นาง แบบ ปลา กระป๋อง สาม แม่ ครัว คือ ใคร

View this post on Instagram

A post shared by Pitchanart Sakhakorn (@maypitchy)

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 พ.ย.ที่แผนกคดีผู้บริโภค ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก น.ส.ธนิตา จิรพณิช อายุ 37 ปี อาชีพนางแบบโฆษณา เคยมีผลงานโฆษณาปลากระป๋องชื่อดัง พร้อมนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้ามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ฯ เป็นจำเลยที่1-2 เรื่อง ผิดสัญญา, เรียกทรัพย์คืน

โดยนางแบบสาวระบุในคำฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2549 โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับจำเลยที่ 1 สาขาเอกมัย พร้อมเปิดบัตรเอสซีบีอีซี่การ์ด ต่อมาวันที่ 26 มิ.ย. 2550 โจทก์เปิดใช้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนเปิดเอสซีบีเอฟพี กับจำเลยที่ 2 ที่สาขาเหม่งจ๋าย จากนั้นวันที่ 14 ก.ย. 2557 ได้เปิดใช้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนดับบลิวไอเอ็นอาร์ และกองทุนตราสารหนี้กับจำเลยที่ 2 ที่สาขาเซ็นทรัลพระรามเก้า ต่อมาวันที่ 29 มิ.ย.2559 โจทก์เปิดบัญชีออมทรัพย์กับจำเลยที่ 1 สาขาบิ๊กซีรัชดาภิเษก เอาไว้ แต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ระมัดระวัง ทำให้เกิดความเสียหาย

ถูกแก๊งคอลลวงข้อมูล

กล่าวคือเมื่อเดือน ธ.ค.2560 ได้มีกลุ่มคนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ได้หลอกลวงเอาข้อมูลของโจทก์ เช่นหมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลเอทีเอ็ม รหัสโอทีพี แล้วสมัครอินเตอร์เน็ตแบ็งกิ้งผ่านแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนของคนร้าย แล้วเข้าทำธุรกรรมทางการเงินกับจำเลยโดยช่องทางอีซีแอ็พ โดยโอนเงินโจทก์ออกจากบัญชีไปหลายครั้งหลายหนรวม 50 ครั้งระหว่างวันที่ 27ธ.ค.2560 – 4 ม.ค.2561 ครั้งละ 10,000 – 373,000 บาทรวม 1,670,200 บาทเข้าบัญชีเงินฝากของกลุ่มคนร้าย

ทั้งที่จำเลยมีหน้าที่ตรวจสอบ รักษาความมั่นคงปลอดภัยควบคุมการเข้าถึงข้อมูล แต่กลับไม่แจ้งเตือน ไม่ตรวจสอบ ภายหลังมาทราบภายหลังจึงแก้ไขระบบอินเตอร์เน็ตแบ็งคกิ้ง

การกระทำของจำเลย ในฐานะผู้รับฝากเงินควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลและใช้ความระมัดระวัง แต่ กลับใช้ความระมัดระวังต่ำกว่าผู้รับฝาก ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดในเงินจำนวน 1,670,200 บาทของโจทก์ที่สูญเสียไปพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีรวมทั้งสิ้น1,780,830บาทด้วย

ศาลรับฟ้องคดีไว้ และนัดเจรจาไกล่เกลี่ยคู่ความวันที่ 16 ก.พ. 2562 เวลา 09.00 น.

ภายหลังน.ส.ธนิตา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปลายที่แล้ว ตนถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์มาหลอกว่า ตนถูกดำเนินคดีกู้เงินไปซื้อที่ดิน ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนหลอกล่อพูดคุยเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินจนถามรหัสยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้แอพลิเคชั่นธนาคารฯทางโทรศัพท์ ก่อนที่ภายหลังตนมาทราบว่าเงินในบัญชีของตนที่ฝากไว้ดังกล่าวถูกโอนไปทั้งหมด รวมเป็นเงินกว่า 2 ล้านบาท เมื่อสอบถามไปยังธนาคารฯ กลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ตนจึงนำคดีมายื่นฟ้อง ในฐานะประชาชนผู้ใช้บริการตนอยากให้ธนาคารมีวิธีป้องกันที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะหากพบว่ามีการทำธุรกรรมที่ผิดปกติ ควรต้องรีบแจ้งหรือตรวจสอบกับเจ้าของบัญชี เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งทุกครั้งที่มีการเข้าระบบเพื่อทำธุรกรรม ควรมีข้อความหรืออีเมลแจ้งมายังเจ้าของบัญชี แต่กรณีนี้กลับไม่มีการดำเนินการใดๆเลย กระทั่งตนมาตรวจสอบบัญชีเองจึงทราบเรื่องและสูญเงินจำนวนมากไปแล้ว

ประวัติศาสตร์ของปลากระป๋องจริงๆแล้ว ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ในปี พ.ศ. 2338 ในยุคสมัยของนโปเลียน ที่เขามักเจอปัญหาอาหารบูดเน่า เวลานำทหารออกไปรบในที่ไกลๆเป็นประจำ

นโปเลียนจึงได้ประกาศว่า “หากใครสามารคิดค้นวิธีเก็บรักษาอาหารได้เป็นเวลานาน สามารถพกพาเดินทางไกลได้ จะให้รางวัลเป็นจำนวน 12,000 ฟรังก์” หรือประมาณ 5.25 ล้านบาท เมื่อเทียบเป็นเงินไทยในปัจจุบัน

ผ่านไป 15 ปี นาย นิโคลัส อัพเพิร์ต (Nicolas Appert) คนขายลูกกวาดชาวฝรั่งเศส ก็ได้คิดค้นวิธีถนอมอาหารโดยการนำอาหารสด พวกผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ มาบรรจุลงในเหยือกแก้วแล้วไปต้มในน้ำเดือด ซึ่งทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นานเป็นปีโดยไม่บูดได้เป็นครั้งแรก เขาจึงได้รับเงินรางวัลจากนโปเลียนและได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของอาหารกระป๋องของโลก (The Father of Canning)

ต่อมา ในช่วงปี 2373 -2383 หลายๆประเทศ เช่น สกอตแลนด์ แคนาดา และ สหรัฐอเมริกา ก็ได้เริ่มพัฒนาต่อยอดนำปลาสดมาบรรจุลงในกระป๋องมาวางขาย เกิดการทำเป็นเชิงพาณิชย์ขึ้นครั้งแรก โดยได้ใช้ปลาแซลมอนในการผลิต

ภายหลัง คนเริ่มนิยมบริโภคปลากระป๋องกันมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ตอบสนองกับความต้องการ จึงได้มีการนำปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หรือ ปลาแมกเคอเรล มาทำเป็นปลากระป๋องในซอสต่างๆ เช่น ซอสน้ำมันมะกอก น้ำเกลือ หรือ ซอสมะเขือเทศ ทดแทนในเวลาต่อมา

โดยเฉพาะปลาซาร์ดีนนั้น ถือว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับการทำปลากระป๋องมากที่สุด เนื่องมีขนาดลำตัวยาวพอเหมาะ ประมาณ 20 เซนติเมตร และมีจำนวนมากมายมหาศาล

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2523-2533 การทำประมงจับปลาซาร์ดีนในทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนมีปริมาณเกือบ 14 ล้านตันต่อปี จากเดิมในปี 2493 ที่อยู่แค่ราว 1.1 ล้านตันต่อปีเท่านั้น

ในปัจจุบันปริมาณการจับปลาซาร์ดีนได้ลดลงเหลืออยู่ราว3-4 ล้านตันต่อปี เนื่องจากมีกฎหมายควบคุมการทำประมงที่มากเกินความจำเป็น (Over Fishing)

ซึ่งจุดเริ่มต้นของปลาซาร์ดีน หรือ ปลาแมกเคอเรล ในซอสมะเขือเทศ ที่เราคุ้นเคยจริงๆแล้วนั้น ไม่มีหลักฐานหรือบันทึกที่ชัดเจน แต่คาดว่ากำเนิดขึ้นในประเทศสเปนและอิตาลี

โดยความแตกต่างระหว่างปลาทั้งสองชนิดนี้ ก็คือ ปลาซาร์ดีนจะเป็นกลุ่มปลาหลังเขียว มีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวกลม มีเกล็ดใหญ่และหยาบ มีกลิ่นทะเล เนื้อนิ่ม และรสชาติหวาน
ส่วนปลาแมกเคอเรลนั้น จริงๆแล้ว คือ ปลาทู (Short-Bodied Mackerel) ที่มีขนาดเล็กและไม่ได้ขนาด ผิวมีลักษณะเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว โดยจะมีเนื้อแน่นและมีความมันมากกว่าปลาซาร์ดีน

ปัจจุบัน ตลาดปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศของประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาด คือ ปลากระป๋องตราสามแม่ครัว 30-40% ปลากระป๋องโรซ่า 15% ซูเปอร์ซีเชฟ 10% และยี่ห้ออื่นๆ 35-45%

ปลากระป๋องสามแม่ครัวได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2516 โดยคุณ สุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล พร้อมกับเพื่อนอีก 5 คน โดยที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำธุรกิจ หรือเงินทุนใดๆเลย ซึ่งคุณสุวัฒน์ได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่า “ในตอนนั้นเขามีอาชีพทำงานเป็นลูกจ้าง ถ้าแก่ตัวไปจะต้องถูกเลิกจ้างอย่างแน่นอน เลยยอม “เสี่ยงตาย” ออกมาทำธุรกิจดีกว่า”

ซึ่งต่อมา สามแม่ครัวได้จดทะเบียนเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ปี 2517 ในชื่อ “บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ก่อนจะมาเป็น 200 ล้านบาทในปัจจุบัน

ผ่านมา 44 ปี ปัจจุบันสามแม่ครัว ได้เติบโตกลายมาเป็นบริษัทปลากระป๋องเบอร์ 1 ของประเทศ มียอดขายมากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ทำธุรกิจปลากระป๋องครบวงจร ตั้งแต่ ทำฟาร์มมะเขือเทศ ผลิตซอส ไปจนถึงโรงงานผลิตกระป๋อง

ปลากระป๋องสามแม่ครัว มีใครบ้าง

หรือ “สามแม่ครัว” ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 40% แต่รู้ไหมว่า ผู้ให้กำเนิดแบรนด์ปลากระป๋องนี้ไม่ใช่ 3 สาวเหมือนในโลโก้ แต่เป็นคุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล กับเพื่อนๆ อดีตกลุ่มเซลล์แมนด้วยกันอีก 5 คน ร่วมใจกันลาออกจากงานประจำ เพื่อมาก่อสร้างธุรกิจในปี พ.ศ. 2516.

ปลากระป๋องสามแม่ครัวอายุกี่ปี

ผ่านมา 44 ปี ปัจจุบันสามแม่ครัว ได้เติบโตกลายมาเป็นบริษัทปลากระป๋องเบอร์ 1 ของประเทศ มียอดขายมากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ทำธุรกิจปลากระป๋องครบวงจร ตั้งแต่ ทำฟาร์มมะเขือเทศ ผลิตซอส ไปจนถึงโรงงานผลิตกระป๋อง โดยในแต่ละปีที่ผ่าน บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด มีรายได้และกำไร ดังนี้

ปลากระป๋องสามแม่ครัว เป็นปลาอะไร

ปลากระป๋องจากแบรนด์สามแม่ครัว เป็นเนื้อปลาซาร์ดีนขนาดกลาง เนื้อนุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว และตัวน้ำซอสสีแดงอมส้ม ความเข้มข้นกำลังพอดี ไม่เหลวและไม่ข้นจนเกินไป รสชาติบาง ๆ ติดหวานนำเล็กน้อย บรรจุในกระป๋องมาพร้อมกับฝาดึงเพื่อความสะดวก ปริมาณโซเดียม 230 มก. (1/2 กระป๋อง) ขนาด 155 กรัม ราคา 16 บาท

ทำไมปลากระป๋องสามแม่ครัวไม่มีขาย

เนื่องจากวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปีที่ผ่านมา บริษัทต้องหันมาเน้นเพิ่มกำลังการผลิตปลาซาร์ดีนแทน ถือเป็นการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่ง แม้ว่าความนิยมของตลาด ผู้บริโภคจะนิยมปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศมากกว่าก็ตาม