การวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์หมายถึง

การวิเคราะห์งานศิลปะ คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อศึกษางานศิลปะซึ่งมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะทางด้านทัศนธาตุ , องค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งความสัมพันธ์ต่างๆ โดยนำข้อมูลในหลายปัจจัย ในหลายองค์ประกอบ มาประเมินผลงานทางด้านศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง

การวิจารณ์งานศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็นทางด้านศิลปะ ที่ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นมา เป็นการแสดงทัศนะทางด้านสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งสาระอื่นๆ เพื่อให้ได้นำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อไป หรือ ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินผลงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวิธีวิเคราะห์ ให้เห็นความแตกต่างทางด้านคุณค่าในผลงานชิ้นนั้นๆ

คุณสมบัติที่นักวิจารณ์พึงมี

  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะแบบกว้างขว้าง ในหลายด้าน
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
  • ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มั่นใจในตนเอง
  • กล้าแสดงออกตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกที่สั่งสมมาจากประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่…

  • เลียนแบบ – เกิดจากการประจักษ์ในความงามในธรรมชาติ ศิลปินจึงได้ลอกเลียนแบบมา ให้มีความเหมือนทั้งรูปร่าง , รูปทรง และสีสัน
  • สร้างรูปทรงสวยงาม – คือ การสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้เกิดความสวยงาม และประกอบไปด้วยทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น , รูปทรง , สี , น้ำหนัก , บริเวณว่าง รวมทั้งเทคนิคสร้างสรรค์ผลงาน
  • แสดงอารมณ์ – คือ สร้างงานให้มีความรู้สึก
  • แสดงจินตนาการ – คือ แสดงภาพจินตนาการให้ผู้ชมได้สัมผัส

แนวทางประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

สำหรับการประเมินคุณค่างานศิลปะ จะมีการวิเคราะห์จาก 3 ด้าน ได้แก่…

ด้านความงาม

คือ การวิเคราะห์รวมทั้งประเมินคุณค่าทางด้านทักษะฝีมือ รวมทั้งการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการวิเคราะห์ว่าผลงานชิ้นนี้ มีการเปล่งประกายทางด้านความงดงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งทำให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจในในสุนทรียภาพ โดยลักษณะของการแสดงออกทางด้านความงามในศิลปะ จะเต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่รูปแบบของยุคสมัย เพราะฉะนั้นเมื่อสรุปการวิเคราะห์ ตลอดจนการวิเคราะห์งานศิลปะทางด้านความงาม ซึ่งก็จะมีการตัดสินในเรื่องรูปแบบต่างๆ

ด้านสาระ

คือ การวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาคุณค่าของผลงานศิลปะว่า มีคุณธรรม , จริยธรรม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ทางด้านจิตวิทยารวมทั้งให้สิ่งใดต่อผู้ชมบ้าง โดยจะเป็นสาระที่เกี่ยวกับสิ่งใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ , สังคม , ศาสนา , การเมือง , ความฝัน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ด้านอารมณ์ความรู้สึก

คือ การประเมินคุณค่าทางด้านคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายได้อย่างมีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ โดยเป็นผลของการใช้เทคนิคซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความคิด , พลัง ตลอดจนความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน

          เป็นขั้นตอนของการตัดสินงานศิลปะนั้น ดี หรือมีความ บกพร่องอย่างไร การประเมินหรือการตัดสิน เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ที่ต้องมีการพิจารณา ตรวจสอบ ถึงเจตนาและผลที่เกิดขึ้น ของงานศิลปะชิ้นนั้น อาจจะเปรียบเทียบ กับงานศิลปะชิ้นอื่น ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน ที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน การที่จะ ประเมิน หรือตัดสินผลงานศิลปะอย่างมีสุนทรียภาพนั้น จะต้องมีเหตุผลและ ใช้หลักเกณฑ์ อย่างยุติธรรมและมีคุณธรรม

 เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัดองค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่น

การวิเคราะห์วิจารณ์งานศิลปะ

    ความหมาย

  การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร

  การวิจารณ์งานศิลปะ หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระอื่นๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และเป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ

  คุณสมบัติของนักวิจารณ์
1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจำชาติและศิลปะสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกและประสบการณ์

  ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก พื้นผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ
3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันเนื่องมาจากเรื่องราวและอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน
4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ

   แนวทางการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน ได้แก่

1. ด้านความงาม

เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัดองค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่

การวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์หมายถึง

     ภาพแม่พระมาดอนนา พระเยซู และเซนต์จอห์น
(The Madonna and Child with The infant St. John)
เทคนิคสีน้ำมันบนแผ่นไม้
ผลงานของราฟาเอล (Raphael)
แสดงรูปแบบความงามของภาพโดยใช้รูปคนเป็นจุดเด่น
มีความเวิ้งว้างของธรรมชาติเป็นฉากหลังแสดงความตื้นลึกใกล้ไกล
โดยใช้แนวทางของทัศนียวิทยาและการจัดองค์ประกอบภาพในแนวกรอบสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นลักษณะความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ศิลปินในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมทำกัน 

การวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์หมายถึง

   ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition)

เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)
ผลงานของ พีต มอนดรีอัน (Piet Mondrian)
เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุมฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้ง
เกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้วยการใช้สีแดง เหลือง น้ำเงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดำ และเทา
ในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก

สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่นเอง

2. ด้านสาระ

เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบ้าง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา การเมือง ปัญญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน เช่น

การวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์หมายถึง

   ภาพวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2351 (The Third of May 1808)
ผลงานของฟรันซิสโก โจเซ เด โกยา (Francisco Jose de Goya) จิตรกรชาวสเปน
แสดงคุณค่าด้านสาระให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการถูกย่ำยีและเข้ายึดครองประเทศสเปนของทหารฝรั่งเศส ในสมัยนโปเลียนที่มีการสังหารประชาชนผู้แสวงหาอิสรภาพอย่างเลือด็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีคุณธรรมในการปกครองบ้านเมือง

3. ด้านอารมณ์ความรู้สึก

เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและสื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้งของวัสดุ ซึ่งเป็นผลของการใช้เทคนิคแสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน เช่น

การวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์ คืออะไร

การวิเคราะห์งานทัศนศิลป์ การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร

การวิเคราะห์ทัศนธาตุ หมายถึงข้อใด

ทัศนธาตุ(Visual Element) คือ สิ่งที่เป็นปัจจัย ของการมองเห็นในผลงานทัศนศิลป์อันประกอบไปด้วย จุด เส้นรูปร่าง รูปทรง น้้าหนักอ่อน-แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสีเป็นสิ่งที่ศิลปินน้ามาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงาน เพื่อสื่อความหมายตามแนวคิด โดยน้าทัศนธาตุ มาประกอบให้เข้ากันและเกิดการรวมตัวกันอย่าง สมบูรณ์โดยอาศัยหลักเกณฑ์ความ ...

การวิเคราะห์งานศิลปะ มีอะไรบ้าง

การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วน ๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระและทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร

การวิเคราะห์ผลงานทัศนศิลป์มีกี่ด้าน

การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน ได้แก่.
ด้านความงาม ... .
ด้านสาระ ... .
ด้านอารมณ์ความรู้สึก.