สารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม

ก๊าซไวไฟ, สารละอองลอยไวไฟ, ของเหลวไวไฟที่มีจุดวาปไฟไม่เกิน 93 C, ของแข็งไวไฟ, ของแข็งที่อาจลุกไหม้ได้ง่าย อันเนื่องมาจากการเสียดสีของสารหรือเสียดสีกับสารข้างเคียง เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสไตรซัลไฟด์, สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง, ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ, ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ เช่น ฟอสฟอรัสขาว, สารที่เกิดความร้อนได้เอง , สารที่สัมผัสน้าแล้วให้ก๊าซไวไฟ เช่น โลหะโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียมคาร์ไบด์, สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์, และ สารที่มีการหน่วงการระเบิด(ประเภทความเป็นอันตรายทางกายภาพ 2, 3, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 15, 17)

สารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม
ของเหลือทิ้งจากการอุปโภค บริโภค หรือสิ่งของเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้แล้วตลอดจนของที่มนุษย์ไม่ต้องการจะใช้ต่อไปแล้ว เรารวมเรียกว่า"ของเสีย" ของเสียบางชนิดไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น ของเสียจำพวกเศษอาหาร เศษกระดาษจากบ้านเรือนที่พักอาศัย แต่ของเสียบางชนิดเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อย่างมาก จำเป็นต้องเก็บหรือกำจัดทิ้งไปโดยระมัดระวังให้ถูกหลักวิชาการ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการปนเปื้อนหรือสะสมอยู่ใน "ห่วงโซ่อาหาร" จะเป็นสาเหตุหรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ เราเรียกของเสียประเภทนี้ว่า "ของเสียที่เป็นอันตราย" และในบางกรณีของเสียที่เป็นอันตรายอาจมีลักษณะของความเป็นอันตรายหลายประเภทรวมกัน

สารเคมีอันตราย หมายถึง สารเคมีที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลันหรือเรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (irritants)  สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท เป็นต้น ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ได้ ให้ความหมายของ สารเคมีอันตราย ว่าหมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

  1. มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็งหรือทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย
  2. ทำให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ
  3. มีกัมมันตภาพรังสี

ประเภทของสารเคมีอันตราย

ในประเทศไทยการแบ่งประเภทของสารเคมีอันตราย ได้ยึดระบบสหประชาชาติ ที่ใช้อยู่แล้วกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก (international classification system) ซึ่งแบ่งสารเคมีอันตรายออกเป็น 9 ประเภท

  1. สารที่ก่อให้เกิดการระเบิดได้ (explosives
  2. แก๊ส : ในรูปของเหลวอัดความดันหรืออยู่ในรูปของสารละลายภายใต้ความดัน
  3. ของเหลวไวไฟ
  4. ของแข็งไวไฟ ซึ่งสามารถลุกไหม้ได้เอง และสารที่เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วจะปล่อยแก๊สไวไฟออกมา
  5. สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
  6. สารพิษ และสารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ
  7. สารกัมมันตรังสี
  8. สารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อน
  9. สาร หรือวัตถุอื่น ที่อาจเป็นอันตรายได้

 

ตารางการจัดหมวดหมู่ของสารเคมีอันตราย

ประเภทรหัสคำจำกัดความตัวอย่างสารที่ก่อให้เกิดการระเบิดได้1.1สาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย จากการระเบิดอย่างรุนแรงวัตถุระเบิด, ยุทธภัณฑ์1.2สาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยการกระจายของสะเก็ด เมื่อเกิดการระเบิด แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย จากการระเบิดอย่างรุนแรงพลุ, ดอกไม้ไฟบางชนิด1.3สาร หรือสิ่งซึ่งก่อให้เกิดอันตราย จากเพลิงไหม้ ตามด้วยการระเบิด หรืออันตราย จากการกระจายของสะเก็ดบ้าง หรือเกิดอันตรายทั้งสองอย่าง แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย จากการระเบิดอย่างรุนแรงพลุ, ดอกไม้ไฟบางชนิด1.4สาร หรือสิ่งซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก ผลของการระเบิดจำกัดอยู่ในเฉพาะหีบห่อ ไม่มีการกระจายของสะเก็ดประทัด, ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในการฝึกซ้อม1.5สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่ถ้าเกิดการระเบิด จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับสารในข้อ 1.1Explosive slurries, emulsion, water gel (type E explosives)1.6สารที่ไม่ว่องไว หรือเฉื่อยชามาก ต่อการระเบิด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง จากการระเบิดแก๊ส2.1แก๊สไวไฟแก๊สหุงต้ม2.2แก๊สไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษ และไม่กัดกร่อนแก๊สไนโตรเจน2.3แก๊สพิษ (Poisonous gas)คลอรีน, ไซยาไนด์2.4แก๊สกัดกร่อนซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของเหลวไวไฟ3.1ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า -18°CGasoline3.2ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า -18 ถึง 23°Cแอซิโตน3.3ของเหลวที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 23 ถึง 61°Cเมทานอลของแข็งไวไฟ4.1ของแข็งซึ่งขนส่งในสภาวะปกติ เกิดติดไฟ และลุกไหม้อย่างรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุจากการเสียดสี หรือจากความร้อนที่ยังหลงเหลืออยู่ จากกระบวนการผลิต หรือปฏิกิริยาของสารเองฟอสฟอรัส หรือไม้ขีดไฟ4.2สารที่ลุกติดไฟได้เอง ภายใต้การขนส่งในสภาวะปกติ หรือเมื่อสัมผัสกับอากาศแล้ว เกิดความร้อน จนถึงลุกติดไฟฟอสฟอรัสขาว4.3สารที่เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้ว จะปล่อยแก๊สไวไฟออกมา หรือเกิดการลุกไหม้ได้เอง เมื่อสัมผัสกับน้ำ หรือไอน้ำแคลเซียมคาร์ไบด์สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์5.1สารซึ่งทำให้ หรือช่วยให้สารอื่นติดไฟได้ โดยการให้ออกซิเจน หรือสารออกซิไดซ์อื่น ซึ่งตัวมันจะติดไฟหรือไม่ก็ตามไนเตรท, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์5.2สารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้าง "-O-O-" ซึ่งเป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง และสามารถระเบิดสลายตัว หรือไวต่อความร้อน การกระทบกระเทือน หรือการเสียดสีเมธิล เอธิล คีโตนเปอร์ออกไซด์สารพิษ และสารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ6.1(a)สารพิษไซยาไนด์ อาเซนิก6.1(b)สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสารประกอบของแคดเมียม6.2สารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อวัคซีน, จุลินทรีย์สารกัมมันตรังสีสารกัมมันตรังสีทุกประเภทยูเรเนียม, ไอโซโทปของรังสีสารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนสารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนกรดซัลฟูริก กรดเกลือสาร หรือวัตถุอื่น ที่อาจเป็นอันตรายได้9.1สารที่เป็นอันตราย ซึ่งยังไม่จำกัดอยู่ในประเภทใด ใน 8 ประเภทข้างต้น แต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้น้ำแข็งแห้ง (dry ice)9.2สารที่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อสภาวะแวดล้อม9.3ของเสียอันตราย

สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

1. ของเสียที่เป็นพิษร้ายแรง ได้แก่ของเสียที่เกิดจากขยะประเภทโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมี่ยม โครเมียม สารหนู ยาฆ่าแมลง ซึ่งของเสียเหล่านี้จะก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ หากเข้าไปสัมผัสโดยตรง นอกจากนั้นยังสามารที่จะคงตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานมากอีกด้วย

ผลกระทบของสารเคมีที่มีต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง

ปัญหาด้านสุขภาพสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น และผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนัง ...

สารเคมีอันตรายอย่างไร

มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็งหรือทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย ทำให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ

ชื่อสารเคมีอันตราย มีอะไรบ้าง

หน้าที่:.