แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล from ให้รัก นำทาง

2. �����ѹ���� (timeliness) �繢����ŷ��ѹ���� (up to date) ��зѹ��ͤ�����ͧ��âͧ ����� ��Ҽ�Ե�������͡�Ҫ�� ������դس��Ҷ֧�����繢����ŷ��١��ͧ����ӡ���

3. ��������ó�ú��ǹ (completeness) �����ŷ�����Ǻ����ҵ�ͧ�繢����ŷ��������稨�ԧ (facts) ���͢������ (information) ���ú��ǹ�ء��ҹ�ء��С�� ����Ҵ��ǹ˹����ǹ�价���������������

4. ������зѴ�Ѵ (conciseness) �����ŷ�����Ѻ��ǹ�˭�С�ШѴ��Ш�� ��èѴ�������������� �ٻẺ����зѴ�Ѵ����������� �дǡ��͡������Ф��� ������դ���������ѹ��

5. �����ç�Ѻ������ͧ��âͧ����� (relevance) �����ŷ��Ѵ�Ӣ���Ҥ���繢����ŷ������ �����ŵ�ͧ����� ��Ш��繵�ͧ��� / ��Һ �����繻���ª���͡�èѴ��Ἱ ��˹���º�����͵Ѵ�Թ�ѭ�������ͧ���� ������繢����ŷ��Ѵ�Ӣ�������ҧ�ҡ��� ��������õ�ͧ������������ç�Ѻ������ͧ��âͧ����������

6. ����������ͧ (continuity) ������Ǻ��������� ������ҧ��觷��е�ͧ���Թ������ҧ����������е�����ͧ��ѡɳТͧ͹ء������ (time-series) ���ͨ����������ª��㹴�ҹ������������Ԩ��������������͹Ҥ�

“ข้อมูลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมจำนวนมากและรวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นเท็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง การเลือกรับและส่งต่อข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย”

ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศทำได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ซึ่งต้องมีความรู้ ความรอบคอบ เข้าใจเทคโนโลยี และศึกษาเงื่อนไขในการใช้งาน ทุกคนควรเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

การนำข้อมูลมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการตัดสินใจ ต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ว่าแหล่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องสมบูรณ์ สอดคล้องตรงตามความต้องการ และมีความทันสมัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ จึงต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้ประเด็นพิจารณาของ “พรอมท์ (PROMPT)” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การนำเสนอ (Presentation) การนำเสนอข้อมูลที่ดีจะต้องมีการวางเค้าโครงที่เหมาะสม มีรายละเอียดชัดเจน ไม่คลุมเครือ ใช้ภาษาและสำนวนถูกต้อง มีข้อมูลตรงตามที่ต้อง เนื้อหามีความกระชับ สามารถจับใจความหรือประเด็นสำคัญได้

ความสัมพันธ์ (Relevance) การพิจจารณาประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของข้อมูลกับสิ่งที่ต้องการ ถึงแม้ว่าข้อมูลนั้นอาจมีคุณภาพมาก แต่ถ้าไม่สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้

วัตถุประสงค์ (Objectivity) ข้อมูลที่จะนำมาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือมีเจตนาแอบแฝง
ตัวอย่างข้อมูลที่มีเจตนาแอบแฝง เช่น
– สื่อสารด้วยการให้ข้อมูลด้านเดียว โดยมีวัตถุประสงค์อื่น พยายามปิดบังข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อตนเอง
– สื่อสารด้วยอารมณ์เชิงบวกหรือลบ
– มีการโฆษณาแอบแฝง
– มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น นักวิจัยเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เอื้อกับบริษัทที่สนับสนุนทุนวิจัย

วิธีการ (Method) ข้อมูลที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลที่มีการวางแผน การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

แหล่งที่มา (Provenance) ข้อมูลที่น่าเชื่อถือต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

เวลา (Timeliness) ข้อมูลที่มีคุณภาพจะต้องมีความเป็นปัจจุบัน หรือมีความทันสมัย และมีการระบุช่วงเวลาในการสร้างข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง


การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อนำไปใช้งานและอ้างอิง จำเป็นต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน ไม่เช่นนั้นอาจได้ข้อมูลที่ขาดความถูกต้อง และเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบดังนี้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

บางเว็บไซต์อาจใช้ชื่อคล้ายหน่วยงานราชการที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เว็บไซต์เหล่านี้อาจให้ข้อมูลที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้ใช้ควรสังเกตให้รอบคอบและตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ที่แท้จริงของหน่วยงานนั้น โดยสามารถตรวจสอบชื่อเว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบ เช่น whois.domaintools.com



อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 หน้า 121

สุเมศ  ชาแท่น “การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล” จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/ site/teacherreybanis1/ngan-xdirek-laea-khwam-samarth-phises/bth-thi-7-kar-trwc-sxb-khwam-na-cheux-thux-khxng-khxmul เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562

การเขียนคอนเทนต์นั้นอาจดูเหมือนง่าย แท้จริงแล้วเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน เพราะเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวไปให้ผู้อื่น ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือแหล่งข้อมูลที่นำมาเขียนและอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง

โดยปกติแล้ว วิธีการในการหาแหล่งข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ แหล่งข้อมูลชั้นต้น ที่เราเข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยการสังเกตหรือทดลองเกี่ยวกับประเด็นนั้นด้วยตัวเอง ก่อนจะนำมาสร้างคอนเทนต์ ซึ่งเชื่อถือได้เพราะมีหลักฐานยืนยันได้จริง

แต่ส่วนที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ แหล่งข้อมูลชั้นรอง ที่ได้จากแหล่งอื่นๆ รวบรวมข้อมูลมาอีกที จึงมีความเป็นไปได้ว่า แหล่งข้อมูลที่หามานั้น อาจมีการให้ข้อมูลที่ผิด ส่งผลให้คอนเทนต์เราไม่ถูกต้องไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบนั้นขึ้น วันนี้เราจะพาไปดูวิธีการเลือกแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และสามารถนำมาใช้ทำคอนเทนต์ได้ถูกต้องกัน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

เจ้าของเรื่อง

แน่นอนว่าแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด ก็ต้องเป็นแหล่งข่าวที่พบเจอกับเรื่องนั้นด้วยตัวเอง ใครจะรู้เรื่องดีไปกว่าเจ้าของเรื่อง แต่อย่างไรก็ตาม แม้การสัมภาษณ์เจ้าของเรื่องถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ควรเก็บข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดข้อมูลที่เอนเอียง ให้ได้ข้อเท็จจริงรอบด้าน และข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุดด้วย

ผู้อยู่ในเหตุการณ์

หลังจากเก็บข้อมูลเจ้าของเรื่องแล้ว ก็ต้องเก็บข้อมูลจากคนรอบข้าง เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวแปร ก่อนจะขยายความถึงความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์นั้นๆ เป็นการฟังความทั้งสองด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ  รวมไปถึงสอบถามพยานคนอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นกลางมากที่สุด โดยการสัมภาษณ์ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ก็ถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นเช่นเดียวกัน

ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น

นอกจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แล้ว แหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือรองลงมาก็คือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือผู้รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเขามีประสบการณ์ และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องการอย่างแตกฉาน โดยบุคคลในกลุ่มนี้มักเป็นอาจารย์จากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง หรือผู้ที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับว่าเป็น “กูรู” ในเรื่องนั้นๆ อาทิ หากต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ COVID-19 ต้องติดต่อไปที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก เป็นต้น

วิจัยหรือรายงานหรือวิจัยที่ได้รับการรับรอง

ไม่ใช่แค่งานวิจัยที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ แต่ต้องมีการรับรองโดยสถาบันที่เชื่อถือได้ มีการตั้งและพิสูจน์สมมติฐานเหล่านั้น รวมไปถึงการบอกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้ว งานวิจัยที่ถูกต้องจะมีหลักฐานที่อธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลกันอย่างชัดเจน ดังนั้นหากเจองานวิจัยที่อ่านแล้วชวนคิ้วขมวด ก็อย่าลืมดูความถูกต้องของงานนั้นให้ดีล่ะ

ข้อมูลจากสำนักข่าว Official 

ในยุคที่ใครก็สามารถเขียนข่าวและกลายเป็นกระบอกเสียงเองได้ ทำให้มีสำนักข่าวเกิดจากบุคคลนิรนามเต็มไปหมด หลายครั้งเป็นการเขียนข่าวโดยเน้นความเร็ว หรือเอนไปทางผลประโยชน์ตัวเอง ก็อาจเกิดการบิดเบือนข้อมูล และส่งผลให้ข่าวที่ได้รับผิดไปจากความจริง

แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือซึ่งเป็นสำนักข่าว จึงควรเป็นองค์กรที่มีความ Official  ต้องมีการตรวจสอบได้ โดยอาจดูจากเนื้อหาข่าวที่มีลักษณะเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใส่อารมณ์ หรือเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง มีวิธีการนำเสนอที่ค่อนข้างทางการ และได้รับการยอมรับในระดับสาธารณะ ทั้งนี้หลังจากอ่านข่าวแล้ว อาจต้องพิจารณาถึงสำนักข่าวอื่นเสริม เพื่อความแม่นยำด้วย

หนังสือที่มีแหล่งอ้างอิงชัดเจน

เช่นเดียวกับสำนักข่าว หนังสือ ก็เป็นอีกสิ่งที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ เมื่อเริ่มมีนักเขียนมากขึ้น ก็ยิ่งต้องตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาเขียนให้ดี ไม่ว่าจะเป็นแหล่งอ้างอิง ที่มาของข้อมูล หรือแม้กระทั่งบทวิเคราะห์ว่ามีความสมเหตุสมผลน่าเชื่อถือเพียงใด

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลไหนก็ตาม ควรพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้ ไม่ควรยึดเอาข้อมูลจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเป็นหลัก การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะการสร้างคอนเทนต์หมายถึงเรื่องที่เรากำลังจะส่งออกไป มีผลต่อความคิดและการรับรู้ของผู้อ่านได้มาก ยิ่งเมื่อเป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นครั้งแรก ยิ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อในภายหลง จนถึงขั้นต่อต้านความเชื่ออื่นได้เลยทีเดียว

แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมีอะไรบ้าง

แน่นอนว่าแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลได้น่าเชื่อถือมากที่สุด ก็ต้องเป็นแหล่งข่าวที่พบเจอกับเรื่องนั้นด้วยตัวเอง ใครจะรู้เรื่องดีไปกว่าเจ้าของเรื่อง แต่อย่างไรก็ตาม แม้การสัมภาษณ์เจ้าของเรื่องถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ควรเก็บข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดข้อมูลที่เอนเอียง ให้ได้ข้อเท็จจริงรอบ ...

จะทราบได้อย่างไรว่าข้อมูลน่าเชื่อถือ

การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลเบื้องต้น 1. บอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ 2. การเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์ 3. เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม 4. มีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์

ข้อมูลจากแหล่งใดน่าเชื่อถือน้อยที่สุด

ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือที่สุด คือ ข้อมูลที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่มาชัดเจน (ขนาดมีที่มายังต้องตรวจสอบเลย) เช่น บทความ หรือ สารคดี ที่เขียนว่า "มีชายคนหนึ่ง" "แพทย์ท้องถิ่นในเขตนั้น" หรือ "ผู้คนที่อาศัยอยู่ในระแวกนั้น" ยิ่งบทความทางวิชาการ หรือ สารคดี ควรที่จะสามารถระบุชื่อได้ เพื่อให้เครดิต หรือ เพื่อความชัดเจนและถูกต้อง ...

ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล มีอะไรบ้าง

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล สามารถใช้มุมมองทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความทันสมัยของ ข้อมูล ความสอดคล้องกับการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ความถูกต้องแม่นยำ และจุดมุ่งหมาย ของแหล่งข้อมูล