ทัศน ศิลป์ กับ การพัฒนา คุณภาพ ชีวิต มนุษย์

          จะเห็นได้ว่าศิลปะ ไม่ใช่เป็นเรื่องของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ไม่ใช่เพียงภาพวาดเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ที่เราสามารถสร้างศิลปะเฉพาะตัวขึ้นมาเองได้ จากแรงบันดาลใจและจินตนาการต่างๆ ทำให้ศิลปะนั้นดำรงอยู่กับชีวิตเราอย่างแนบแน่น

ทัศนศิลป์

        ทัศนศิลป์   หมายถึง  การมองเห็นหรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทำให้เกิดความงาม  ความพอใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ

        ความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขี้นอยู่กับวัฒนธรรม  ประเพณี  สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่ได้สร้างสมมา  มนุษย์ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งแวดล้อม แล้วสร้างผลงาน  ทางศิลปะให้เกิดความงามและมีคุณค่า

        ความสำคัญ   ทัศนศิลป์  มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการด้านร่าร่างกาย  ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์  ความต้องการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล   การมองเห็นความงามของธรรมชาติ ความสงบราบเรียบของท้องทะเลและอื่นๆ เป็นทัศนียภาพ  สิ่งที่มองเห็นเกิดความรู้สึกมีคุณค่าของความงามจนเกิดสุนทรียภาพ

        ศิลปะทำให้ชีวิตมีความหมาย   มนุษย์จะอยู่ได้ด้วยปัจจัย  4 ประการ  ได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และ ยารักษาโรค   แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ  อาหารทางใจ    มาช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน   และช่วยพัฒนาอารมณ์   จิตใจจึงจะทำให้ชีวิตนี้มีความสุขสมบูรณ์ได้

        อาหารทางใจที่มนุษย์ต้องการ มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ก็คือ  ศิลปะนั่นเอง

        ศิลปะ      เป็นผลงานอันเกิดจากความต้องพากเพียรของมนุษย์  ในอันที่จะสร้างสรรค์ความงาม    เพื่อจรรโลงจิตใจและประโยชน์ที่จะใช้สอยได้  

การสร้างสรรค์งานศิลปะของมนุษย์     แบ่งออกเป็น    2  ประเภทคือ        

1.วิจิตรศิลป์    สนองความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ

2.ศิลปประยุกต์   สนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งจะกล่าวถึงคุณค่าและการนำไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมต่อไป

งานวิจิตรศิลป์   เป็นศิลปะแห่งความงดงาม  เพื่อให้มนุษย์เกิดความชื่นชมทางด้านจิตใจ  แบ่งเป็น  5 แขนง คือ

        1.จิตรกรรม 

        2.ประติมากรรม 

        3.สถาปัตยกรรม 

        4.วรรณกรรม 

        5.นาฎศิลป์และดุริยางค์ศิลป์

        1.จิตรกรรม ผลงานได้แก่   ภาพวาดหรือภาพเขียน  และผลงานศิลปะอื่นที่แสดงออกบนพื้นระนาบหรืองานที่มีลักษณะเป็น  2 มิติ

        ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม   คือ จิตรกร   เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างงานวาดภาพทั้งกระดาษวาดเขียน  ผ้าใบ ฝาผนัง ภาชนะ เครื่องประดับและบนวัตถุอื่น ๆ งานจิตรกรรม  มีการสร้างสรรค์หลายรูปแบบ  เช่น  การเขียนภาพคน    ภาพคนเหมือน  ภาพดอกไม้ ภาพหุ่นนิ่ง   ภาพเรื่องราวการดำรงชีวิต ภาพประกอบเรื่อง เป็นต้น

        ศิลปินที่เป็น  จิตรกรในสาขาจิตรกรรมได้แก่  เฉลิม  นาคีรักษ์  เฟื้อ  หริพิทักษ์ ทวี

นันทขว้าง     สุชาติ  วงศ์ทอง   เป็นต้น

        2.ประติมากรรม เป็นงานปั้นและแกะสลักด้วยวัสดุที่แปรรูปได้ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูนปลาสเตอร์  ไม้ เป็นต้น  รวมทั้งการนำมาทุบ ตี เคาะ เชื่อม และหล่อเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะ  3 มิติ

        ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม  คือ ประติมากร  เป็นอาชีพที่สำคัญ และมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวมอีกอาชีพหนึ่ง   โดยทั่วไปจะมีผู้ที่นิยมน้อยกว่าอาชีพจิตรกร  แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ตนเองและสังคมไม่ด้อยกว่าอาชีพใดๆ

        งานที่ประติมากรสร้างสรรค์มีตั้งแต่ผลงานขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่   เช่น เหรียญชนิดต่าง ๆ ภาชนะ เครื่องประดับตกแต่งพระพุทธรูป และรูปปั้นอนุสาวรีย์  ซึ่งได้แสดงคุณค่าทางความงามจากรูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว  ตลอดจนแสงจากธรรมชาติที่ส่องมากระทบผลงานประติมากรรม

        ศิลป์    พีระศรี   ประติมากรรม  ผู้สร้างศิลปินไทย   สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปรัชกาลที่  6  

ที่ สวนลุมพินี   อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา   และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร อีกด้วย     

        3.สถาปัตยกรรม     เป็นการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่นบ้านเรือนอาคารที่ทำการ   สนามกีฬา  วัด  โบสถ์   วิหาร  เจดีย์    สถูป  พีระมิด   เป็นต้น 

        งานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ หรือความงามตอบสนองความต้องการทางจิตใจ   มักจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ที่สร้างขึ้นตามหลักศาสนาและความเชื่อถือศรัทธา   ส่วนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักและจะมุ่งเน้นความงามแบบเรียบง่าย  ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบแท่งเหลี่ยมสูงหลายชั้น เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างภาคพื้นดินค่อนข้างจำกัด จึงจำเป็นจะต้องใช้ พื้นที่บนอากาศให้มากที่สุด   ศิลปินสาขานี้ทางด้าน  สถาปัตยกรรมคือ  พลเรือตรี สมภพ    ภิรมย์   ประเวศ  ลิมปรังสี และภิญโญ  สุวรรณคีรี   เป็นต้น

        4.วรรณกรรม (Literature)

หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึกด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น

วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่

1.ภาษาพูด โดยการใช้เสียง

2.ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ

3.ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี

5.นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์

นาฏศิลป์ หมายถึงเป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีของไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่

ดุริยางคศิลป์ คือ ศิลปะว่าด้วยการบรรเลงขับร้อง (ดุริยะ และคีตะ) เป็นส่วนหนึ่งงานวิจิตรศิลป์ มนุษย์สร้างสรรค์งานดุริยางคศิลป์จากการเลียนเสียงธรรมชาติด้วยการใช้ร่างกายของตน พัฒนามาสู่การหาวัสดุเพื่อใช้ทำเสียง จนเกิดเป็นเครื่องดนตรีที่แบ่งออกได้ 4 ประเภทอันได้แก่ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า ดุริยางคศิลป์เป็นแขนงหนึ่งในบรรดาศิลปะหลายๆ แขนง เป็นศิลปะที่ว่าด้วยการเรื่องความไพเราะ ด้วยรูปลักษณ์ลีลาของทำนอง คุณภาพของเสียง ความกลมกลืนระหว่างเสียงที่สอดประสานกันอย่างลงตัว

คุณค่าต่อผู้ชมและสังคมส่วนรวม

    - งานจิตรกรรม  เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้โดยง่าย  คุณค่าเบื้องต้น เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจในการชมความงาม ความละเอียดอ่อนของเส้นสี  แสงเงา และองค์ประกอบของศิลป์ต่างๆ  ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และให้คติธรรม แนวคิดในการดำรงชีวิต  และยังรักษาขนบธรรมเนียม  ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์  จากจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ 

    - งานประติมากรรม    เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้ด้วยรูปทรง และพื้นผิว โดยมีแสงสว่างมากระทบให้เกิดเงาจากมิติความตื้นลึกของรูปทรงนั้น ๆ

    - งานสถาปัตยกรรม  เป็นศิลปะที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เพราะเป็นอาคารสถานที่สูง  และเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั่นเอง   โดยเริ่มจากการดูแลรักษาที่พักอาศัยต่าง ๆ  เข่น พระราชวัง โบสถ์   ตำหนัก  วัด  วิหาร  เจดีย์  สถูป  เป็นต้น

คุณค่าของผู้ชื่นชมและสังคมส่วนรวม

บทบาทของประชาชนทั่วไปในการใช้ประโยชน์และคุณค่าของสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน การใช้หลักทางศิลปะ และรสนิยมส่วนตัว ตกแต่งบ้านเรือนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประดับตกแตงด้วยต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน สำหรับงานทางศิลปะที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ ดังนั้น เราจึงควรร่วมมือกันอนุรักษ์ศิลปะทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ไว้สืบต่อไป

ทัศนศิลป์

คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะอ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็นได้ การรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม

ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศน์.. ศิลป์ นั้น

แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง

ทัศนศิลป์แบ่งได้ดังนี้

วิจิตรศิลป์

จะเน้นด้านความงามเป็นสำคัญ เช่น ภาพลายไทย ภาพตามผนังวัด หรือภาพพุทธศิลป์ต่างๆ

ประยุกต์ศิลป์

ได้แก่ศิลปะที่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่นสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้เป็นภาชนะ

พาณิชย์ศิลป์

ส่วนใหญ่เน้นในด้านเชิงธุรกิจการค้า ภาพโฆษณา บางครั้งจะไม่ตรงตามหลักการทางศิลปะตามที่ท่านอาจารย์ผู้รู้ด้านศิลปะได้สั่งสมบอกสอนกันมา

โสตศิลป์ :ดนตรี ดุริยางคศิลป์

ดุริยางคศิลป์ ดนตรี เป็นสิ่งแสดงออกทางธรรมชาติ ซึ่งสามารถ สื่อถึง ความรู้สึก บันเทิง รื่นเริง สื่อความเศร้า ความโกรธ ความรัก ซึ่งในสมัยโบราณนอกจากการใช้เนตรีเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ แล้วยังใช้ประกอบการำงาน หรือใช้เพื่อการทำสงครามอีกด้วย มนุษย์ยุคแรกเริ่มใช้ดนตรีโดยการร้อง การปรบมือ การกระทืบเท้า ก่อนที่จะรู้จักการทำเสียงจากเครื่องดนตรี เช่น เข้าใจทำนอง (ความสูงต่ำของเสียง) เข้าใจจังหวะ จึงเกิดความคิดในการสร้างเครื่องมือ สร้างเสียงดนตรีจากวัตถุต่างๆ ดนตรีจึงได้พัฒนามาตามลำดับสังคม ปัจจุบันยอมรับว่าดนตรีกลายเป็นดัชนีวัดความเจริญอย่างหนึ่งของสังคม ดนตรีเป็นงานศิลปะอีกอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทางโสตประสาทหรือใช้หูฟัง นักสุนทรียศาสตร์ได้จัดดนตรีเป็นงานศิลปะที่มีความละเอียดอ่อนที่สุดเพราะเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ เป็นเพียงเสียงที่ใช้เวลาแล้วก็ผ่านไป

ดนตรีศาสตร์ว่าด้วยเสียง หากจิตรกรจะใช้สีเพื่อสื่อความคิดและความรู้สึกผ่านงานจิตรกรรม กวีจะใช้ภาษาในงานวรรณกรรม นักดนตรีจะใช้เสียงเป็นสื่อทางดนตรี

เสียงกำเนิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุอันก่อให้เกิดคลื่นเสียงผ่านอากาศ และสัมผัสกับหูของเราทำให้ได้ยินเสียงต่างๆ เสียงอันเกิดจากการร้อง การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีโดยผ่านการควบคุมตามทำนองที่แต่งหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งเป็นเสียงที่มีระบบแน่นอน (Conventional Sound) เราเรียกเสียงนี้ว่าดนตรี (Music) ส่วนเสียงที่ไม่ได้ควบคุมเกิดขึ้นเอง (Non- Conventional Sound) เราเรียกเสียงนี้ว่า “ธรรมชาติ” หรือเสียงจากสิ่งแวดล้อมทั่วไป การทำให้เกิดเสียงมีวิธีการง่ายๆ หลายวิธีเช่น การตีเคาะ การเป่าบนปาดขวด ดึงสายยางบนปากไห เป็นต้น

ประเภทของดนตรี

ดนตรีหรือบทเพลงนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1.ดนตรีบรรเลง (Instrumental Music)

เป็นผลงานทางดนตรีที่คีตกวีประพันธ์เพื่อการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆ โดยเฉพาะปราศจากคำร้อง เพลงบรรเลงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.1.ดนตรีพรรณนา (Program Music) เพลงบรรเลงในลักษณะนี้ คีตกวีประพันธ์ขึ้นด้วยเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับผู้ฟัง ฟังเป็นเรื่องราว เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ดนตรีเป็นการวาดภาพหรือการเล่าเรื่องด้วยเสียงดนตรีนั่นเอง เพลงในลักษณะนี้คีตกวีอาจได้รับแรงบันดาลใจหรือความประทับใจจากความงดงามของธรรมชาติ เช่นท้องทะเล ป่าเขาลำเนาไพรหรืออาจมาจากเรื่องราวของนิทานพื้นบ้าน

1.2.ดนตรีบริสุทธิ์ (Absolute Music) เพลงบรรเลงในลักษณะนี้ มีเนื้อหาตรงกันข้ามกับดนตรีพรรณนาโดยสิ้นเชิง เพราะดนตรีบริสุทธิ์จะปราศจากเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวแต่จะยึดมั่นอยู่ในรูปแบบและโครงสร้างทางฉันทลักษณ์อย่างเข้มงวด เช่น โซนาดา (Sonata) ซิมโฟนี (Sym-phony) คอนแชร์โต (Concerto) ฯลฯ โดยมุ่งเน้นให้ผู้รับฟังความไพเราะของการประสานเสียงดนตรีเป็นสำคัญ

2.ดนตรีเพื่อการขับร้อง (Vocal Music)

            เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับขับร้อง อาจจะเป็นการขับร้องเดี่ยวหรือขับร้องกลุ่มประสานเสียงโดยจะมีดนตรีประกอบหรือไม่ก็ตาม การขับร้องถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดแรกของมนุษย์ชาติและต่อมาได้พัฒนาให้มีบทบาทต่องานดนตรีมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันบทเพลงขับร้องแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

            Sacred Music (เพลงร้องที่ใช้ในศาสนพิธี) หรือดนตรีศาสนา (Church Music) เป็นดนตรีที่ใช้ขับร้องหรือบรรเลงในวัด หรือเรียกว่า ดนตรีวัด ก็ได้

            Secular Music (เพลงร้องที่ไม่เกี่ยวกับศาสนพิธี) เป็นดนตรีที่ใช้ขับร้องและฟังกันตามบ้าน เป็นดนตรีที่ให้ความรื่นเริงทางโลก หรือให้ความบันเทิงใจแก่ประชาชน ในปัจจุบันดนตรีประเภทนี้จัดอยู่ในรูปของดนตรีหรือบทเพลงยอดนิยม (Poppular Song)

องค์ประกอบดนตรี

องค์ประกอบของดนตรีนี้นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐานทำให้ดนตรีเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ซึ่งส่วนประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ กันได้แก่ เสียง (Tone) จังหวะ (Rhythm) ทำนอง (Melody) พื้นผิว (Texture) เสียงประสาน (Harmony) สีสัน (Tone Color) และรูปแบบ (Form) ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

๑. เสียง (Tone)

เสียง ในทางดนตรี หมายถึง เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยจะเกิดจากการร้อง การเป่า การดีด และการสี เสียงจะประกอบด้วยคุณสมบัติเสียง ๔ อย่าง คือ ระดับเสียงความยาวของเสียง ความเข้มของเสียงและคุณภาพของเสียง

๑.๑ ระดับเสียง (Pitch) คือ ความสูงต่ำของเสียง ซึ่งเกิดจากความถี่ในการสั่นสะเทือน ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเร็วเสียงจะสูง ความถี่ของการสั่นสะเทือนช้าเสียงจะต่ำ

๑.๒ ความยาวของเสียง (Duration) คือ ความยาวสั้นของเสียง เสียงดนตรีอาจมีควานยาวเสียงเช่น เสียงสั้นๆ เสียงยาวมาก ซึ่งเป็นพื้นฐานในเรื่องของจังหวะ (Rhythm)

๑.๓ ความเข้มของเสียง (Intensity) คือ ความแตกต่างของเสียงจากค่อยไปจนถึงดัง ซึ่งเป็นพื้นฐานเรื่องจังหวะเน้นในทางดนตรี

๑.๔ คุณภาพของเสียง (Quality) คือ คุณภาพของเสียงแต่ละชนิด เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงนั้นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานเรื่องสีสันของเสียง (Tone Color)

๒. จังหวะ (Rhythm)

                จังหวะ คือ สัญลักษณ์ที่บอกความยาว สั้น (Duration) ของตัวโน้ตและตัวหยุด โดยไม่มีระดับเสียง ในบทเพลงจะมีองค์ประกอบจังหวะ ดังนี้

๒.๑ ความเร็วของจังหวะ (Tempo) เทมโป มาจากภาษาอิตาเลียน หมายถึง เวลา ในทางดนตรี หมายถึง ความเร็ว ช้า ปานกลาง ซึ่งถูกกำหนดไว้ในบทเพลง โดยมีเครื่องกำหนดความเร็วที่เรียกว่าเมโทรนอม (Metronome) และมีชื่อเรียกกำหนดความเร็วจังหวะ ได้แก่

Presto                     เร็วมาก

Allegro                   เร็ว

Moderato                ความเร็วปานกลาง

Adagio                    ช้าๆ ไม่รีบร้อน

Largo                      ช้ามาก

๒.๒ อัตราจังหวะ (Time) คือ การจัดกลุ่มจังหวะตบ (Beat) เป็น ๒, ๓, ๔ จังหวะเคาะเน้นจังหวะหนัก เบา ของจังหวะตบที่เกิดขึ้น

จังหวะตบ (Beat) หมายถึง จังหวะที่ดำเนินไปเรื่อยๆ คล้ายการเต้นของหัวใจตัวอย่างอัตราเช่น

๒.๓ รูปแบบจังหวะ(Rhythm Pattern) คือรูปแบบกระสวนจังหวะของจังหวัดที่ถูกกำหนดไว้เพื่อเป็นจังหวะในการบรรเลงบทเพลง เช่น จังหวะมาร์ช (March) จังหวะวอลซ์ (Waltz) จังหวะร็อค (Rock) เป็นต้น

๓. ทำนอง (Melody)

ทำนอง คือ การจัดเรียงลำดับสูง ต่ำ และความยาว สั้น ของเสียงตามแนวนอน ทำนองเป็นองค์ประกอบดนตรีที่ง่ายต่อการจำเหมือนภาษาพูดที่เป็นประโยค เพื่อสนองความคิดของผู้พูดดังนั้นการเข้าใจดนตรีจึงต้องจำทำนองให้ได้

๔. พื้นผิวของเสียง (Texture)

        “พื้นผิว” เป็นคำที่ใช้อยู่ทั่วไปในวิชาการด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่งต่างๆ เช่น พื้นผิวของวัสดุที่มีลักษณะขรุขระ หรือเกลี้ยงเกลา ซึ่งอาจจะทำจากวัสดุที่ต่างกัน

        ในเชิงดนตรีนั้น “พื้นผิว” หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้

๔.๑ Monophonic Texture

เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม

๔.๒ Polyphonic Texture

เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกันลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ 4 และคู่ 5 และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่า “ออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture

๔.๓ Homophonic Texture

เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง

๔.๔ Heterophonic Texture

เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียง

๕. สีสันของเสียง (Tone Color)

สีสันของเสียง คือ คุณสมบัติของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด รวมถึงเสียงรัองของมนุษย์ซื่งแตกต่างกันไปในเรื่องของการดนตรี สีสันของเพลงอาจเกิดจากการร้องเดี่ยว การบรรเลงเดี่ยวโดยผู้แสดงเพียงคนเดียว หรือการนำเครื่องดนตรีหลายชนิดเสียงร้องมาร่วมบรรเลงด้วยกันก็เกิดเป็นการรวมวงดนตรีแบบต่างๆ ขึ้น

๖. รูปแบบ (Form)

รูปแบบ คือ โครงสร้างของบทเพลงที่มีแบบแผน ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงมักจะมีรูปแบบการแต่งเพลงตามที่ตนเองคิดไว้ เช่น การแบ่งเป็นห้องเพลง เป็นวลี (Phrase) เป็นประโยค (Sentence) และเป็นท่อนเพลง รูปแบบของบทเพลงในปัจจุบัน ได้แก่

๖.๑ ยูนิทารี (Unitary Form) หรือ One Part Form คือ บทเพลงที่มีแนวทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวตั้งแต่เริ่มต้นจนจบสมบูรณ์ เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงชาติ เป็นต้น

๖.๒ ไบนารี (Binary Form) หรือ Two Part Form คือ บทเพลงที่มีรูปแบบประกอบด้วย๒ ส่วนใหญ่ๆ เช่น ท่อนทำนอง A และท่อนทำนอง B เรียกบทเพลงบทนี้ว่า รูปแบบ A B

๖.๓ เทอร์นารี (Ternary Form) หรือ Three Part Form คือ บทเพลงที่มีรูปแบบประกอบด้วย ๓ ส่วนใหญ่ๆ มีส่วนกลางที่แตกต่างไปจากส่วนต้นและส่วนท้าย เช่น ท่อนทำนองที่ ๑ A, ท่อนทำนองที่๒ B, ซึ่งทำนองแตกต่างกันออกไป และท่อนที่ ๓ A ก็มีทำนองคล้ายกับท่อนที่ ๑ A เรียกบทเพลงแบบนี้ว่ารูปแบบ A B A

๖.๔ ซองฟอร์ม (Song Form) คือ การนำเทอร์นารีฟอร์มมาเติมส่วนหลักแรกลงอีก ๑ ครั้ง

จะได้รูปแบบ A A B A เรียกว่า ซองฟอร์ม โครงสร้างแบบนี้มักพบในเพลงทั่วๆ ไป

๖.๕ รอนโด (Rondo Form) คือ รูปแบบการเน้นที่ทำนองหลัก โดยในบทเพลงจะมีหลายแนวทำนอง ส่วนทำนองหลักหรือทำนองแรกจะวนอยู่ระหว่างทำนองอื่นๆ ที่ต่างกันออกไป อาจแบ่งได้ ๓ รูปแบบคือ