พระสงฆ์เป็นผู้ควรคำนับ

ระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระสงฆ์

การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์

๑. ถ้านั่งเก้าอี้อยู่หากพระสงฆ์เดินมานิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม

๒. ถ้าคฤหัสถ์ (อุบาสก-อุบาสิกา) นั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับเมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า นิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น

พระสงฆ์เป็นผู้ควรคำนับ

การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์

  • นิยมจัดอาสนะสงฆ์หรือเก้าอี้ไว้ต่างหากจากฆราวาส หรืออุบาสก-อุบาสิกา
  • ถ้าสถานที่ชุมชนนั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้เฉพาะพระสงฆ์ หากท่านมาต้องลุกหลีกไป ให้โอกาสแก่พระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า
  • หากชายจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งด้านซ้ายของพระสงฆ์
  • สตรีเพศ (อุบาสิกา) ไม่นิยมนั่งแถวเดียวกันหรืออาสนะยาวเดียวกัน เว้นแต่กรณีจำเป็น ต้องมีบุรุษคั่นอยู่

การตามส่งพระสงฆ์

  • ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้
  • ถ้านั่งกับพื้น นิยมไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้านิยมกราบหรือยกมือไหว้ตามควรแก่กรณี
  • เจ้าภาพหรือประธานพิธี ต้องตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงานหรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถพ้นออกไปจากบริเวณงานแล้ว ก่อนที่ท่านจะจากไปนิยมน้อมตัวลงไหว้

เมื่อพระสงฆ์เดินตามหลังมา

๑. หลีกทางชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์

๒. ยืนตรง มือทั้งสองต้องประสานกันไว้ข้างหน้า หันหน้ามามองท่าน

๓. เมื่อพระสงฆ์เดินมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้

๔. ถ้าท่านพูดด้วยนิยมประนมมือพูดกับท่าน ถ้าไม่พูดด้วยก็อยู่ในท่าปกติ

วิธีเดินตามหลังพระสงฆ์

  • เดินตามไปเบื้องหลัง โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่านระยะห่างจากท่าน ๒-๓ ก้าว
  • กิริยาเดินตามหลัง ต้องสำรวมเรียบร้อย
  • นิยมไม่แสดงความเคารพผู้อื่นขณะเดินตามหลังท่าน
  • นิยมไม่พูดคุยทักทายปราศัยกับผู้อื่น

คำพูดกับ

แทนตัวท่าน

ชาย

หญิง

คำแทนตัวผู้พูด

คำรับ

คำแทนตัวผู้พูด

คำรับ

๑.

สมเด็จพระสังฆราช

ฝ่าพระบาท
หรือฝ่าบาท

เกล้ากระหม่อม
หรือกระหม่อม

พ่ะย่ะค่ะ

กระหม่อมฉัน
หรือหม่อมฉัน

เพคะ

๒.

สมเด็จพระราชาคณะและ
พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป
(จะมีคำว่า ราช, เทพ, ธรรม, หรหมหรือสมเด็จนำหน้าเป็น
เครื่องสังเกตง่าย ๆ)

พระเดชพระคุณ
หรือใต้เท้า

เกล้าหรือ
เกล้ากระผม

ครับกระผม
หรือ
ขอรับกระผม
หรือครับผม

ดิฉัน
หรือ
อิฉัน

เจ้าค่ะ

๓.

- พระราชาคณะชั้น
สามัญลงมา
- พระราชาคณะ
- พระครูสัญญาบัตรและ
พระครูฐานานุกรม
- พระเปรียญ
- พระอันดับธรรมดา
- พระผู้เฒ่า
- พระสงฆ์ผู้เป็นญาติ

ท่านเจ้าคุณหรือท่าน
ท่านพระครูหรือท่าน

ท่านมหาหรือท่าน
พระคุณเจ้าหรือท่าน
หลวงพ่อหรือหลวงปู่
ใช้ตามฐานะเดิมที่เป็น
เช่น หลวงลุง หลวงอา
หลวงน้า หลวงพี่ ฯลฯ

กระผม
หรือ
ผม

ครับ

ดิฉัน
หรือ
อิฉัน

เจ้าค่ะ
หรือ
ค่ะ

๔.

คำพูดกับพระธรรมทั่วไป
ไม่รู้จักไม่ทราบสมณศักดิ์
ควรใช้คำพูดกลาง ๆ

พระคุณเจ้าหรือท่าน

กระผมหรือผม

ครับ

ดิฉัน
หรือ
อิฉัน

เจ้าค่ะ
หรือ
ค่ะ

สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลีแปลว่า หมู่ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตรปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย ที่พระบรมศาสดา สั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ในทางพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท โดยปรากฏในบทสวดสังฆคุณ ดังนี้

      ยทิทํ ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ
      จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุคคล
      อันหมายถึงพระสงฆ์ฝ่ายธรรม ๔ และพระสงฆ์ฝ่ายวินัย ๔

      พระสงฆ์ฝ่ายธรรม หมายถึง พระอริยบุคคล ๔ ประเภท คือ
      พระโสดาบัน (สุปฏิปณฺโณ ปฏิบัติดี , งาม)
      พระสกทาคามี (อุชุปฏิปณฺโณ ปฏิบัติตรง , ถูกต้อง)
      พระอนาคามี (ญายปฏิปณฺโณ ปฏิบัติชอบ , เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์)
      พระอรหันต์ (สามีจิปฏิปณฺโณ ปฏิบัติสมควร, เหมาะสม)

      พระสงฆ์ฝ่ายวินัย หมายถึง พระภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์ แปลว่า หมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่า ภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุสงฆ์จัดเป็นพระสงฆ์โดยสมมุติ จึงเรียกว่า สมมุติสงฆ์ จัดเป็น ๔ วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาต เพื่อปฏิบัติสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค (ภิกษุ ๔ รูป) ปญฺจวรรค (ภิกษุ ๕ รูป) ทสวรรค (ภิกษุ ๑๐ รูป) วิสติวรรค (ภิกษุ ๒๐ รูป) แต่ถ้าพระภิกษุ ๒-๓ รูป เรียกว่า คณะ ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล

      อนุตฺตรํ ปุญฺญเขตฺตํ โลกสฺส พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
      อาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาตร)
      ปาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (จัดไว้รอท่าให้ท่านมารับ เช่น การนิมนต์มาฉันที่บ้าน)
      ทกฺขิเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การรับทักษิณาทาน (การเอ่ยปากขอเองจากท่าน)
      อฺญชลีกรณีโย พระสงฆ์เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (การประนมมือ)

สงฆ์ คือ หมู่, ชุมนุม
      ๑. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล (รายตัวบุคคล) ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจากภิกขุสงฆ์ คือหมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์

      ๒. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็น สงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง, ถ้าเป็นชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียกว่า คณะ ถ้ามี ภิกษุรูปเดียว เป็น บุคคล