เหตุผลสำคัญในข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจ

เหตุผลที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี การที่เจ้าตากได้ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่ มีเหตุผลสำคัญ ดังนี้

เหตุผลสำคัญในข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจ


๑)  กรุงธนบุรีตั้งอยู่ที่น้ำลึกใกล้ทะเล หากข้าศึกยกมาทางบก โดยไม่มีทัพเรือ เป็นกำลังสนับสนุน

ด้วยแล้วก็ยากที่จะตีได้สำเร็จ และในกรณีที่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าที่จะรักษากรุงไว้ได้ ก็อาจย้ายไป

ตั้งมั่นที่จันทบุรี โดยทางเรือได้สะดวก

๒)  กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้ง ๒ ฟากแม่น้ำ คือ ป้อมวิชัยประสิทธิ์และป้อมวิไชเยนทร์ที่สร้างไว้

ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่พอที่ใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามา

รุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือได้บ้าง

๓)  กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนเกาะเหมือนกรุงศรีอยุธยา และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ซึ่ง

จะเป็นเครื่องกีดขวางข้าศึกมิให้โอบล้อมพระนครได้ง่าย

๔)  กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำระหว่างเส้นทางที่หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงจะได้ไปมาค้าขายติดต่อกับ

ต่างประเทศ จึงสามารถกีดกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ ซื้อหาเครื่องศัสตราวุธ

ยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศได้

๕)  กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การไปมาค้าขายและติดต่อกับต่างประเทศ เรือสินค้าสามารถเข้า

จอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาทำให้ประหยัดเวลา

และค่าใช้จ่ายได้มาก

๖)  กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดจำนวนมากที่สร้างไว้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เพียงแต่บูรณะและ

ปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งหมด

๗)  กรุงธนบุรี มีดินดี มีคลองหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปีเหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว ทำสวนผัก และ

ทำไร่ผลไม้

      ด้วยเหตุนี้ เจ้าตากจึงทรงพาผู้คนมาตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรี และได้ทรงทำพิธีปราบดาภิเษก ประกาศพระเกียรติยศขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ทรงครอบครองกรุงธนบุรีสืบมา มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

6.6 �������稾����ҵҡ�Թ����Ҫ�֧���͡�ѹ����������ͧ�����ͧ���������觾ѡ��� �ͧ�Ѿ ��ѧ�ҡ�ս�Ҿ����͡�����͹��ا�����ظ����������� ? �������ç���͡�ʴ�����ͧ����1. ������价ҧ���ѹ�͡������˵ؼ��������»�С�ùѺ������õս�Ҿ��� ���͡�Ѻ���ͧ�ҡ������觷���������� �е�ͧ��ҹ�Թᴹ��ǹ���١�����ִ���������� ����ͧ�ҡ�ͧ������㹤�����ͺ��ͧ�ͧ����
2. ��кҷ���稾�Ш�Ũ������� �ç�ѹ��ɰҹ�֧��÷��ç���͡���ͧ�ѹ����բͧ����ҵҡ��� �鹨ҡ���ͧ��价ҧ���ѹ�͡��鹾��Ҥ�� �����������ú�ǹ
3. �ѹ����� ��������ͧ��½�觷��ŷҧ��ҹ���ѹ�͡ ���ٹ���ҧ�ͧ��õԴ��͡Ѻ��ǹ���� �� �Դ��͡Ѻ�ѡ���� ��� ��оط����
4. ���������ͧ�ѹ�����������繷ҧ����˹յ��价����������

��С���Ӥѭ����ѡ���������չѡ����ѵ���ʵ��Ԩ�óҡѹ�ѡ��� ���ͧ�ѹ����������ͧ������稾����ҡ�ا������ ���ʴ��Ҥ�Ң�� ��з����ͧ���繹�¡ͧ���¹���������ͧ�ҡ ��鹷ҧ�ҡ-��ظ�� �ź��� ���ͧ �ѹ����� ��� ��鹷ҧ�����ͧ����������դ����ӹҭ

��觷���Ӥѭ����ش��� �ѹ����� �����ͧ����ժ����������������ҵ��á�ҡ����˹��� �����դ�������¡Ѻ����ҵҡ 㹰ҹз���繨չ����������ǡѹ ����Թ�ҧ����ͧ�ѹ����ա��� ����Թ�ҧ��Ѻ����Թᴹ��赹���ѡ �������֡��ʹ�������褹������ѡ�ѡ����������

����������� �˵ؼ�����Ѻ���ͧ����ç���͡�ѹ����������ͧ�ѡ��� ��Ы�ͧ����ͧ�Ѿ (�Ը� ��������ǧ��, 2529 : 69 ; ��ѡ���ͧ�ѹ�������л���ѵ���ʵ�����ͧ�ѹ�����, 2536 : 61 )

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุผลสำคัญในข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจ

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐาน ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี (วัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์)

การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นการรวบรวมกองกำลังของเจ้าตาก เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อันส่งผลให้เกิดสภาพจลาจลโดยทั่วไป ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน

ราวปี พ.ศ. 2309 ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองระยอง เมื่อ เจ้าตาก เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้

เบื้องหลัง[แก้]

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310[I] เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง[1]

หลังจากกรุงแตกแล้ว กองทัพพม่าได้พักอยู่ถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310[2] ก่อนจะรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติแล้วยกทัพกลับ ในบรรดาเชลยนั้นมีสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพ คุมพล 3,000 คน ตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลัง

หลังจากนั้นทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็น "รัฐบาลธรรมชาติ" ขึ้นมาในท้องถิ่นทันที ส่วนรัฐบาลธรรมชาติซึ่งมีขนาดใหญ่เกิดจากการที่บรรดาเจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักได้ตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน เรียกว่า "ชุมนุม" หรือ "ก๊ก" ซึ่งมีจำนวน 4-6 แห่งทีเดียว นับเป็นมหันตภัยร้ายแรงเมื่อไม่มีชุมนุมทางการเมืองใดที่จะกอบกู้เอกราชหรือฟื้นฟูชาติให้กลับคืนดังเดิม

นโยบายทางการเมือง[แก้]

พระยาตากได้ประกาศนโยบายประชานิยมรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความแตกต่างจากชุมนุมอื่น ๆ ที่เป็นเพียงแต่กลุ่มโจรปล้นสะดมเพื่อรักษาความอยู่รอดท่านั้น กิตติศัพท์ดังกล่าวทำให้มีตระกูลขุนนางบางส่วนจากกรุงศรีอยุธยามาสวามิภักดิ์ด้วย[3]

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังอาจมองได้ในอีกแง่หนึ่ง คือ พระยาตากได้ประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทำให้กองกำลังของพระยาตากเป็น "กลุ่มการเมืองติดอาวุธ"[4] จึงแตกต่างไปจากชุมนุมอื่น การกระทำเช่นนี้ทำให้ขุนนางระดับผู้น้อยเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระยาตากจำนวนหนึ่ง ส่วนขุนนางระดับสูงยังไม่เข้าร่วมด้วย เพราะมองเห็นว่ากลุ่มของพระยาตากยังไม่น่าประสบความสำเร็จตามนโยบาย[5]

การตั้งตนเป็นใหญ่[แก้]

เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก[แก้]

เหตุผลสำคัญในข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจ

เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาตากเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัย พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว 500 คน[6] มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น[7] ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย และตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก มุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาร[8]

ขณะที่เนื้อความใน คำให้การขุนหลวงหาวัด เอกสารที่ใกล้เคียงกับยุคสมัยมากกว่า ได้ระบุว่ามีราชโองการให้ "พระยาตาก" พระยาเพชรบุรีและหลวงสุรเสนีแต่งทัพเรือไปคอยดักสกัดทัพเรือพม่าที่วัดใหญ่ พระยาเพชรบุรีนำกำลังรุดเข้าตีทหารพม่าก่อนแต่กลับพ่ายแพ้ถูกสังหารในที่รบ "พระยาตาก หลวงสรเสนีถอยมาแอบดู หาช่วยหนุนไม่ แล้วไปตั้งอยู่ ณ วัดพิชัย"[9]

รุ่งเช้า ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าจนล้มตายและบางส่วนแตกหนีไป ก่อนเดินทางไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ในขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทางมาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี[10] สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่ตามมาแต่ถูกกลอุบาย "วงกับดักเสือ"[11]ถูกตีกระหนาบจนแตกหนีไป

พวกราษฎรที่หลบซ่อนอยู่ทราบข่าวพระยาตากรบชนะพม่าก็พากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก พระยาตากจึงให้ราษฎรไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ และให้นำช้างม้าพาหนะและเสบียงอาหารมาด้วย นายซ่องทั้งหลายไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้าง ม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเจ้าตากจึงยกกองทหารไปทางนาเริง เมืองนครนายก[12] ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ หรือปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา[13]

พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง นับตั้งแต่ได้ถอนตัวออกจากการป้องกันพระนครนั้น ภายในเวลาไม่ถึงเดือนก็สามารถยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่เหนือกว่าชุมนุมอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา[14][15]

การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมาก พระยาตากได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล หลังจากนั้นบรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดินและเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา[16] ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น

อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจายออกไปขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า[17]

ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด

— พระยาตาก

การยึดจันทบุรี[แก้]

เจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ เจ้าตากต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่นเพื่อรวบรวมกำลังมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า "เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว"[18]

ในวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน[19] ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ[20] เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 03.00 น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

หลังจากนั้น เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ เจ้าตากได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ เจ้าตากจึงนำกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวันเจ้าตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก

แผนการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา[แก้]

เจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ

เมื่อสิ้นฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว[21] จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้า ยึดค่ายโพธิ์สามต้นปราบพม่าจนราบคาบ สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7 เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา

ปราบดาภิเษก[แก้]

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรธนบุรี

เหตุผลสำคัญในข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจ

หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน จุลศักราช 1128 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

เดิมพระองค์ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม[22] แต่หลังจากตรวจดูแล้วยากต่อการฟื้นฟู จึงทรงให้อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้ และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงรับสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของพระเจ้าเอกทัศ ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี[23][24]

อ้างอิง[แก้]

  1. จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.
  2. ขจร สุขพานิช. หน้า 270.
  3. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. หน้า 130.
  4. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. หน้า 126-128.
  5. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. หน้า 128.
  6. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า "ประมาณ 1000 เศษ"
  7. พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร : คลังวิทยา,2511) หน้า 60.
  8. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า "บานโพสามหาว โพสาวหาร และโพสังหาร"
  9. คำให้การขุนหลวงหาวัด(กรุงเทพฯ: จดหมายเหตุ,2544) หน้า 243-4
  10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สภาพทั่วไปและข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดปราจีนบุรี[ลิงก์เสีย]
  11. ประกอบ โชประการ, มหาราชชาติไทย (กรุงเทพฯ : รวมการพิมพ์ 2523) หน้า 434.
  12. กรมตำรากระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 8.
  13. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ไทยรับพม่า ฉบับรวมเล่ม หน้า 385 ว่า "ปากน้ำเจ้าโล้ ข้างใต้เมืองปราจีนบุรี"
  14. กรมศิลปากร,ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์ พ.ศ. 2480 (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก)
  15. ศิลปวัฒนธรรม, เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก เลียบทะเลตะวันออก เก็บถาวร 2009-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 สิงหาคม 2546
  16. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2546). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5
  17. กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา วันที่ 4 กันยายน 2511) หน้า 603-604
  18. ศรรวริศา เมฆไพบูลย์,ศิริโชค เลิศยะใส. NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับที่ 77 ธันวาคม 2550. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),หน้า 51.ISSN 1513-9840
  19. จังหวัดตาก, ตากสินมหาราชานุสรณ์ งานฉลองวันขึ้นปีใหม่ ปีที่ 22 พ.ศ. 2515 (พระนคร : มิตรสยาม 2514) หน้า 113.
  20. กรมตำรากระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 20-26.
  21. พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา 2511) หน้า 98.
  22. พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา 2511) หน้า 98.
  23. กรมตำรากระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144. พิมพ์ครั้งที่ 4 ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, 2472. หน้า 23.
  24. สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา 2519) หน้า 123-124.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • หอมรดกไทย - งานกู้ชาติในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เก็บถาวร 2009-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

เพราะเหตุใดพระยาตากสินพร้อมพรรคพวกจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมพม่าไปทางทิศตะวันออกในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

จากการศึกษาวิเคราะห์ ว่าทำไมพระเจ้าตากจึงเลือกที่จะตีฝ่าวงล้อมออกจากกรุงศรีอยุธยาไปในวันนั้น สรุปได้ว่า เพราะพระเจ้าตากทรงวิเคราะห์อนาคตของกรุงศรีอยุธยาแล้วว่า กรุงศรีอยุธยาจะต้องเสียเมืองแก่กองทัพฝ่ายพม่าอังวะอย่างแน่นอน

ข้อใดคือเหตุผลสําคัญที่ทําให้พระยาตาก (สิน) เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ *

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

สาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าตากพระสติฟั่นเฟือนเนื่องจากเหตุผลใด

1. พระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส เพราะเครียดจากการสู้รบ จึงถุกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยท่อนจันท์ 2.พระเจ้าตากสินสติวิปลาส เพราะเคร่งครัดในธรรม ให้พระทุกองคืเคารพตนเพราะตนเป้นพระโสดาบัน พระรูปไหนไม่ไหว้ เคารพก้ถุกโบย ก้เลยถุกตัดสินเหมือนข้อ 1. 3.เกี่ยวกับกบฎพระยาสรรค์ที่ใส่ร้ายพระองค์ ก้เหมือนข้อ 1 อีก

เพราะเหตุใด พระเจ้าตากจึงต้องตัดสินพระทัยย้ายราชธานี

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ ๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย