กวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ใคร

สุนทรภู่ ยอดจินตกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งยังเป็นกวีที่ได้รับการยกย่องและได้รับความนิยมมาจนถึงยุคปัจจุบัน จากชื่อเสียง ความนิยมเหล่านี้จึงน่าจะอนุมานได้ว่า ท่านคงจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสำราญ ได้รับความเคารพ การให้เกียรติมาโดยตลอด

หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ชีวิตของคนนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป สุนทรภู่ท่านเองก็เช่นกัน ช่วงชีวิตของท่านก็ย่อมมีทั้งช่วงที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดและช่วงที่ต้องตกยาก ได้รับความลำบากเช่นกัน

พระสุนทรโวหาร(ภู่) เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329  ในเขตพระราชวังหลัง ท่านใช้ชีวิตอยู่ในเขตชุมชนวัดระฆังฯ มาตั้งแต่เกิด โดยได้รับการศึกษาจาก “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)” ที่วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ภายหลังจึงได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ช่วงที่สุนทรภู่รับราชการในรัชกาลที่ 2 นี้เอง คือช่วงที่ชีวิตของท่านมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

เนื่องจากรัชกาลที่ 2 ทรงโปรดกวีเป็นอย่างมาก พระองค์จึงได้ให้การอุปถัมภ์กวีไว้ในราชสำนักจำนวนมาก สุนทรภู่เองก็เป็นหนึ่งในกวีที่พระองค์ทรงโปรด เพราะเมื่อพระราชนิพนธ์เรื่องใดหรือความตอนใดติดขัดก็จะทรงปรึกษาหรือให้สุนทรภู่เป็นผู้แก้ จนเป็นที่พอพระทัยของพระองค์

ทว่าต่อมาก็ได้เกิดเหตุอันเป็นชนวนที่นำไปสู่การถูกปลดจากราชการของสุนทรภู่ คือ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” ทรงปรึกษาและรับสั่งให้สุนทรภู่นั้นตรวจแก้ไขบทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา ตอนบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าวดาหาไปใช้บน ซึ่งตอนนั้นสุนทรภู่ก็กราบทูลว่าดีแล้ว แต่เมื่อทรงอ่านถวายพระราชบิดา ขณะที่ประชุมกวี สุนทรภู่ได้กล่าวขอแก้ความในบทพระราชนิพนธ์จาก

“น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว       ว่ายแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว”

โดยแก้เป็น

“น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา     ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว”

การที่สุนทรภู่แก้ความต่อหน้าที่ประชุมกวีเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดความไม่พอพระทัยแก่พระองค์มาก และยังเกิดเหตุคล้ายเช่นนี้อีกในคราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานบทพระราชนิพนธ์เรื่อง สังข์ทอง ตอนท้าวสามลจะให้ธิดาทั้งเจ็ดเลือกคู่ แก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่ความไม่พอพระทัยเพราะถูกแก้กลอนบางส่วนในบทพระราชนิพนธ์จะมีอิทธิพลมากพอที่จะให้รัชกาลที่ 3 ทรงปลดสุนทรภู่เชียวหรือ?

สาเหตุที่สุนทรภู่ต้องออกร่อนเร่นั้น ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางการเมืองด้วยประการหนึ่ง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จะมีผู้มีอำนาจทางการเมืองมากอยู่ 3 บุคคล ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรมหลวงรักษรณเรศร(หม่อมไกรสร) และ สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี

สุนทรภู่นั้นก็คงจะใฝ่อยู่ในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทำให้เมื่อพระองค์นั้นเกิดความไม่ลงรอยกับรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่จึงได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะหลังจากที่สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีสิ้นพระชนม์ จึงทำให้สุนทรภู่ยิ่งได้รับความลำบากมากยิ่งขึ้น เพราะมีผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอยู่ในราชสำนักอีกเป็นจำนวนมาก

ประกอบกับมีครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงรักษรณเรศร(หม่อมไกรสร) ทรงถูกบัตรสนเท่ห์ที่มีใจความต่อว่าอย่างรุนแรง สุนทรภู่นั้นจึงตกเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้เขียนบัตรสนเท่ห์นี้ขึ้น ทำให้สุนทรภู่ต้องหลีกหนีราชภัยไปหลบซ่อนอยู่ในถ้ำเขาหลวง เมืองเพชรบุรี

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ สุนทรภู่จึงได้ออกจากราชการและออกบวช โดยมีเหตุผลว่าเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ในอีกแง่หนึ่งนั้นเองก็อาจเป็นการบวชเพื่อหลบเลี่ยงจากอิทธิพลทางการเมืองได้เช่นกัน

วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี คือ "วันสุนทรภู่"  กวีเอก 4 แผ่นดินของประเทศไทย ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิทานเรื่องพระอภัยมณี สุภาษิตสอนหญิง บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น จากผลงานของสุนทรภู่ เรามาตามชีวประวัติ กวีเอกของไทย เรื่องราวชีวิตกวี 4 แผ่นดิน และผลงานอันทรงคุณค่ากันค่ะ

ประวัติสุนทรภู่

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น

โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆ เรื่อง

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม

วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

กวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ใคร
istockphotoวัดเทพธิดารามวรวิหาร วัดที่เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์

สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้ เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม

เชื่อกันว่า ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ตามเนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏใน นิราศสุพรรณ ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม จากสำนวนกลอนของสุนทรภู่ เชื่อว่าผลงานที่มีการประพันธ์ขึ้นก่อนสุนทรภู่อายุได้ 20 ปี (คือก่อน นิราศเมืองแกลง) เห็นจะได้แก่กลอนนิทานเรื่อง โคบุตร

สุนทรภู่ ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่างๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน "เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย" ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น "พระครูธรรมรังษี" เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา

แต่กลับจากเมืองแกลงเพียงไม่นาน สุนทรภู่ต้องติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็กตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชาที่พระพุทธบาท (เขตจังหวัดสระบุรีในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2350 สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย

สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวทั้งสองมีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป หลังจาก นิราศพระบาท ที่สุนทรภู่แต่งในปี พ.ศ. 2350 ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลยจนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359

กวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ใคร
istockphotoพระอภัยมณี

การเข้ารับราชการของสุนทรภู่

สุนทรภู่ ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้

เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์ สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่างๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่

ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้ และในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ

สุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออกบวชหรือไม่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แม้จะไม่ปรากฏโดยตรงว่าสุนทรภู่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากราชสำนักใหม่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ได้รับพระอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นอยู่เสมอ เช่น ปี พ.ศ. 2372 สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ปรากฏความอยู่ใน เพลงยาวถวายโอวาท นอกจากนั้นยังได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่บางเรื่องว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ถวาย

กวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ใคร
istockphotoพระอภัยมณี และ นางผีเสื้อสมุทร

สุนทรภู่บวชอยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง เท่าที่พบระบุในงานเขียนของท่านได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม งานเขียนบางชิ้นสื่อให้ทราบว่า ในบางปี ภิกษุภู่เคยต้องเร่ร่อนไม่มีที่จำพรรษาบ้างเหมือนกัน ผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย และเชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก โดยงานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385

กวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ใคร
istockphotoสุดสาคร และ ม้านิลมังกร

ปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ที่มีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงอุปถัมภ์ คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี

หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร

สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี

ผลงานของสุนทรภู่

นิราศ

  • นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
  • นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ในวันมาฆบูชา
  • นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง ที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
  • นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
  • รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา
  • นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
  • นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติม ซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่าบรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

นิทาน

  • เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

สุภาษิต

  • สวัสดิรักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
  • สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
  • เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

บทละคร

  • เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทเสภา

  • เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
  • เรื่องพระราชพงศาวดาร

บทเห่กล่อมพระบรรทม

น่าจะแต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ

  • เห่เรื่องพระอภัยมณี
  • เห่เรื่องโคบุตร
  • เห่เรื่องจับระบำ
  • เห่เรื่องกากี

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :th.wikipedia.org

ภาพ :istockphoto

กวีเอก ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ใคร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

พระสุนทรโวหารสุนทรภู่วันสุนทรภู่กวี 4 แผ่นดินกวีเอกภาษาไทยวิชาภาษาไทยกวีความรู้นักเรียนsanook campuseducationความรู้รอบตัวEDUCATION

กวีเอกที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 คือใคร

สุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัชกาลที่

กวีในสมัยรัชกาลที่ 2 มีใครบ้าง

1 . รัชการที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ อิเหนา รามเกียรติ์ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์ทอง 2 . สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ลักษณะวงศ์ สิงหไตรภพ โคบุตร พระไชยสุริยา นอกจากนี้ ยังมีนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา

กวีคนสำคัญในยุคทองมีใครบ้าง

ยุคทองของวรรณคดี อยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง มีกวีเอกหลายคน คือ พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระโหราธิบดี ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถและขุนเทพกวี มีวรรณคดีเกิดขึ้นหลายเรื่อง เช่น เสือโคคําฉันท์ สมุทรโฆษคําฉันท์ โคลงพาลีสอนน้อง จินดามณี อนุรุทธ์คําฉันท์กาพย์ห่อโคลงและฉันท์ดุษฎีสังเวย ...

กวีเอกด้านการแต่งฉันท์คือใคร

กวีผู้แต่งอนิรุทธคำฉันท์คือ ศรีปราชญ์ บุตรของพระมหาราชครู มีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อแสดงให้บิดาตนเห็นว่า "สามารถแต่งเรื่องให้เป็นชิ้นเป็นอันได้" เรื่องนี้ได้รับยกย่องว่า เป็นเอกในเชิงการแต่งฉันท์ เป็นตัวอย่างของการแต่งฉันท์ในสมัยหลัง เช่น สมัยรัตนโกสินทร์