ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดีใดบ้าง

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดีใดบ้าง

       เป็นศาลที่เพิ่งเกิดขึ้นในไทย เมื่อ พ.ศ. 2540 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เช่นเดียวกับศาลปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีข้อสงสัยใดใดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และสงสัยว่าจะขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ให้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนี้ได้

        ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีในบางประเทศ เช่น โปแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี ฯลฯ แต่ในสหรัฐอเมริกาก็มีผู้อธิบายว่า ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ก็มีลักษณะเป็นศาลรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน เพราะตัดสินคดีที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้ด้วย

        ในขณะที่ศาลยุติธรรม และ ศาลปกครอง มีคณะกรรมการศาลเป็นผู้ดำเนินการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลทหารก็มีรัฐมนตรีกลาโหม และผู้บังคับบัญชาหน่วยทหาร จังหวัดทหาร มณฑลทหาร เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาล

        ศาลรัฐธรรมนูญมีวิธีสรรหาผู้พิพากษาที่ซับซ้อนไม่น้อย กล่าวคือ คณะตุลาการมี 9 คน พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของ “วุฒิสภา” จากบุคคลดังต่อไปนี้
        1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 3 คน
        2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน
        3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง จำนวน 2 คน
        4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง จำนวน 2 คน
       

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดีใดบ้าง

และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังเป็นศาลประเภทเดียวจาก 4 ศาลตาม ที่ไม่มีการกล่าวถึงอำนาจของศาลอย่างชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะในรัฐธรรมนูญนั้น ศาลอีก 3 ศาล จะมีการระบุอำนาจของศาลไว้ในมาตราแรกของส่วนนั้นเลย แต่ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญนั้น มาตราแรกจะระบุถึงการองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทันที โดยไม่ได้ระบุถึงอำนาจของศาลไว้แต่อย่างใดในมาตรานั้น

        แต่ในมาตราต่อๆไป ก็จะมีการกล่าวถึงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอยู่พอประมาณด้วย เช่นในมาตรา 212 จะระบุว่า “…บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้…” หรือในมาตรา 213 ก็มีการกล่าวไว้ว่า “…ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้…”

        จึงถือว่าเป็นศาลที่มีอำนาจมากทีเดียว ซึ่งเราคงจะเห็นได้จากสถานการณ์ทั่วไปในปัจจุบัน ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีการแสดงบทบาทเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างไรบ้างและด้วยเหตุที่ศาลตุลาการทั้งหลาย เป็นหน่วยงานที่มีบทบาท อำนาจ อิทธิพล เป็นอย่างมาก จึงถูกคาดหมายว่า จะต้องอยู่เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของบ้านเมืองได้ตลอดไปเช่นกัน……..”


1. เตมีย์ชาดก – ( พระเตมีย์ใบ้ ), เว็บไซต์ธรรมะไทย (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

2. ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi), เว็บไซต์ trueปลูกปัญญา (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

3. ภาพการแสดงพิพิธภัณฑ์ศาลไทย, เว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

4. บทความ: ยืดอกเดินขึ้นศาล ตามรอยตุลาการไทย, เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์, วันที่ 23 สิงหาคม 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

5. กฎหมายตราสามดวง, เว็บไซต์ไทยลอว์ดอทคอม (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

6. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (กฎหมายและการศาล), เว็บไซต์หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

7. ข้อมูลเรื่องศาลทหาร (ประเทศไทย) ศาลปกครอง ศาลปกครอง (ประเทศไทย) ศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) จากวิกิพีเดียว (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

เกิดกระแสฮือฮาขึ้นบนโลกโซเชียล! เมื่อเว็บไซต์ “ศาลรัฐธรรมนูญ” โดนแฮกเมื่อเช้าวันนี้ (11 พ.ย.) โดยสาเหตุคาดว่าอาจเป็นการตอบโต้ของคนบางกลุ่ม ที่ไม่พอใจกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ว่า การปราศรัยของอานนท์-รุ้ง-ไมค์นั้น ไม่ใช่การปฏิรูป แต่มีเจตนาเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ล่าสุด.. เว็บไซต์สำนักงาน "ศาลรัฐธรรมนูญ" ถูกแฮกระบบจนไม่สามารถเข้าใช้งานได้ เหตุการณ์นี้ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซเชียลอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาครัฐจะมีการแก้ไขระบบเว็บไซต์ดังกล่าวได้หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

แต่ใครที่สนใจเรื่องนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมารู้ลึกเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญให้มากขึ้นว่า องค์กรนี้มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

1. "ศาลรัฐธรรมนูญ" จัดตั้งขึ้นเมื่อใด?

ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรตุลาการ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญอาณาจักรไทย ปีพ.ศ. 2540 เพื่อแทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบไป โดยมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550

ทั้งนี้ มีอำนาจในการวินิจฉัยข้อปัญหาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอรรถคดีทั่วไป

2. ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยใครบ้าง?

ทั้งนี้องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกัรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้ประกอบไปด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 15 คน

โดยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 12 วรรคแปด เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

โดยมีคำแนะนำจาก "วุฒิสภา" ซึ่งมาจากบุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้พิพากษา ถูกรับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยการลงคะแนนลับ ทั้งหมด 5 คน
  • ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด มีการรับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ทั้งหมด 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จากการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 5 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์ ที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภา จากการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 3 คน

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งมีการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้

  • ผู้พิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา โดยได้รับเลือกในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ด้วยวิธีลงคะแนนลับ ทั้งหมด 3 คน
  • ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จากวิธีลงคะแนนลับ ทั้งหมด 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง และได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนุญ ทั้งหมด 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขารัฐศาสตร์ หรือสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ โดยมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง และได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 2 คน

3. ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง?

หากพูดถึงหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  • พิจารณาวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี 
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อข้อกฎหมายต่างๆ แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตรวจสอบว่ากฎหมายนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ 
  • พิจารณาว่า บทบัญญัติกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับคดีต่างๆ นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัตินั้น
  • วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

ปล. ทั้งนี้การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ โดยจะต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

4. ปัจจุบัน ศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ที่ใด?

สำหรับที่ตั้งของสำนักงานรัฐธรรมนูญในครั้งอดีตนั้น เคยตั้งอยู่ที่อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

แต่ในปัจจุบันพบว่าได้ย้ายมาอยู่ที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร (ใกล้กับกองบัญชาการกองทัพไทย)

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยเกี่ยวกับคดีอะไรบ้าง

หากพูดถึงหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่าศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ พิจารณาวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีประเภทใด

ศาลรัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional court) เป็นศาลสูงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจหลักที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น ขัดกับสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่

มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องใด

มาตรา 1 “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” คือบทบัญญัติเรื่องรูปแบบของรัฐ นามประเทศ กำหนดนามประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้มีชื่อว่าประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรคือมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และเป็นรัฐเดี่ยวที่จะแบ่งแยกมิได้

วิธีการพิจารณาคดีในศาลรัฐธรรมนูญเป็นแบบใด

กระบวนพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๒๗ วรรคแรก บัญญัติให้การพิจารณาคดี ของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ระบบไต่สวน โดยให้ศาลมีอำนาจค้นหาความจริง ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ และในการวินิจฉัยปัญหา