โครงการในพระราชดำริโครงการใดที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม

                                                                        

นานัปการที่พสกนิกรชาวไทยได้รับพระเมตตาจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎรและพยายามหาหนทาง  วิธีการแก้ไขเพื่อให้ความเดือดร้อนคลี่คลายไม่ใช่เพียงเฉพาะหน้า  แต่เป้าหมายคือคลายเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

กรุงเทพมหานคร  พื้นที่เมืองหลวงก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ประสบปัญหาหลายด้าน  โดยเฉพาะปัจจัยจากการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของความเป็นเมือง ส่งผลให้การเกิดและไหลเข้ามาสู่เมืองมากขึ้น  การผุดขึ้นของที่อยู่อาศัยจำนวนมากทั้งบ้าน คอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ ขึ้นมารองรับจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  การเกิดขึ้นของที่อยู่เหล่านี้สร้างปัญหาชัดเจนอย่างหนึ่งคือทับพื้นที่ทางน้ำไหล  หรือพื้นที่เดิมที่เคยเป็นคลอง  ผลลัพธ์คือ กรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขังแทบทุกครั้งที่ฝนตกหนัก ไม่รวมถึงสภาพพื้นที่โดยทั่วไปที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ  มีความเสี่ยงน้ำท่วมสูงอยู่แล้ว  ข้างต้นคือที่มาของหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำคัญที่สร้างประโยชน์ บรรเทาความเดือดร้อนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในชื่อ “โครงการแก้มลิง”

โครงการในพระราชดำริโครงการใดที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม

ตัวอย่าง โครงการแก้มลิงที่มาจากโครงการพระราชดำริ  ได้แก่  “โครงการแก้มลิงบึงหนองบอน”  จัดสร้างเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฝั่งตะวันออก  ใช้บริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือน พ.ค.- พ.ย. โดยสามารถรับน้ำส่วนเกินจากคลองหนองบอนและคลองมะขามเทศ  เมื่อน้ำในพื้นที่ลดลง  จึงค่อยๆปล่อยน้ำออกจากบึงลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และใช้พื้นที่ดังกล่าวเก็บกักน้ำฝนเพื่อใช้ในการอุปโภคช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือน ธ.ค.-เม.ย. สำหรับแก้มลิงในพื้นที่ดังกล่าวสามารถเก็บกักน้ำปริมาณ  5,000,000  ลบ.ม. ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนของบึงหนองบอน ถูกพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะและเป็นศูนย์กีฬาทางน้ำแห่งแรกของกรุงเทพฯ นับเป็นการเพิ่มประโยชน์ในการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าสูงสุด

“โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย” ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด  เนื่องจากคลองมหาชัย และคลองสนามชัย ถือเป็นแหล่งรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้บริเวณน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และ กรุงเทพฯ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 76.42 ตร.กม. โดยใช้คลองต่างๆเป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำซึ่งมีความจุประมาณ 6,000,000 ลบ.ม. มีสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ จำนวน 25 แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพฯ จำนวน 12 แห่ง  อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดสมุทรสาคร 10 แห่ง  และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดสมุทรปราการ  3 แห่ง แก้มลิงพื้นที่คลองมหาชัย-คลองสนามชัย ช่วยลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมขัง  น้ำหลากและอุทกภัยที่เกิดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้เป็นอย่างดีเนื่องจากสามารถบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกได้กว่า 10,000,000 ลบ.ม.ต่อวัน

“โครงการพระราชดําริคันกั้นน้ำด้านตะวันออก” เกิดขึ้นภายหลังน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี 2526 โดยกรุงเทพฯ ร่วมกับกรมทางหลวง กรมชลประทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อสร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออก และด้านเหนือของกรุงเทพฯ ไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ชุมชนชั้นใน โดยก่อสร้างคันกั้นน้ำเป็นคันดินตั้งแต่พื้นที่ตอนบนบริเวณถนนพหลโยธิน เขตบางเขน ยาวตามแนวถนนสายไหม หทัยราษฎร์ ร่มเกล้า และกิ่งแก้ว เพื่อระบายลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ ความยาวประมาณ 72 กม. การก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2528 ปัจจุบันมีการยกระดับถนนเป็นคันกั้นน้ำทดแทนคันดินเดิมซึ่งคันกั้นน้ำดังกล่าวสามารถป้องกันน้ำไหลบ่าจากด้านตะวันออกได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา

อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาน้ำท่วม  “น้ำเสีย” เป็นสิ่งที่มักมาคู่กับความเป็นเมือง  และเป็นที่มาของการแก้ปัญหาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำคัญอีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ “โครงการบำบัดน้ำเสีย” ได้แก่ “โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน” ในหลวง ร.9 ได้พระราชทานพระราชดำริไว้ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. และวันที่ 20 เม.ย. 2528 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อช่วยระบายน้ำและบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสนโดยใช้รูปแบบ “เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ” มีลักษณะการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration) ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริบึงมักกะสัน เมื่อบำบัดน้ำเสียจนเป็นน้ำที่ใสสะอาดแล้วก็จะระบายออกสู่คลองธรรมชาติตามเดิม

นอกจากจะเป็นโรงบำบัดนำเสียแล้ว บึงมักกะสันยังเป็นสวนสาธารณะและสถานที่กักเก็บน้ำในการช่วยบรรเทาน้ำท่วม ทำให้ชาวชุมชนบึงมักกะสันมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการที่มีสภาพแวดล้อมดี

โครงการในพระราชดำริโครงการใดที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม

“โครงการบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 " นอกจากพระราชดำริว่า “การใช้วิธีทางธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศลงไปในน้ำ โดยทำเป็นระบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)” พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในเขตกรุงเทพฯ ด้วยวิธีการทางธรรมชาติผสมผสานกับการใช้เครื่องกลเติมอากาศ  ในหลวง ร.9 ยังพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทดลองบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการเติมอากาศในบึงพระราม 9 ปัจจุบันโครงการบึงพระราม 9 นอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านการบำบัดน้ำเสียจากคลองลาดพร้าว ตามพระราชดำริแล้วบริเวณพื้นที่โดยรอบบึงยังเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนประมาณ 500 หลังคาเรือน ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากบึงน้ำแห่งนี้ด้วย ทั้งในด้านการใช้น้ำจากบึง ซึ่งผ่านกระบวนการบำบัดจนมีสภาพที่ใสสะอาด สามารถนำไปใช้ชำระล้างทำความสะอาด  ยังใช้เป็นแหล่งในการจับสัตว์น้ำ อาทิ  ปลา กุ้ง ฯลฯ ที่มีอยู่ในบึงตามธรรมชาติอีกด้วย สร้างประโยชน์ในการหาเลี้ยงชีพ

สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพฯได้ดำเนินการพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมของบึงพระราม 9 ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย โดยจัดสร้าง “ถนนแอสฟัลต์” ผสมร้อนพร้อมไหล่ทางลาดยาง และติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง โดยรอบบริเวณบึงทั้งหมด เพื่อทำให้ชุมชนบริเวณโดยรอบบึงพระราม 9 ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการพระราชดำริได้รับการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความสวยงาม และสะดวกปลอดภัยแก่ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบหรือผู้ที่เข้ามาใช้สถานที่แห่งนี้ออกำลังกาย พักผ่อน

นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เผยว่า ด้วยพระปรีชาสามารถที่ทรงเห็นว่ากรุงเทพฯ มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วประกอบกับเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ  เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่รับน้ำ หรือกักเก็บน้ำฝนชั่วคราว  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่มีต่อพสกนิกร

มาถึงตอนนี้จะเห็นว่าโครงการต่างๆไม่เพียงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำเสีย แต่ยังสร้างประโยชน์หลายอย่างทั้งช่วยเก็บกักน้ำช่วงฤดูฝน บำบัดน้ำเสียเป็นน้ำใช้  บางแห่งยังสามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการพักผ่อน เล่นกีฬาได้อีกด้วย แม้โครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากปัญหาในเมืองหลวง แต่หลายโครงการไม่เพียงผู้คนในเมืองที่ได้รับประโยชน์ แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงบริเวณใกล้เคียงอย่างพื้นที่ปริมณฑลที่อยู่ติดกัน ซึ่งในจำนวนนี้อาจหมายถึงการช่วยลดปัญหาที่จะกระทบไปยังระดับภูมิภาคอื่นๆด้วย.

โครงการในข้อใดป้องกันปัญหาน้ำท่วม

โครงการแก้มลิง โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำริไว้แก้ปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย และยังคงใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมจวบจนปัจจุบัน

โครงการในพระราชดำริใดถือเป็นภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของรัชกาลที่ 9

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับ สูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย นอก จากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของ ...

โครงการแก้มลิงช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยอย่างไร

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง

รัฐบาลควรแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างไร

1. การลดอัตราการไหลของน้ำโดยการใช้วิธีต่างๆเพื่อชะลอการไหลของน้ำ 2. การควบคุมปริมาณการไหลโดยกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำหรือแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลมากเกินไปโดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วม 3. การจำกัดเส้นทางการไหลของลำน้ำโดยการสร้างพนังกั้นน้ำหรือคลอง