สงครามใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

ภาคที่ 1 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก -- สงครามครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม 9 ทัพ -- ครั้งที่ 2 ยึดปัตตานี สงครามต่อเนื่องจากคราศึกเก้าทัพ -- ครั้งที่ 3 พม่ากลับมาใหม่ในสงคราม "ท่าดินแดง" -- ครั้งที่ 4 รบพม่าที่ลำปางและป่าซาง -- ครั้งที่ 5 ไทยรุกพม่าที่เมืองทวาย -- ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2334 ปราบกบฏรายาเมืองปัตตานี -- ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2336 ไทยตีพม่าอีกครั้ง -- ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2340 พม่าเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ -- ครั้งที่ 9 ไล่พม่าออกจากล้านนา พ.ศ. 2345 -- ครั้งที่ 10 ปราบเมืองปัตตานีอีกครั้ง พ.ศ. 2351 -- ภาคที่ 2 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย -- ครั้งที่ 1 รบพม่าที่ถลาง พ.ศ. 2352 -- ครั้งที่ 2 ไทยตีไทรบุรี พ.ศ. 2364 -- ภาคที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว -- ช่วยอังกฤษรบพม่า พ.ศ. 2367 -- ครั้งที่ 2 ปราบกบฏเจ้าอนุเวียงจันทน์ พ.ศ. 2369 -- ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2373-2381 ปราบกลฏไทรบุรี ปัตตานี -- ครั้งที่ 4 สงครามกับเขมรและญวน พ.ศ. 2376-2391 -- ครั้งที่ 5 ปราบกบฏสิบสองปันนา พ.ศ. 2392 -- บทสรุป

  1. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  2. 2325-2394
  3. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- สงครามกับพม่า
  4. Thai history

    รวมเรื่องสงครามครั้งยิ่งใหญ่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1-3 จากสงครามรอบบ้านรอบเมืองทั้งพม่า ปัตตานี เขมร ลาว ญวน ปฐมบท การสร้างบ้านสร้างเมืองของคนไทย ไม่ใช่แค่ ไทยรบพม่า แต่ทำสงครามกับเพื่อนบ้านรอบบริเวณไม่ใช่แค่ขยายพระราชอำนาจแต่ประกาศศักดาแห่งความเป็นไทย สงครามใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทุกครั้ง ...คือที่มาแห่งความมั่นคงของอาณาจักรไทย


สงครามใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

การสงครามกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ ๓

สงครามระหว่างอังกฤษและพม่า ไทยมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คือ ใน พ.ศ. ๒๓๖๖ จักกายแมงไปปราบกบฎที่เมืองมณีปุระ เลยรุกเข้าไปในดินแดนอินเดียของอังกฤษ จึงได้เกิดวิวาทกับอังกฤษ การส่งทหารอังกฤษไปทำสงครามกับพม่านั้นเกิดมีอุปสรรคหลายอย่าง คือ ฝรั่งไปผิดน้ำผิดอากาศถึงกลับล้มป่วยและตายไปบ้างอังกฤษจึงหาวิธีใหม่ ความคิดของอังกฤษนันประสงค์จะชวนศัตรของพม่าให้ไปช่วยรบ ปรากฏว่าใน พ.ศ. ๒๓๖๗ รัชกาลที่ ๓ เสวยราชย์ อังกฤษได้มีหนังสือเข้ามาขอกองทัพไทยไปช่วยการรบทางบกในดินแดนพม่านั้น อังกฤษเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่รู้ชัยภูมิดี จึงเปลี่ยยุทธวิธีใหม่ให้ เซอร์แคมป์เบล เป็นแม่ทัพเรือตีหัวเมืองชายทะเลตีได้ร่างกุ้ง ต่อมาก็ตีหัวเมืองชายทะเลทางใต้ได้เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี และทางบกตีเมืองเมาะตะมะ เมื่อทัพไทยยกออกไปนั้น อังกฤษตีได้เมาะตะมะแล้ว อังกฤษต้องการความช่วยเหลือจากไทยในเรื่องเรือและช้างม้าพาหนะซึ่งจะใช้ในการรบพ.ศ. ๒๓๖๗ อังกฤษได้มาชวนไทยไปช่วยรบพม่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงเห็นว่าไทยควรมีกองทัพไป เพื่อจะได้รู้เหตุการณ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาโยธาคุมกองทัพหนึ่ง พระยาสุรเสนา พระยาพิพัฒโกษาทัพหนึ่ง ไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ทัพเรือนั้นให้พระยาชุมพรยกไปทางระนองทัพหนึ่ง ทั้ง ๓ ทัพนั้นให้บอกข่าวไปว่าจะช่วยอังกฤษ อังกฤษจึงยินยอมให้กองทัพเข้าไปตั้งในเขตแดนที่ตีไว้ได้อังกฤษสัญญาว่าจะแบ่งเขตแดนพม่าทางฝั่งอ่าวเบงกอลให้ไทย ทำให้ไทยได้โอกาสแก้แค้นพม่า ทางไทยกำหนดให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) นำทัพบกสมทบกับอังกฤษตีตองอูและหงสาวดี ให้พระยาชุมพรคุมทัพเรือไปทางเมืองมะริดและทวาย แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการรบ พระยาชุมพรเกิดวิวาทกับอังกฤษ เพราะทัพเรือของพระยาชุมพรไปกวาดต้อนชาวเมืองมะริดซึ่งอังกฤษเข้าครอบครองแล้วมาขึ้นกับไทย อังกฤษขอคืนก็คืนให้ไม่หมดจึงเกิดวิวาทกันขึ้น พระเจ้าอยู่หัวทรงขัดพระทัยจึงรับสั่งให้เรียกกองทัพกลับหมด ลงโทษพระยาชุมพรในฐานะละเมิดสิทธิของอังกฤษอังกฤษไม่ละความพยายามที่จะให้ไทยช่วยรบใน พ.ศ. ๒๓๖๘ ได้ส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี เป็นทูตมาชวนไทยร่วมรบอีก ครั้งนี้โปรดให้เจ้าพระยามหาโยธาคุมทัพไทยไปช่วยอังกฤษอีกเป็นครั้งที่สอง ทัพไทยยกไปประมาณหมื่นคนไปช่วยรบและสามารถรักษาเมืองเมาะตะมะไว้ได้ จึงขอให้อังกฤษแบ่งดินแดนบางส่วนให้ไทย เมื่ออังกฤษบ่ายเบี่ยง จึงโปรดให้เรียกกองทัพกลับพระนครหมด เมื่อเสร็จสงครามแล้วอังกฤษบอกว่าจะยกเมาะตะมะให้ไทย ไทยไม่รับเพราะรู้อยู่ว่าอังกฤษจะขอไทรบุรีเป็นการแลกเปลี่ยน
สงครามใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผลที่ไทยได้รับจากการช่วยอังกฤษรบพม่า

๑. ไทยกับอังกฤษเป็นไมตรีกัน สัญญาที่ไทยทำกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๖๙ นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับอังกฤษในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์๒. ยุติปัญหาเรื่องเมืองไทรบุรี อังกฤษเอาตัวเจ้าพระยาไทรปะแงรันไปไว้ที่มะละกา ไทยรับรองว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับหัวเมืองมะละยูของอังกฤษ ส่วนอังกฤษรับรองว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับไทรบุรี๓. เป็นโอกาสให้รัชกาลที่ ๓ ทรงจัดการกับเขมรและญวน หลังจากนี้พม่ามิได้มารบกวนไทยอีก

การสงครามกับเวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ ๓

พ.ศ. ๒๓๖๘ เจ้าอนุวงศ์มาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ พิจารณาเห็นว่ากองทัพไทยอ่อนแอ ต่อมามีข่าวลือไปถึงเวียงจันทน์ว่าไทยกับอังกฤษวิวาทกัน เจ้าอนุวงศ์จึงยกทัพลงมากรุงเทพฯ เมื่อยกมาถึงนครราชสีมาพระยานครราชสีมาและพระยาปลัดไปราชการเมืองขุขันธ์ เจ้าอนุวงศ์จึงเข้ายึดเมืองและกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองขึ้นไปเวียงจันทน์ เมื่อพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาทราบข่าวจึงแกล้งสวามิภักดิ์ต่อเจ้าอนุวงศ์ คุณหญิงโมภรรยาพระยาปลัดคิดอุบายให้พวกครัวที่ถูกกวาดต้อนแยกกันเป็นกลุ่ม ๆ ไปทันกันที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ได้ต่อสู้ฆ่าฟันชาวเวียงจันทน์ล้มตายมากมาย พวกลาวที่เหลือแตกหนีไปแจ้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ได้ข่าวว่ากองทัพกรุงเทพฯ กำลังยกมาจึงให้เลิกทัพกลับเมืองเวียงจันทน์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็น "ท้าวสุรนารี"
สงครามใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

ท้าวสุรนารีสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพจากสระบุรีขึ้นไปและให้พระยาราชสุภาวดียกทัพไปทางอำเภอปักธงชัยแล้วตรงไปสมทบกันที่นครราชสีมา กองทัพทั้ง ๒ สามารถตีทัพลาวแตกพ่ายไป ส่วนเจ้าอนุวงศ์และครอบครัวหลบหนีไปพึ่งญวน เมื่อยึดเวียงจันทน์ได้แล้ว กรมพระราชวังบวรฯ โปรดให้สร้างเจดีย์ปราบเวียง และให้พระยาราชสุภาวดีกวาดครัวเวียงจันทน์ พร้อมทั้งอัญเชิญพระบาง พระแทรกคำ พระฉันสมอ และพระพุทธรูปศิลาเขียวมากรุงเทพฯ ด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดีเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ที่สมุหนายกใน พ.ศ. ๒๓๗๐ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีกลับไปทำลายเมืองเวียงจันทน์ พระยาพิชัยสงครามคุมพล ๓๐๐ ข้ามแม่น้ำโขงไปดูลาดเลาได้ความว่าเจ้าเมืองญวนให้ข้าหลวงพาเจ้าอนุวงศ์ และเจ้าราชวงศ์กลับมา ครั้นรุ่งขึ้นอนุวงศ์และเจ้าราชวงศ์ยกพวกเข้าโจมตีทำร้ายทหารไทยล้มตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาราชสุภาวดีเห็นพวกเวียงจันทน์ตามมาไล่ฆ่าฟันถึงชายหาดหน้าเมืองพันพร้าว ก็ทราบว่าเกิดเหตุร้าย จึงขอกำลังเพิ่มเติมจากเมืองยโสธรเจ้าอนุวงศ์ให้กำลังรี้พลข้ามตามมาและปะทะกับทัพไทยที่บ้านบกหวาน เจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงพาครอบครัวหนีไปพึ่งญวน ในที่สุดเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวก็ถูกจับส่งมากรุงเทพ ฯ และโปรดเกล้า ฯ ให้เอาตัวเจ้าอนุวงศ์ใส่กรงเหล็กประจานไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ก็ถึงแก่พิราลัย

การสงครามกับญวนในสมัยรัชกาลที่ ๓

พ.ศ. ๒๓๗๖ พระเจ้ามินมางให้ขุดศพองต๋ากุนขึ้นมาโบยประจาน องภอเบโคยซึ่งภักดีต่อองต๋ากุนเห็นการประจานศพดังนั้นก็โกรธ จึงก่อการกบฏหวังจะปลดพระเจ้ามินมางออกจากราชสมบัติ พระเจ้ามินมางส่งองเตียนกุนเป็นแม่ทัพมาปราบกบฏ องภอเบโคยกลัวจะสู้ไม่ได้จึงแต่งหนังสือให้ขุนนางถือมากรุงเทพ ฯ ขออ่อนน้อมและขอกองทัพไทยไปช่วยรบ แต่กองทัพไทยยังมิทันจะได้ยกไป พวกขุนนางญวนกลัวพระราชอำนาจของพระเจ้ามินมางจึงกลับใจไปเข้ากับพระองค์และอาสาพระเจ้ามินมางรบองภอเบโคย องภอเบโคยจึงไม่สามารถทำการกบฏได้สำเร็จเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้รับหนังสือขององภอเบโคย จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) คุมทัพบกมีกำลังพลประมาณ ๔๐,o๐o คน ยกไปทางเขมร โปรด ฯ ให้นักองอิ่มและนักองค์ด้วงไปด้วย ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือ คุมพลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ยกไปทางเมืองบันทายมาศไปบรรจบกับทัพเจ้าพระยาบดินทร์เดชาที่ไซ่ง่อนทัพเรือตีเมืองบันทายมาศและเมืองโชฎกได้ ทัพบกบุกเข้าแดนเขมร เจ้าพระยาบดินทร์เดชาแบ่งกองทัพให้อยู่เกลี้ยกล่อมขุนนางเขมรที่พนมเปญ ที่เหลือมาสมทบกับทัพเรือที่เมืองโชฎกเพื่อยกไปไซ่ง่อน แต่เนื่องจากกองทัพญวนมีกำลังและความสามารถในการรบทางเรือมาก เจ้าพระยาทั้งสองจึงถอยทัพกลับมาไทยเตรียมทัพต่อสู้ญวนอีกครั้ง โดยตีพร้อมกันทั้ง ๒ ฟากทะเลสาบ เจ้าพระยาบดินทร์เดชายกทัพหลวงตามไปและใช้อุบายขู่ญวนให้ยอมแพ้ ไทยยึดพนมเปญได้ใน พ.ศ. ๒๓๘๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ มีพระราชดำริให้ถมคลองขุด (คลองวิญเต) แต่จะต้องขับไล่กองทหารญวนที่รักษาปากคลองให้หมดก่อน โปรด ฯ ให้จัดทัพเรือและที่ทัพบกไปรบ แต่กองทัพเรือโจมตีป้อมญวนไม่สำเร็จจึงถอยกลับมา ญวนจึงตีทัพบกแตกพ.ศ. ๒๓๘๘ ทัพเรือของญวนบุกเข้ามายิงค่ายไทยที่พนมเปญแตกยับเยิน แม่ทัพญวนให้เจ้าเมืองโชฎกคุมกองทัพมาเมืองอุดงฦๅชัย แต่ไทยรู้ตัวก่อน ญวนจึงไม่สามารถตีเมืองอุดงฦๅชัยได้สงครามระหว่างไทยกับญวน ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยืดเยื้อประมาณ ๑๔ ปี ก็ยังไม่มีฝ่ายใดชนะอย่างเด็ดขาด ในที่สุดสงครามยุติลงเนื่องจากญวนถูกฝรั่งเศสรุกราน จึงคิดสงบศึกกับไทย โดยหวังจะเตรียมกำลังไว้สู้รบกับฝรั่งเศสทางเดียว จึงเกลี้ยกล่อมให้นักองค์ด้วงยอมขึ้นแก่ ๒ ประเทศ ซึ่งไทยก็เห็นดีด้วย เนื่องจากนายทัพนายกองระอาในการสงคราม เสบียงอาหารไม่พอแจกจ่าย

เมืองไทรบุรี

พ.ศ. ๒๓๘ เมืองไทรบุรีเกิดกบฏ หลานเจ้าพระยาไทรบุรีชื่อ ตนกูอับดุลลาเป็นกบฏ พวกกบฏยกเข้าตีเมืองตรังข้ามมาจะตีสงขลา เจ้าพระยานครเกณฑ์คนจากนครศรีธรรมราช พัทลุงยกไปตีคืนมาได้ เจ้าพระยายมราชและพระยาศรีพิพัฒน์ แม่ทัพไทยที่ไปปราบกบฏไทรบุรีครั้งนี้เห็นว่า พลเมืองไทรบุรีส่วนใหญ่เป็นมลายูนับถือศาสนาอิสลาม ถ้าให้คนไทยปกครองก็จะมีเรื่องยุ่งยากอยู่เสมอ ๆ ควรยกเมืองไทรบุรีเป็นอำเภอ ให้ชาวมลายูปกครองกันเอง จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลขึ้มมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงเห็นชอบด้วย ใน พ.ศ. ๒๓๘๒ จึงแบ่งไทรบุรีเป็น ๔ เมือง เลือกชาวมลายูปกครองกันเอง โดยขึ้นตรงกับเมืองนคร ให้ตนกูอาหนุ่ม เป็นผู้ว่าราชการไทรบุรี ตนกูเสดอุเซ็น เป็นผู้ว่าราชการปลิส ตนกูอาสัน เป็นผู้ว่าราชการกะบังปาสู ตนกูมันอาเก็บ เป็นผู้ว่าราชการสตูล
สงครามใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

กลองวินิจฉัยเภรี

กลองร้องทุกข์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จออกว่าราชการทรงไต่ถามถ้วนเนื้อความฎีกา ราษฎรก็ร้องถวายฎีกาเมื่อเวลาเสด็จออกนอกพระราชวัง ภายหลังท่านเจ้าพระยาพระคลังไปเมืองจันทบุรี ทำกลองใหญ่ด้วยไม้รักเข้ามาถวาย ให้ราษฎรมาตีกลองร้องทุกข์ได้ไดยไม่ต้องคอยเวลาเสด็จออก พระราชทานชื่อกลองว่า วินิจฉัยเภรี

ศึกเชียงตุง

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ คือเมืองเชียงรุ้งเกิดเหตุยุ่งยาก เริ่มด้วยการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่างเจ้าศาลวันและเจ้าหน่อคำ ในที่สุดเจ้าศาลวันได้เป็นเจ้าเมือง ในขณะนั้นพม่าแพ้สงครามอังกฤษต้องเสียค่าปรับ จึงรีดเงินจากพวกเมืองขึ้น (เชียงรุ้งเป็นเมืองขึ้นของไทยใหญ่ขึ้นกับเชียงตุง เดี่ยวนี้เชียงรุ้งอยู่ในจีน เชียงตุงอยู่ในพม่า) เมื่อเจ้าศาลวันจะต้องหาเงินให้พม่าจึงหาทางรีดเงินจากพวกราษฎร ซึ่งเป็นการเดือดร้อนมากเป็นเหตุให้เกิดการกบฎ บ้างหนีมาพึ่งไทยจึงโปรดให้รับไว้และยกทัพหัวเมืองเหนือไปตีเมืองเชียงตุงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำริว่าที่พม่ามีอำนาจเหนือเมืองเชียงรุ้ง ก็เพราะได้อาศัยเมืองเชียงตุงอันเป็นเมืองใหญ่ขึ้นต่อพม่า ถ้าไทยตีเมืองเชียงตุงได้ก็จะเป็นการตัดกำลังพม่ามิให้มีอำนาจเหนือเมืองเชียงรุ้งอีกต่อไป จึงโปรด ฯ ให้เกณฑ์กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง แต่ตีไม่ทันสำเร็จพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคตเสียก่อน
อ้างอิ้ง  http://www.encyclopediathai.org/thaihis/warrama3.htm

สงครามในข้อใดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

สงครามเจ้าอนุวงศ์” เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2369-2371 ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สาเหตุเนื่องมาจากความสุกงอมของปัจจัยหลายประการ ทั้งการเพิ่มพูนอำนาจของเจ้าอนุวงศ์ในเขตแดนลาว สภาวะการเมืองในภูมิภาค และความคับข้องใจของพวกลาวที่ถูกพวกไทยกดขี่ ฯลฯ

กบฏเจ้าอนุวงศ์เกิดขึ้นในรัชสมัยใด

กบฏเจ้าอนุวงศ์ เป็นความพยายามของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ นำโดยเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ ในการแยกตัวออกจากการปกครองแบบหัวเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยาม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2369–2371.

กบฏเจ้าอนุวงศ์ทำให้เกิดวีรสตรีท่านใดขึ้น

สำหรับนางสาวบุญเหลือ หรือ ย่าเหลือ คือบุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ได้รับการยกย่องในฐานะวีรสตรี ที่มีส่วนสำคัญในการกอบกู้เมืองนครราชสีมาร่วมกับท้าวสุรนารี จากการเข้ายึดตีเมือง ของกองทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ ปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3.

เจ้าอนุวงศ์ครองเมืองใด

เจ้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ (ลาว: ເຈົ້າອານຸວົງສ໌, ສົມເດັຈພຣະເຈົ້າ​ອະນຸວົງສ໌) พระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ลำดับ 5 หรือองค์สุดท้าย (ปกครองราว พ.ศ. 2348-2371) รับการยกย่องเป็นพระมหาวีรกษัตริย์และมหาราชของประเทศลาว ในฐานะผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากการเป็นประเทศราชสยาม นักประวัติศาสตร์ลาวและไทยนิยมออกพระนามพระเจ้า ...