Block chain คืออะไร มีการนำมาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

Blockchain (บล็อกเชน) คือ ระบบในการเก็บข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และไม่ต้องอาศัยคนกลาง
  • จุดแข็งของระบบ Blockchain (บล็อกเชน) ก็คือ ความปลอดภัยที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง ปลอมแปลง บันทึกซ้ำหรือโจรกรรม (Hack)

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    Block chain คืออะไร มีการนำมาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

    Block chain คืออะไร มีการนำมาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

    Blockchain (บล็อกเชน) คือ ระบบในการเก็บข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และไม่ต้องอาศัยคนกลาง เนื่องจากระบบบล็อกเชนจะทำงานบนความเชื่อใจของคนในระบบ ทำให้เกิดการตรวจสอบทุกขั้นตอน ทุกธุรกรรม ทุกชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบของบล็อกเชน

    จุดแข็งของระบบ Blockchain (บล็อกเชน) คือ ความปลอดภัย

    เนื่องจากการทำงานของระบบบล็อกเชน จะบันทึกข้อมูลเป็นชุด ๆ ต่อเนื่องกันเป็นกล่อง ๆ (Block) เรียงต่อกันเหมือนกับโซ่ (Chain) ทำให้เป็นที่มาของคำว่าบล็อกเชน โดยหลักการของการยืนยันในการทำธุรกรรมจะให้ทุกคนในเครือข่ายเป็นผู้ยืนยันธุรกรรมนั้น ซึ่งผู้ที่เข้ามายืนยันจะได้รับ “ค่าธรรมเนียม” เป็นผลตอบแทนไป ซึ่งผู้ที่ยืนยันการทำธุรกรรมเหมือนกับคนที่เข้ามายกมือบอกว่ามีการทำธุรกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ๆ 

    ถ้าหากต้องการเปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลงการบันทึกข้อมูลบนบล็อกเชนจำเป็นต้องจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนเครื่องของทุกคนที่เราเข้ายืนยันธุรกรรมให้กับธุรกรรมนั้น ข้อมูล Block นั้น ๆ พร้อมกัน จึงสามารถทำได้ เหมือนกับเราจะต้องวิ่งล็อบบี้ทุกคนที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว แล้วบังคับให้พูดหรือเห็นในสิ่งที่เราต้องการให้เป็นแบบนั้นพร้อมกันแทน

    ในทางทฤษฎีเป็นไปได้ยากมาก และในทางปฏิบัติ ณ ปัจจุบันยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบันทึกซ้ำ เปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือที่จะเรียกว่า Hack ระบบของบล็อกเชนนั้น ๆ และถ้าเครือจ่ายบล็อกเชนนั้นถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย แล้วยิ่งมีคนเข้ามาเป็นผู้ยืนยันธุรกรรมยิ่งมากเท่าไหร่ก็จะยิ่ง Hack ได้ยากมากขึ้นเท่านั้น 

    การประยุกต์ใช้ของระบบบล็อกเชนที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก 

    การเงินและการธนาคาร

    เนื่องจากจุดเด่นของการเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชน คือ เรื่องความโปร่งใสและปลอดภัย ทำให้ตรงจริตกับความเป็นอุตสาหกรรมการเงินอย่างพอดิบพอดี จึงเป็นที่ของเทคโนโลยีที่ชื่อคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่จะส่งผ่านเงินกันด้วยระบบบล็อกเชนเป็นหลักนั่นเอง

    หรืออย่าง Bitcoin เองก็ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นระบบเบื้องหลังในการแลกเปลี่ยน โอนเหรียญให้กันด้วยเช่นกัน

    Blockchain กับสุขภาพ

    เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมเวลาที่เราไปตรวจสุขภาพ ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลเป็นของตัวเราเอง แต่กลับเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงพยาบาล เวลาจะใช้งานต้องไปขออนุญาตใช้งานจากโรงพยาบาลที่เราไปตรวจ ซึ่งเราสามารถใช้ บล็อกเชนในการเก็บข้อมูลและเมื่อใครต้องการเรียกดู หรือเราเปลี่ยนหมอที่ดูแลก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกที่ทั่วโลก 

    การขนส่งและคลังสินค้า

    ปัญหาอย่างหนึ่งของการขนส่ง คือ ปัญหาของเน่าเสียหรือสินค้าหายระหว่างทาง การที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน จะเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลและทำให้เรารู้ทันทีว่าสินค้าอยู่ตรงไหน ถูกผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ ไม่เกิดการสูญเสียของสินค้าแบบไม่มีสาเหตุได้ดี

    การสัมภาษณ์และสมัครงาน

    อีกหนึ่งปัญหาเวลาที่สัมภาษณ์งานและรับสมัครงานก็คือ ความไม่โปร่งใสของข้อมูลว่าเรียนจบจากที่ไหนมา เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ ทำงานที่ไหนมาบ้าง ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าหากมีการเก็บข้อมูลด้วยบล็อกเชน ผู้สัมภาษณ์สามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกที่แบบ Realtime และยังช่วยลดเวลาและต้นทุนในการตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครด้วยเช่นกัน

    Blockchain คือเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายในอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในการโอนและชำระเงิน หรือการใช้งานในตลาดเงินและตลาดทุน มันมีประโยชน์ยังไบ้าง เรามาดูกัน

    1.การโอนเงิน ชำระเงิน การโอนเงินชำระเงินทั้งภายในถือเป็นกรณีการใช้งานที่แพร่หลายที่สุดของ Blockchain ซึ่งการโอนเงินในลักษณะนี้มีหลายรูปแบบ และรวมไปถึงการสร้างเงินสกุลดิจิทัลขึ้นมาใหม่ หรือเปลี่ยนเงินสกุลเดิมให้กลายเป็นเงินดิจิทัล ก่อนที่จะนำใช้งานในรูปแบบเดียวกับ Bitcoin แต่มักจะอยู่ในระบบปิด (พร้อมด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย) ซึ่งแตกต่างจากระบบเปิดอย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ประโยชน์ของระบบลักษณะนี้คือ การช่วยลดเวลาในการทำธุรกรรม เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มความสามารถในการบันทึกข้อมูลเพิ่อการตรวจสอบต่อไป ส่วนระบบการโอนเงิน/ชำระเงินข้ามประเทศแบบที่ใช้ดั้งเดิมนั้น มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นระบบเอกสารที่ซับซ้อนซึ่งต้องการมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องเยอะ (เช่น ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยน) การนำ Blockchain หรือเทคโนโลยี Distributed Ledger อื่นมาใช้ จะช่วย “ออโตเมต” ขั้นตอนเหล่านี้ได้ ซึ่งช่วยลดเวลา ลดต้นทุน และเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอันเป็นไปตามมาตรฐานของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจัยหลังสุดมีความสำคัญมากในประเทศที่รัฐบาลควบคุมการไหลเข้า

    2.การซื้อขายพันธบัตรและหุ้น กระบวนการซื้อขายพันธบัตรนั้นประกอบไปด้วยขั้นตอนที่เป็นอัตโนมัติและขั้นตอนที่ต้องมีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีผู้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน นั่นทำให้บางครั้งกระบวนการนี้ใช้เวลามากถึง 7 วันในการทำและยืนยันธุรกรรม การนำ Blockchain มาใช้จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทั้งในเรื่องของการลดจำนวนพนักงานที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง และนำไปสู่การลดต้นทุนได้ในที่สุด สำหรับการซื้อขายหุ้น ประสิทธิภาพและความสามารถของ Blockchain แพลตฟอร์มในปัจจุบัน ไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณธุรกรรมมหาศาล และความถี่ของการทำธุรกรรมในตลาดหุ้นของประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสิงคโปร์และฮ่องกงได้ แต่สามารถรองรับการซื้อขายหุ้นในตลาดของประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ เช่น ตลาดหลักทรัพย์พม่า ที่มีการตรวจสอบ (Reconcile) หลักประกันระหว่างผู้รับบริการและสำนักหักบัญชี เพียงแค่ 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งในสถานการณ์ลักษณะนี้ Blockchain จะมีประโยชน์มากเพราะไม่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ซับซ้อน (เช่นพื้นที่เก็บข้อมูลและดาต้าเซ็นเตอร์) หรือ Blockchain ยังสามารถใช้ในการทำ backup ธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดใน

    3.การชำระแบบ Peer to Peer และการส่งเงินกลับประเทศ การเพิ่มขึ้นของ “Mobile Wallet” ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน นำมาซึ่งปัญหาการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแต่ละตัวและปัญหาการเชื่อมต่อกับระบบธนาคาร เพราะระบบส่วนใหญ่ของผู้ให้บริการเป็นระบบปิดและไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ Blockchain สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นระบบที่ทำงานอยู่เบื้องหลังการทำธุรกรรมข้ามแอปพลิเคชัน ทำให้ Mobile Wallet ต่างชนิดกันสามารถรับส่งเงินระหว่างกันได้ อีกทั้งยังมีระดับความปลอดภัยที่สูงและสามารถตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมระหว่างกันได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้แพลตฟอร์มประเภทนี้กันอย่างแพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ ในภูมิภาคอาเซียนและฮ่องกง โดยผู้ใช้หลักคือกลุ่มแรงงานที่ออกไปทำงานนอกประเทศ โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้มักอยู่ในรูปแบบของโมบายล์แอปพลิเคชัน และไม่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคาร โดยผู้ใช้งานสามารถส่งเงินได้อย่างรวดเร็วขึ้นโดยที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลงผ่านแอปพลิเคชันที่ทำงานด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการส่งเงินข้ามประเทศรายเดิมอย่าง Western Union และ MoneyGram (มี Alibaba เป็นเจ้าของในปัจจุบัน)

    4.การรักษาความปลอดภัย และการแบ่งปันข้อมูล KYC

    เนื่องจากข้อมูลที่บันทึกอยู่ใน Blockchain นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ (นอกจากจะเพิ่มข้อมูล/ธุรกรรมเท่านั้น) นั่นหมายความว่าเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงที่สามารถใช้เก็บดาต้าต่างๆ ได้ และมีประโยชน์กับการรักษาความปลอดภัยของธุรกรรมที่มีหลายฝ่ายเกี่ยวข้อง เช่นการออกหนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantee หรือ LG) ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้เริ่มเอาระบบนี้มาใช้งานแล้ว ระบบนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการออกหนังสือค้ำประกันอีกด้วย
    นอกจานี้ Blockchain ยังสามารถนำมาใช้รักษาความปลอดภัยของข้อมูล KYC (Know Your Customer) ได้อีกด้วย โดยเอามาช่วยในเรื่องของการอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูล (Access Authentication) โดย Mitsubishi UFJ Financial Group, ธนาคาร OCBC และธนาคาร HSBC ได้ร่วมมือกับ Infocomm Media Development Authority (IMDA) ของรัฐบาลสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาระบบแบ่งปันข้อมูล KYC ที่มีพื้นฐานมาจาก Blockchain ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ระบบนี้ยังช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า และใช้ป้องกันการทุจริตได้อีกด้วย

    5.การเพิ่มประสิทธิภาพงาน Trade Finance และงานประกัน

    โดยทั่วไปในการส่งสินค้าและชำระเงินระหว่างประเทศมีเอกสารสำคัญอยู่ 2 ประเภทคือ Letter of Credit (LC) และ Bill of Lading (BL) ซึ่งในหนึ่งธุรกรรมนั้นเอกสาร BL ต้องผ่านมือหลายบุคคล/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอาจมีผู้เกี่ยวข้องกับเอกสารสูงถึง 27 ราย ต้องใช้เอกสารฉบับจริงเฉลี่ย 36 อย่าง และต้องถ่ายเอกสารอีกรวมแล้วประมาณ 240 ชุดในการซื้อขายสินค้าแต่ละครั้ง การใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาแก้ปัญหา ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถมองเห็น แลกเปลี่ยน และส่งมอบเอกสารกันได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง โดยที่ยังได้ประโยชน์ในด้านความรวดเร็วและค่าใช้จ่ายที่ลดลงอีกด้วย นอกจากนี้ฟีเจอร์ Smart Contract ที่อยู่บน Blockchain ยังสามารถช่วยเร่งความเร็วของกระบวนการจัดการต่าง ๆ ที่อยู่ในกระบวนการประกันได้ โดยทำหน้าที่แทนมนุษย์ในการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารต่าง ๆ ช่วยทำให้มั่นใจว่าข้อมูลไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต (One Version of Truth) และยังเป็นการบันทึกข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ลงในบัญชี (Ledger) เดียวกันอีกด้วย

    Block chain คืออะไร มีการนํามาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

    Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำ ...

    บล็อกเชนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

    Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐาน ...

    Blockchain มีอะไร

    บล็อกเชนเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติมากกว่าฐานข้อมูลปกติ โดยเราอธิบายความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมและบล็อกเชนไว้ในรายการต่อไปนี้: บล็อกเชนกระจายศูนย์การควบคุมโดยไม่ทำลายความไว้วางใจในข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบฐานข้อมูลอื่น