การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ความเป็นมาของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทย ทำให้พวกเราชาวไทยได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจน ห่างไกล และทุรกันดาร ซึ่งพระองค์จะทรงใช้เวลาประทับอยู่ตามเขตภูมิภาคมากกว่าในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาข้อมูลที่แท้จริงจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่ เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสังเกตการณ์ และสำรวจสภาพทางภูมิศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้สำหรับการพระราชทานแนวทางเพื่อการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริต่อไป

พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแก่ปวงราษฎรไทยทั้งหลายในระยะต้นแห่งการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น เป็นพระราชดำริด้านการแพทย์และงานสังคมสงเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว กิจการด้านการแพทย์ของไทยยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร อีกทั้งการบริการสาธารณสุขในชนบท ก็ยังมิได้แพร่หลาย ๐พระราชกรณียกิจในระยะช่วงแรก ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๕๐๕ จะเป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ยังไม่ได้เป็นโครงการเต็มรูปแบบอย่างในปัจจุบัน

             พระราชดำริเริ่มแรกที่เป็นโครงการช่วยเหลือประชาชนเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงนำพันธุ์ปลาหมอเทศจากปีนัง ซึ่งได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงขององค์การอาหาร และการเกษตร แห่งสหประชาชาติ เข้าไปเลี้ยงในสระน้ำของพระที่นั่งอัมพรสถาน และเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศนี้แก่กำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ เพื่อจะได้นำไปเลี้ยงเผยแพร่ขยายพันธุ์แก่ราษฎรในหมู่บ้านของตน เพื่อจะได้มีอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น

             โครงการพระราชดำริที่นับได้ว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรก เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรถบูลโดเซอร์ ให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวร ไปสร้างถนนเข้า ไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ราษฎรสามารถสัญจรไปมา และนำผลผลิตออกมาจำหน่ายยังชุมชนภายนอกได้สะดวกขึ้น

การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ มีหลักการสำคัญ ดังนี้

๑. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างรีบด่วน เช่น กรณีเขตพื้นที่อำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่ง เป็นเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาและเป็นพื้นที่ยากจนในเขตอิทธิพลของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ขบวนการพัฒนาของ รัฐยังเข้าไปไม่ถึง ในช่วงระยะเวลานั้น ภายหลังจากมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เข้าไปดำเนินการแล้ว ปัญหาความมั่นคงที่เคยมีอยู่ก็ลดน้อยถอยลง และหมดสิ้นไปในที่สุด แม้กระทั่งปัจจุบัน โครงการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และจะมีผลระยะ ยาวต่อไปคือ การแก้ไขปัญหาจราจร และการป้อง กันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น๒. การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอนพระองค์ทรงเน้นการพัฒนาที่สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ในลักษณะของการพึ่งตนเอง โดยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานภาพ เมื่อราษฎรสามารถพึ่งตนเองได้ ก็จะสามารถออกมาสู่สังคมภายนอกอย่างไม่ลำบาก๓. การพึ่งตนเองเมื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้แล้ว ก็จะเป็นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ ในลักษณะของการพึ่งตนเอง ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เน้นหลัก “การพึ่งตนเอง” เพื่อพัฒนาแก้ไข ปัญหาความยากจนของราษฎร เช่น โครงการธนาคารข้าว โครงการธนาคารโค-กระบือ และโครงการพัฒนาที่ดินตาม พระราชประสงค์ “หุบกระพง” อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ประชา ชนมีที่อยู่อาศัยทำกิน และรวมตัวกันในรูปของกลุ่มสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน และการทำมาหากินร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนั้น โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ในระยะหลังก็ล้วนแต่เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยตัวเองได้ เพราะเป็นโครงการ ที่ สนับสนุนให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพ เช่น การ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การให้การอบรมความรู้สาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการเกษตร และศิลปาชีพพิเศษ เป็นต้น๔. การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสมด้วยพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ราษฎรได้รับในสิ่งที่ขาดแคลน และต้องมีตัวอย่างของความสำเร็จ จึงทรงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง วิจัย และแสวงหาความรู้สมัยใหม่ที่ราษฎรรับได้ และนำไปดำเนินการเองได้ โดยต้องเป็นวิธีการที่ประหยัด เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม๕. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติจากการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงโดยมิได้มีการฟื้นฟูขึ้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงสนพระราชหฤทัยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ของราษฎรในพื้นที่ต่างๆ๖. การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไป สู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรม และบริการเป็นหลัก ทำให้สังคมไทยเริ่ม เปลี่ยนจากสังคมชนบท สู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ปัญหาที่เกิดตามมาคือปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการ กำจัดน้ำเสีย ใน กรุงเทพมหานคร และในเมืองหลัก ในต่างจังหวัดด้วยวิธีการต่าง ๆ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

โครงการตามพระราชประสงค์คือโครงการที่ทรงศึกษา ทดลอง ปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ จนเมื่อทรงแน่พระราชหฤทัยว่าโครงการนั้น จะเป็นผลดีและเกิดประโยชน์กับประชาชน จึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้ามารับงานต่อไป

 

โครงการหลวงพื้นที่ดำเนินการของโครงการหลวงส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาให้อยู่ดี กินดี เลิกการปลูกฝิ่น และการทำไร่เลื่อนลอย อีกทั้งยังทรงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธารบริเวณป่าเขา เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตที่ลุ่มด้านล่าง ซึ่งการพัฒนาต่างๆ กว่าจะเกิดผล ล้วนแต่กินเวลานานนับสิบปี ซึ่งชาวไทยภูเขาเหล่านี้ ได้มีความจงรักภักดีในพระองค์ท่าน พร้อมทั้งเรียกขานพระองค์ท่านว่า “พ่อหลวง” และเรียกสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า “แม่หลวง” รวมถึงเรียกโครงการของทั้งสองพระองค์ว่า “โครงการหลวง”

 

โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ คือโครงการที่พระองค์ทรงพระราชทานข้อแนะนำ หรือแนวพระราชดำริให้ไปดำเนินการ ซึ่งโครงการประเภทนี้ จะดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์เนินดินแดง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทย เป็นผู้จัด และดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ โครงการพจนานุกรม โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นต้น

 

โครงการตามพระราชดำริจะเป็นโครงการที่พระองค์ทรงวางแผนพัฒนา และทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามแนวพระราชดำริ ปัจจุบัน โครงการตามพระราชดำรินี้ เรียกว่า “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” มีลักษณะเป็นโครงการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งเพื่อการศึกษา ค้นคว้าทดลองและงานวิจัย โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ มีทั้งที่เป็นโครงการระยะสั้น และโครงการระยะยาว

             ในการดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่จริงก่อนจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งนี้พระองค์มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดำเนินการอยู่เสมอว่า แนวพระราชดำริของพระองค์ เป็นเพียงข้อเสนอแนะ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรจะต้องนำพิจารณา วิเคราะห์ และกลั่นกรองตามหลักวิชาการ หากมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และเกิดประโยชน์คุ้มค่า จึงจะลงมือปฏิบัติต่อไป แต่หากไม่เกิดประโยชน์ ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ ก็สามารถล้มเลิกได้

หน่วยงานที่มีหน้าที่ประสานงานและประสานแผนต่างๆ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานที่รับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปปฏิบัติ คือสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงาน กปร. ซึ่งนอกจากการประสานงานในแต่ละขั้นตอนแล้ว สำนักงาน กปร. ยังจะได้ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโครงการต่างๆ เหล่านั้นเมื่อมีโอกาส เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้า และติดตามผลงานต่างๆ ด้วยพระองค์เอง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในปีงบประมาณ ๒๕๒๕ – ๒๕๔๖ มีจำนวน ๓,๒๙๘ โครงการ แยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ๘ ประเภท คือ

๑. การเกษตร             แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความแปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่นนอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง๒. สิ่งแวดล้อม             ปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการดำเนินการแก้ไขควบคู่ไปกับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า เพราะยิ่งมีความเจริญก้าวหน้า ย่อมหมายถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมยิ่งก่อตัวและทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นเงาตามกันไป ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะเป็นวิธีการที่จะทำนุบำรุง และปรับปรุงสภาพทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ และป่าไม้๓. การสาธารณสุข             โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้กับประชาชนในระยะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นโครงการ ด้านสาธารณสุข เพราะพระ องค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก๔. การส่งเสริมอาชีพ             โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการแล้ว จะเกิดการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรใน พื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาทั้งหลายนั้น จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทาง และวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการประกอบอาชีพของราษฎรในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อให้ราษฎรนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง ส่วนโครงการประเภทการส่งเสริมอาชีพโดยตรงนั้นก็มีจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ จึงได้มีโครงการเกี่ยวกับประเภทการส่งเสริมอาชีพโดยตรง๕. การพัฒนาแหล่งน้ำ             การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่า เป็นงานที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ
ประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะเกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะ
ปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝน และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำ
ให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความ สนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับการ
พัฒนาแหล่งน้ำ มากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริประเภทอื่น๖. การคมนาคมสื่อสาร             โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านคมนาคมสื่อสาร ส่วนใหญ่ จะเป็นโครงการเกี่ยวกับปรับปรุงถนนหนทาง การก่อสร้างถนนเพื่อการ สัญจรไปมาได้สะดวกและทั่วถึง การคมนาคมเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สำคัญของการนำความเจริญไปสู่ชนบท การสื่อสาร ติดต่อที่ดียังผล สำคัญทำให้เศรษฐกิจของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น ราษฎรก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น๗. สวัสดิการสังคม             โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านสวัสดิการสังคม จะเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และได้ รับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ในการดำรงชีวิต ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยความผาสุข๘. อื่นๆ             โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่นๆ ได้แก่ โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่นอกเหนือจากโครงการทั้ง ๗ ประเภท ที่ ระบุมาแล้วข้างต้น เช่น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลาย โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนั้นยัง รวมถึงโครงการด้านการศึกษา การวิจัย การจัดและพัฒนาที่ดิน เป็นต้นโครงการแก้มลิง แก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ จากสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวง ร.9

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

โครงการแก้มลิง โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำริไว้แก้ปัญหาอุทกภัยในประเทศไทย และยังคงใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมจวบจนปัจจุบัน

ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลยาวนานกว่า 2 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำริจัดทำโครงการแก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยอิงจากหลักการกินกล้วยของฝูงลิง

โครงการแก้มลิง กับความเป็นมา

สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2538 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรเห็นว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นเรื้อรังกว่า 2 เดือน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จึงมีพระราชดำริโครงการแก้มลิงขึ้นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย พร้อมทั้งช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โครงการแก้มลิง พระราชดำริจากพฤติกรรมลิง

แนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราชกระแสอธิบายว่า

“ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง”

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพจาก เรารักพระเจ้าอยู่หัว

เช่นเดียวกับทฤษฎีแก้มลิง ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพื้นที่กักเก็บน้ำไว้รอการระบายและเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพจาก เรารักพระเจ้าอยู่หัว

วัตถุประสงค์ของโครงการแก้มลิง 

โครงการแก้มลิงสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทางธรรมชาติคือกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการดำเนินงานของแก้มลิงจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพจาก มูลนิธิมั่นพัฒนา

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป

2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ

3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง

4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพจาก สำนักงาน กปร.

โครงการแก้มลิงมีกี่ประเภท

โครงการแก้มลิงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยแยกตามขนาดของแก้มลิง ดังนี้

1. แก้มลิงขนาดใหญ่ 

แก้มลิงขนาดใหญ่ เปรียบได้กับสระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น โดยแก้มลิงขนาดใหญ่จะคอยรองรับน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น ๆ และจะกักเก็บน้ำไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ

อย่างไรก็ตาม แก้มลิงขนาดใหญ่อย่างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทานหรือเพื่อการประมง เป็นต้น

2. แก้มลิงขนาดกลาง 

เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น

3. แก้มลิงขนาดเล็ก

แก้มลิงขนาดเล็กมักเป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชนจะเรียกว่า “แก้มลิงเอกชน” ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า “แก้มลิงสาธารณะ”

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพจาก มูลนิธิมั่นพัฒนา

ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง

แก้มลิง เป็นโครงการอเนกประสงค์สำคัญยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังช่วยระบายน้ำจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสม ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำตามคู คลองธรรมชาติในช่วงฤดูฝนอีกด้วย

นอกจากนี้โครงการแก้มลิงยังช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ไม่ให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้าสู่แม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร รวมทั้งแก้มลิงยังสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ ประชาชนจึงสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรมอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคอีกด้วย

ที่สำคัญโครงการแก้มลิงยังมีส่วนสำคัญในการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในแก้มลิงต่าง ๆ เมื่อถูกระบายสู่คู คลอง จะไปช่วยบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง กระทั่งผลักดันให้น้ำเน่าเสียเดิมที่มีอยู่ ถูกระบายออกไปได้ในที่สุด

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพจาก มูลนิธิมั่นพัฒนา

โครงการแก้มลิง มีที่ไหนบ้าง

ปัจจุบันโครงการแก้มลิงมีทั้งแก้มลิงขนาดเล็กและแก้มลิงขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เพราะเป็นส่วนที่มีคลองจำนวนมาก ซึ่งการระบายน้ำในจุดนี้จะระบายออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้โครงการแก้มลิงจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา 

โดยส่วนนี้จะทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่าง ๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เพื่อเป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้า-ออกจากบ่อพักน้ำ

2. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 

แก้มลิงฝั่งนี้จะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง” เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย 3 โครงการในระบบคือ

1. โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ประกอบด้วย
– ประตูระบายน้ำ ค.ส.ล. ปิดกั้นแม่น้ำท่าจีน
– ประตูเรือสัญจร
– ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม
– บันไดปลา
– สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่

2. โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย ประกอบด้วยประตู้ระบายน้ำรวมทั้งคลองสาขาต่าง ๆ อันได้แก่
– ประตูระบายน้ำคลองสหกรณ์สาย 3
– ประตูระบาน้ำคลองเจ็ก
– ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม
– ประตูระบายน้ำคลองแสมดำ
– ประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้

3. โครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ประกอบด้วย
– ประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอน พร้อมอาคาร
– สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน

นอกจากนี้ โครงการแก้มลิงยังได้นำไปใช้ในหลาย ๆ พื้นที่ในต่างจังหวัด เพื่อกักเก็บน้ำและลดความรุนแรงของอุทกภัยด้วยเช่นกัน

การดำเนินงานของโครงการพระราชดำริมีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการดำเนินงาน.
ขั้นตอนการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
1. แนวพระราชดำริและฎีกา.
2. การประสานการจัดทำโครงการการวิเคราะห์/อนุมัติโครงการ.
3.การติดตามประเมินผลโครงการ.
4.การขยายผลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์.

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอะไรบ้าง

จำนวนโครงการ / กิจกรรม.
โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ๓,๓๓๖ โครงการ / กิจกรรม.
โครงการพัฒนาด้านการเกษตร ๑๓๙ โครงการ / กิจกรรม.
โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ... .
โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ ... .
โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข ... .
โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร ... .
สวัสดิการสังคม/การศึกษา ... .
โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ.

ข้อใดคือแนวทางในการพัฒนาของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นจุดหลักสำคัญในการพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยการดำเนินการเช่นนั้น จักช่วยให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในที่สุด ดังเคยมีพระราชดำรัสในอากาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2501 กับประชาชนชาวไทยทั้งหลายว่า

โครงการพระราชดำริในระยะแรกเป็นโครงการพัฒนาด้านใด

โครงการพระราชดำริที่นับว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานรถบลูโดเซอร์ ให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวรไปสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ซึ่งปัจจุบันคือ ตำบลทับใต้) อำเภอหัวหิน