผนแล้วว่า บทความหรือข้อความต่างๆที่เราจะเขียน blog จะเรียงลงมา เมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชม blog ของเรา ผู้เยี่ยมก็จะเห็นหัวข้อเหล่านั้น และเลือกที่จะคลิกอ่านได้ เป็นผลดีในการนำเสนอ
- สำหรับบทความต่างๆ หรือข้อความต่างๆที่เราจะนำเสนอใน blog ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรกค่ะ หน้าแรกของ blog ควรจะเป็นเหมือนหน้ารับแขก ซึ่งออกแบบ เพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สนใจ และอ่าน blog  แล้วจะทำงัยล่ะ ? เมื่อข้อความต่างๆที่เรา เขียนไป เป็นหัวข้อต่างๆ ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรก ถ้าเราออกแบบ หน้าที่ดึงดูดความสนใจ ไว้เป็นหน้าแรกแล้ว ถ้าเรามีข้อความมาเขียน หรือ นำเสนออีก จะทำงัย ให้หน้าที่เราออกแบบไว้ อยู่หน้าแรก
- วิธีการง่ายๆก็คือ แต่ละบทความที่เราเขียนไป สามารถแก้ไขได้ เราเข้าไปแก้ไขบทความนั้น แก้ไขตรงวันที่ หรือจะแก้ไขเวลาด้วยก็ได้ ให้เป็นวันที่ล่าสุด เพื่อให้บทความนั้นยังอยู่หน้าแรกนั่นเอง  อยู่ล่างๆ นะค่ะ คลิกที่ตัวเลือกของบทความ แล้วจะมีให้แก้ไขได้

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


สำหรับ ป้ายกำกับสำหรับบทความนี้   หมายถืง คีย์เวิร์ด สำคัญ หรือน่าสนใจ ในบทความหรือข้อความนั้นๆนะค่ะ เวลาโพสต์หรือเขียนข้อความไปแล้ว จะขึ้นเป็นข้อความ ป้ายกำกับ อยู่ล่างสุดของบทความ
- ทำความเข้าใจ การโพส หรือการเขียนข้อความ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


- เผยแพร่บทความ คือเขียนข้อความเสร็จแล้ว ต้องการโพสใน blog แล้ว
- สำหรับ บันทึกทันที หมายถึง เราเขียนแล้ว แต่ยังไม่อยากนำเสนอลงใน blog เราอาจยังเขียนไม่เสร็จ เราใช้ปุ่มบึนทึกทันที บันทึกไว้ก่อน ยังไม่แสดงใน blog เพื่อไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อีกทีในภายหลังค่ะ
- กลับมาเรื่องป้ายกำกับ เราสามารถแทรกไว้ใน blog เป็นเมนูได้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม ได้เลือกอ่านได้
- สำหรับการเพิ่ม ส่วนของป้ายกำกับ ทำได้โดย มาที่องค์ประกอบของหน้า

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac
มาที่เพิ่ม Gadget ตรงไหนก็ได้ครับ ปกติจะอยู่ทางด้านซ้าย และล่างสุด


เลือก ป้ายกำกับ แล้วคลิกเครื่องหมาย บวก + เพื่อเลือกรูปแบบ ป้ายกำกับ เข้ามาใน blog

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


- จะมีป้ายกำกับขึ้นมา เพื่อให้คลิก บันทึก เป็นการแทรกโดยสมบูรณ์  หรือจะแก้ไข คำว่า ป้ายกำกับ เลยก็ได้ หรือค่อยกลับมาแก้ไขภายหลังได้ค่ะ เมื่อแทรกแล้ว ก็จะมีรูปแบบของป้ายกำกับเข้ามาใน blog

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


- สำหรับ หัวข้อส่วนต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพื่อจัดรูปแบบต่างๆของ blog โดยเอาเม้าส์ คลิกค้าง แล้วลากไปตามส่วนต่างๆ ได้ตามต้องการ

การใส่แม่แบบนอกเหนือจากแม่แบบที่มี ใน blogger ทำดังนี้
เข้าไปที่ http://btemplates.com/ จะมีรูปแบบต่างๆให้เลือก ดาวน์โหลด ไฟล์ที่โหลดมา จะเป็นไฟล์ .zip ให้เรา แตกไฟล์ .zip ออกมา จะได้เป็นไฟล์ .xml

  เราจะเอาไฟล์ .xml เข้า blog ได้อย่างไร ?
- มาที่เมนูรูปแบบ หัวข้อ แก้ไข HTML จะมีให้ Browse เพื่อเลือกไฟล์ .xml ที่เรามีในเครื่อง (ที่เราไปโหลดมา) แล้วคลิก อัปโหลด เพื่อ โหลดไฟล์ xml เข้าไปใน blog

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


จะมีบางรายการขึ้นมา ว่าส่วนไหนบ้างของแม่แบบเก่าจะหายไป ก็คลิกที่ยืนยันและบันทึก เพื่อเปลี่ยนแปลงให้ blog เรา เป็นแม่แบบใหม่ ที่ต้องการ
- สำหรับข้อความ บทความในการโพสต่างๆ ก็จะยังอยู่นะค่ะ จะไม่หายไปไหน เป็นการเปลี่ยนแม่แบบเฉยๆแต่ส่วนของการตกแต่ง หรือ Gadget ต่างๆที่เราเพิ่มเติมเสริมใน แม่แบบเก่า จะหายไป เราค่อยมาเลือก Gadget เพื่อตกแต่งใหม่ได้ค่ะ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac













- มาดูเมนูการตั้งค่า ซะหน่อย
บางคนสงสัยครับว่า blog ที่เขียน บทความต่างๆ ยาวลงมามาก ไม่รู้จะทำงัย มาที่ เมนูการตั้งค่า แล้วมาที่ การจัดรูปแบบ สามารถเลือกได้ว่า จะแสดง หน้าละกี่บทความค่ะ
- ในเมนูนี้ ยังสามารถเปลี่ยนภาษาได้ด้วย เป็นการเปลี่ยนภาษาของเมนูต่างๆ ใน blog ของเราค่ะ กรณี เราทำ blog ภาษาอังกฤษ แล้วอยากให้เมนูต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac









- และอย่าลืมเข้ามาเปลี่ยน โซนเวลา ให้เป็น GMT +7 กรุงเทพด้วยนะค่ะ จะได้เช็คเวลาได้ กรณีมีใครมาเขียน แสดงความคิดเห็นใน blog เราค่ะ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac


ชื่อ blog สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ด้วยนะค่ะ มาที่ เมนู การเผยแพร่ค่ะ มีประโยชน์กรณีที่เรา เขียนและตกแต่ง blog เยอะแล้ว แต่ไม่พอใจชื่อ blog ที่ใช้อยู่ค่ะ เราก็สามารถแก้ไขได้ค่ะ

- 1 user สามารถเขียน blog ได้ 100 blog 
เห็นหัวบนสุด ในระบบการเขียน blog มั้ยค่ะ คลิกที่แผงควบคุม จะมีรายการ blog ต่างๆที่เราทำไว้เรียงลงมาให้เห็น
- กรณีที่ยังไม่มี ก็จะมี blog ที่เราพึ่งทำนั่นแหละค่ะ 1 รายการ ถ้าเราจะทำ blog ใหม่เพิ่มอีก เราก็คลิกที่ สร้างบล็อกค่ะ ก็จะมีให้ตั้งชื่อ เพื่อสร้าง blog เพิ่มค่ะ ซึ่ง 1 user ของ blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ถ้าเราอยากสร้างมากกว่านั้น เราก็สมัคร blogger เพิ่มใหม่อีก User ค่ะ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac













- จบแล้วค่ะ ความรู้ในการเขียน blog และการวางแผนในการจัดรูปแบบ blog เพื่อความสวยงาม

เขียนโดย bumka ที่ 22:05 0 ความคิดเห็น

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

Google Calender คืออะไร

Google Calendar คือ บริการปฏิทินแบบออนไลน์ของ Google ซึ่งทำให้คุณสามารถเก็บข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ รวมไว้ในที่เดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำหนดการนัดหมายและกำหนดเวลาเหตุการณ์ต่างๆ สามารถส่งข้อความเชิญ สามารถใช้ปฏิทินร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และ ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่ง Google Calendar มีข้อดีกว่าโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ต่างๆดังนี้
1. Google Calendar เป็นบริการออนไลน์และให้บริการฟรี ซึ่งต่างกับโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อโปรแกรมมาใช้
2. โปรแกรมในคอมพิวเตอร์มีการแสดงกิจกรรมในรูปแบบได้น้อย ซึ่งต่างจาก Google Calendar ที่แสดงตารางกิจกรรมได้หลายรูปแบบมากกว่า
3. Google Calendar มีการแจ้งเตือนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนโปรแกรมที่คล้ายกับ Google Calendar ไม่มีการแจ้งเตือนแบบนี้
4. Google Calendar ใช้งานได้ง่ายและสะดวกกว่า จึงทำให้ผู้ที่เริ่มใช้งานเข้าใจได้ง่าย
5. Google Calendar สามารถใช้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ตจึงทำ ให้สะดวกกว่าโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องไหนไม่มี โปรแกรมนั้นก็จะใช้ไม่ได้


Google Calendar ดีอย่างไร
  การจัดตารางเวลาของคุณไม่ควรเป็นเรื่องชวนปวดหัว Google ปฏิทินจะช่วยให้คุณสามารถติดตามทุกเรื่องสำคัญในชีวิตได้อย่างง่ายดายในจุด เดียว
1. แบ่งปันตารางเวลาของคุณช่วยให้เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และเพื่อนๆ สามารถดูปฏิทินของคุณ และดูตารางเวลาที่บุคคลอื่นแบ่งปันกับคุณ เมื่อคุณทราบว่าคนอื่นว่างหรือไม่ว่าง การกำหนดแผนงานต่างๆ ก็กลายเป็นเรื่องง่าย
2. ใช้ปฏิทินขณะที่คุณเดินทางคุณสามารถทำให้ข้อมูลตรงกับปฏิทินภายในโทรศัพท์มือถือหรือ Google ปฏิทิน สำหรับมือถือ ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับหน้าจอขนาดเล็กโดยเฉพาะเพื่อเข้าถึงปฏิทินของคุณขณะที่ คุณไม่ได้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์
3. ไม่พลาดกิจกรรมต่างๆ อีกตัวเตือนความจำ ที่ปรับแต่งได้ จะช่วยให้คุณไม่พลาดกิจกรรมในตารางเวลา คุณสามารถเลือกรับการแจ้งทางอีเมลหรือรับข้อความทางโทรศัพท์มือถือของคุณ
4. ส่งคำเชิญและติดตามการตอบรับคำเชิญ เชิญบุคคลอื่น เข้าร่วมกิจกรรมในปฏิทินของคุณ ผู้เข้าร่วมจะสามารถตอบรับคำเชิญเข้าร่วมกิจกรรมทางอีเมลหรือผ่าน Google ปฏิทิน
5. ทำให้ข้อมูลตรงกับแอปพลิเคชันในเดสก์ท็อปเข้าถึงปฏิทินของคุณได้ในทุกรูปแบบและทุกเวลาที่ต้องการ ด้วยการทำให้ข้อมูลกิจกรรมตรงกับ Microsoft Outlook, Apple iCal และ Mozilla Sunbird
6. ทำงานแบบออฟไลน์ ทราบกำหนดการของคุณได้ตลอดเวลา แม้ขณะที่ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ต คุณสามารถใช้ การเข้าถึงแบบออฟไลน์ เพื่อดูปฏิทินฉบับอ่านอย่างเดียวได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน
 7. ทั้งหมดนี้ให้บริการฟรีหรือ?
ใช่แล้ว



แหล่งที่มา http://www.youtube.com/watch?v=zCR07cjuI_s

เขียนโดย bumka ที่ 22:04 0 ความคิดเห็น

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

  •  “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  • “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
  • (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
  • (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
  • “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
  • “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
  • หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  • มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
  • มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
  • (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
  • (๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
  • มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • (๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
  • (๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
  • (๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
  • (๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
  • (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
  • มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
  • มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
  • ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
  • ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
  • มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
  • (๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
  • (๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
  • จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
  • หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่
  • มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
  • (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
  • (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
  • (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
  • (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
  • (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
  • (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
  • (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
  • มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
  • มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
  • มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
  • มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
  • มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
  • มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • หมายเหตุ
  • เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
  • มาตรา โทษปรับ โทษจำคุก

  • มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน โทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ไม่เกินหกเดือน
  • มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่เกินสองหมื่นบาท โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
  • มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน โทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท โทษจำคุกไม่เกินสองปี
  • มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ โทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ไม่เกิน  โทษจำคุกสามปี
  • มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ไม่เกินห้าปี
  • มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท โทษจำคุกไม่เกินห้าปี
  • มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท  
  • มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ 
  • (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่   โทษปรับไม่เกินสองแสนบาท โทษจำคุกไม่เกินสิบปี
  • (๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ  โทษปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท โทษจำคุกสามปีถึงสิบห้าปี
  • ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
  • มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑   โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท    โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
  • มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ (๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔) โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท โทษจำคุกไม่เกินห้าปี
  • มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท โทษจำคุกไม่เกินห้าปี
  • มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย 
  • ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด 
  • ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ 
  • ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย โทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท โทษจำคุก ไม่เกินสามปี
  • มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ (๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร  

เขียนโดย bumka ที่ 22:04 0 ความคิดเห็น

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

iPad

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac



ไอแพด (อังกฤษ: iPad) คือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล โดยมีหน้าที่หลักในด้านมัลติมีเดียในด้าน ภาพยนตร์ เพลง เกม อีบุ๊ก และท่องเว็บไซต์ ขนาดและน้ำหนักของไอแพดมีขนาดเบากว่าแล็ปท็อป โดยมีน้ำหนัก 680 กรัม และ 601 กรัม สำหรับไอแพดรุ่นแรกและไอแพดรุ่นสองตามลำดับ[16]

ไอแพดเริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 (รุ่นWi-fi) และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 (รุ่นWi-fiพร้อมกับ 3G) โดยไอแพดสามารถทำยอดขายได้ถึง 3 ล้านเครื่องในช่วงเวลาเพียง 80 วัน[17] ส่วนการวางจำหน่าย ผ่านตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เพิ่งเริ่มเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 ไอแพดมาพร้อมกับเทคโนโลยี Multi Touch สามารถเล่นวีดีโอ, ฟังเพลง, ดูรูปภาพและเล่นอินเทอร์เน็ตได้ ไอแพดมีหน้าจอขนาด 9.7 นิ้ว มีความละเอียด 768 x 1024 พิกเซล หนา 0.5 นิ้ว ใช้ซีพียู Apple A4 ที่พัฒนาขึ้นเองโดยบริษัทแอปเปิล และในปัจจุบันไอแพดรุ่นล่าสุดมีชื่อว่า The New iPad ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าไอแพดสองถึง 4 เท่า คือ 2048 x 1536 ซึ่งมีความคมชัดกว่า HD ทีวีมาก มีความหนา 0.37 นิ้ว มีกล้องแบบใหม่คือ iSight มีความละเอียด 5 MegaPixel มีจอ Multitouch ขนาด 9.7 นิ้ว ใช้ซีพียู Apple A5X สามารถใช้เครือข่าย 4G LTE(Long term Evolution) ได้ มีสองรุ่นให้เลือกคือ Wifi กับ Wifi+4G ในปัจจุบันใช้ระบบปฏิบัติการล่าสุดคือ iOS 5.0.1

เขียนโดย apatsorn dornjongrak ที่ 3:54 0 ความคิดเห็น

วิธีการสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค opac

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แบ่งปันไปที่ Twitterแบ่งปันไปที่ Facebook

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ของผู้สอนคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่ง Paul G. Geisert and Mynga K. Futrell (1990:7) กล่าวไว้ว่า ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ควรมีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้

1. รู้ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
2. เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์สามารถทำโปรแกรมได้อย่างไร
3. ตระหนักว่าจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนและช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร์
4. หยั่งรู้ถึงธุรกิจ และอุตสาหกรรมประยุกต์ของคอมพิวเตอร์ 
5. ตระหนักถึงสภาพปัจจุบัน และความเป็นไปได้ในอนาคตของผลกระทบทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อสังคม

นอกจากนี้ James Poirot, Robert Taylor and James Powell (อ้างถึงในครรชิต มาลัยวงศ์ 2530:51) กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เฉพาะขอบข่ายที่บุคลากรทางการศึกษาควรมีความรู้ในระดับที่ต่ำสุดไว้ 7 ประการ ดังนี้

1. ความสามารถในการเขียน อ่าน และการใช้งานโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ง่าย ๆ ได้
2. ความสามารถในการใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านการศึกษา
3. ความสามารถในการพูดถึงคำศัพท์ต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะทางด้านฮาร์ดแวร์ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วแต่ไม่ถึงกับต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ
4. ความสามารถในการรู้ตัวอย่างปัญหาการศึกษาต่าง ๆ ว่า ปัญหาใดใช้คอมพิวเตอร์แก้ได้ และปัญหาใดแก้ไม่ได้
5. ความสามารถในการหาและใช้แหล่งข้อมูลที่ทันสมัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
6. ความสามารถในการพูดอภิปรายในระดับคนธรรมดาที่เฉลียวฉลาดเกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาต้องสามารถอภิปรายได้มากพิเศษ
7. ความสามารถในการอภิปรายปัญหาเรื่องผลกรทบของคอมพิวเตอร์ต่อสังคม และจริยธรรมได้ในแนวทั่ว ๆ ไป และพูดเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ได้มากเป็นพิเศษ

สรุปได้ว่าลักษณะของผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะบุคลากรด้านการศึกษานั้นต้องเป็นผู้ที่อ่านออก เขียนได้ คือ สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์อย่างง่าย ๆ ได้ สามารถพูดอภิปรายเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ตลอดจนสามารถนำความรู้คอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานการศึกษาได้นั่นเอง ประเด็นที่น่าตระหนักว่าครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนขณะนี้ มีลักษณะเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่

OPAC มีความสําคัญอย่างไร

OPAC เป็นคำที่เรียกย่อมาจาก Online Public Access Catalog หมายถึง เครื่องมือในการช่วยสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และแสดงรายละเอียดให้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศ ที่ต้องการนั้นจัดเก็บอยู่ที่ใด นอกจากนั้นระบบ OPAC สามารถแจ้งให้ผู้ใช้บริการรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ

การสืบค้นข้อมูลจาก OPAC สามารถสืบค้นได้จากที่ใด

การเข้าถึงข้อมูล ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้น OPAC ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห้องสมุดจัดบริการไว้ หรือ สืบค้นจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ผ่านทางเว็บไซต์ห้องสมุดที่ http://library.christian.ac.th หรือ Link จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยคริสเตียน ทรัพยากรสารนิเทศที่สืบค้นจาก OPAC ได้แก่ การสืบค้นหนังสือ วารสาร

สามารถสืบค้น Web OPAC ผ่านเว็บไซต์ในข้อใด

1. ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ OPAC โดยการเข้าสู่เว็บไซต์ ส านักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่ http://library.psru.ac.th แล้วเลือก เมนูงานบริการ ทั้งหมดของเรา เลือก “สืบค้นทรัพยากรในห้องสมุด” หรือเข้าสู่ http://catalog-lib.psru.ac.th/ ซึ่งการ สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ สามารถสืบค้นได้ ...

OPAC ใช้ยังไง

1. เข้าหน้าเว็บมหาวิทยาลัย การตรวจสอบรายการต่างๆในระบบ OPAC. (http://www.rmutp.ac.th/) 2. เข้าสํานัก /สถาบัน /กอง 3. เลือกสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. คลิกเลือกงานห้องสมุด ื ื ้ ั ื 5. เลือกระบบสืบค้นหนังสือ OPAC 6. จะปรากฏหน้าจอดังภาพ ให้ใส่รหัสผ่าน ลงไปทั้ง สองช่อง