ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

EDI (Electronic Data Interchange) เป็นแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยระบบ EDI เป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ที่ได้รับการยอมรับ องค์ประกอบในระบบEDI มีอยู่ 2 อย่างคือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล โดยเมื่อมีการจัดการเอกสารในรูปแบบเดียวกันทำให้ ทุกๆธุรกิจสามารถรับ-ส่ง หรือแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ง่าย นอกจากธุรกิจภายในประเทศแล้ว ระบบEDI ยังเหมาะกับธุรกิจระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

ระบบEDI เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆธุรกิจ มีนโยบายในการประหยัดงบประมาณ ระบบEDI จึงเหมาะกับธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องด้วยเป็นระบบที่มีราคาไม่แพง สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลนั้นๆ ใช้งานง่ายและรวดเร็วช่วยให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง ระบบ EDI มีการทำงานอยู่บนระบบ Cloud ทำให้ช่วยประหยัดงบประมาณด้านการดูแลทรัพยากรไอที และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีอีกทั้งมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ระบบEDI ช่วยในการลดปัญหาและลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและข้อมูลการชำระสินค้า เป็นต้น ระบบ EDI เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ Just-in-time (JIT) ในการเพิ่มความเร็วในการับข้อมูลและลดรอบเวลาในการจัดการข้อมูล อีกทั้งยังมีกระบวนการจัดการเอกสารด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ทำให้สามารถเข้าถึงเอกสารในอดีตและปัจจุบันได้ง่าย

ระบบ EDI เหมาะกับทุกๆ ธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและใช้งานเป็นประจำ โดยระบบEDI จะเข้ามาช่วยจัดการเอกการเอกสารให้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้นของข้อมูล อาทิ ธุรกิจการค้าที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าประจำ ธุรกิจการผลิตที่ต้องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หรือธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น ระบบ EDI สามารถช่วยในการจัดการและควบคุมการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น

-  ใบสั่งซื้อ

-  ใบแจ้งหนี้

-  การยืนยันคำสั่งซื้อ

-  การแจ้งการจัดส่งสินค้า

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

กระบวณการทำงานของระบบ EDI

1.  เตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน UN/EDIFACT โดยใช้ Translation Software

2.  ส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการ EDI ผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยใช้ Modem

3.  จัดเก็บข้อมูลไว้ในMailbox ของผู้รับเมื่อข้อมูลไปถึงศูนย์บริการ

4.  ผู้รับติดต่อมายังศูนย์บริการผ่าน Modem เพื่อรับข้อมูล EDI ที่อยู่ใน Mailbox

5.  ผู้รับแปลงข้อมูลกลับโดยใช้ Translation Software ให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

การรวม ERP กับ EDI

การรวมระบบERP เข้ากับระบบ EDI เป็นการที่ทำให้ข้อมูลสามารถเชื่อมต่อหากันระหว่างส่วนหน้าของธุรกิจได้โดยเป็นอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดความซ้ำซ้อนในการป้อนคำสั่งซื้อหรือใบแจ้งหนี้และช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ใช้งาน การรวมระบบ ERP และระบบ EDI เข้าด้วยกัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดเวลาในการประมวลผลได้อย่างมาก และเมื่อสามารถแลกเปลี่ยนธุรกรรมกับคู่ค้าของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มความเร็วให้แก่วงจรธุรกิจได้ อีกทั้งยังสามารถการปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูลและเพิ่มการมองเห็นของห่วงโซ่อุปทาน

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์จากการรวม ERP กับ EDI

-  เพิ่มประสิทธิภาพจากการทำธุรกรรมอัตโนมัติ

-  การลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้

-  การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา 

-  ประมวลผลได้เร็วขึ้น

-  ความสามารถในการขายในสถานที่มากขึ้น

ทางบริษัท ฟอร์เวิร์ด แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด มีทีมงานFMS ที่มีประสบการณ์วางระบบงานให้กับธุรกิจ ทั้งขนาดเล็ก กลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ มามากกว่า 28 ปี ทีมงาน FMS มีพื้นฐานทั้งด้านบัญชี การบริหารการผลิตและเทคโนโลยีทำให้เข้าใจหลักการต้นทุนที่แท้จริง และมีโปแกรมเมอร์ที่สามารถช่วยเขียนระบบEDI ขึ้น ตามโจทย์ที่คุณลูกค้าต้องการ สามารถติดต่อได้ที่ ติดต่อเรา

ขอบคุณข้อมูลจาก

EDI การแลกเปลี่ยนเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ | Convergent Interfreight (convergent-interfreight.com)

EDI คืออะไร ? - SC INTERTRANS (google.com)

EDI (Electronic Data Interchange) จะเป็นพื้นฐานการเติบโตของธุรกิจ ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด | Techsauce

ERP & EDI คืออะไร เหมือนกันหรือต่างกันตรงส่วนไหน {ตอน 2} (logisticafe.com)

https://www.cisco.com/web/TH/technology/outsource_manufacturing.html

EDI ERP | EDI ERP Integration | EDI services in ERP | Cleo

ERP vs. EDI (studyhorror.com)


ป้อนคำที่ต้องการค้นหาส่งฟอร์มการค้นหา
Web www.google.co.th www.cwt.co.th

เขียนโดย Pla , 02-04-2008 

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

(Electronic Data Interchange (EDI) In Retailing Industry)

Nusara CHAWENGWONGWAN1, Settapong MALISUWAN, Ph.D

คำนำ 

            ธุรกิจค้าปลีกในอดีต ทุกองค์กรต่างแข่งขันกันในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำพาองค์กรของตนให้สามารถเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจให้ได้ ทุกองค์กรต่างงัดกลยุทธ์มาใช้มากมาย เช่น สินค้าที่นำมาขายที่ต้องตรงใจลูกค้า การให้บริการที่สุดแสนจะประทับใจ การสร้างบรรยากาศในร้านให้ดึงดูดใจ การส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ และอื่น ๆ จนถึงปัจจุบันปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่กลยุทธ์ที่กล่าวมาเท่านั้น แต่กลยุทธ์ที่สำคัญนอกเหนือไปกว่านั้นก็คือ การบริหาร Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด และทำให้สามารถเสนอขายในราคาที่ดึงดูดใจผู้บริโภคได้เหนือคู่แข่ง แต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า

บทนำ

                        การที่จะจัดการกับการบริหาร Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุดนั้นก็จำเป็นต้องอาศัยระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย และหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหาร Supply Chain ก็คือ ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Data Interchange (EDI) 

 1. EDI คืออะไร?

 ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) คือ ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางธุรกิจ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าฝ่ายหนึ่งกับคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น จากผู้ค้าปลีกไปยังผู้เสนอขายสินค้าหรือจากผู้เสนอขายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก ในรูปแบบที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มีความสอดคล้องกัน เอกสารทางธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อ, ใบกำกับสินค้า, ใบส่งของ ฯลฯ

 2. EDI ทำงานอย่างไร ? 

           ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI มีดังนี้

             1. มี EDI Gateway ( Tradesiam )      เป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบการแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจ(ไปรษณีย์กลาง )มีหน้าที่ในการนำเอกสารจากองค์กรผู้ส่งไปส่งยังผู้รับในองค์กรต่าง ๆ   

             2. มี VANS (Value Added Networks) ที่เป็นเหมือนไปรษณีย์เขต มีหน้าที่ให้บริการการรับส่ง และแลกเปลี่ยนกันเอกสารข้อมูลจนถึงปลายทางอย่างถูกต้อง อีกทั้งดูแลระบบ EDI ให้ได้รับความปลอดภัยทางด้านข้อมูลที่สามารถแสดงผลด้วยการลงบันทึกรายงานในแต่ละวัน และทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

             3. End User ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับ หรือส่งเอกสารผ่านทางระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งเอกสารธุรกิจทั้งรับและส่ง โดยผ่านทางระบบ EDI นั้น จะต้องได้รับมาตรฐานการใช้รับส่ง   และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก  หรือที่สากลให้การยอมรับอย่าง UN/ EDIFACT

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

ภาพที่ 1 ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI


3. ข้อแตกต่างระหว่างการใช้
EDI กับ การสแกนเอกสารและใช้ E-mail ในการรับ-ส่งเอกสาร ?

          สำหรับองค์กรผู้รับเอกสาร สามารถนำข้อมูล EDI ที่ได้รับมาจากบริษัทคู่ค้าขึ้นสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ขององค์กรได้ทันที โดยไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลซ้ำ ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาและข้อผิดพลาด แตกต่างจากการสแกนเอกสารและใช้ E-mail ในการรับ-ส่งเอกสารผ่านทาง Internet ซึ่งต้องเสียเวลาในการสแกน และไม่มีระบบในการยืนยันการส่งว่าผู้รับได้รับเอกสารที่ส่งให้หรือไม่ อีกทั้ง E-mail ไม่มีมาตรฐานสากลกำหนดตายตัวต่างจาก EDI ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอน ภายใต้รูปแบบมาตรฐานสากล จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการส่งข้อมูลผ่านทางระบบ EDI ซึ่งความปลอดภัยของข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สำคัญในงานธุรกิจเพราะข้อมูลทุกอย่างจะต้องเป็นความลับจากคู่แข่ง

4. ธุรกิจประเภทใดที่สามารถนำ EDI มาใช้ได้ ?

            ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมาก และ เป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำ ๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำ ของข้อมูล เช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการ ขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

5. EDI กับธุรกิจค้าปลีก

       เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้น การจะเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่นั้น ไม่ได้วัดกันที่ยอดขาย หรือจำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าอีกต่อไป หากแต่วัดกันที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะเข้ามาช่วยการจัดการระบบการจัดการภายในของแต่ละองค์กรเพื่อลดเวลาและกระบวนการดำเนินงานให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบที่เรียกว่า Supply Chain

ส่วนประกอบที่สำคัญของการบริหาร Supply Chain นั้น ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยหลัก ๆ 4 อย่าง คือ ระบบ On Line, ระบบ POS (Point of Sale) ,ระบบ Barcode และระบบ EDI (Electronic Data Interchange) ก็เป็น 1 ในองค์ประกอบที่สำคัญ

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ (Data Interchange) แต่เดิมนั้นบริษัทผู้ค้าปลีกและบริษัทซัพพลายเออร์ จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดส่งเอกสารทางธุรกิจเพื่อทำการค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ยังเกิดความผิดพลาดของเอกสาร เช่น การป้อนข้อมูลผิด หรือเอกสารส่งไม่ถึงผู้รับอีกฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อบริษัท ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันซึ่งมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ และต้องจัดการกับเอกสารจำนวนมาก จึงนำระบบ EDI (Electronic Data Interchange) มาใช้ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำของข้อมูล

อย่างไรก็ตามระบบ EDI (Electronic Data Interchange) เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการบริหาร Supply Chain เท่านั้น ยังไม่สามารถทำให้ธุรกิจค้าปลีกประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ดังนั้นจึงจะต้องใช้ระบบ EDI (Electronic Data Interchange)ควบคู่กับองค์ประกอบอีก 3 ส่วน เพื่อที่จะสามารถทำให้ธุรกิจเกิดความได้เปรียบในเรื่องการลดต้นทุนที่สูงสุดจาก Supply Chain ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้

การทำงานขององค์ประกอบการบริหาร Supply Chain ทั้ง 4 ระบบ มีรายละเอียดดังนี้

ทุกครั้งที่มีการซื้อขายที่ร้านค้าปลีกจากทุกสาขาทั่วประเทศ ระบบ POS ของแต่ละสาขาก็จะส่งข้อมูลการขายสินค้าส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อทางสำนักงานใหญ่รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าต่างๆของแต่ละสาขาแล้ว ก็จะทำการเปิดใบสั่งซื้อ ( Purchasing Order) สินค้าที่ได้มีการจำหน่ายออกไปแล้ว ไปยังซัพพลายเออร์ (Vender) ผ่านทางระบบ EDI ให้กับซัพพลายเออร์รายย่อยและส่งให้ทางซัพพลายเออร์ผู้ผลิตและจัดส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้า ก่อนที่ทางศูนย์กระจายสินค้าจะทำหน้าที่คัดแยกสินค้า และจัดส่งไปยังร้านค้าปลีกทุกสาขาทั่วประเทศ โดยสินค้านั้นจะใช้ Bar Code เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสินค้า ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อองค์กรมากเนื่องจากสามารถรู้ข้อมูลสินค้าต่าง ๆ อย่างละเอียดผ่านรหัสใน Bar Code ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนกับบริษัทคู่ค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบ EDI ซึ่งจะทำให้ การใช้ EDI เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI มีประโยชน์อย่างไร

ภาพที่ 2 ภาพแสดงการทำงานขององค์ประกอบการบริหาร Supply Chain

6. ประโยชน์ของ EDI ต่อธุรกิจ

                1.ช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ปกติแล้วการป้อนข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อนำระบบ EDI มาใช้สามารถทำให้ลดข้อผิดพลาดลงได้                

2.ช่วยลดงบประมาณ  ในเรื่องของเอกสารและค่าจัดส่ง เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน รวมถึงค่าจัดส่งที่ส่งผิด และการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กรเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ถ้านำระบบ EDI มาใช้จะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้ลดต้นทุนในส่วนของความผิดพลาดนั้นลดลง

3.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เนื่องจากบริษัทสามารถจัดการกับเอกสารธุรกิจได้ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็วก็ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาด หรือต้นทุนที่เกิดจากสินค้าคงคลัง และเกิดความได้เปรียบจากการดำเนินงานที่รวดเร็วเพราะทำให้องค์กรจะไม่ต้องพบกับปัญหาในเรื่องสินค้าขาดสต็อกในร้านค้าปลีก

4.ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้  มันมีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก  ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์  และนอกจากนั้นยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย

5. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดทั้ง 2 ฝ่าย มักจะโต้เถียงกันว่าใครเป็นฝ่ายผิด และทำให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย

ตัวอย่างของ EDI ในธุรกิจค้าปลีก

 แม็คโครกับระบบ EDI

                  แม็คโครเป็นผู้ประกอบการรายแรก ๆ ที่นำระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือ (Electronic Data Interchange: EDI) มาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งสามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี    แต่เดิมแม็คโครใช้ แฟกซ์ในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ซึ่งในแต่ละวันองค์กร จะต้องจัดการกับใบสั่งซื้อจำนวนมหาศาล จากซัพพลายเออร์ที่มีอยู่นับพันราย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายและต้องเสียเวลาในการดำเนินงานอย่างมากเพื่อที่จะรับมือกับปัญหาเหล่านั้น เช่น ส่งแฟกซ์ไปแล้วไม่ได้รับบ้าง ป้อนข้อมูลผิดบ้าง แต่เมื่อองค์กรเปลี่ยนมาใช้ระบบ EDI ทำให้องค์กรสามารถจัดการกับเอกสารได้อย่างถูกต้องแม่นยำและปลอดภัยภายในเวลาอันรวดเร็ว

บทสรุปของ ERP 

              การสื่อสารยุคปัจจุบันสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วไร้ขอบเขตจำกัด    องค์กรที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยย่อมได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน และประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันเร็ว     การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นกลยุทธ์การสื่อสารอีกประเภทหนึ่ง  ซึ่งหลายองค์กรได้นำมาใช้  และสามารถทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้น ประหยัดงบประมาณ และทำให้องค์การมีการบริหาร Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพนำมาซึ่งความสำเร็จในธุรกิจค้าปลีกได้อย่างรวดเร็ว

              แต่ทั้งนี้ถ้าองค์กรคิดจะนำระบบ EDI มาใช้ องค์กรนั้นก็ต้องปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ทั้งการวางระบบและฝึกอบรมพนักงานให้ใช้ EDI ได้อย่างเชี่ยวชาญและถูกต้อง อีกครั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนองค์กร ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากพอสมควร นอกจากนี้ในเรื่องของข้อมูลองค์กรจะต้องคำนึงและแยกแยะด้วยว่า ข้อมูลใดที่สามารถแลกเปลี่ยนและเปิดเผยกันระหว่าง Supply Chain ได้ ข้อมูลใด เป็นความลับที่ห้ามเผยแพร่สู่ภายนอก เพราะไม่มีองค์กรใดที่ เปิดเผยข้อมูลของตนได้ทั้งหมด 100%

              ดังนั้นองค์กรจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยพิจารณาว่าองค์กรจะได้รับผลประโยชน์จากระบบ EDI หรือจะต้องพบกับการสูญเสียที่มากกว่าก่อนที่จะตัดสินใจใช้ระบบ EDI

อ้างอิง

  1. ดร.ธิติภพ  ธนธวัช.(2547).รู้หลักค้าปลีก หลีกหนีความล่มสลาย 3.
  • อธิวัฒน์  ทรัพย์ไฟฑูรย์.(2545). 6 อภิมหาอาณาจักรธุรกิจการค้าปลีกค้าส่ง.
  • www.nectec.or.th
  • www.thaicyberu.go.th
  • www.guriict.com
  • www.brandage.com
  • www.engineeringtoday.net
  • www.tradeSiam.com
  • www.edithailand.com
  • ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI คืออะไร

    การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเอกสารทางธุรกิจในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคู่ค้าโดยเฉพาะผู้ซื้อและซัพพลายเออร์ของพวกเขา โดยการโอนคําสั่งซื้อ อินวอยซ์ การชําระเงิน การแจ้งการจัดส่งสินค้าและเอกสารอื่น ๆ ผ่านทาง EDI ผู้ใช้สามารถกำจัดขยะกระดาษ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มการ ...

    การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (EDI) ช่วยลดการทำงานในขั้นตอนใด

    ระบบEDI ช่วยในการลดปัญหาและลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและข้อมูลการชำระสินค้า เป็นต้น ระบบ EDI เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ Just-in-time (JIT) ในการเพิ่มความเร็วในการับข้อมูลและลดรอบเวลาในการจัดการข้อมูล อีกทั้งยังมีกระบวนการจัดการเอกสารด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ ...

    ส่วนประกอบสำคัญของระบบ EDI มีอะไรบ้าง

    ส่วนประกอบสำคัญของระบบ EDI.
    ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ... .
    เครือข่ายการสื่อสาร (Telecommunication Networks) ... .
    ซอฟต์แวร์การสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูล (Communication and Translation Software).