การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา

                การทำงานแบบมีส่วนร่วมนั้นไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน ระดับองค์กร หรือระดับประเทศนั้นว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนทัศน์ปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ (ownership) และจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ยินยอมปฏิบัติตาม (compliance) และรวมถึงตกลงยอมรับ (commitment) ได้อย่างสมัครใจ เต็มใจ และสบายใจ ได้มีการดำเนินการแก้ปัญหาความไม่เรียบร้อยในห้องเรียนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม หลังจากพยายามด้วยวิธีการใช้ไม้เรียว ใช้กฎกติกาที่ครูอาจารย์ออกกฎ หรือวางระเบียบให้นักเรียนปฏิบัติ แต่การยอมรับก็ยังไม่ได้ผลดีนัก ครูประจำชั้นได้ชวนนักเรียนในห้องให้ร่วมกัน “ตระหนัก” ถึงปัญหาในห้องเรียน เช่น ความสกปรก การแต่งกายนักเรียน การไม่มีระเบียบในห้องเรียน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมที่จะวางกติกากันเอง จนในที่สุดได้ระเบียบปฏิบัติประจำห้องที่ครูรับ เอามาจัดพิมพ์ติดไว้ในห้อง ปรากฏว่าได้รับการยอมรับและการปฏิบัติตามอย่างดีกว่ากฎกติกาที่ครูกำหนดกติกานั้น ตัวอย่างเช่นนี้ เป็นตัวอย่างที่สามารถจะนำไปใช้ในองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่จะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมที่จะเป็นเครื่องมือของการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพต่อไป

                ความหมายธรรมาภิบาล (Good  Governance)

                ธรรมาภิบาล  เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต  คือ ธรรม  กับ อภิบาล ความหมายตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525  ให้คำนิยามไว้ดังนี้ (ออกัส, 2546, หน้า 15)

                ธรรม : คุณภาพความดี  คำสั่งสอนในศาสนา  หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา  ความจริง  ความถูกต้อง  ความยุติธรรม  กฎ  กฎเกณฑ์  กฎหมาย  สิ่งทั้งหลาย  สิ่งของ

                อภิบาล : บำรุงรักษา  ปกครอง  ปกป้อง  หรือคุ้มครอง

                ดังนั้น  ธรรมาภิบาล  จึงมีความหมายตามนัยนี้ว่า “วิถีการปกครองที่ไปสู่ความดีงาม              ที่ยั่งยืน อันได้แก่  ความรุ่งเรืองและความผาสุกของปวงชนทั้งปวง”

                เมื่อวิเคราะห์ความหมายของคำว่า “Governance” ตามนิยามข้างต้นนี้ก็ควรมีความหมาย         รวมถึง “ระบบโครงสร้าง และกระบวนการต่าง ๆ ที่วาง กฎเกณฑ์ ความสัมพันธ์ ระหว่างเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของประเทศ  เพื่อที่ภาคต่าง ๆ ของสังคมและพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข”

                ธรรมาภิบาล (Good  Governance) (บวรศักดิ์  อุวรรณโณ, 2542, หน้า 52) เป็นศัพท์ใหม่ในวงวิชาการไทยที่ใช้กันมาหลังการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ในระยะหลังมานี้มีการนำมาใช้และอ้างอิงอยู่เป็นประจำในสาขาวิชารัฐศาสตร์  รัฐประศาสนศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาพัฒนาบริการ  โดยปรากฏควบคู่กันไปกับแนวคิดและศัพท์วิชาการจำพวกประชาธิปไตย  ประชาสังคม  การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาทางสังคมที่ยั่งยืน

                ธรรมาภิบาล (Good  Governance)  เป็นศัพท์ที่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้หลายคำและให้ความหมายไว้ค่อนข้างหลากหลาย ดังนี้

                องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น JICA กล่าวว่า ธรรมาภิบาลเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม โดยกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างบรรยากาศให้เกิดกระบวนการที่มีส่วนร่วมจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พึ่งตนเองได้และมี            ความยุติธรรมทางสังคม

                สถาบันพระปกเกล้า (2544, หน้า 7) องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายว่า                    ธรรมาภิบาล คือการมีส่วนร่วมของประชาชน และสังคมอย่างเท่าเทียมกัน และมีคำตอบพร้อม          เหตุผลที่สามารถชี้แจงได้  ธรรมาภิบาล  จึงมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เพราะเป็นหลักพื้นฐานในการสร้างความเป็นอยู่ของตนในสังคมทุกประเทศให้มีการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน   และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดำเนินการนี้ต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อกระจายอำนาจให้เกิดความโปร่งใส

                สถาบันพระปกเกล้า (2544, หน้า 7) ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (The Asian Development Bank) ให้ความหมายของธรรมาภิบาล คือ การมุ่งความสนใจไปที่องค์ประกอบที่ทำให้เกิดมีการ        จัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้แน่ใจว่า นโยบายที่กำหนดไว้ได้ผล หมายถึง การมีบรรทัดฐานเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ารัฐบาลสามารถสร้างผลงานตามที่สัญญาไว้กับประชาชนได้

                นอกจากองค์การต่าง ๆ แล้วยังมีบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ให้ความสนใจในหลักธรรมาภิบาล หลายท่านได้อธิบายความหมายของคำว่า “ธรรมาภิบาล” ไว้ดังนี้

                ชัยอนันต์  สมุทรวณิช (2541, หน้า 5) ให้ความหมายของคำว่า ธรรมาภิบาลว่า เป็นลักษณะการปกครองที่กลไกของรัฐทั้งการเมืองและการบริหารมีความแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ สะอาด โปร่งใส และรับผิดชอบเป็นการให้ความสำคัญกับภาครัฐ และรัฐบาลเป็นหลัก

                ธีรยุทธ  บุญมี (2541, หน้า 2) เป็นผู้ริเริ่มใช้และคำแปลของ Good  Governance ว่า           “ธรรมรัฐ”  ให้ความหมายว่า ความคิด ธรรมรัฐ เป็นการมอบอำนาจการเมือง  การปกครอง             แบบใหม่ที่แข็งทื่อตายแล้ว แต่ให้มีปฏิสัมพันธ์กับภาคประชาชน และให้มีลักษณะแยกย่อยมากขึ้น แนวคิดของธรรมรัฐ คือ การเป็นหุ้นส่วนกันในการปกครองและบริหารประเทศโดยรัฐ  ประชาชน เอกชน ซึ่งกระบวนการอันนี้จะก่อให้เกิดความเป็นธรรม ความโปร่งใส  ความยุติธรรม โดยเน้น การมีส่วนร่วมของคนดี ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากการที่ประชาชนเห็นว่าระบบราชการ ล้าหลัง ทุกส่วนมีความต้องการการปฏิรูป ต้องมีการปรับโครงสร้างราชการให้ดีขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น  และประชาชนต้องการให้มีการตรวจสอบโดยสื่อมวลชนและนักวิชาการ (สถาบันพระปกเกล้า, 2544, หน้า 76)  ธีรยุทธ  บุญมี (2541, หน้า 2) ยังได้อธิบายไว้ว่าธรรมาภิบาลเป็นกระบวนการของความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างภาครัฐ  สังคม  เอกชน  และประชาชนซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดิน มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้  และมีความร่วมมือของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการที่จะสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดในสังคมไทยนั้น ธีรยุทธ  บุญมี  ได้เสนอให้ปฏิรูประบบ 4 ส่วน คือ ปฏิรูปภาคราชการ ปฏิรูปภาคธุรกิจเอกชน ปฏิรูปภาคเศรษฐกิจและสังคม และปฏิรูปกฎหมาย

                นฤมล  ทับจุมพล (2541, หน้า 64)  โดยได้ให้ความหมายของ Good  Governance ว่าเป็นลักษณะและวิถีทางของการที่มีการใช้อำนาจ ทางการเมืองเพื่อจัดการงานของ บ้านเมืองโดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อพัฒนา การมีธรรมาภิบาลจะช่วยให้มีการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของประเทศ  ทั้งนี้เพราะรัฐบาลสามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มีระบบที่ยุติธรรม มีกระบวนการทางกฎหมายที่มีอิสระ  ที่ทำให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา              มีระบบราชการ ระบบนิติบัญญัติ และสื่อมวลชนที่มีความโปร่งใสรับผิดชอบ ตรวจสอบได้ (สถาบันพระปกเกล้า, 2544, หน้า 7)

                นครินทร์  เมฆไตรรัตน์ (2541, หน้า 81) ให้ความหมายของธรรมรัฐ หรือ Good  Governance ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดไปในขั้นพื้นฐาน ซึ่งจากเดิม เป็นการจัดการฝ่ายเดียว       จากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง  ในลักษณะของการจัดการปกครอง (Governance) มาเป็นการเปลี่ยน      การปกครองมาเป็นลักษณะที่เป็นการสื่อสารกันสองทาง ระหว่างภาครัฐกับสังคม

                ไพโรจน์  พรหมสาส์น (2541, หน้า 16 – 17) กล่าวว่า Good  Governance หมายถึง                การบริหารการปกครอง ที่มีการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรในการตอบสนองต่อปัญหา ของประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยการบริหารการปกครองที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation)  โปร่งใส (Transparency)  เสมอภาค (Equity)  ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness)  เป็นธรรม (Rule of Law)  และรับผิดชอบต่อประชาชน (Effectiveness /Accountability)

                เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (นายโคฟี่  อันนัน) กล่าวว่า ธรรมาภิบาล เป็นแนวทางในการบริหารของรัฐ ที่ก่อให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักนิติธรรมสร้างประชาธิปไตย           มีความโปร่งใส  และเพิ่มประสิทธิภาพ (สถาบันพระปกเกล้า, 2544, หน้า 8)

                วรภัทร  โตธนะเกษม (2541, หน้า 20) กล่าวว่า Good  Governance คือ การใช้สิทธิของความเป็นเจ้าของ (Owner Rights) ที่จะปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนเอง โดยผ่านกลไกที่        เกี่ยวข้องในการบริหาร กรณีของภาครัฐ ผู้เป็นเจ้าของก็คือประชาชน ซึ่งใช้สิทธิของตนเองผ่าน         การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ขณะที่ผู้ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภาเพื่อกำกับดูแล              ผู้บริหารประเทศ คือ รัฐบาล ให้บริหารประเทศไปในทางที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

                วรลักษณ์  มนัสเอื้อศิริ  (2541, หน้า 14 อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า, 2544, หน้า 9)             ให้คำอธิบายว่า ธรรมรัฐ  หมายถึง การบริหารจัดการประเทศที่ดีในทุก ๆด้าน และทุก ๆ ระดับ   การบริหารจัดการที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีหลักคิดว่า ทั้งประชาชน ข้าราชการ และผู้บริหารประเทศ เป็นหุ้นส่วนกันในการกำหนดชะตากรรมของประเทศ  แต่การเป็นหุ้นส่วนไม่ใช่                หลักประกันที่จะให้เกิดธรรมรัฐหรือ Good  Governance ยังต้องหมายถึง  การมีกฎเกณฑ์  กติกา         ที่จะทำให้เกิด ความโปร่งใส  ตรวจสอบได้  ประสิทธิภาพ  ความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วม         ของสังคม ในการกำหนดนโยบายการบริหารก็ต่อเมื่อมีหลักคิดว่า ทั้งประชาชน ข้าราชการ และ             ผู้บริหารประเทศ เป็นหุ้นส่วนกันในการกำหนดชะตากรรมของประเทศ  แต่การเป็นหุ้นส่วนไม่ใช่หลักประกันที่จะให้เกิดธรรมรัฐหรือ Good  Governance ยังต้องหมายถึง การมีกฎเกณฑ์  กติกาที่จะทำให้เกิด ความโปร่งใสตรวจสอบได้           

                บวรศักดิ์   อุวรรณโณ (2542, หน้า 17 – 19) อธิบายว่า  ธรรมาภิบาล  มาจากคำว่า “ธรรม” หมายถึง  “คุณงามความดี  ความถูกต้อง”  และ “อภิบาล”  หมายถึง  “บำรุงรักษา  ปกครอง” ดังนั้น “ธรรมาภิบาล” จึงหมายถึง “การปกครองบำรุงรักษาด้วย  ความดี  ความถูกต้อง”  ตรงกับคำว่า Good  Governance ในภาษาอังกฤษ  ธรรมาภิบาล  ในความหมายสากล  หมายถึง  ระบบโครงสร้างและกระบวนการต่าง ๆ ที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของ

ประเทศที่ภาคต่าง ๆ ของสังคมจะพัฒนาและอยู่กันอย่างเป็นสุข  ธรรมาภิบาลแนวสากลนี้เน้นที่         กฎเกณฑ์ (Norm)  ที่วางระบบโครงสร้าง กระบวนการและความสัมพันธ์ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน  และภาคประชาสังคมในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ  การเมืองและสังคมของรัฐ ซึ่งเป็น การบริหารจัดการที่ดี

                ประเวศ  วะสี (2542, หน้า 4) ให้ความหมายของคำว่าธรรมาภิบาล คือ  ความโปร่งใส ความถูกต้องของการดำเนินงานของภาครัฐภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ธรรมาภิบาลเป็นเสมือนพลังที่จะผลักดันที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาของประเทศชาติ (สถาบันพระปกเกล้า, 2544, หน้า 9)

                นฤมล  ทับจุมพล (2541, หน้า 63)  ได้อ้างบทปาฐกถาของ นายอานันท์  ปันยารชุน ซึ่งได้อธิบายถึง ความหมายของ ธรรมาภิบาลว่าเป็นผลลัพธ์ของการจัดการกิจการ กิจกรรมซึ่งบุคคล และสถาบันทั่วไป ภาครัฐ และเอกชน มีผลประโยชน์ร่วม ได้กระทำลงไปในหลายทาง มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลาย และขัดแย้งกันได้ (ปาฐกถา “ธรรมรัฐกับอนาคตของประเทศไทย” 25 มีนาคม 2541)

                รัชนา   ศานติยานนท์ (2544, หน้า 19) อธิบายความหมายของ Good  Governance ว่า         หมายถึง การบริหารจัดการที่จะทำให้งานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยผู้ที่อยู่ในองค์กรทุกระดับมีความพึงพอใจ

                สุวกิจ   ศรีปัดถา (2545, หน้า 5 – 6 ) ได้ให้ความหมายของ ธรรมาภิบาล ไว้หลายนัย ดังนี้ ธรรมาภิบาล หมายถึง กติกา หรือกฎเกณฑ์ในการบริหาร หรือปกครองที่ดี เหมาะสมและเป็นธรรม ที่ใช้ในการธำรงรักษาบ้านเมืองและสังคม เป็นการบริหารจัดการที่จะทำให้งานสำเร็จได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยที่ผู้ที่อยู่ในองค์กรทุกระดับมีความพึงพอใจ คำว่า “ธรรมาภิบาล” มีความหมายตรงกับคำว่า “การบริหารจัดการที่ดี”              และ “บรรษัทภิบาล”

                จากการศึกษาความหมายและคำอธิบายความหมายของคำว่าธรรมาภิบาลหรือคำว่า             Good  Governance พอสรุปได้ว่า ธรรมาภิบาลนั้นใช้ได้ในภาษาไทย ได้หลายคำ เช่นคำว่า ธรรมรัฐ  ประชารัฐ  คุณาภิบาล การบริการจัดการที่ดี  การบริหารจัดการเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ หรือความโปร่งใส ถูกต้องและเป็นธรรม หรือการรักษาคุ้มครองให้สังคมเข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

                หลักการของธรรมาภิบาล

                ออกัส (2546, หน้า 16 – 18) ได้อธิบายถึงหลักการของธรรมาภิบาล ว่าหลักการของ            ธรรมาภิบาล จะต้องประกอบด้วย หลัก 9 ประการ คือ

1.       ประการที่ 1 เคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์  หมายความว่า มนุษย์ทุกคน ทุกวัย

ทุกเพศทุกเชื้อชาติ ทุกภูมิหลัง ฯลฯ ต่างก็มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น หากผู้ใดไม่เห็นคนอื่นเป็นคนคน ๆ นั้นก็คงไม่นับเป็นคนได้

2.       ประการที่ 2 นิยมเสรีภาพและความเสมอภาค หมายความว่า การรับรองเสรีภาพและ

ความเสมอภาคของบุคคล กลุ่มบุคคล เป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

3.       ประการที่ 3 สร้างความยุติธรรม หมายความว่า การปฏิบัติต่อกันระหว่างกลุ่มก็ต้อง

เป็นไปด้วยความยุติธรรมตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ หรือตกลงเห็นพ้องกันตามแนวทางสันติ หรือตามแนวทางการใช้ปัญญาแทนการใช้อำนาจ อาวุธ และเงินตรา

4.       ประการที่ 4 มุ่งมั่นสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล หมายความว่าองค์กรภาครัฐ

รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาคเอกชน ต่างต้องมุ่งไปสู่ความมุ่งมั่นในการสร้างประสิทธิภาพและ           ประสิทธิผลให้เกิดขึ้นในทุกระบวนการปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันใน      ลัทธิทุนนิยม

5.       ประการที่ 5 สร้างความสมดุลเพื่อความยั่งยืน หมายความว่า องค์ประกอบทุกส่วนใน

ธรรมาภิบาลนั้นต้องเกิดความสมดุล  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์ใด วัตถุประสงค์หนึ่ง หรือเกิดความเชื่อในหลักการหนึ่งมากเป็นพิเศษ จะนำไปสู่ความไม่สมดุลแล้วก็จะทำให้สิ่งนั้นเสื่อมถอยไปอย่างรวดเร็ว  ไม่มีทางที่จะเกิดความยั่งยืนได้

6.       ประการที่ 6  ความโปร่งใส  หมายความว่า ความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลให้เกิด

ความครบถ้วนตรงตามข้อเท็จริง ตรงตามหลักการที่ใช้อ้างอิง ทันการ และสะดวกที่จะนำไปใช้งานได้แต่ความโปร่งใสมิได้ครอบคลุมถึงการเปิดเผยสิทธิส่วนบุคคล แผนงานที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือกำลังดำเนินการในอนาคต

7.       ประการที่ 7 ส่งเสริมการค้าเสรี หมายความว่า รัฐต้องดำเนินการให้เกิดการแข่งขัน

ทางการค้าเสรี ขจัดการผูกขาดตัดตอนอันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค หรือประชาชน รัฐต้องกำหนด นโยบายที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายรับรองและสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เสรี และเกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย

8.       ประการที่ 8 การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงหมายความว่ารัฐบาลต้องมีมาตรการ

ในการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงตลอดจนการประพฤติมิชอบจากฝ่ายการเมืองข้าราชการ

ประจำนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้กระทำการเอง ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดการ          ฉ้อราษฎร์บังหลวง

9.       ประการที่ 9 ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ หมายความว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนใน

ธรรมาภิบาลต้องมีความเชื่อความอยากและความมุ่งมั่นที่จะประมวลวิธีปฏิบัติที่ได้ผลดีแล้วนำมาใช้และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไป อันเป็นนัยสำคัญของความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ

                ดุลยภาพ กับความสมดุล ทำให้เกิดความยั่งยืน คุณลักษณะของธรรมาภิบาล มีความสมดุลอยู่ในตัวในหลายลักษณะ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ หรือผลที่เกิดจากการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลจะนำไปสู่ความสมดุลระหว่าง “ความรุ่งเรือง” กับ “ความผาสุก” ซึ่งจะต้องมีดุลยภาพ มิเช่นนั้นความยั่งยืนจะไม่เกิดขึ้น เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้หากเสียดุลยภาพแล้วก็ย่อมจะดำรงสภาพนั้น ๆ อยู่ภายในเวลาที่สั้นกว่าสิ่งที่ดุลยภาพ หรือหากว่ากระบวนการของการนำเอาธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติได้คำนึงถึงความสมดุลของ “การบังคับ” กับ “ความสมัครใจ” ในการบังคับใช้ด้วยกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ของสังคม ย่อมนำไปสู่ดุลยภาพของธรรมาภิบาล

                ดุลยภาพแห่งอำนาจ ธรรมาภิบาล ควรต้องเกิดความสมดุล และเกิดดุลยภาพขึ้นในระหว่างอำนาจทั้ง 4 กลุ่ม คือ

1.       อำนาจการบริหาร ผู้มีหน้าที่บริหาร ก็ต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารจัดการที่สามารถ

นำไปสู่เป้าหมย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการสร้างสภาวะการนำให้ปรากฎแก่ผู้มีผลประโยชน์ร่วมทุกกลุ่ม ดังนั้น อำนาจบริหารจึงควรเป็นอิสระจากอำนาจอื่น ๆ อีก 3 อำนาจ

2.       อำนาจนิติบัญญัติ ผู้ที่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ ต้องรับผิดชอบในการปฏิรูปกระบวนการ

ของนิติบัญญัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความสงบสุขและเกื้อหนุนอำนาจอื่น ๆ อีก 3 อำนาจ ให้เกิดความเข้มแข็งพื้นฐานที่มีกฏหมายรองรับการใช้อำนาจ

การบริหารแบบมีส่วนร่วม คืออะไร

การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่บุคคลผู้บริหารใช้การจูงใจให้บุคคลผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมรับผิดชอบ เพื่อการพัฒนา งานที่ปฏิบัติให้มีคุณภาพสูงสุด

การบริหารงานในสถานศึกษา มีกี่ด้าน

กระทรวงศึกษาธิการ (2546 , หน้า 34) ได้ก าหนดขอบข่ายและกิจการการบริหารและ จัดการสถานศึกษา ไว้ 4 ด้าน 1. งานบริหารวิชาการ 2. งานบริหารงบประมาณ 3. งานบริหารบุคลากร 4. งานบริหารทั่วไป จากขอบข่ายการบริหารสถานศึกษาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้บริหารจะต้องให้ ความส าคัญในการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา

การบริหารสถานศึกษา คืออะไร

การบริหารสถานศึกษา หมายถึง การดำเนินงานทุกอย่างในโรงเรียนให้เป็นไปตาม จุดมุ่งหมายการศึกษาหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คือ ให้นักเรียนมีสุขภาพดี มีคุณธรรม และเป็นพลเมืองที่ดี สามารถใช้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนมีความสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม (บันลือ พฤกษะวัน (2548 : 57)

หลักในการบริหารสถานศึกษา มีอะไรบ้าง

1. จัดทำแผนงานวิชาการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือนโยบายหลัก 2. การบริหารงานวิชาการมุ่งความร่วมมือการทำงาน 3. การมีเอกภาพในจุดมุ่งหมาย จะทำให้การดำเนินการสอดคล้องสัมพันธ์และเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน 4. ควรกระจายอำนาจไปให้ผู้ปฏิบัติ 5. ส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานปรับปรุงตนเองด้วยวิชาการ 6. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการพัฒนา ...