เทคโนโลยีบล็อกเชนใครเป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรก

นักเทรดคริปโตหลายคนไม่ทราบว่า Blockchain "บล็อกเชน" คืออะไร ทั้ง ๆ ที่ได้ลงเงินจำนวนมากเข้าสู่ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ไปแล้ว

เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์/นักลงทุนทั้งมือใหม่และมือโปรได้เข้าใจเทคโนโลยี "บล็อกเชน" (Blockchain) มากขึ้น เราจะพาผู้อ่านไปดูถึงจุดเริ่มต้นของ "บล็อกเชน" ว่าคืออะไร แล้วมันมีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของโลกการเงิน และ วงการคริปโตเคอร์เรนซีมากขนาดไหน

 

 

"บล็อกเชน" (Blockchain) คืออะไร ทำไมพูดถึงมากกันในวงการคริปโต?

"บล็อกเชน" คือ เทคโนโลยีที่ทำให้บิทคอยน์กลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีมูลค่าตลาดสูงตามความต้องการของ Satoshi Nakamoto ผู้คิดค้นบิทคอยน์และบล็อกเชนเมื่อปี 2009 เพื่อแก้ไขปัญหาของระบบการเงินแบบเดิม ๆ ที่ต้องมีบุคคลที่สามเป็นคนกลางเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม

 

เหตุผลสำคัญที่ "บล็อกเชน"เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ  ก็เพราะว่าบล็อกเชนคือเทคโนโลยีแบบกระจายอำนาจที่ไม่ขึ้นกับตัวกลาง ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกจัดการด้วยตัวเครือข่ายเอง และไม่มีอำนาจจากตัวกลาง เช่น อำนาจรัฐใดเข้ามาแทรกแซงได้

 

"บล็อกเชน"  ก็เปรียบเหมือนกับสื่อกลางที่เอาไว้ใช้ดำเนินธุรกรรมทุกอย่างในโลกคริปโตโดยเริ่มต้นจากการสร้างชุดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า (Block) แล้วส่งไปเรียงต่อกันเรื่อย ๆ ในลักษณะคล้ายโซ่คล้องกัน เรียกว่า (Chain) ต่อมาข้อมูลจะได้รับการเข้ารหัสพร้อมระบุว่าถูกจัดเก็บเมื่อใด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไหม จากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายบล็อกเชนทุกเครื่อง

 

เหตุผลที่มีการเทรดคริปโต ผ่าน "บล็อกเชน" เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน 

1.โปร่งใส ไม่เสี่ยงล่ม ข้อมูลที่ถูกส่งไปให้ผู้ใช้ทุกคนใน "บล็อกเชน"  จะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง อีกทั้งตัวระบบมีความทนทานสูง และไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่ระบบทำงานผิดพลาดแม้แต่ครั้งเดียว

 

2.รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายต่ำ บล็อกเชนเป็นช่องทางส่งเหรียญดิจิทัลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้เวลาประมวลผลน้อยมาก และมีค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเทียบกับการโอนเงินจริงผ่านธนาคาร จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ทุกคนในเครือข่าย บล็อกเชนทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ใช้และผู้ตรวจสอบในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการใช้บล็อกเชนอย่างเต็มที่

 

"บล็อกเชน" ในบทบาทอื่นนอกจากวงการคริปโต

ไม่ใช่แค่วงการคริปโตที่ได้ประโยชน์จากการใช้ Blockchain แต่ยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เดินหน้าปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ และได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปปรับใช้กับธุรกิจ ซึ่งจะมีสิ่งที่เรียกว่า Smart Contact เข้ามาทำหน้าที่สำคัญควบคู่กัน

 

Smart Contact คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นบน บล็อกเชน เพื่อทำหน้าที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า แบบไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น ธนาคาร ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงกันถึงขั้นตอนและกลไกในการทำธุรกรรมดังกล่าว โดยต่อจากนี้คือตัวอย่างที่บล็อกเชนเริ่มเข้าไปมีบทบาทสำคัญ

 

Smart Contact จะพลิกโฉมการขอสินเชื่อต่าง ๆ หรือแม้แต่การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน อย่างเช่น บ้าน รถยนต์ และที่ดิน ให้มีความสะดวกรวดเร็วจากการทำสัญญาแบบอัตโนมัติ รวมถึงสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของธุรกรรมได้

 

การเลือกตั้งที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ (จริง)

ข้อกังขาของประชาชนที่มีต่อการลงคะแนนเลือกตั้งนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะหมดไป นั่นก็ว่าเพราะเทคโนโลยี บล็อกเชน จะเข้ามาช่วยให้เรื่องนี้มีความปลอดภัยและเที่ยงตรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยทุกคะแนนของทุกคนที่โหวตมานั้นสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีกหลากหลังจากการลงคะแนนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทำให้เห็นว่า บล็อกเชน ไม่ได้มอบประโยชน์เฉพาะแต่เรื่องการเงินการธนาคาร แต่ยังนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อปรับใช้กับอุตสาหกรรมหรือองค์กรใด ๆ ก็ตามที่ต้องการปรับกระบวนการทำงานให้มีความปลอดภัย โปร่งใส รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม 

 

เก็บเอกสารแบบปลอดภัยและเข้าถึงได้เร็วขึ้น

จากนี้ไป เราจะเก็บเอกสารสำคัญได้อย่างปลอดภัยและไม่มีใครขโมยข้อมูลหรือดัดแปลงแก้ไขได้ ด้วยการกระจายข้อมูลไปเก็บไว้ทั่วทั้งเครือข่าย (Distributing data) โดยไม่ต้องอาศัยเชิร์ฟเวอร์กลางมาเกี่ยวข้อง และช่วยให้การถ่ายโอนไฟล์ทำได้รวดเร็วอีกต่างหาก

บล็อกเชน (Blockchain) นับว่าเป็นคำที่หลาย ๆ คนได้ยินกันมาในช่วงระยะเวลา 1 - 2 ปีแล้ว และปัจจุบันเริ่มมีการเอาไปใช้บ้างแล้วในหลายอุตสาหกรรม แต่ภาพจำส่วนใหญ่ยังจำว่ามันคือ คริปโตเคอเรนซี่

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักว่า บล็อกเชน คืออะไร ทำไมภาพจำถึงเกิดขึ้นในคริปโตเคอเรนซี่ แล้ว คุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้มีอะไร ประเทศไทยใช้แล้วกับอุตสาหกรรมใดบ้าง


บล็อกเชนคือ

บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยในการบันทึกและติดตามข้อมูลต่างๆ แบบสาธารณะหรือเปิดเผย โดยมีผู้ตรวจสอบข้อมูลนั้นๆ ได้หลายคน และข้อมูลต่างๆ ที่ถูกบันทึกบนบล็อกเชนจะไม่สามารถถูกแก้ไขได้


ภาพจำของคนเราในปัจจุบันจะมองว่า บล็อกเชน นั้น คือ บิทคอยน์ (Bitcoin) เพราะหลายๆ คนจะรู้จักคำว่า Bitcoin ก่อนที่จะรู้ว่า จริงๆ แล้วเบื้องหลังของเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ชื่อดังตัวนี้มาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน จึงไม่น่าแปลดใจที่ใครๆ ก็เรียก บล็อกเชน ว่า บิทคอยน์


โดย Bitcoin ถูกสร้างเพื่อให้เป็นสกุลเงินสากลที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเหล่าบรรดาธนาคารกลางใดๆ และเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงินที่เคยเกิดขึ้นจากธนาคาร เพราะผู้สร้าง มองว่าธนาคารมีความล้มเหลว Bitcoin เป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่าคริปโตเคอเรนซี่ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ มีเทคโนโลยีเบื้องหลังอย่าง บล็อกเชนเป็นตัวขับเคลื่อน


บล็อกเชนใช้ในหลายอุตสาหกรรม

Blockchain ไม่เพียงแค่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันนี้แม้ว่าภาพที่ชัดเจนที่สุดจะเป็นเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงินก็ตาม แต่ในประเทศไทย บล็อกเชนถูกนำไปใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรมบ้างแล้ว อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หรือ แม้แต่วงการเกม อีสปอร์ต เป็นต้น


คุณสมบัติของบล็อกเชน

1 ติดตามและบันทึกข้อมูลได้

2 Blockchain สร้างความน่าเชื่อถือได้และไม่สามารถแก้ไขได้

3 การตัดตัวกลางทิ้งไปและลดค่าใช้จ่าย


เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ต้องบอกว่า ณ ปัจจุบันมีหลายๆ หน่วยงานให้ความสนใจและเข้าไปศึกษา อย่าง กรณีเฟซบุ๊กเองที่เตรียมนำเทคโนโลยีตัวนี้มาใช้ในสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง โดยปัจจุบันได้เปิดตัวแล้วและเตรียมที่จะปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ หรือแม้แต่ทาง Apple Pay ที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้แต่ยังคงให้ความสำคัญที่ดูการใช้งานของผู้บริโภคเป็นหลัก


นอกจากนี้ในประเทศไทยเองก็มีการพูดถึงและหยิบยกมาใช้บ้าง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อย่างโครงการของแสนสิริที่ดึงบล็อกเชนมาใช้ในการจ่ายไฟจากแผงโซล่าเซลล์ หรือ แม้แต่วงการกีฬาที่นำบล็อกเชนมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการระดมทุนและแก้ปัญหา พร้อมยังช่วยเปิดโอกาสให้แก่นักกีฬาหน้าใหม่ได้เดินตามความฝันและประสบความสำเร็จบนเส้นทางนักกีฬาอาชีพ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้อุตสาหกรรมกีฬาเติบโต หรือแม้แต่ภาคการเงินอย่างธนาคารในบ้านเราก็มีหลายๆ สถาบันที่นำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไปใช้แล้ว


นับว่าเป็นคลื่นเทคโนโลยีลูกใหม่ที่เกิดมาสักพักและได้รับการยอมรับในวงกว้าง และหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญที่จะนำเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมหรือชีวิตประจำวัน

ใครเป็นผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) มาใช้เป็นครั้งแรก

Blockchain เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาและสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโลกเป็นอย่างมาก มันถูกสร้างขึ้นในปี 2008 โดยคนที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ซึ่งจนถึงทุกวันนี้เราก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า Satoshi Nakamoto เป็นใครและปัจจุบันกำลังทำอะไรอยู่

บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับอะไร

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐาน ...

บล็อกเชน คืออะไร สําคัญอย่างไร

เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นกลไกฐานข้อมูลขั้นสูงที่เปิดรับการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลาเนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขลูกโซ่ได้หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้ ...

Blockchain มีกี่ยุค

Blockchain ก็เหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทุกครั้งจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยสำหรับ Blockchain ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 Generations ซึ่งได้แก่ รุ่นที่ 1: ใช้สำหรับการทำธุรกรรม (Bitcoin) รุ่นที่ 2: สามารถเขียน Smart Contract ได้ (Ethereum)