ประเทศใดที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

การใช้งานพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy) เป็นอีกตัวเลือกของแนวคิดพลังงานสะอาดที่สามารถใช้ในระยะยาวได้ ด้วยประสิทธิภาพที่สูงและมลพิษจากการผลิตที่ค่อนข้างน้อย ทำให้มีคนจำนวนมากคาดหวังว่ามันจะเป็นที่พึ่งของ “สังคมไร้คาร์บอน (Zero Carbon Society)”

โดยในทางปฏิบัติ พลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ดีไปหมดเสียทีเดียว ยังคงไว้ซึ่งข้อเสียด้วยเช่นกัน และในบทความนี้จะเปรียบเทียบว่า ข้อดี ข้อเสีย ของพลังงานชนิดนี้คืออะไร และมีอะไรที่เราควรรู้ก่อนใช้พลังงานชนิดนี้บ้าง

เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของพลังงานนิวเคลียร์

ข้อดี

ความมั่นคงทางพลังงาน 

พลังงานนิวเคลียร์นั้นมีการใช้เชื้อเพลิงที่น้อย แต่สามารถผลิดพลังงานได้มาก ทำให้หลายประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เลือกใช้โรงไฟฟ้าประเภทนี้ควบคู่ไปกับการผลิตพลังงานสะอาดประเภทอื่นๆ ในปัจจุบัน 

การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ควันที่ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในความเป็นจริงแล้วคือไอน้ำที่เกิดจากระบบระบายความร้อนรวมถึงการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวหากเทียบกับโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังมีปริมาณของเสียโดยรวมน้อยกว่าด้วย

ประเทศใดที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ข้อเสีย 

เงินลงทุนเริ่มต้นสูงมาก

แม้การลงทุนในพลังงานนิวเคลียร์จะมีต้นทุนด้านพลังงานต่ำ แต่กลับกันคือจำเป็นต้องมีการทุนด้านสิ่งก่อสร้าง ความปลอดภัย และการทำระบบต่างๆ สูงมาก รวมถึงใช้งานบุคลากรที่มีประสบการณ์ และมีงบประมาณซ่อมบำรุงมหาศาลอีกด้วย

เพิ่มความเสี่ยงจากอุบัติเหตุด้านนิวเคลียร์

อุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมานั้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เคยมีปัญหาในรูปแบบนี้จริงๆ แม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณโรงไฟฟ้าทั่วโลก แต่ในอุบัติเหตุแต่ละครั้งนั้นกลับส่งผลกระทบให้คนจำนวนมากรอบโรงไฟฟ้าต้องอพยพจากสารกัมมันตรังสี และเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนแถบนั้นให้กลายเป็นแดนรกร้างไปเลย ตัวอย่างเช่น กรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในประเทศรัสเซีย และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

ประเทศใดที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

พื้นที่เก็บกากกัมมันตรังสีมีจำกัด

สิ่งที่เป็นปัญหากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แทบทุกแห่งเลยคือ การกำจัดกากกัมมันตรังสีที่มีการใช้แล้วจากโรงไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้งานพื้นที่เป็นจำนวนมาก และหากมีการบำรุงรักษาไม่ดี ก็มีโอกาสที่รังสีจะรั่วไหลด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งกากกัมมันตรังสีบางส่วนยังมีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้ จึงต้องมีการดูแลรักษาอย่างเข้มงวด

การใช้งานพลังงานนิวเคลียร์นอกจากในโรงไฟฟ้า

เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์ค่อนข้างใช้งานยาก นอกจากในโรงไฟฟ้าแล้ว ยังมีการใช้งานในเรือรบขนาดใหญ่และสถาบันวิจัยบางแห่งเท่านั้น 

ล่าสุดยังคงมีความพยายามจากบางบริษัทในการปรับสเกลการผลิตพลังงานนิวเคลียร์เพื่อให้มีการใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เช่น บริษัท NuScale Power ที่วางแผนสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก เพื่อการใช้งานที่ทั่วถึงและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้รับอนุญาตดีไซน์จากทางหน่วยงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา และวางแผนจะทดลองต่อในระยะยาวแล้ว

ประเทศใดที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

สตาร์ทอัพพลังงานนิวเคลียร์ 

พลังงานนิวเคลียร์เองก็มีสตาร์ทอัพเช่นเดียวกับพลังงานชนิดอื่นๆ โดยมีตัวอย่างดังนี้

Commonwealth Fusion Systems

Commonwealth Fusion Systems

สตาร์ทอัพเจ้าดังที่คิดค้นและวางแผนจะนำพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่น* ซึ่งเป็นการทำงานอีกรูปแบบของพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ ทาง Commonwealth Fusion Systems คาดหวังว่าโครงการของพวกเขาจะลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สร้างแหล่งพลังงานที่สูงมากพอจะเป็นพลังงานนิรันดร์ในอนาคตได้

*นิวเคลียร์ฟิวชั่น: เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของธาตุน้ำหนักเบา ทำให้เกิดนิวเคลียสธาตุที่มีน้ำหนักมากขึ้น และการรวมตัวดังกล่าวจะก่อให้เกิดพลังงานมหาศาลออกมา ปฏิกิริยานี้ทำให้เกิดได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากจะต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมากพอเพื่อทำให้เกิดการหลอมรวม

**นิวเคลียร์ฟิชชั่น: ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดจากการยิงอนุภาคนิวตรอนใส่ธาตุหนัก ทำให้อะตอมแตกตัวออกเป็นสองส่วน พร้อมปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากออกมา เป็นปฏิกริยาที่ตรงข้ามกับนิวเคลียร์ๆฟิวชั่น

ข้อมูลจาก http://www.ned.egat.co.th/

Flibe Energy 

สตาร์ทอัพที่มีความพยายามในการพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รูปแบบ Liquid Fluoride Thorium Reactor หรือ เตาปฏิกรณ์ทอเรียม ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่า ถูกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์ปัจจุบัน

ยังมีสตาร์ทอัพอีกไม่น้อยที่สนใจพลังงานนิวเคลียร์และต้องการนำนิวเคลียร์มาใช้งาน แต่แน่นอนว่าด้วยความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ไม่มีบริษัทไหนที่สามารถสร้างชื่อและประสบความสำเร็จได้ง่ายดายนัก คงต้องติดตามกันต่อว่าพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตจะเป็นเช่นไร และเราจะมีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ในประเทศไทยหรือไม่

สรุป

พลังงานนิวเคลียร์นั้นมีข้อดีที่เป็นพลังงานสะอาด สามารถผลิตได้ในปริมาณมาก และมีความคุ้มค่าสูง อย่างไรก็ตาม พลังงานชนิดนี้ต้องการใช้เงินลงทุนที่สูง และระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด  มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้

ประเทศใดที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์